แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ศีลอภัยบาป

       พระเยซูคริสตเจ้าทรงตั้งศีลอภัยบาปนี้ขึ้น เพื่อทรงช่วยให้มนุษย์จะได้สามารถชำระล้างมลทินบาปและความผิดให้หมดไป    ให้มีชีวิตพระหรรษทานเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าอีกครั้งหนึ่ง
        ดังนั้น เมื่อพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าความรักที่พระเป็นเจ้าทรงมีต่อเรามนุษย์นั้นยิ่งใหญ่เพียงใด    เราสามารถเข้าใจทันทีว่าความรักที่พระเยซูเจ้าทรงมีต่อมนุษย์นั้นหาที่เปรียบมิได้จริงๆ    ก่อนเสด็จขึ้นสวรรค์ ทรงตั้งศีลมหาสนิท และเมื่อทรงรู้ว่ามนุษย์จะทำบาปทำผิด ก็ทรงตั้งศีลอภัยบาปไว้ด้วยเรียกว่าหาวิธีช่วยมนุษย์ทุกรูปแบบก็ว่าได้
        เมื่อพระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลอภัยบาปแล้ว ทรงมอบอำนาจแห่งการยกบาปนี้ให้กับบรรดาอัครสาวกและบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ ให้กระทำหน้าที่ยกบาปแทนพระองค์ในโลกนี้ด้วย    โดยตรัสว่า “ท่านจงรับพระจิตเจ้า บาปใดๆ ที่ท่านจะยกบาปนั้นๆ จะเป็นอันยกออก และบาปใดๆ ที่ท่านจะหน่วงไว้ บาปนั้นจะเป็นอันหน่วงไว้ด้วย”
        ดังนั้น ผู้โปรดศีลอภัยบาป คือ บรรดาพระสงฆ์ ซึ่งได้ใช้อำนาจนี้โดยได้รับอำนาจจากพระเยซูเจ้า ด้วยคำกล่าวในเวลามีผู้ไปรับศีลอภัยบาปว่า “... ข้าพเจ้าอภัยบาปทั้งสิ้นของท่าน เดชะพระนามพระบิดา และพระบุตร และพระจิต อาแมน” พร้อมทั้งยกมืออวยพรให้แก่ผู้ไปแก้บาป
        วิธีการรับศีลอภัยบาปอย่างดี    แน่นอนว่าตามเหตุผลที่สำคัญที่จะทำให้ศีลอภัยบาปเกิดผลอย่างเต็มที่แก่ผู้รับศีลนี้ จึงเรียกร้องลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
    ก. ความสำนึกผิด    หมายถึง การรับศีลอภัยบาปที่ดีและมีคุณค่านั้น ย่อมต้องการการยอมรับเสียก่อนว่า ตนเองกระทำผิด และปรารถนาจะแก้ไขความผิดนั้นด้วยจริงใจ ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่า “สำนึกผิด” ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุด เพราะมิฉะนั้นแล้ว จะไม่มีผลอะไรเลย เหมือนกับคนไข้จะไปให้หมอรักษา เขาจะต้องยอมรับเสียก่อนว่าตนเองป่วยและต้องการการรักษานั้น จะต้องร่วมมือกับหมออย่างเต็มที่ เพื่อการรักษานั้นจะเกิดผลอย่างดี
    ข. ความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขและไม่ทำผิดทำบาปอีก    คือ การแสดงเจตนา หรือ มีจิตใจที่แน่วแน่ที่จะพยายามเอาชนะความอ่อนแอ หรือการประจญล่อลวงที่ทำให้ตกในบาปนั้นๆ    ทั้งนี้ ด้วยการวอนขอพระเมตตา ความช่วยเหลือจากพระเป็นเจ้า...    แม้จะรู้ว่า อาจจะทำผิดทำบาปอีกก็ตาม เหมือนกับการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง มีบางครั้งอาจอ่อนล้าล้มลงบ้าง จำเป็นที่จะต้อง”ลุกขึ้น” และเดินต่อไปเสมอ
    ค. การสารภาพบาป (บอกบาป)        คือ การเข้าไปยังที่แก้บาปและบอกบาปที่ตนเองได้กระทำไปทั้งหมด ตามที่ได้พิจารณามาแล้วแก่พระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาป ข้อปฏิบัติที่ต้องกระทำก็คือ
•    บอกบาปทุกข้อทุกประการที่ได้กระทำ    ด้วยเสียงดังฟังชัดพอสมควร คือ ไม่ดังเกินไป หรือ ค่อยเกินไป จำไว้ว่าถ้าจงใจปกปิดบอกบาปไม่หมด บาปทุกประการที่บอกไหก็จะไม่ได้รับการยกด้วย
•    ไม่ต้องบรรยายความเกินความจำเป็น    หลายคนพยายามอธิบายจนดูเหมือนจะทำให้กลายเป็นข้อแก้ตัวไป... ในเรื่องนี้หากพระสงฆ์สงสัยท่านจะถามเราเอง แต่มิใช่บอกสั้นๆ จนไม่ได้ความหมายอะไร เช่น บอกว่า “ลักขโมย” เฉยๆ ไม่รู้ว่าลักขโมยอะไร มากหรือน้อย เพราะความผิดมันต่างกัน เช่น คนหนึ่งลักขโมยเงินพ่อแม่ 20 บาทกับอีกคนหนึ่งขโมยเงินทานจากตู้ทานในวัด ความผิดมันต่างกันเยอะ
•    ต้องบอกจำนวนครั้งเท่าที่จำได้    หรือใช้ประมาณเอาก็ได้ เพื่อพระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาปจะได้ให้คำแนะนำตักเตือนได้ถูกต้องและเหมาะสม
•    ภาษาที่ใช้แก้บาปก็เหมือนกัน    ต้องใช้ภาษาที่คุณพ่อเข้าใจได้ ยกเว้นในกรณีพูดไม่ได้จริงๆ เป็นต้น ตอนบอกบาปต่างๆ ส่วนบทสดนั้นจะใช้ภาษาเฉพาะของตนก็ได้ ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยได้ทุกคนอยู่แล้ว ทำไมบอกบาปจึงบอกเป็นภาษาไทยไม่ได้
•    พึงระลึกว่าการสารภาพบาปอย่างชัดเจน และตรงไปตรงมาจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง    เพราะพระสงฆ์จะสนทนาอบรมหรือให้คำแนะนำได้ถูกต้องตรงประเด็นในการแก้ไขความผิดต่างๆ
ง. การใช้โทษบาป    ตามปกติเมื่อพระสงฆ์แนะนำตักเตือนเสร็จแล้วก็จะกำหนดกิจการใช้โทษบาปให้กระทำ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติให้ครบถ้วน และพึงระลึกเสมอว่า กิจการใช้โทษบาปที่พระสงฆ์กำหนดเป็นการกำหนดตามกฎระเบียบเท่านั้น    สิ่งที่เราต้องกระทำในชีวิตประจำวันต้องมากกว่า กล่าวคือ ต้องตั้งใจจริงที่จะแก้ไข ไม่ทำผิดทำบาปอีกและต้องพยายามจริงๆ ตามข้อตั้งใจนั้น กระทำให้เป็นกิจวัตร คือ กระทำบ่อยๆ ทุกๆ วัน
มีความผิดหรือบาปประเภทที่ต้องชดเชยด้วยนั่น คือ บาปที่ผิดยุติธรรม ถ้าต่อชื่อเสียงก็ได้แก่การใส่ความนินทา ถ้าต่อทรัพย์สินก็คือการลักขโมย ฉ้อโกงซึ่งทั้ง 2 ประการต้องชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เขาด้วย ลำพังเพียงไปสารภาพบาปอย่างเดียวไม่เพียงพอ
ศีลอภัยบาป    เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ทีมิใช่มีพระพรในการยกบาปเหมือนยารักษาโรคเท่านั้น    หากแต่ยังเป็นเหมือนยาบำรุงที่สร้างชีวิตฝ่ายวิญญาณ ฝ่ายจิตของเราให้เข้มแข็งต่อสู้กับการประจญล่อลวง ได้อีกด้วย
ดังนั้น เราจึงควรรับศีลอภัยบาปบ่อยๆ สม่ำเสมอ โดยปกติก็ประมาณ 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนต่อครั้ง    แต่ถ้าหากมีความจำเป็นก็สามารถรับได้เลย เช่น ในกรณีมีบาปหนัก เป็นต้น
ความลับของศีลอภัยบาป
    พระสงฆ์ต้องถือเรื่องการมาสารภาพบาปของคริสตชนเป็นความลับสูงสุด พระสงฆ์องค์ใดก็ตามที่นำความลับในที่แก้บาปไปเปิดเผย จะถูกโทษจากพระศาสนจักรโดยอัตโนมัติให้ยุติหน้าที่ของการเป็นพระสงฆ์ทันที
    อนึ่งเวลาไปสารภาพบาป ผู้สารภาพบาปจะรู้สึก “อาย” พระสงฆ์ บางครั้งเป็นเหตุให้ไม่กล้าสารภาพบาปบางประการ        เลยกลายเป็นสาเหตุให้ไม่ได้รับการอภัยบาป    ความอายนี้ถือเป็นโทษอย่างหนึ่งเหมือนกันดังนั้น เมื่อจะแก้บาปต้องตั้งใจจริงและถ้ารู้สึกอายก็ต้องยอมรับ เพราะมันคือโทษอย่างหนึ่งที่เราต้องชดเชยความผิด
    นอกจากศีลอภัยบาปแล้ว มีสิ่งหนึ่งที่สามารถยกบาปได้ชั่วคราว นั่นคือ “พระคุณการุญ” ซึ่งหมายถึง พระคุณหรือพระพรที่พระศาสนจักรอาศัยอำนาจที่ได้รับจากพระเยซูคริสตเจ้าทรงพระกรุณายกโทษได้ชั่วคราว    ซึ่งบางครั้งก็สามารถยกโทษชั่วคราวได้ทั้งหมด เราเรียกว่า “พระคุณการุญบริบูรณ์” และบางครั้งยกโทษชั่วคราวนั้นได้เป็นบางส่วนเราเรียกว่า “พระการุญไม่บริบูรณ์”
    ตัวอย่างการรับพระคุณการุญนี้ เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ เวลาที่เราไปแสวงบุญยังสถานที่ หรือ วัดที่กำหนดให้ได้รับพระคุณ เช่น “แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์”    ถ้าเราตั้งใจจริงที่จะรับพระคุณ สวดภาวนาตามกฎระเบียบของพระศาสนจักรที่กำหนดไว้ เราก็จะได้รับการยกโทษชั่วคราว    แม้ขณะนั้นยังไม่สามารถรับศีลอภัยบาปได้ เราก็สามารถไปรับศีลมหาสนิทได้ และต้องรีบไปแก้บาปทันทีเมื่อมีโอกาสภายหลัง

ที่มา : หนังสือ หลักธรรมคำสอนคาทอลิก (คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 21:20-25) เวลานั้น เปโตรเหลียวไปดู ก็เห็นศิษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรักตามมา เป็นคนที่เอนกายชิดพระอุระพระเยซูเจ้าในการเลี้ยงอาหารค่ำ และทูลถามพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า ผู้ที่ทรยศพระองค์เป็นใคร” เมื่อเปโตรเห็นเขา...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 21:15-19) เวลานั้น เมื่อบรรดาศิษย์กินเสร็จแล้ว พระเยซูเจ้าตรัสกับซีโมนเปโตรว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่านรักเรามากกว่าคนเหล่านี้รักเราไหม” เปโตรทูลตอบว่า “ใช่แล้ว...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 17:20-26) เวลานั้น พระเยซูเจ้าทรงเงยพระพักตร์ขึ้นเบื้องบน ตรัสว่า “ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนามิใช่สำหรับคนเหล่านี้เท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่จะเชื่อในข้าพเจ้า ผ่านทางวาจาของเขาด้วย ข้าแต่พระบิดา ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

232. ฉันต้องนำอะไรไปในการสารภาพบาป องค์ประกอบที่สำคัญของทุกๆ การสารภาพบาป คือการพิจจารณามโนธรรม ความสำนึกผิด จุดประสงค์ของการปรับปรุงแก้ไข ไปสารภาพบาป และทำกิจใช้โทษบาป (1450-1460,1490-1492,1494) การพิจารณามโนธรรมควรกระทำอย่างถี่ถ้วน แต่ไม่สามารถหมดจดได้...
231. สององค์ประกอบพื้นฐานของการให้อภัยบาปของคริสตชนที่เกิดขึ้นในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการใช้โทษบาปคืออะไร สิ่งที่เรียกร้องเพื่อการให้อภัยบาป คือบุคคลที่ผ่านกลับใจ และพระสงฆ์ ผู้ให้อภัยบาปในนามของพระเจ้า
230. การใช้โทษบาปคืออะไร การใช้โทษบาปคือการทำการชดใช้ หรือทำสิ่งที่ชดเชยในสิ่งที่ได้กระทำผิด การใช้โทษบาปต้องไม่ใช่การเอาไว้เฉพาะในสมองเท่านั้น แต่ต้องแสดงออกด้วยการกระทำด้วยความรักเมตตา และในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับผู้อื่น การใช้โทษบาปอาจกระทำได้ด้วยการภาวนา การจำศีลอดอาหาร และช่วยเหลือผู้ยากจนทั้งด้านฝ่ายจิตและวัตถุสิ่งของ (1434 –...

กิจกรรมพระคัมภีร์

บ่อแห่งความปรารถนา
บ่อแห่งความปรารถนา
เรื่อง คำภาวนาพระคัมภีร์ เพลงสดุดี 91:15-16ภาพรวม เด็กโยนเหรียญบาทลงในภาชนะ และเรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างความปรารถนา และคำภาวนาอุปกรณ์ เหรียญบาทเท่าจำนวนเด็ก (หรือให้เด็กนำมาเอง) ชามใหญ่ 1 ใบประสบการณ์ วางชามที่เตรียมมาตรงกลางห้อง ให้เด็กๆ นั่งเป็นวงกลมล้อมรอบชาม...
บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้นำทางจิตวิญญาณ
บัญญัติ   10  ประการสำหรับผู้นำทางจิตวิญญาณ
ชื่อเรื่อง บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้นำทางจิตวิญญาณ คำนำ บัญญัติ 10 ประการ นี้จะช่วยให้คุณเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นคุณควรศึกษาด้วยความเอาใจใส่ ไตร่ตรองและนำไปปฏิบัติแล้วคุณจะพบว่า การศึกษาของคุณจะให้ผลดี และความเพลิดเพลินแก่เยาวชนและตัวคุณเอง เนื้อหา บัญญัติประการที่...

ประมวลภาพกิจกรรม

จัดห้องคำสอน โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์
จัดห้องคำสอน โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์
📘 เตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอม 📘 วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2024 คุณพ่อทัศมะกิจประยูร ผู้จัดการแผนกคำสอน ได้นำทีมคำสอนสัญจร ไปจัดห้องเรียนคำสอน เพื่อเตรียมต้อนรับเด็กๆ ก่อนเปิดเทอม ที่โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์ ✨ครั้งนี้ ทางแผนกฯ ได้ขนหนังสือที่เหมาะกับเด็กๆ และสำหรับคุณครู ในการอ่าน ศึกษา...
ผู้หว่าน 8
ผู้หว่าน 8
🌾 ผู้หว่าน 8 🌾 วันที่ 2 พฤษภาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจร แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้มีโอกาสไปแบ่งปันให้กับผู้ที่มาเข้าคอร์ส "ผู้หว่าน รุ่นที่ 8" จำนวน 14 คน ที่บ้านผู้หว่าน อำเภอสามพราน ในหัวข้อ...

สวดสายประคำ

ประวัติความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ ผู้แก้ปม
เดือนตุลาคม เดือนแห่งแม่พระลูกประคำ แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เชิญชวนพี่น้องทุกครอบครัว สวดสายประคำในครอบครัว...
พระแม่มารีย์ แห่งกวาดาลูเป
ชาวคาทอลิกกว่า 400 คน ในเดนเวอร์ (Denver) ได้แห่ศีลมหาสนิทไปรอบๆ...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...
วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Joy
Joy
ความชื่นชมยินดีคือความสุขอันยิ่งใหญ่ ความเชื่อของเราในองค์พระเยซูเจ้าและในพระสัญญาของพระองค์นำความชื่นชมยินดีมาสู่เรา
Creator
พระผู้สร้าง พระผู้สร้างคือผู้ที่ทำให้ทุกสิ่งเกิดขึ้นมา เราเชื่อว่าพระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้าง ที่ทำให้ทุกสิ่งเกิดขึ้น
faith
ความเชื่อ ความเชื่อ คือการเชื่อและไว้วางใจในความรักของพระเจ้า ความเชื่อคือพรประทานจากพระเจ้า ที่เราสัมผัสได้จากประสบการณ์ของการเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร

ประวัตินักบุญ

14 พฤษภาคม  ฉลองนักบุญ มัทธีอัส  อัครสาวก  ( St. Matthias, Apostle, feast )
14 พฤษภาคม ฉลองนักบุญ มัทธีอัส อัครสาวก ( St. Matthias, Apostle, feast ) นักบุญมัทธีอัสได้เป็นหนึ่งในบรรดาอัครสาวกของพระเยซูเจ้า โดยถือว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่อยู่กับพวกอัครสาวกตลอดเวลาที่ติดตามพระเยซูเจ้า โดยนับจากเวลาที่พระเยซูเจ้าได้รับพิธีล้างที่แม่น้ำจอร์แดน จนกระทั่ง...
13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา
13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา (Our Lady of Fatima) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1917 ซึ่งอยู่ในช่วงปีที่ 3 ของสงครามโลกครั้งที่ 1...
1 พฤษภาคม  ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร (St Joseph the Worker, memorial) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1955...
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ( St. Catherine of Siena ; Virgin & Doctor,...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
453
5943
35222
164915
346070
36254707
Your IP: 18.119.192.55
2024-05-18 02:44

สถานะการเยี่ยมชม

มี 218 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์