แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

กางเขน (The Cross)
กางเขนซึ่งพระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อความรอดของเรานั้น
ยังคงเป็นเครื่องหมายของการถวายบูชาพระองค์เองอย่างสิ้นเชิงอยู่

cross 785x400    ในการรวมเอาแกนตั้งและแกนนอน ซึ่งบรรจุสัญลักษณ์ทั้งครบของจุดสำคัญเป็นหลักนั้น กางเขนได้เข้ามามีบทบาทในทุกวัฒนธรรมและทุกศาสนา จุดรวมของสองแกนนี้ถือว่าเป็นจุดนัดพบ จุดรวมและจุดสังเคราะห์ ในอีกแง่หนึ่งกางเขนเตือนสติถึงการทรมาน การรับทุกข์และการเผชิญหน้ากัน
    กางเขนของพระคริสต์รับเอาสัญลักษณ์ทั้งสองนี้ไว้ด้วยกัน เนื่องจากในด้านหนึ่งเป็นพระแท่นของการบูชาถวายซึ่งจะต้องทำให้มนุษยชาติคืนดีกันและนำตัวเข้าไปใกล้พระเจ้ายิ่งขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งมันเป็นเครื่องมือประหารพระเยซูจนสิ้นพระชนม์ ไม่ต้องสงสัยว่ากางเขนเป็นสัญลักษณ์ของคริสตศาสนา บัดนี้เราต้องพยายามทำความเข้าใจกับความหมายที่แท้จริงของกางเขน

    พระเยซูเสด็จมาในโลกนี้ด้วยพันธกิจแห่งการไถ่กู้และไปที่ใด “ทรงกระทำแต่ความดี” (กจ.10:38) แต่ผู้นำฝ่ายศาสนาของประเทศชาติของพระองค์อิจฉาพระองค์ เพราะทรงประท้วงการที่พวกเขามีความคิดแคบๆ พลังของการเทศนาและขนาดของขบวนการของพระองค์ได้ทำให้พวกเขาต้องวางแผนกำจัดพระองค์ ดูเหมือนว่าพวกเขาได้รับชัยชนะในช่วงปัสกา ปอนซีอัส ปีลาต ข้าหลวงโรมันแห่งแคว้นยูเดียจำยอมเพราะแรงกดดันของชาวยิวให้ตัดสินประหารพระองค์ด้วยข้อหาหนัก เพราะพระองค์ทรงยืนยันถึงการเป็นพระบุตรของพระเจ้า แต่สำหรับคริสตชนการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูมิได้เป็นจุดจบ พระคริสต์ทรงกลับคืนชีพและทรงประทับเบื้องพระหัตถ์ขวาของพระบิดา พระเยซูทรงทนกับการปฏิเสธของประชากรของพระองค์ เช่นเดียวกันกับโมเสสและเยเรมีย์ “ด้วยการแบกเอาความผิดของพวกเขาไว้” (อสย.53:11) ทรงทำให้คำพยากรณ์ของประกาศกอิสยาห์สำเร็จไปและด้วยการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพ “แม้ถูกทารุณและไม่ได้รับการยอมรับ แต่ก็มิได้ปริปากพูดเหมือนกับแกะที่ถูกนำไปโรงฆ่า” (อสย.53:7) ใช่ว่าพระคริสต์จะไม่ทรงทราบถึงจุดหมายปลายทางของพระองค์ซึ่งอธิบายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้นๆของพระวรสาร ซึ่งยอห์น บัปติสแนะนำพระคริสต์ว่าทรงเป็นลูกแกะของพระเจ้า(๑) ทรงดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางของพระองค์ด้วยเต็มพระทัย โดยการประกาศล่วงหน้าให้บรรดาศิษย์ของพระองค์ได้ทราบอย่างน้อยสามครั้งถึงการทรมานและมรณกรรมที่กำลังจะมาถึงพระองค์(๒)
    การรับทุกข์ “ปัสกา” อันนี้ด้วยการถูกประหารและความตาย ที่จริงแล้วเป็นการนบนอบต่อความจำเป็นที่เป็นธรรมล้ำลึกแห่งแผนการไถ่บาปของพระเจ้า ตามที่พระเยซูทรงอธิบายแก่ศิษย์ ที่ เดินทางไปเมืองเอมมาอุสหลังจากการกลับคืนชีพของพระองค์ว่า “พระคริสต์จำเป็นต้องทนทรมานเช่นนี้ เพื่อจะเข้าไปรับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์มิใช่หรือ” (ลก.24:26) ความอดสูที่พระคริสต์ต้องรับและการตรึงกางเขนสำหรับนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารแล้วเป็นการแต่งตั้งกษัตริย์ ปิลาตทูลถามพระองค์ว่าทรงเป็นกษัตริย์หรือไม่ และพวกทหารเยาะเย้ยพระองค์ด้วยการเรียกพระองค์ว่าทรงเป็น “กษัตริย์ของชาวยิว” (๓) ตามบัญชาของปิลาต (๔) และได้กลายเป็นเครื่องหมายแทนในเวลาต่อมา บนกางเขนมีป้ายเขียนด้วยสี่คำ I.N.R.I (Jesus Nazarenus Rex Indeorum) “เยซูชาวนาซาเร็ธกษัตริย์ของพวกยิว”
    วิธีการเดียวที่จะเข้าใจการที่พระเยซูทรงเต็มพระทัยถวายองค์เป็นยัญบูชาก็ด้วยการมองว่า เป็นการแสดงออกที่ชัดเจนที่สุดของความรักที่ทรงมีต่อเราและต่อพระบิดาของพระองค์ (๕) รักจนถึงขนาดที่ว่าพระบุตรของพระเจ้ายอมมอบพระองค์เองอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อแผนการซึ่งพระบิดาได้ทรงกำหนดไว้เพื่อไถ่บาป นี่เป็นเหตุผลที่ตรัสก่อนทรงรับทุกข์ทรมานในการสนทนาครั้งสุดท้ายกับอัครสาวกของพระองค์ว่า “เราจะไม่พูดกับท่านนานต่อไปอีก เพราะเจ้าโลกนี้กำลังมา มันไม่มีอำนาจอันใดเหนือเรา แต่โลกจะต้องรู้ว่าเรารักพระบิดา และรู้ว่าพระบิดาทรงบัญชาให้เราทำอย่างไร เราก็ทำอย่างนั้น” (ยน.14:30-31)
    กางเขนแห่งพระสิริรุ่งโรจน์จึงเป็นการเปิดเผยอันสูงสุดของความรักที่สมบูรณ์แบบที่สุด พระเยซูทรงอธิบายความสำคัญนี้ในการเลี้ยงครั้งสุดท้ายเมื่อทรงตั้งศีลมหาสนิท(๖) เราเห็นภาพการตรึงกางเขนโยงไปถึงพระตรีเอกภาพในภาพพิธีล้างของพระคริสต์อันได้แก่รูปนกพิราบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระจิตเจ้าบินอยู่เหนือพระผู้ถูกตรึงพระบุตรพระบุตรของพระเจ้าสิ้นพระชนม์ในฐานะมนุษย์บนกางเขน “ทรงมอบวิญญาณของพระองค์” (ยน.19:30) ซึ่งหมายความว่าทรงมอบพระจิตแก่เรา
    น้ำและพระโลหิตที่ไหลออกจากพระสีข้างที่ถูกแทงได้ให้กำเนิดพระศาสนจักร ซึ่งก็มีความคล้ายคลึงกันกับการถือกำเนิดของเอวาซึ่งพระเจ้าทรงสร้างจากกระดูกซี่โครงของอาดัม (๗) บรรดาปิตาจารย์ยังได้พูดอีกว่ากางเขนเป็นเตียงสมรสซึ่งพระศาสนจักรเป็นเจ้าสาวของพระเจ้าได้ตั้งครรภ์ โดยพระคริสต์ทรงเป็นเจ้าบ่าว(๘)
    ดังนั้นกางเขนจึงเป็นศูนย์กลางของโลกคริสตชน ภาษิตของคณะการ์ทูเซียนจึงมีว่า “กางเขนตั้งมั่นบนโลกที่หมุนใบนี้” นี่จึงเป็นเหตุให้จักรวาลของเรานี้เต็มไปด้วยกางเขน “วัดส่วนใหญ่จะถูกสร้างในรูปกางเขนจั่วและที่นั่งของนักขับร้องทำหน้าที่เป็นแกนตั้ง ตัววัด (ที่มีสองปีก)เป็นแกนนอน การที่ที่นั่งของนักขับร้องมักจะเฉียงออกจากศูนย์กลางไปนิดหนึ่ง ก็ได้รับการตีความว่าพระเศียรของพระคริสต์ที่ถูกตรึง เอนไปข้างหนึ่งเมื่อ “ทรงมอบวิญญาณของพระองค์” ภายในวัดกางเขนสิบสองอันของการอภิเษก (วัด)เป็นสัญลักษณ์ของ “อัครสาวกทั้งสิบสององค์ของลูกแกะของพระเจ้า” (วว.21:14) คริสตชนมักแขวนกางเขนบนคอและกางเขนที่หน้าอกเป็นเครื่องหมายพิเศษของนายชุมพา หลุมฝังศพของคริสตชนนับตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาแล้วมักมีกางเขนตั้งอยู่
    เครื่องหมายกางเขนที่เราใช้ในการอวยพรเกี่ยวข้องกับธรรมล้ำลึกของพระตรีเอกภาพ เข้ากับธรรมล้ำลึกแห่งการไถ่บาป เพราะว่าในขณะที่ทำเครื่องหมายกางเขนอยู่นั้นเราก็ออกพระนามของพระบุคคลทั้งสาม “เดชะพระนามพระบิดา (ที่หน้าผาก) พระบุตร (ที่หน้าอก) และพระจิต (ที่บ่าซ้ายไปบ่าขวา หรือถ้าเป็นพวกออร์ธอดอกซ์สลับข้างกัน) อาแมน” การก้าวหน้าที่เป็นสัญลักษณ์นี้สรุปชีวิตไว้อย่างครบถ้วนซึ่งได้รับแรงบันดาลจากความรักซึ่งพาไปจนถึงที่สุดซึ่งเกินเลยไปถึงการทรมานและความตายของเราจนนำเราไปสู่ชีวิตนิรันดรกับพระคริสต์


๑)    “วันต่อมา.....(ยอห์น) กล่าวว่า “นี่คือลูกแกะของพระเจ้าผู้ทรงยกบาปของโลก” (ยน.1:29)
๒)    มธ.16:21; 17:22-23;20: 18-19
๓)    ยน.18:33-37;19: 3-14
๔)    ยน.19:19
๕)    ยน.13:1
๖)    มธ.26:26-28
๗)    ยน.19:34 ปฐก.2:21-24
๘)    อฟ.5:25-27

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี ฉลองนักบุญสเทเฟน ปฐมมรณสักขี พระวรสาตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 10:17-22) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “จงระมัดระวังตนจากมนุษย์ เขาจะมอบท่านที่ศาล และเฆี่ยนท่านในศาลาธรรมของเขา ท่านจะถูกนำตัวไปต่อหน้าผู้ว่าราชการและเฉพาะพระพักตร์กษัตริย์เพราะเราเป็นเหตุ เพื่อเป็นพยานยืนยันแก่เขาและแก่บรรดาชนต่างชาติต่างศาสนา เมื่อเขาจะมอบท่านที่ศาลนั้น อย่าวิตกกังวลว่าจะพูดอย่างไรหรือพูดอะไร...
วันพุธ สมโภชพระคริสตสมภพ พระวรสาตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 1:1-18) เมื่อแรกเริ่มนั้น พระวจนาตถ์ทรงดำรงอยู่แล้ว พระวจนาตถ์ประทับอยู่กับพระเจ้า และพระวจนาตถ์เป็นพระเจ้า พระองค์ประทับอยู่กับพระเจ้าแล้วตั้งแต่แรกเริ่ม พระเจ้าทรงสร้างทุกสิ่งอาศัยพระวจนาตถ์ ไม่มีสักสิ่งเดียวที่พระเจ้าไม่ทรงสร้าง โดยทางพระวจนาตถ์ ชีวิตอยู่ในพระองค์ และชีวิตเป็นแสงสว่างสำหรับมนุษย์...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 วันเตรียมสมโภชพระคริสตสมภพ พระวรสาตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา (ลก 2:1-14) เวลานั้น พระจักรพรรดิออกัสตัสทรงออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการสำรวจสำมะโนประชากรทั่วจักรวรรดิโรมัน การสำรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกนี้มีขึ้นเมื่อคีรินีอัสเป็นผู้ว่าราชการแคว้นซีเรีย ทุกคนต่างไปลงทะเบียนในเมืองของตน โยเซฟออกเดินทางจากเมืองนาซาเร็ธในแคว้นกาลิลีไปยังเมืองของกษัตริย์ดาวิดชื่อเบธเลเฮมในแคว้นยูเดีย เพราะโยเซฟสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์กษัตริย์ดาวิด ท่านไปลงทะเบียนพร้อมกับพระนางมารีย์ ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์...

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เรื่องคริสต์มาส ประวัติและประเพณี
สื่อคำสอน เรื่องคริสต์มาส ประวัติและประเพณี
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง คริสต์มาส กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ คริสต์มาส ประวัติและประเพณี วีดีทัศน์ เทศกาลพระคริสตสมภพ โดย คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช วีดีทัศน์ การประสูติของพระเยซูเจ้า เพลง พระทรงบังเกิด E-book มาเฉลิมฉลองคริสต์มาสกัน ประวัติ...
สื่อคำสอน เรื่องลำดับพระวงศ์ของพระเยซูคริสตเจ้า
สื่อคำสอน เรื่องลำดับพระวงศ์ของพระเยซูคริสตเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ลำดับพระวงศ์ของพระเยซูคริสตเจ้า กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ ประกอบด้วย พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว 1:1-17 ลำดับ​พระ​วงศ์​ของ​พระ​เยซู​คริสต​เจ้า ประวัติของแต่ละบุคคล กิจกรรมที่ 2 แผนภาพที่มีป้ายกำกับ ลำดับ​พระ​วงศ์​ของ​พระ​เยซู​คริสต​เจ้า กิจกรรมที่ 3 สายพานลำเลียง ลำดับ​พระ​วงศ์​ของ​พระ​เยซู​คริสต​เจ้า กิจกรรมที่...
สื่อคำสอน เรื่องเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า
สื่อคำสอน เรื่องเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า แผนภูมิความรู้ เรื่องเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ประกอบด้วย บทเพลง เชิญเสด็จพระมหาไถ่ วีดีทัศน์ เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ (คพ.เชษฐา ไชยเดช) E-book การเตรียมฉลองคริสต์มาสของชาวคริสต์ ประวัติ พิธีกรรม พระวาจา บุคคลสามคน ท่าทีที่เหมาะสม คุณธรรม...
สื่อคำสอน เรื่องบทภาวนาของคริสตชน
สื่อคำสอน เรื่องบทภาวนาของคริสตชน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง บทภาวนาของคริสตชนกิจกรรมที่ 1 ใบความรู้ บทภาวนาของคริสตชนกิจกรรมที่ 2 กิจกรรม คำที่ขาดหายไป

คริสต์มาสและประเพณี

ทำไมจึงฉลองคริสต์มาสในวันที่ 25 ธันวาคม
ทำไมจึงฉลองคริสต์มาสในวันที่ 25 ธันวาคม ตามหลักฐานในพระวรสาร (ลูกา 2:1-3) มีว่า พระเยซูบังเกิดในสมัยที่จักรพรรดิ ซีซาร์ ออกัสตัส...
กำเนิดและความหมายของ วันคริสต์มาส
วันคริสต์มาส เป็นวันหยุดประจำปีของคริสตศาสนิกชน ฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่มีความสำคัญเพราะเป็นวันสมภพของพระเยซูชาวนาซาเร็ธ การบังเกิดของพระองค์เป็นมาตรฐานในเรื่องของระบบวันเวลาของคริสตศักราช ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้กำหนดขึ้นประมาณ 2 ปี...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

285. ความสุขนิรันดรคืออะไร ความสุขนิรันดรคือ การมองเห็นพระเจ้า และเป็นการยกขึ้นสู่ความสุขของพระเจ้า (1720-1724,1729) ในพระเจ้าพระบิดา...
284. ทำไมความสุขแท้จริงจึงมีความสำคัญ ผู้ที่ปรารถนาพระอาณาจักรของพระเจ้า แสวงหารายการลำดับความสำคัญของพระเยซูเจ้าคือ ความสุขแท้จริง (1716-1717, 1725-1726)...
283. ความสุขแท้จริงคืออะไร ผู้มีใจยากจน ย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้า ย่อมเป็นสุข...

กิจกรรมพระคัมภีร์

หนังสือ

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีต้อนรับผู้เตรียมเป็นคริสตชน 2024 -2025
พิธีต้อนรับผู้เตรียมเป็นคริสตชน 2024 -2025
🙏 พิธีต้อนรับผู้เตรียมเป็นคริสตชน 🙏 หลังจากที่ได้เรียนคำสอนมาเป็นเวลา 5-6 เดือนแล้ว ผู้เรียนคำสอนก็จะเริ่มก้าวเข้าสู่ขั้นที่ 1 นั้นก็คือ "พิธีต้อนรับผู้เตรียมเป็นคริสตชน" พวกเขาจะได้ปรากฏต่อหน้าชุมชนวัดเป็นครั้งแรก เป็นการต้อนรับจากคุณพ่อ และสัตบุรุษที่วัด ตอนนี้พวกเขากำลังเดินทางในเส้นทางของความเชื่อ ซึ่งทุกขั้นที่จะผ่านไป เปรียบเสมือนการเติบโตและพัฒนาในด้านความเชื่อ นั้นก็คือการเดินทางฝ่ายวิญญาณ เพื่อให้พวกเขามั่นใจและเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนที่จะเข้าเป็นคริสตชน ในโอกาสนี้ ขอพระพรของพระเจ้า...
ชุมนุมครูคำสอน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2024
ชุมนุมครูคำสอน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2024
📸 ประมวลภาพ 📸 วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2024 แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัดงานชุมนุมครูคำสอน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขึ้น ที่สักการสถาน บุญราศี นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง อ.สามพราน จ. นครปฐม...

สวดสายประคำ

ประวัติความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ ผู้แก้ปม
เดือนตุลาคม เดือนแห่งแม่พระลูกประคำ แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เชิญชวนพี่น้องทุกครอบครัว สวดสายประคำในครอบครัว และบทภาวนาแม่พระแก้ปม เพื่อวอนขอพระนางให้เสนอวิงวอนสำหรับทุกๆ ปัญหา (ปม)...
พระแม่มารีย์ แห่งกวาดาลูเป
ชาวคาทอลิกกว่า 400 คน ในเดนเวอร์ (Denver) ได้แห่ศีลมหาสนิทไปรอบๆ คลินิกทำแท้งที่ใหญ่ที่สุดของรัฐในวันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม งานนี้จัดขึ้นโดยอัครสังฆมณฑลเดนเวอร์...

บทภาวนา (กิจกรรม)

ประมวลคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

1.  การเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์
1. การเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์ จุดประสงค์ของการสอนคำสอนก็คือ “เพื่อให้มนุษย์เข้ามามีความสัมพันธ์กับพระเยซูคริสตเจ้า...
2. การประกาศพระวาจาของพระคริสต์
2. การประกาศพระวาจาของพระคริสต์ “ในการสอนคำสอน เราจึงต้องประกาศพระคริสตเจ้า...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

พระเจ้าทรงเปิดเผยว่าทรงเป็นพระตรีเอกภาพ
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 28 # พระเจ้าทรงเปิดเผยว่าทรงเป็นพระตรีเอกภาพ (238- 248) พระเจ้าทรงเป็นพระบิดาของทุกคนบนโลกนี้ พระองค์สร้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งเราด้วย พระองค์รักและดูแลเราเหมือนพ่อที่ดีรักลูก โดยเฉพาะต่อคนที่ลำบากหรือขัดสน...
เดชะพระนามพระบิดา และพระบุตร และพระจิต
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 27 # “เดชะพระนามพระบิดา และพระบุตร และพระจิต” (232-237) เรื่องนี้เป็นเรื่องของพระเจ้า ซึ่งคริสต์ศาสนาเชื่อว่ามีสามพระบุคคล คือ...

ประวัตินักบุญ

16 ธันวาคม - บุญราศีทั้งเจ็ด สองคอน
บุญราศีครูฟิลิป สีฟอง อ่อนพิทักษ์ครูคำสอนและมรณสักขีค.ศ. 1907-1940(16 ธันวาคม) ครูฟิลิป สีฟอง อ่อนพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1907/พ.ศ. 2450 เกิดที่วัดนักบุญอันนา (หนองแสง) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม บิดาชื่อนายอินตอง เป็นครูโรงเรียนวัดหนองแสง...
13 ธันวาคม  ระลึกถึงนักบุญลูเซีย พรหมจารีและมรณสักขี
13 ธันวาคม ระลึกถึงนักบุญลูเซีย พรหมจารีและมรณสักขี (St. Lucy, Virgin & Martyr, memorial) ตามตำนานที่เล่าขานกันมา นักบุญลูเซียเป็นเด็กสาวเกิดที่เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) อยู่บนเกาะซิซิลี ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี วันหนึ่งเธอได้ไปที่สักการสถานของนักบุญอากาธา ที่ คาตาเนีย กับมารดาของเธอ ซึ่งต้องรับความทุกข์ทรมานจากโรคโลหิตไหลไม่หยุด...

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Don't be afraid

Facebook CCBKK

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

ครอบครัว บ่อเกิดแห่งความเชื่อ

F cover fmaily

คู่มือเตรียมรับศีลมหาสนิท แบบที่ 1-2

ปก แบบที่ 2 01

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

คู่มือแนะแนวในการสอนคำสอน

ปก คู่มือแนะแนว

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
1229
19495
98367
600631
244510
38503622
Your IP: 18.191.37.129
2024-12-26 02:07

สถานะการเยี่ยมชม

มี 423 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์