แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การประกอบพิธีกรรมเป็นการเฉลิมฉลองร่วมกัน
    ‘ข้าพเจ้าเชื่อในพระเจ้าและในพระเยซูเจ้า แต่ไม่เชื่อในพระศาสนจักร’
    ‘ข้าพเจ้าชอบมากกว่าที่จะสวดภาวนาคนเดียวในห้องหรือในโบสถ์ว่างเปล่า ที่นั่นข้าพเจ้ามีความรู้สึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความเงียบ’
    ‘มิสซาวันอาทิตย์ อึกทึกมากเกินไป มีผู้คนมากเกินไป มีจารีตพิธีมากเกินไป’
    รายการข้อความเหล่านี้ที่พบได้บ่อยๆ ในหมู่ชาวคาทอลิกบางกลุ่ม และอาจเพิ่มต่อไปได้เรื่อยๆ ข้อความเหล่านี้สะท้อนความรู้สึกไม่สบายใจ และความไม่อยากประกาศแสดงความเชื่อและสวดภาวนาในชุมชนของพระศาสนจักร

    ในช่วงเวลาก่อนการประชุมสภาสังคายนาฯ ธรรมเนียมที่จะถวายมิสซาเกือบเป็นการส่วนตัวพบได้ทั่วไป เมื่อมีพระสงฆ์หลายองค์สังกัดอยู่กับวัดหนึ่ง พระสงฆ์เหล่านี้ก็ถวายมิสซาของตนตามพระแท่นข้างๆที่สร้างไว้เพื่อการนี้ คุณอาจเห็นมิสซาหนึ่งกำลังถวายอยู่ที่พระแท่นใหญ่ มีพิธีโปรดศีลล้างบาปที่พระแท่นด้านข้างพระแท่นหนึ่ง มีมิสซาสำหรับผู้ตายที่อีกพระแท่นหนึ่ง ... ทั้งหมดนี้ในเวลาเดียวกัน ตามบ้านนักบวช ปรากฏการณ์การถวายมิสซาพร้อมกันตามพระแท่นข้างต่างๆเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่พบได้ทั่วไป สภาสังคายนาฯจะรื้อฟื้นธรรมเนียมโบราณการถวายสหบูชามิสซา ซึ่งแสดงให้เห็นเอกภาพของสมณภาพอย่างชัดเจน และยังเน้นให้เห็นธรรมชาติของการเฉลิมฉลองร่วมกันด้วย (SC 57)
    การปฏิรูปของสภาสังคายนาฯ ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการที่ถูกต้องของพิธีกรรมของคริสต์ศาสนา เน้นลักษณะชุมชนของการประกอบพิธีกรรมทุกอย่างด้วยถ้อยคำต่อไปนี้
    “พิธีกรรมไม่ใช่กิจการของแต่ละคนเป็นส่วนตัว แต่เป็นการเฉลิมฉลองของพระศาสนจักร ซึ่งเป็น “เครื่องหมายแสดงเอกภาพ” กล่าวคือ ประชากรศักดิ์สิทธิ์ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว และอยู่ใต้ปกครองของบรรดาพระสังฆราช ดังนั้น พิธีกรรมจึงเป็นกิจกรรมของพระศาสนจักรทั้งหมดที่รวมกันเป็นพระกายทิพย์ แสดงให้เห็นและก่อให้เกิดพระกายนี้ แต่สมาชิกแต่ละคนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนี้โดยวิธีการ สถานภาพ หน้าที่และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในรูปแบบต่างๆ (SC 26)
    การประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ทุกครั้ง เป็นการเฉลิมฉลองของพระศาสนจักรที่ปรากฏอยู่ในแต่ชุมชนของผู้มีความเชื่อ ไม่ว่าเป็นชุมชนเล็กน้อยหรือยากจนเท่าใดก็ตาม ดังที่ธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักรกล่าวไว้ว่า
    “พระศาสนจักรนี้ของพระคริสตเจ้าอยู่เป็นปัจจุบันจริงๆ ในทุกชุมชนท้องถิ่นของผู้มีความเชื่อ ซึ่งได้ชื่อในพันธสัญญาใหม่ว่า “พระศาสนจักร” ร่วมกับผู้อภิบาลของตน... พระคริสตเจ้าประทับอยู่ในชุมชนเหล่านี้ แม้บ่อยๆจะเป็นชุมชนเล็กๆและยากจน หรือดำเนินชีวิตกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ และเดชะการประทับอยู่ของพระองค์ พระศาสนจักรหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ คาทอลิก และสืบเนื่องจากอัครสาวก ก็ถูกนำมารวมกันอยู่ที่นั่น” (LG 26)
    ความเชื่อสำคัญมากๆ ที่ว่าพระศาสนจักรเป็นอยู่จริงๆ ในแต่ละชุมชนท้องถิ่นของผู้มีความเชื่อนี้ มีหลักฐานมั่นคงอยู่ในพระคัมภีร์หนังสือหลายเล่มในพันธสัญญาใหม่ใช้คำว่า “พระศาสนจักร” (ekklesia)ในสถานการณ์ต่างๆ บางครั้งคำนี้หมายถึงพระศาสนจักรสากล พระเยซูเจ้าตรัสกับเปโตรดังนี้ “เราบอกท่านว่า ท่านคือศิลา และบนศิลานี้ เราจะตั้งพระศาสนจักรของเรา ประตูนรกจะไม่มีวันชนะพระศาสนจักรได้” (มธ.16:18) ในโอกาสอื่น คำว่า “พระศาสนจักร” หมายถึง กลุ่มคริสตชนหลายกลุ่มที่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่บริเวณหนึ่ง “ขณะนั้น พระศาสนจักรมีสันติภาพทั่วแคว้นยูเดีย กาลิลี และสะมาเรีย พระศาสนจักรเติบโตขึ้น มีความเคารพยำเกรงองค์พระผู้เป็นเจ้า และได้รับกำลังใจจากพระจิตเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม” (กจ 9:31) หรือหมายถึงชุมชนผู้มีความเชื่อในสถานที่หนึ่ง “เปาโล” ซึ่งพระเจ้าทรงเรียกให้เป็นอัครสาวกของพระคริสตเยซูตามพระประสงค์ของพระองค์ และจากโสสเธเนสพี่น้องของเรา ถึงพระศาสนจักรของพระเจ้า ที่อยู่ ณ เมืองโครินทร์” (1 คร 1:1-2) บ่อยมาก คำว่า “พระศาสนจักร” หมายถึงชุมชนเล็กๆของผู้มีความเชื่อ ในจดหมายถึงชาวโรม เปาโลส่งความคิดถึงมายังเพื่อนสนิทและผู้ร่วมงานของท่าน กล่าวว่า “ขอฝากความคิดถึงปริสสิลลา และ อาควิลลา  ผู้ร่วมงานกับข้าพเจ้าในพระคริสตเยซู และขอฝากความคิดถึงกลุ่มคริสตชน (หรือ “พระศาสนจักร”) ที่ชุมนุมกันในบ้านของเขาด้วย” (รม 16: 3,5) แม้กระทั่งชุมชนเล็กๆ ในบ้านของเพื่อนคนหนึ่งก็เป็นพระศาสนจักรในบ้านที่แสดงให้เห็นพระศาสนจักรทั้งหมด
    ในความเป็นจริง ชุมชนที่กำลังประกอบพิธีกรรมไม่อาจเป็นพระศาสนจักรสากลทั้งหมด หรือพระศาสนจักรท้องถิ่นทั้งหมดได้ แต่เราก็เชื่อว่า การประกอบพิธีกรรมใดๆ ไม่ว่าที่ชุมชนหนึ่งกำลังปฏิบัติอยู่ก็เป็นการประกอบพิธีของทุกคนในพระศาสนจักรท้องถิ่นนั้นและของพระศาสนจักรสากลทั้งหมดด้วย “พิธีกรรมจึงเป็นกิจกรรมของพระศาสนจักรทั้งหมดที่รวมกันเป็นพระกายทิพย์ แสดงให้เห็นและก่อให้เกิดพระกายนี้”  (SC 26)
    ธรรมนูญข้อนี้ยังขยายความสอนเราเรื่องนี้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นโดยบอกเพิ่มอีกว่า ชุมชนที่กำลังประกอบพิธีกรรมเป็น “ประชากรศักดิ์สิทธิ์ ที่รวมกันอย่างมีระเบียบใต้ปกครองของพระสังฆราช”
    พระสังฆราชแต่ละองค์มีความสัมพันธ์กับพระสังฆราชอื่นๆทั่วโลก และทุกองค์ล้วนมีความสัมพันธ์กับพระสังฆราชแห่งกรุงโรม คือ พระสันตะปาปา และรวมกันเป็นชุมชนสากล คือคณะพระสังฆราช นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมพระสงฆ์จึงกล่าวในบทขอบพระคุณว่า “(ข้าแต่พระบิดาเจ้า) โปรดทรงระลึกถึงพระศาสนจกรที่แผ่ขยายไปทั่วโลก...เป็นหนึ่งเดียวกับสมเด็จพระสันตะปาปา... พระสังฆราช(ของข้าพเจ้าทั้งหลาย)...” พระศาสนจักรยังถูกเรียกว่า “ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งเอกภาพ” ซึ่งเป็นคำที่จะถูกใช้และพัฒนาขึ้นในเอกสารอีกหลายฉบับของสภาสังคายนาฯ พระศาสนจักรในฐานะที่เป็นพระกายทิพย์ของพระเยซูเจ้าซึ่งทรงเป็น “เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์” (Sacrament) ของพระเจ้าที่มนุษย์มองไม่เห็น ก็เป็น “ศีลศักดิ์สิทธิ์” ด้วย คือเป็นเครื่องหมายของการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในคำอธิษฐานภาวนา และการกระทำของตน ธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักรกล่าวถึงพันธกิจของพระศาสนจักรไว้ดังนี้ว่า
    “เพื่อนำแสงสว่างของพระคริสตเจ้ามาสู่มนุษย์ทุกคน เป็นแสงสว่างเจิดจ้าที่ฉายให้เห็นบนใบหน้าของพระศาสนจักร” เพราะ “พระศาสนจักรในองค์พระคริสตเจ้าเป็น “ศีลศักดิ์สิทธิ์” หรือ “เครื่องหมายและเครื่องมือ” ทั้งของความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระเจ้า และของเอกภาพของมนุษยชาติทั้งมวล” (LG 1)
    พระธรรมล้ำลึกเรื่องพระศาสนจักรมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพระธรรมล้ำลึกเรื่องศีลมหาสนิท เมื่อรับประทานพระกายของพระคริสตเจ้า เราก็กลับเป็นพระกายของพระคริสตเจ้าด้วย
    “เพราะการรับพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้าไม่ทำอะไร นอกจากทำให้เราเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เรารับประทานเป็นอาหาร” (LG 26)
    โดยการมีส่วนร่วมในศีลมหาสนิท ชุมชน (คริสตชน) กลายเป็นพระศาสนจักรซึ่งเป็นพระกายของพระเยซูเจ้า ธรรมนูญ SC อธิบายคำสอนนี้โดยเพิ่มข้อความว่า
    “ทุกครั้งที่พิธีต่างๆ ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละพิธี เรียกร้องให้มีการเฉลิมฉลองส่วนรวม โดยที่สัตบุรุษทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน จึงต้องย้ำเท่าที่ทำได้ว่า การฉลองแบบนี้ดีกว่าการเฉลิมฉลองเป็นเอกเทศซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนตัว ควรปฏิบัติเช่นนี้โดยเฉพาะเมื่อประกอบพิธีมิสซา แม้ว่าทุกมิสซาในตัวเองมีลักษณะเป็นส่วนรวมของสังคมอยู่แล้วก็ตาม และควรปฏิบัติเช่นนี้เมื่อประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วย” (SC 27)
    กลุ่มคริสตชนที่มาชุมนุมกันเพื่อประกอบพิธีกรรมเป็น “พระศาสนจักร” ในความหมายสมบูรณ์ของคำนี้ ทุกสิ่งที่เราอาจกล่าวถึงพระศาสนจักร เราก็อาจกล่าวได้ถึงชุมชนที่กำลังประกอบพิธีกรรมด้วย ชุมชนนี้เป็นประชากรของพระเจ้า เป็นพระกายของพระคริสตเจ้า เป็นพระวิหารของพระจิตเจ้า เป็นภาพของพระศาสนจักรทั้งในโลกนี้และในสวรรค์ พระศาสนจักรได้รับเรียกมาเพื่ออธิษฐานภาวนาและประกาศข่าวดี เพื่อพิศเพ่งและปฏิบัติงาน เมื่อเราสวดบท “ข้าพเจ้าเชื่อ” ในมิสซาและกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเชื่อในพระศาสนจักรหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบเนี่องจากอัครสาวก” เราอาจหันไปรอบๆและบอกด้วยว่า “ซึ่งอยู่ที่นี่และเวลานี้ ในชุมชนนี้”
    การอบรมบรรดาผู้มีความเชื่อในเรื่องพิธีกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง พระเจ้าทรงมอบขุมทรัพย์ให้แก่เรา บรรดาผู้อภิบาล เพื่อช่วยบรรดาผู้มีความเชื่อให้สำนึกถึงกระแสเรียกและพันธกิจของเขา เขามีความกระหายอาหารบำรุงกำลังนี้ที่จะเพิ่มพูนความเข้าใจ ความเชื่อของเขา และทำให้เขาพร้อมยิ่งขึ้นที่จะรับพระหรรษทานขอองพระเจ้า

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:7-14) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ถ้าท่านทั้งหลายรู้จักเรา ท่านก็รู้จักพระบิดาของเราด้วย บัดนี้ ท่านก็รู้จักพระบิดา และเห็นพระองค์แล้ว” ฟีลิปทูลว่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ( St. Catherine of Siena ;...
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
4900
16702
90599
300132
306218
36043854
Your IP: 18.191.202.45
2024-04-27 06:40

สถานะการเยี่ยมชม

มี 201 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์