แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

1. การประกาศพระวรสารในฐานะเป็นรากฐานและบริบทของการสอนคำสอน


1. คำว่าการประกาศพระวรสาร
ประการแรกที่จะกล่าวคือ ความสัมพันธ์ระหว่างการประกาศพระวรสารและการสอนคำสอน เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์นี้  จำเป็นต้องเข้าใจอย่างชัดเจนถึงคำเหล่านี้ เริ่มจาก การประกาศพระวรสาร
1.1    การประกาศพระวรสารในหนังสือคู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน
หนังสือคู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอนได้สรุปเนื้อหาของเอกสารของสภาสังคายนาต่างๆ และคำสั่งสอนของพระศาสนจักรสมัยหลังสภาสังคายนาที่เกี่ยวข้องกับการประกาศพระวรสาร  โดยเฉพาะสมณะทฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรมทูตของพระศาสนจักร  พระสมณสาสน์การประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน  พระสมณสาสน์เตือนใจเรื่องการสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน  และพระสมณสาสน์พระพันธกิจขององค์พระผู้ไถ่  หนังสือคู่มือแนะแนวฯ นี้ได้อธิบายว่าการประกาศพระวรสารเป็นกระบวนการทั้งหมดของพระศาสนจักร
- ปลุกเร้าด้วยความรักเมตตา ทำให้ซาบซึ้ง และเปลี่ยนแปลงความคิดฝ่ายโลกด้วยการลงมือกระทำและฟื้นฟูวัฒนธรรม
- เป็นพยานยืนยันถึงวิธีการใหม่ในการเป็น และเจริญชีวิตอันเป็นลักษณะพิเศษแบบคริสตชนท่ามกลางนานาชาติ
- เทศน์สอนพระวรสารอย่างเปิดเผย ด้วยการประกาศพระวรสารขั้นแรก และเรียกสู่การกลับใจ
- นำความเชื่อและชีวิตคริสตชนไปสู่ผู้ที่กลับใจมาหาพระเยซูคริสตเจ้า  หรือผู้ที่กลับมาติดตามพระองค์ด้วยการ “เรียนคำสอน” และโดย “ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มชีวิตคริสตชน”
- หล่อเลี้ยงสัตบุรุษด้วยพระพรแห่งศีลมหาสนิทอย่างสม่ำเสมอ  ด้วยการให้ความรู้ทางด้านความเชื่ออย่างต่อเนื่อง (การเทศน์ และรูปแบบอื่นๆ ทางด้านศาสนบริการด้านพระวาจา) ศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และปฏิบัติกิจเมตตาอย่างสม่ำเสมอ
- ส่งเสริมการแพร่ธรรมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งบรรดาศิษย์ของพระคริสตเจ้าออกไปประกาศพระวรสาร ด้วยวาจาและการกระทำให้ทั่วทุกมุมโลก (GDC 48) เพื่อความรอดของวิญญาณ
เราสามารถกล่าวได้ว่าหนังสือคู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน เสนอว่า การประกาศพระวรสารเปรียบเสมือนกรอบใหญ่ที่ล้อมกิจกรรมการอภิบาลของพระศาสนจักรทั้งหมดเอาไว้  และเป็นจุดเด่นของการนำเสนอ

2.    คำว่า  “การสอนคำสอน”
ในข้อที่ 63 ของหนังสือคู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน  และในการปลุกเร้าของสมณะกฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรมทูตของพระศาสนจักร  การประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน และการสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน  ได้บอกลักษณะการสอนคำสอนว่าเป็น : “ช่วงเวลา”  ในขบวนการของการประกาศพระวรสาร  และให้คำจำกัดความว่า “ช่วงเวลา” ของการสอนคำสอน  เป็นช่วงเวลาตรงกันกับช่วงการกลับใจมาเชื่อในองค์พระเยซูคริสตเจ้าที่เป็นรูปธรรม และวางรากฐานให้กับการยอมรับพระองค์ ครั้งแรกบรรดาผู้ที่กลับใจอาศัย “ช่วงเวลาการฝึกอบรม  การฝึกดำเนินชีวิตคริสตชนอย่างครบถ้วน  ได้รับการเริ่มนำเข้าสู่ธรรมล้ำลึกแห่งการช่วยให้รอดพ้น และวิถีการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับพระวรสาร  ซึ่งหมายถึงการเริ่มนำบรรดาผู้ฟังเข้าสู่ชีวิตคริสตชนอย่างสมบูรณ์”
    สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2  ยังได้ตรัสกับบรรดาพระสังฆราชของประเทศสหรัฐอเมริกาในโอกาสเข้าเฝ้า  เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1998  ทรงชี้ให้เห็นว่าการสอนคำสอน “เป็นบทบาทพื้นฐานของการส่งผ่านความเชื่อ…สารของพระวรสารตอบสนองความปรารถนาอันลึกซึ้งที่สุดของหัวใจมนุษย์ได้อย่างแน่นอน  เยาวชนคริสตชนมีสิทธิที่จะได้รับฟังเนื้อหาของสารนี้อย่างครบถ้วน  เพื่อจะได้รู้จักพระคริสตเจ้า  พระองค์ผู้ชนะความตาย  และเปิดสู่หนทางแห่งการช่วยให้รอดพ้น ความพยายามที่จะฟื้นฟูการสอนคำสอนต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสอนของพระคริสตเจ้าเป็นหลัก  ในฐานะผู้ส่งผ่านในพระศาสนจักร  และในการตีความที่เชื่อถือได้โดยผู้มีอำนาจสั่งสอนในพระศาสนจักร  ต้องแสดงถึงความร่ำรวยและวิธีการต่างๆ ที่ใช้เพื่อตอบสนองต่อธรรมชาติของความเชื่อ  ซึ่งเป็นความจริงที่ได้รับ” (เทียบ 1 คร.15:1)

3.    การประกาศพระวรสารคือรากฐานและบริบทของการสอนคำสอน
ถ้าเราใช้คำว่า “ การประกาศพระวรสาร ”  ตามความหมายเต็มๆ ของการประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน  การสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน  และคู่มือแนะแนบทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน  ถ้าเราเข้าใจคำว่าการประกาศพระวรสารในความหมายของศาสนบริการพระวาจา  ซึ่งในตัวมันเองครอบคลุมรูปแบบต่างๆ การเทศน์สอนของธรรมทูต การสอนคำสอน การเทศน์สอนทางพิธีกรรม กิจกรรมทางเทววิทยา ฯลฯ  ดังนั้นการประกาศพระวรสารและศาสนบริการพระวาจา  มิได้ปรากฏในฐานะรากฐานของการสอนคำสอน เฉพาะเจาะจงอย่างที่เข้าใจ (การนำความเชื่อเริ่มแรกให้บรรลุถึงความเป็นผู้ใหญ่ในชีวิตคริสตชน)  มากไปกว่าการเป็นโครงสร้างหรือบริบทในการสอนคำสอน
    การประกาศพระวรสารนั้นมีค่า ซับซ้อน และมีชีวิตชีวา  ซึ่งในความเป็นจริง การสอนคำสอนก็เป็นส่วนสำคัญที่ขาดมิได้  ซึ่งเป็นขั้นที่สำคัญที่สุด  และเป็นช่วงเวลาที่จำเป็น (เทียบ CT 18) ศาสนบริการพระวาจา คือ ประเภทหนึ่งที่มีร่วมกับประเภทอื่นๆ อีกมากมายของการสอนคำสอน
    อย่างไรก็ตาม  ถ้าเราเข้าใจ “การประกาศพระวรสาร”  เป็นดังคำเทศน์สอนเรื่องพระเยซูเจ้า หรือการประกาศพระวรสารขั้นแรกแก่ผู้ที่ยังไม่เชื่อ  ให้ก้าวสู่ความเชื่อ  และการสอนคำสอนเป็นการทำให้ตระหนัก  ทำให้ความเชื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่  และรวมพวกเข้าอยู่ในกลุ่มคริสตชน  ดังนั้นการประกาศพระวรสารถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ  และเป็นเรื่องทั่วไปที่ล่วงหน้าก่อนการสอนคำสอน  การปลุกเร้าความเชื่อด้วยการประกาศพระวรสาร  ในขั้นแรกเท่านั้นที่สามารถนำไปสู่การบรรลุความเป็นผู้ใหญ่  ผู้ที่กลับใจแล้ว  และผู้ที่ยอมรับคำเทศน์สอนเรื่องพระเยซูเจ้าเท่านั้น  ที่สามารถยอมรับพระวรสารของพระ  คริสตเจ้าได้ทั้งหมด  สามารถเข้าร่วมในศาสนจักรของพระองค์