บทบาทของพระสงฆ์ในการสอนคำสอน
The Role of Priests in Catechesis
พระคาร์ดินัล ดาริโอ คาสตริลอน โฮยอส
สมณมนตรีสมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998
พระคาร์ดินัลคาสตริลอน โฮยอส ดาริโอ (Dario Cardinal Castrillon Hoyos)
เกิดที่เมืองเมเดลลิน (โคลัมเบีย) วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1929
รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ วันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1952
สำเร็จปริญญาเอกด้านกฎหมายพระศาสานจักรที่มหาวิทยาลัยเกรโกเรียน กรุงโรม
ได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราชแห่ง Pereira วันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1971
16 ธันวาคม ค.ศ. 1992 พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 แต่งตั้งเป็นหัวหน้าสมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องพระสงฆ์ และเป็นพระคาร์ดินัล วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998
เป็นสมณสมตรีของสมณะกระทรวงว่าด้วยเรื่องพระสงฆ์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998
เป็นสมาชิกของสมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องการประกาศพระวรสารสู่ปวงชน
และประธานคณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยเรื่องคำสอน
บทความนี้เป็นการเผยแพร่แก่บรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชชายหญิง ที่สหรัฐอเมริกา วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998
อารัมภบท
บรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ พี่น้องชายหญิงที่รักในพระคริสต์
ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมใหญ่ (Congress) ครั้งนี้ และได้ร่วมไตร่ตรองถึงการเผชิญหน้ากับการท้าทายกิจกรรม เรื่องการประกาศพระวรสารและการสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน มีคนกล่าวว่าในช่วงสหัสวรรษต่อไป เราจะก้าวสู่สหัสวรรษแห่งคริสตชน หรือไม่ก็ไม่ใช่สหัสวรรษแห่งคริสตชน
ก่อนอื่น ข้าพเจ้าขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการบริการรับใช้พระวาจาในพระศาสนจักรท้องถิ่นของท่าน ข้าพเจ้าตระหนักดีถึงความเป็นห่วงและความกระตือรือร้นในการอภิบาลของพวกท่าน ข้าพเจ้าทราบว่าท่านต้องจ้างบุคลากร เครื่องมือ และแหล่งทรัพยากรต่างๆ ที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมการประกาศพระวรสารและการสอนคำสอนในทุกๆ พื้นที่ และสำหรับทุกๆ กลุ่มวัย : เด็ก วัยรุ่น เยาวชน และผู้ใหญ่
ขอพระเจ้าทรงตอบแทนพวกท่านในงานเหล่านี้ และประทานส่วนแบ่งรางวัลตามที่ทรงสัญญาไว้กับผู้ที่ทำงานเพื่อพระวรสาร
สมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์อยู่ใกล้ชิดกับพวกท่าน ติดตามพวกท่านด้วยความรัก ชื่นชมในความกระตือรือร้น และให้กำลังใจในงานสำคัญที่พวกท่านกำลังกระทำอยู่ในปัจจุบัน
คำนำ
ข้าพเจ้าขออนุญาตเริ่มแบ่งปันข้อคิดเห็นบางประการ ซึ่งข้าพเจ้าเจตนาถือว่าเป็นภูมิหลังอันจำเป็นสำหรับสิ่งที่ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป
ในปัจจุบันนี้คำว่า “การประกาศพระวรสาร ” และ “การสอนคำสอน” บ่อยครั้งถูกเข้าใจว่าเป็นวิธีการฉับพลันในฐานะ “สิ่งที่ต้องกระทำ” “กิจกรรมที่ต้องจัดทำ” หรือ “โครงการที่ต้องเขียนและทำให้เป็นความจริง” ในตัวของมันสิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญ เพราะเราไม่สามารถแยกการประกาศพระวรสารโดยไม่ใช้ใช้วิธีการ และการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่เหมาะสมซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการประกาศพระวรสาร อย่างไรก็ตาม คำถามเกี่ยวกับการประกาศพระวรสารและการสอนคำสอนเป็นสิ่งที่ซับซ้อนมากยิ่งกว่านี้ และไม่สามารถลดบทบาทไปพึ่งแค่เทคโนโลยีได้
ในวันนี้ข้าพเจ้าขอกล่าวถึงแง่มุมบางประการในการประกาศพระวรสารและการสอนคำสอน ข้าพเจ้าขอเริ่มจากสภาพการณ์ความจริงที่ทั้งสองฝังรากในกิจกรรมของพระศาสนจักร
สิ่งนี้มิได้หมายถึงหลักยึดอย่างผิวเผินบางประการที่เป็นนามธรรมหรือทฤษฎีที่คลุมเครือ แต่ความหมายประการแรกคือ ความเป็นจริงเหล่านี้ซึ่งเหมาะกับพระศาสนจักร และกับแต่ละพระศาสนจักรท้องถิ่นซึ่งได้ถูกส่งไปประกาศถึงพระคริสตเจ้า ถึงความจริงที่ช่วยให้รอดพ้น
การประกาศพระวรสารและการสอนคำสอน เป็นอะไรที่มากกว่าเป็นกิจกรรมหรือโครงการ สื่อนำหรือเทคโนโลยี แต่เป็นการกระทำของพระกายของพระศานจักรที่บุคคลผู้กระทำโดยมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น และผู้ซึ่งเป็นจุดอ้างอิงแรกแต่บุคคลเดียว คือ พระวจนาตถ์ทรงรับเอาธรรมชาติมนุษย์
ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะผ่านโดยไม่เน้นในจุดนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นอย่างชัดเจนในคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนเล่มใหม่
- ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับกระบวนการในการประกาศพระวรสาร (GDC 47-49)
- เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสอนคำสอนขั้นเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชน (GDC 63-68)
- และโดยเฉพาะในการให้ความสำคัญที่แตกต่างจากหนังสือคู่มือแนะแนวเล่มก่อน คือ การสอนคำสอนตามสภาพการณ์ของพระศาสนจักรท้องถิ่น
ด้วยเหตุผลลึกๆ นี้ ความรับผิดชอบของเราศาสนบริกรของพระสังฆราชต้องเผยให้เห็นอย่างชัดเจนและมั่นคง สำนักงานสังฆราชของเราไม่สามารถลดค่าหรืออยู่ในสภาพเพียงแค่ยึดมั่นอยู่กับกฎเกณฑ์ ด้วยคุณธรรมอันเปี่ยมล้นของศีลบวช เราได้รับพรพิเศษแห่งความจริงอย่างแน่ชัด และเราได้รับมอบหมายความรับผิดชอบอันดับแรก คือ การเทศน์สอนพระวรสาร (GDC 222)
ความคิดเห็นของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ในโอกาสนำเสนอหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกฉบับภาษาลาติน (Osservato Romano 8-9 กันยายน 1997 หน้า 5) ทำให้เข้าใจอย่างยิ่ง
“บัดนี้ข้าพเจ้ามอบหมายเนื้อหาซึ่งสมบูรณ์ และเป็นแบบแผนแก่พระศาสนจักรทั้งปวง โดยเฉพาะแด่ผู้อภิบาลของสังฆมณฑลต่างๆ ทั่วโลก ผู้ซึ่งเป็นที่หมายสำคัญในสถานการณ์แวดล้อมเหล่านี้ เราสามารถประยุกต์ข้อความของนักบุญเปาโลมาใช้อย่างเหมาะสมว่า ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนี้ต่อให้ท่าน” (1 คร 11:23)
ในโอกาสนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาทรงชี้ชัดเจนว่า บรรดาผู้อภิบาลของสังฆมณฑลต่างๆ ทั่วโลก ในฐานะผู้ที่เป็นหลักสำคัญที่เนื้อหาในหนังสือนี้มุ่งถึง สิ่งที่พระองค์ตรัสถึงหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก มีความสัมพันธ์ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลกับการบริการด้านอบรมคริสตศาสนธรรมทั้งหมด เราได้รับพระพรอันประเสริฐของพระวรสารจากพระเจ้า เราตอบแทนโดยการอุทิศตนและความเพียรพยายามประจำวัน เราต้องถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ให้กับบุคคลที่เราได้รับมอบหมายให้ดูแลเอาใจใส่
ก่อนที่จะจบบทนำ ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับความพยายามอย่างน่าชื่นชมของท่าน พี่น้องพระสังฆราชที่ได้ผลิตหนังสือคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนของประเทศสหรัฐ ชื่อแบ่งปันความเชื่อ (SHARING THE LIGHT OF FAIHT National Catechetical Directory for Catholics of the United States, November 14-17, 1997) บัดนี้พวกท่านต้องเริ่มทำงานที่สำคัญด้วยความอดทน สุขุม ความกล้าหาญ และการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะแก้ไขและปรับปรุงหนังสือคำสอนในประเทศของท่าน โดยพิจารณาจากหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และคู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน
เพื่อไม่ให้เป็นการยืดเยื้อ ให้เราไตร่ตรองถึงสิ่งที่พวกท่านได้ขอข้อคิดเห็นจากข้าพเจ้า
1. การประกาศพระวรสารในฐานะเป็นรากฐานและบริบทของการสอนคำสอน
2. ศาสนบริการของพระสงฆ์ในการสอนคำสอน
3. การอบรมครูคำสอน
4. การนำสารจากพระวรสารเข้าสู่วัฒนธรรมท้องถิ่น
5. คริสตศาสนสัมพันธ์และการสอนคำสอน