แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

4. การนำพระวรสารเข้าสู่วัฒนธรรม
    อีกประการหนึ่งในการไตร่ตรองของเรา เกี่ยวข้องกับการนำพระวรสารเข้าสู่วัฒนธรรม ในขอบเขตของการประกาศพระวรสารและการสอนคำสอน
    “พระวจนาถทรงรับสภาพมนุษย์  เป็นคนจริงๆ คนหนึ่ง  ในเวลา สถานที่ และทรงรับพื้นฐานจากวัฒนธรรมเฉพาะท้องถิ่นหนึ่ง”  พระคริสตเจ้าโดยการรับสภาพมนุษย์  ซึ่งพระองค์ทรงอยู่ด้วย  “นี่คือต้นกำเนิดของการเข้าสู่วัฒนธรรม”  ของพระวาจาพระเจ้า  และเป็นแบบอย่างของการประกาศพระวรสารทุกรูปแบบที่พระศาสนจักร “เรียกร้องให้นำพลังแห่งพระวรสาร เข้าไปในใจกลางวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ” (GDC 109)
    ตั้งแต่วันสมโภชพระจิตเจ้า เมื่อประชาชนจากภาษาที่แตกต่างกันได้รับฟังพระวาจาแห่งการช่วยให้รอดพ้นประการเดียวกัน (เทียบ กจ 2 : 1-13)  พระศาสนจักรได้สานต่อพันธกิจในการเทศน์สอนพระวรสารไปทั่วโลก  ในความหมายนี้ประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร  ซึ่งก็คือการประกาศพระวรสารและการสอนคำสอน  สามารถเป็นดังคำอธิบายถึงประวัติศาสตร์ของการนำพระวรสารเข้าสู่วัฒนธรรม (เทียบ พระพันธกิจขององค์พระผู้ไถ่ 52)

เราอาจจะถามตนเองว่า
คำว่าวัฒนธรรมหมายถึงอะไร
การนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรมหมายความว่าอะไร
เกี่ยวกับคำถามแรก : วัฒนธรรมคือะไร ข้าพเจ้าขออ้างถึง “พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้” ข้อ 53 คำ “วัฒนธรรม”  ตามใจความกว้างๆ  หมายถึง  ทุกสิ่งที่มนุษย์ใช้ขัดเกลา  พัฒนาคุณสมบัติหลายอย่างในกายและใจของคน  หมายถึงการที่มนุษย์พยายามบังคับโลกไว้ในอำนาจด้วยความรู้  และการทำงาน  และทำให้ชีวิตสังคมไม่ว่าในครอบครัว หรือในชุมชน บ้านเมืองทั่วไป  ให้มีมนุษยธรรมยิ่งขึ้นด้วยความเจริญของขนบธรรมเนียมและสถาบันต่างๆ  ที่สุดก็หมายถึงการที่มนุษย์แสดงออก  ถ่ายทอด  และรักษาไว้ในสถาบันของตนตามกาลเวลาที่ล่วงไป  ซึ่งความชำนาญจัดเจนและความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ทางจิต  เพื่อเป็นประโยชน์แก่ความก้าวหน้าของคนจำนวนมาก  หรือมนุษยชาติทั้งปวง
    ข้อความนี้ชี้ให้เห็นว่า  “วัฒนธรรม”  ครอบคลุมถึงชีวิตทั้งหมดของมนุษย์  ด้วยวัฒนธรรมมนุษย์สามารถกลายเป็นผู้ผลิต  ผู้แพร่หลาย  และผู้ใช้  เพราะวัฒนธรรม คือ มนุษย์ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง รวบรวม  ปฏิรูป  สูญหายและถือสิทธิ์  ในตนเองเป็นดังชีวิตของมนุษย์และประเทศชาติ  เราต้องพูดถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายมากกว่าวัฒนธรรมเดียว  ศาสนาเป็นปัจจัยประกอบที่ปรากฏอย่างสากลในชีวิตของทุกๆ วัฒนธรรม
    เราสามารถกล่าวถึงวัฒนธรรมคริสตชน  เมื่อความเข้าใจร่วมกันของชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันเปี่ยมไปด้วยความเชื่อเพื่อว่า “สารแห่งพระวรสารจะเป็นพื้นฐานความคิด พื้นฐานชีวิต เป็นมาตรฐาน หลักในการตัดสิน เป็นหลักเกณฑ์ในการปกครองดูแล วัฒนธรรมบ่งถึงจริยธรรมของประชาชน รวมทั้งสถาบันและโครงสร้างต่างๆ ”  (คำปราศัยของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2  กับคณะอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเมเดอลิน  5 กรกฎาคม 1986 ข้อ 2)
    กลับมาดูคำว่า “การเข้าสู่วัฒนธรรม”  ข้าพเจ้าขออ้างถึง  พระพันธกิจขององค์พระผู้ไถ่ ข้อ 52 ที่กล่าวถึงการเข้าสู่วัฒนธรรม  “การเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดซึ่งค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ถ่องแท้ โดยการนำเข้ามารวมไว้ในคริสตศาสนา และการฝังรากของคริสตศาสนาลงไว้ในวัฒนธรรมต่างๆ ของมนุษย์”
    หนังสือคู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน  ที่สรุปถึงการสอนของพระศาสนจักร  เรื่องการเข้าสู่วัฒนธรรม ว่า
    “การนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม ภายในขอบข่ายการแลกเปลี่ยนอันน่าพิศวง ประกอบไปด้วย คุณค่าอันมั่งคั่งทั้งปวงของชนชาติต่างๆ อันเป็นมรดกได้มอบให้กับพระคริสตเจ้า เป็นกระบวนการที่มาจากส่วนลึกทั่วโลกและเป็นไปอย่างช้าๆ  มิใช่เป็นเพียงการปรับปรุงภายนอกที่มุ่งทำให้สารคริสตชนดึงดูดความสนใจได้มากขึ้น หรือประดับไว้อย่างผิวเผิน ตรงกันข้าม  หมายถึง การเข้าสู่ชั้นลึกๆ ที่สุดของตัวบุคคล  และชนชาติต่างๆ โดยอาศัยพระวรสารที่สัมผัสส่วนลึกๆ ของพวกเขา “การไปถึงแก่นและฝังราก” ลงในวัฒนธรรมต่างๆ ของพวกเขา ” (GDC 109)
    การนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม  มิได้หมายถึงเฉพาะทางด้านภาษา  และสัญลักษณ์ที่ให้แก่วัฒนธรรม แต่หมายถึงการยอมรับและเจริญชีวิตตามพระวรสารด้วยคุณค่าที่ลึกซึ้ง ด้วยความปรารถนาที่จำเป็นต่อชีวิต  ฝังแน่นอยู่ในมนุษย์วิทยา  และเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม  การส่งเสริมการสอนคำสอนเรื่องการเข้าสู่วัฒนธรรม  หมายถึง  การสอนคำสอนในรูปแบบใหม่  ในการเคารพต่อความคิดภายนอกของการสอนที่เป็นเพียงการช่วยเหลืออย่างผิวเผิน หรือความเสื่อมถอยของกลยุทธ์ที่ทำให้เพลิดเพลิน  ในความเป็นจริงหมายถึงการทำให้ธรรมล้ำลึกของพระคริสตจ้ามาพบกับวัฒนธรรม เพื่อเป็นการช่วยเหลือมนุษย์ที่ทรงเผยแสดงพระองค์แก่มนุษย์ “การสอนคำสอนจึงต้องพยายามศึกษาวัฒนธรรมเหล่านี้  รวมถึงองค์ประกอบสำคัญต่างๆ  ต้องเรียนรู้ถึงวิธีการแสดงออกที่สำคัญ  ต้องเคารพคุณค่า  และความร่ำรวยที่มีอยู่ในวัฒนธรรมนั้นๆ  ด้วยท่าทีเช่นนี้  การสอนคำสอนจึงสามารถเสนอความรู้เกี่ยวกับธรรมล้ำลึก  และชี้ให้เห็นแบบชีวิตคริสตชนที่แท้ในจารีตประเพณีที่เป็นอยู่ รวมถึงการเฉลิมฉลองและความนึกคิดแบบคริสตชนซึ่งซ่อนเร้นอยู่ในวัฒนธรรมนั้น ” (CT 53)
    สำหรับการสอนคำสอน (ทั้งครูคำสอนและผู้ที่เรียนคำสอน)  สิ่งนี้เป็นการยกระดับวิถีการรับผิดชอบทั้งหมด  ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ก. ความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับเนื้อหาของความเชื่อคาทอลิก ซึ่งถ่ายทอดให้กับสัตบุรุษที่เป็นเกณฑ์ขั้นพื้นฐานสำหรับการเข้าสู่วัฒนธรรมอย่างแท้จริง ผู้เป็นศิษย์ของพระคริสต์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับพระวาจาแห่งความเชื่อแบบครบถ้วนสมบูรณ์  ทั้งในด้านของความครบถ้วน  ความสมบูรณ์  และด้านความชัดเจน  ความมีชีวิตชีวา  ไม่ใช่อยู่ในรูปตกๆ หล่นๆ มีการแปลงปนหรือแบบย่นย่อ  ทั้งนี้เพื่อให้คารวกิจตามความเชื่อของพวกเขาบรรลุผลอย่างสมบูรณ์  การปล่อยปละละเลยบางเรื่องที่กระทบกระเทือนความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหานั้น  เป็นจุดอ่อนที่เป็นอันตรายของการสอนคำสอน และเสี่ยงต่อการที่จะไม่บังเกิดผลสมกับที่พระคริสตเจ้า และคริสตชุมชนหวังว่าจะได้รับตามสิทธิของตน (CT 30) ในปัจจุบันหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกจะนำเสนอจุดเด่นๆ ที่จำเป็นต่างๆ เพื่อประโยชน์ในงานอภิบาล ซึ่งเป็นมาตรฐานการทดสอบของกระบวนการต่างๆ ของการเข้าสู่วัฒนธรรม
ข. ความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมมีผลกระทบต่อกันทั้งสองฝ่าย  ที่จริงการสอนคำสอน  “เป็นส่วนหนึ่งของการเสวนาด้านวัฒนธรรม” (CT 53)  เราตระหนักว่าวัฒนธรรมไม่สามารถมีอยู่อย่างโดดเดี่ยวในมนุษย์  มีอยู่ในฐานะวัฒนธรรม  “metissagge”  ส่งผลกระทบต่อทั้งสองฝ่าย ซึ่งบางอย่างครอบงำหรือที่มีลักษณะเหมือนกัน (ระบบอุดมการณ์ ฯลฯ)  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไร้พรมแดน  อยู่รวมกัน  และมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น  การปฏิบัติหน้าที่ในการสอนคำสอนเป็นหน้าที่สำคัญที่จะส่งเสริมการประสานนานาวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน  โดยเฉพาะระหว่างวัฒนธรรมสากลและวัฒนธรรมท้องถิ่น สิ่งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำให้วัฒนธรรมต่างๆ อยู่อย่างโดดเดี่ยว ขาดการประสานกัน หรือวัฒนธรรมใดมีอิทธิพลต่ออีกวัฒนธรรมหนึ่ง ด้วยการรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันในการสร้างสรรค์อย่างแท้จริงจากภายในนานาวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน
ค. พึงจำไว้ว่าวัฒนธรรมคือมิติของพระวรสาร  ในหนังสือการสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน ข้อ 53  ได้อธิบายไว้ว่า “พระวรสารมิอาจอยู่โดดเดี่ยว  โดยแยกจากวัฒนธรรมซึ่งพระวรสารได้แทรกตัวเข้ามาตั้งแต่สมัยนั้นได้  (เช่น โลกในยุคพระคัมภีร์ หรือตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ได้ทรงพระชนม์อยู่)  ทั้งมิอาจสามารถแยกจากวัฒนธรรมที่พระวรสารได้เข้าไปมีบทบาทอยู่เป็นเวลานับศตวรรษมาแล้ว”
ง. ประกาศการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งพระวรสารได้กระทำในวัฒนธรรม ด้วยการประกาศพระวรสาร  การสอนคำสอน เป็นความจำเป็นที่จะต้องมีความตั้งใจอย่างชัดแจ้ง ที่จะนำวัฒนธรรมอื่นๆ ให้มาพบกับวัฒนธรรมแห่งความเชื่อ “พลังของพระวรสารนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  และการให้กำเนิดใหม่ๆ ในทุกๆ ที่  เมื่อมาสัมผัสกับวัฒนธรรมเข้าก็ได้แก้ไขส่วนประกอบหลายอย่างของวัฒนธรรมนั้นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น การสอนคำสอนจะไม่เป็นการสอนคำสอน ถ้าพระวรสารมาสัมผัสกับวัฒนธรรมแล้ว พระวรสารเองกลับเปลี่ยนไป”  (CT 53)
จ. ยืนยันถึงความเป็นเลิศและความเป็นจริงว่า  พระวรสารไม่เคยปิดล้อมวัฒนธรรม  “แท้จริง  ครูคำสอน… ไม่ยอมรับคำสอนที่ขาดวิ่น เพราะถูกตัดทอนหรือเนื้อหาถูกบดบังลดเลือนไปโดยการปรับ  หรือกระทั่งในการใช้ภาษาซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อประมวลข้อความเชื่อที่มีค่าอย่างยิ่งได้”  (CT 53)
ฉ. ส่งเสริมการแสดงออกแบบใหม่ของพระวรสารที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมการประกาศพระวรสาร  ซึ่งกลายเป็นภาษาแห่งความเชื่อ  ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของศาสนา  และเป็นเครื่องมือที่ทำให้สมบูรณ์และเป็นหนึ่งเดียวกัน 
ครูคำสอน “จะต้องทำให้วัฒนธรรมสมบูรณ์ขึ้น  โดยช่วยให้ก้าวพ้นจุดบกพร่องหรือสิ่งที่ผิดวิสัยมนุษย์ที่ปรากฏอยู่  และเชื่อมโยงคุณค่าของวัฒนธรรมนั้นเข้ากับความไพบูลย์ของพระคริสตเจ้า”  (CT 53)

    การสอนคำสอนมีงานที่แตกต่างกันในการประสานความเชื่อกับวัฒนธรรม  เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้  หนังสือคู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอนได้กล่าวไว้ว่า
ชุมชนพระศานจักรต้องคำนึงถึงการเป็นหลักในการเข้าสู่วัฒนธรรม  ครูคำสอนต้องเป็นทั้งเครื่องหมายและเครื่องมือที่บังเกิดผลในเรื่องนี้  พร้อมกับมีความลึกซึ้งในศาสนาของตนแล้วนั้น  พวกเขาควรมีไหวพริบอย่างดีทางด้านสังคม  และเป็นผู้ที่หยั่งรากลงในวัฒนธรรมของตนได้อย่างดี
หนังสือคำสอนท้องถิ่นต้องตอบสนองความต้องการของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  นำเสนอพระวรสารในความสัมพันธ์กับความปรารถนา  คำถาม  และปัญหาต่างๆ   ซึ่งเราพบในวัฒนธรรมเดียวกันนี้ ในเรื่องนี้ เราควรสังเกตว่าในการเตรียมหนังสือคำสอนระดับชาติ การปรับปรุงหนังสือคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนระดับชาติ เช่นเดียวกับการเตรียมหลักเกณฑ์ และแนวทางด้านคำสอนต้องเป็นสิ่งที่ปฏิบัติภายใต้การแนะนำดูแลของบรรดาพระสังฆราชของประเทศ
การสนใจเรื่องการประสานข่าวดีเข้าสู่วัฒนธรรมที่เหมาะสม ในผู้ที่กำลังเรียนคำสอนเพื่อเตรียมเข้าเป็นคริสตชน และในสถาบันอบรมคำสอน ควรตระหนักถึงการใช้ภาษาสัญลักษณ์ และคุณค่าต่างๆ ทางวัฒนธรรมที่ผู้เรียนคำสอนและผู้เตรียมเป็นคริสตชนเจริญชีวิตอยู่เข้าไปด้วย
นำเสนอสารคริสตชนในแนวทางพร้อมเสมอที่จะให้คำอธิบายแก่ทุกคน ที่อยากทราบเหตุผลแห่งความหวังของพวกเขา (1 ปต 3:15)  การเตรียมการตอบคำถามที่ดี  ในการเสวนาระหว่างความเชื่อและวัฒนธรรมเป็นวิถีทางที่จำเป็นในสมัยปัจจุบัน
ดังนั้นการสอนคำสอนจำเป็นต้องเปิดสู่วัฒนธรรมสมัยใหม่  และช่วยให้หลีกเลี่ยงการครอบงำด้วยความคิดและความรู้สึกของตัวเอง  แต่ควรสร้างชีวิตฝ่ายจิตรวมทั้งแสวงหาและค้นพบจุดที่เป็นหลักยึดจากพระวรสารในทัศนคติที่ร่วมสมัย
    ในระหว่างการเข้าเฝ้า (Ad Limina) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมปีนี้ (ค.ศ.1998) สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้ทรงกล่าวไว้ว่า “การมีส่วนร่วมอย่างยิ่งใหญ่ในการให้การศึกษาคาทอลิกที่แท้จริง สามารถทำให้วัฒนธรรมของอเมริกาได้รับการฟื้นฟู  จนเชื่อมั่นได้ว่ามนุษย์สามารถเข้าใจถึงความจริงของสิ่งต่างๆ และในการเข้าใจความจริงนี้สามารถทำให้มนุษย์รู้ถึงหน้าที่ของพวกเขาต่อพระเจ้า ต่อตนเอง และต่อเพื่อนพี่น้อง…และเติบโตสู่อิสรภาพอย่างแท้จริง  โดยอาศัยการยอมรับในความจริงนั้น…”