3. การอบรมครูคำสอน
ข้าพเจ้าได้ถูกขอร้องให้พูดเกี่ยวกับการอบรมครูคำสอนด้วย คู่มือแนะแนวฯ ได้กล่าวไว้ว่า “การสอนคำสอนเป็นการรับผิดชอบร่วมกัน แต่ก็มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน พระสังฆราช พระสงฆ์ สังฆานุกร นักบวช และสัตบุรุษฆราวาส ต่างก็มีบทบาทหน้าที่ของตน แต่ละคนทำตามบทบาทหน้าที่ รับผิดชอบ และพรสวรรค์เป็นลำดับขั้นตอนไป” (GDC 216)
ในการอบรมครูคำสอนให้ครบทุกด้านและตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการถ่ายทอดสารของคริสตชน ควรอบรมให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ
ชีวิตฝ่ายจิต
ข้อคำสอน
มนุษยวิทยา
วิธีการ
นี่คือสิ่งที่คู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า : การเป็น ความรู้ และการกระทำในฐานะครูคำสอน
การเป็น การเรียกให้มาบริการรับใช้ในการสอนคำสอนในตัวมันเองมิได้มีความหมายว่ามีความสามารถในการฝึกฝนในการให้บริการรับใช้นี้ และไม่ใช่ความสามารถในตัวของมันเอง แต่เป็นกระแสเรียก เป็นการเรียกสู่การฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และทั้งครบ คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนทั่วไป (ค.ศ. 1971) ก็ได้กล่าวถึงสิ่งเหล่านี้ไว้ในข้อ 110 แล้ว และในเวลาบรรดาพระสังฆราชเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้ทรงกล่าวว่า “พระสังฆราชควรสนับสนุนบรรดาครูคำสอนให้เห็นว่างานของพวกเขาเป็นดังกระแสเรียก : เป็นดังสิทธิพิเศษในการแบ่งปันพันธกิจที่จะส่งมอบความเชื่อ และเหตุผลแห่งความหวังที่อยู่ในตัวเรา” (เทียบ 1 ปต 3:15)
ความต้องการข้อมูลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่เด่นชัดในตัวมันเอง เหตุผลเพื่อจะได้พบกับสภาพการณ์โดยทั่วไปอย่างต่อเนื่องและเปิดศักราชใหม่ของวิวัฒนาการของโลกในปัญหาต่างๆ ที่พระศาสนจักรกำลังเผชิญ
การอบรมครูคำสอนอย่างต่อเนื่อง เป็นงานที่สำคัญอย่างจริงจัง ซึ่งกลายเป็นเหมือนกับการเชื่อมโยงการอบรมพื้นฐานและการคาดคะเนล่วงหน้า อันเป็นความต่อเนื่องกับสิ่งซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่การอบรมแรก สิ่งที่ควรพิจารณา 2 ประการในการริเริ่มนี้ คือ ประการแรกจะต้องเกี่ยวโยงกับพระวาจาของพระเจ้า และเทววิทยาซึ่งให้ข้อคิดเห็นและพัฒนาในด้านนี้ อีกประการหนึ่งคือ จะต้องเกี่ยวโยงกับความเป็นจริงในปัจจุบัน และในบริบทของการเจริญชีวิต และความต้องการของมนุษย์ ในกรณีของครูคำสอน การอบรมอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ทั้งสองประการนี้ ต้องเป็นสิ่งที่อยู่ในจิตสำนึกเสมอ (เทียบ GDC 145)
ในการอบรมอย่างต่อเนื่องนั้น ต้องเป็นการอบรมที่เป็นระบบ ในขณะเดียวกันก็ใช้โอกาสต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการอบรม เช่น ประสบการณ์ทางด้านความเชื่อ และจากศาสนบริการงานสอนคำสอน ซึ่งเป็นความจริงว่าการอบรมมิใช่กระทำเป็นครั้งคราว แต่ตรงกันข้ามเป้าหมายที่แน่นอนควรมีการกำหนดไว้ ให้การอบรมได้ดำเนินตาม เพื่อให้เกิดความสอดคล้องต่อเนื่องเป็นลำดับ และทำให้ขั้นตอนต่างๆ สมบูรณ์ ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกันและมีความลึกซึ้งในองค์ประกอบที่สำคัญต่างๆ
การอบรมต้องเป็นการอบรมแบบองค์รวม นี่เป็นความจริงที่สำคัญที่สุดว่าแนวทางต่างๆ ต้องประสานสัมพันธ์กันในความหลากหลาย และช่วงระยะเวลาในกระบวนการอบรมที่แตกต่างกัน ครูคำสอนจะกลายเป็นครูคำสอน โดยการกระทำการสอนคำสอน และโดยการไตร่ตรองอย่างมีแบบแผน การแลกเปลี่ยน การอบรม และช่วงปฏิบัติการ : ระหว่างการกระทำ การอธิบาย และการตรวจสอบ ซึ่งสร้างสรรค์บูรณการได้อย่างแท้จริง
ใครคือผู้ที่รับผิดชอบในการอบรม
คำตอบ คือ พระสังฆราชเป็นบุคคลแรกที่รับผิดชอบ
จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าในฐานะสมณะตรีของสมณะกระทรวงเพื่อพระสงฆ์ ข้าพเจ้าจะขอเน้น 2 จุดที่อาจจะช่วยสนับสนุนงานของท่าน บรรดาพระสังฆราชที่รัก พวกท่านมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการสอนคำสอน เพราะพระพรพิเศษในการเป็นครูที่แท้จริงแห่งความเชื่อ และไม่ใช่เพราะเป็นเพียงอำนาจเกี่ยวกับหน้าที่ ข้าพเจ้าขอเน้นความสำคัญว่าการควบคุมดูแลเรื่องการสอนคำสอนในทุกๆ ประเทศเป็นความรับผิดชอบของพระสังฆราชท้องถิ่น ในความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสันตะสำนัก
จะเกิดประโยชน์และผลสำเร็จในด้านการอภิบาลอย่างมาก ถ้าสภาพระสังฆราชของสหรัฐอเมริกา จัดตั้งคณะกรรมการด้านคำสอนขึ้นในสภาพระสังฆราช
พระสงฆ์จะต้องเป็นบุคคลแรก ร่วมมือกับพระสังฆราชที่ส่งเสริมความรับผิดชอบการถ่ายทอดความเชื่อให้กับคริสตชนด้วยการเทศน์สอนอย่างสมควร ด้วยการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับพวกเขา เพื่อที่จะเชิญพวกเขาให้ตระหนักถึงการมีส่วนในการประกาศพระวรสาร