แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 8
ใครถูกพระเจ้าตัดสินว่าเป็นผู้ชอบธรรมหรือไม่?
อุปมาเรื่องชาวฟาริสีและคนเก็บภาษีในพระวิหาร (ลก.18.9-14)

ใครเป็นผู้ชอบธรรมเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าและเขาชอบธรรมอย่างไร  พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาเกี่ยวกับฟาริสีและคนเก็บภาษีในพระวิหาร เพื่อท้าทายการตั้งค่าที่ผิดๆเกี่ยวกับความชอบธรรม ที่นำไปสู่การตัดสินและแช่งด่าคนอื่น  ในไม่ช้า มีการเล่าเรื่องอุปมา ต่อจากเรื่องอุปมาการภาวนาที่ไม่หยุดหย่อน,แต่บัดนี้ ภาพรวมกว้างขึ้นเพราะเกิดปัญหาความยุติธรรมของพระเจ้าที่ทรงมีต่อมนุษย์  พร้อมกับความสามารถเชิงจิตวิทยา ในพระวรสารโดยนักบุญลูกา ครั้งหนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงหยั่งรู้จิตใจที่บิดเบี้ยวของมนุษย์ และทรงอ่านใจมนุษย์ได้ แล้วทรงประเมินค่าความคิดและอารมณ์ที่อุบัติจากภายในจิตใจของมนุษย์ว่า

พระเยซูเจ้าตรัสเล่าเรื่องอุปมานี้ให้บางคนที่เชื่อมั่นในตนเองว่า  ตนเป็นผู้ชอบธรรมและดูหมิ่นผู้อื่นฟังว่า  ‘มีชายสองคนขึ้นไปอธิษฐานภาวนาในพระวิหาร คนหนึ่งเป็นชาวฟาริสี อีกคนหนึ่งเป็นคนเก็บภาษี  ชาวฟาริสียืนอธิษฐานภาวนาในใจว่า “ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระองค์ที่ข้าพเจ้าไม่เป็นเหมือนมนุษย์คนอื่น ที่เป็นขโมย อยุติธรรม ล่วงประเวณี หรือเหมือนคนเก็บภาษีคนนี้  ข้าพเจ้าจำศีลอดอาหารสัปดาห์ละสองวัน และถวายหนึ่งในสิบของรายได้ทั้งหมดของข้าพเจ้า”  ส่วนคนเก็บภาษียืนอยู่ห่างออกไป ไม่กล้าแม้แต่จะเงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ได้แต่ข้อนอก  พูดว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด”  เราบอกท่านทั้งหลายว่าคนเก็บภาษีกลับไปบ้าน ได้รับความชอบธรรม แต่ชาวฟาริสีไม่ได้รับ  เพราะว่าผู้ใดที่ยกตนขึ้นจะถูกกดให้ต่ำลง ผู้ใดที่ถ่อมตนลง จะได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น’(ลก.18.9-14)

1.    ชาวฟาริสีและคนเก็บภาษี
ฉากนี้เกิดขึ้นในพระวิหาร ตัวเอก 2 คนไม่ได้ระบุชื่อที่ไปสวดภาวนา  การเลือกชายทั้งสอง ไม่มีจุดประสงค์จะดูหมิ่นกลุ่มหนึ่งหรือยกย่องอีกกลุ่มที่พวกเขาเป็นสมาชิก  แต่ต้องการถ่ายทอดความคิดเรื่องบุคลิกภาพในเรื่องอุปมา  คนแรก ไม่ควรถูกพิจารณาว่า เขาหยิ่งเพราะอยู่ในกลุ่มพวกฟาริสี  หรือคนที่สองก็ไม่ควรถูกพิจารณาว่า เขาถ่อมตนเพราะเป็นคนเก็บภาษี (อาชีพบาป) เพราะไม่ใช่เรื่องของชาติตระกูลที่ทำให้พวกเขาชอบธรรมหรือเป็นคนบาป,แต่เป็นท่าทีของความสัมพันธ์กับพระเจ้าและความสัมพันธ์กับผู้อื่นมากกว่า
พระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มเป็นฉากสำหรับเรื่องอุปมานี้  จนกระทั่งชาวโรมันทำลายกรุงเยรูซาเล็มในปี ค.ศ. 70    วิหารนี้เป็นหนึ่งในหลักภูมิทัศน์สำหรับความศรัทธาแบบยิว  และเหนือปัจจัยอื่นๆ คือ เป็นสถานที่ที่ยอมรับว่าตนเป็นคนบาปและขอการยกโทษบาป  ตามปกติ เรื่องอุปมาเสนอความสัมพันธ์แบบสามด้านคือ ชาวฟาริสี  คนเก็บภาษี  และพระเจ้าที่พวกเขาตรัสถึง  พระเจ้าทรงเป็นบุคคลที่สามของกลุ่มที่มีจำนวน 3 บุคคล พระเจ้าทรงมีความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับชาย 2 คน เพราะการภาวนาของชาย 2 คนเริ่มด้วย “พระเจ้า” (ลก.18.11,13และในที่สุด คนเก็บภาษีเป็นคนชอบธรรมแต่ไม่ใช่ชาวฟาริสี (ดู ลก.18.14)
อย่างไรก็ตาม ทัศนคติและการภาวนาของตัวเอก 2 คนขัดแย้งกัน ทั้งสองคนหันไปหาพระเจ้าองค์เดียวกัน,แต่พวกเขามีความคิดและทัศนคติขัดแย้งกัน  ชาวฟาริสียืนสวดภาวนาขณะที่คนเก็บภาษีไม่กล้าที่จะเงยหน้ามองสวรรค์และทุบอก เนื้อหาคำภาวนาของพวกเขายิ่งขัดแย้งกันมากขึ้น ในภาษากรีกของพระวรสารนี้ ชาวฟาริสีใช้คำ “พระเจ้า” 29 คำ ขณะที่ชาวฟาริสีพูดถึงคำ “พระเจ้า” เพียง 6 คำ
    ชาวฟาริสีขอบพระคุณพระเจ้าที่เขาไม่เหมือนคนอื่นที่เป็นคนชอบขู่เข็ญ คนอยุติธรรม คนคบชู้ หรือเหมือนกับคนเก็บภาษีที่กำลังสวดภาวนาในระยะไกลออกไป  คำเย้ยหยันในคำภาวนาของชาวฟาริสีมีเล่ห์เหลี่ยมและทิ่มแทงจิตใจ  เขาไม่ใส่รายชื่อคนอื่นที่ถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าเลย  มีแต่คำพูดเหยียดหยามและสาบแช่งคนอื่นตรงตามที่พระเยซูเจ้าตรัสเล่าเรื่องอุปมา ที่คิดว่า ตนเป็นผู้ชอบธรรมและตัดสินผู้อื่น (ดู ลก.18.9) เป็นช่วงเวลาที่เขาพิจารณาตนเองว่าไม่มีบาป ความจริง ชาวฟาริสีก็ทำบาปหนักที่สุดแล้ว  เขาเองแทนที่พระเจ้าในการดูหมิ่นคนอื่น เขาไร้ยางอายที่อ้างถึงการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติที่เคร่งครัดเกินไป  ขณะที่ตามหนังสือเลวีนิติ 16.29-31 กำหนดให้จำศีลอดอาหารในวันชดเชยบาป (วันที่สิบของเดือนที่เจ็ด...,แต่ชาวฟาริสีในเรื่องอุปมาอดอาหารถึงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง  เขาจำศีลอดอาหารที่ห้ามรับประทานอาหารที่มีมลทิน - เช่น เนื้อหมู-และเขาจ่ายภาษีบำรุงพระวิหาร (หักหนึ่งในสิบของรายได้ถวายแด่พระเจ้า) ตามที่เขาต้องการ  เขาเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบของคนที่ยกย่องตนเองเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า
อาศัยทัศนคติของการใช้โทษบาป,คนเก็บภาษีเพียงกล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด” (ลก.18.13)   คำภาวนาของเขาแสดงถึงความจำเป็นในการพูดเพียงสองหรือสามคำ ประกอบด้วยการยอมรับผิดของตนและคำร้องขอพระเมตตากรุณา ดังนั้น เขาได้รับการอภัย การภาวนาเพื่อชดเชยบาปคล้ายกับการภาวนาในหนังสือสดุดี 79.9  "ปล่อยเราไปและให้อภัยบาปของเรา/เพื่อเห็นแก่นามของท่าน”

2.    การกลับด้าน
    เมื่อถึงเวลาสรุป พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาผู้ฟังทั้งหลาย และเน้นการกลับด้านในสถานการณ์ด้วยการสบัดแปรงครั้งสุดท้ายอย่างแรงว่า “คนเก็บภาษีกลับไปบ้าน ได้รับความชอบธรรม แต่ชาวฟาริสีไม่ได้รับ  เพราะว่าผู้ใดที่ยกตนขึ้นจะถูกกดให้ต่ำลง ผู้ใดที่ถ่อมตนลง จะได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น” ผู้ที่พระเจ้าทรงยกย่องคนสุภาพถ่อมตนและกดคนหยิ่งให้ต่ำลงได้ คือ เช่นเดียวกับพระนางมารีย์ร้องเพลงในบทสรรเสริญพระเจ้า ( Magnificat)  “พระองค์ทรงยกพระกรแสดงพระอานุภาพ    ทรงขับไล่ผู้มีใจมักใหญ่ใฝ่สูงให้กระจัดกระจายไป   ทรงคว่ำผู้ทรงอำนาจจากบัลลังก์ และทรงยกย่องผู้ต่ำต้อยให้สูงขึ้น” (ลก.1.51-52) วิถีของพระเจ้าคือการนำผู้มีอำนาจออกจากบัลลังก์-โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนอย่างชาวฟาริสีในเรื่องอุปมา ที่ต้องการเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของคนอื่นเพื่อยกย่องตัวเอง-และพระเจ้าทรงยกย่องผู้ถ่อมตน ทัศนคติของชาวฟาริสีเป็นคนหยิ่งจองหอง แต่คนเก็บภาษีเป็นคนสุภาพถ่อมตน  ถึงแม้ว่าชาวฟาริสีใช้เวลานานในการสวดภาวนา  แต่ไม่ได้กลายเป็นคนชอบธรรม  ขณะที่คนเก็บภาษีสวดภาวนาสั้นๆ ใช้เวลาไม่นาน ก็เพียงพอสำหรับเขาที่จะกลับบ้านไปอย่างคนชอบธรรม
อะไรเป็นเครื่องบ่งชี้การพลิกกลับด้านของสถานการณ์ เนื่องจากมีการเลือกลักษณะนิสัยเด่นของตัวแทน 2 คน  เรื่องอุปมามุ่งจุดเปลี่ยน 2 ประการ  ประการแรก จุดเปลี่ยนในการภาวนาของชาวฟาริสีคือ ไม่เพียงพอสำหรับพวกเขาที่จะยกย่องตนเองเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า  เขายังเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นและดูหมิ่นคนอื่นด้วย จุดสำคัญเกิดขึ้นในวลีที่ว่า “หรือเหมือนคนเก็บภาษีผู้นี้” (ลก.18.11) คำภาวนาของชาวฟารีสีที่เหลือไม่ผิด ตรงกันข้าม เขาเป็นบุรุษคนหนึ่งที่กระตือรือร้นในการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติและธรรมเนียมของชาวยิว สิ่งที่ทำให้ชาวฟารีสีกลับบ้านโดยไม่เป็นผู้ชอบธรรมคือ  การดูถูกดูแคลนของเขาคือ  ชาวฟาริสีตัดสินคนเก็บภาษี  โดยไม่ได้ตระหนักรู้ถึงความสำนึกผิด และการสวดภาวนาของคนเก็บภาษี เนื่องจากมีระยะห่างที่แยกชายทั้งสองออกจากกันในพระวิหาร
    จุดเปลี่ยน คือส่วนที่สองที่อยู่ในคำภาวนาของคนเก็บภาษีที่ว่า “โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด”(ข้อ13) คนเก็บภาษีไม่พยายามทำให้สภาพบาปของเขามีมลทินบาปทางศาสนาน้อยลง เช่น “คนอื่นพิจารณาว่า งานของข้าพเจ้าไม่สะอาด (ทางศาสนา)  ข้าพเจ้ากำลังพยายามทำกำไรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น" หรือ “ข้าพเจ้ามีครอบครัวต้องเลี้ยงดู และข้าพเจ้าจึงไม่อาจเปลี่ยนงานได้”  คนเก็บภาษีกลับเสนอตนเองเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าด้วยดวงใจที่ว่างเปล่า  ในคำภาวนาที่สั้นมากๆ เขาได้แสดงสิ่งที่เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า คือการยอมรับผิด และความหวังที่จะได้รับการอภัย การยอมรับตนเองว่าเป็นคนบาปเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้ชอบธรรม  เพราะความหยิ่งยโสของคน ที่คิดว่าพวกเขาไม่มีบาป ไม่เป็นผลดีต่อในสถานการณ์นี้เลย

3.    พระหรรษทานก่อให้เกิดความชอบธรรม
    น่าเสียดาย ในสมัยของเรา  คำๆหนึ่งในหลายคำที่มีแนวโน้มกำกวมมากที่สุดคือ คำ “ชอบธรรม”
ในภาษาที่นิยมพูดกัน มันเป็นสิ่งที่เท่าเทียมกันกับการหาเหตุผลมาอ้างสำหรบความผิดของคนๆหนึ่ง ในสภาพแวดล้อมของการทำงาน ผู้คนจำเป็นต้อง “พิสูจน์ให้เห็นว่าถูกต้อง” สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่นำเสนอ   คำว่า“ความยุติธรรม” และ “การคืนดี” มีความหมายกำกวมด้วย บ่อยครั้ง เราจะเห็นว่า “ความยุติธรรม” ถูกมองเป็นรางวัล  ที่ความดีถูกสงวนไว้สำหรับคนที่ทำดีและความชั่วสำหรับคนที่ทำชั่ว และ การเข้าใจ “การคืนดี” ว่า เป็นผลของสันติภาพที่สถาปนาขึ้นใหม่ระหว่างคนที่ขัดแย้งกัน
    เรื่องอุปมานี้แสดงวิสัยทัศน์ที่ต่างไปของความยุติธรรม ความชอบธรรม  และการคืนดี   สิ่งที่ 3 คำนี้มีเหมือนกัน ถูกสะท้อนในพระหรรษทานที่พระเจ้าประทานแก่คนเก็บภาษี และไม่ได้ให้ชาวฟาริสี  แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงยกย่องชายอีกคนที่รอคอยพระหรรษทาน และให้เขาเป็นคนชอบธรรม ตรงข้ามกับชายที่ตัดสินว่าตัวเองบริสุทธิ์ อีกคนหนึ่งกลับรอคอยการตัดสินจากพระเมตตาของพระเจ้า  เราต้องศึกษาคุณสมบัติที่เกี่ยวกับความเป็นเอกของพระหรรษทานนี้  ไม่เช่นนั้น เรื่องอุปมาอาจถูกเข้าใจผิดและถูกใช้ในทางที่ผิดได้  พระหรรษทานไม่ได้เป็นผลของบาป เราผิดที่คิดว่า เป็นความจำเป็นที่ทำบาปเพื่อจะได้รับความชอบธรรมและจะได้คืนดีกับพระเจ้า หรือว่า คนที่ยิ่งทำบาปมากเท่าใด  เขายิ่งได้รับพระหรรษทานจากพระเจ้ามากขึ้นเท่านั้น ถ้าเกิดกรณีนั้น ความคิดของคนนั้นๆ ก็จะไม่ต่างจากความคิดของชาวฟาริสี  หมายความว่า บาปวางเงื่อนไขให้กับพระหรรษทาน (บาปของคนเก็บภาษี)  เช่นเดียวกับพระหรรษทานถูกกำหนดโดยฤทธิ์กุศลความดี  (การทำดีของชาวฟาริสี) อย่างไรก็ตาม พระหรรษทานแห่งความเที่ยงธรรม พระเจ้าประทานให้อย่างอิสระเสรี และไปไกลเหนือการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าดีหรือชั่ว
ความคิดของความเป็นเอกแห่งพระหรรษทานได้นำไปสู่ความเข้าใจผิดที่ว่า  จำเป็นที่ต้องทำชั่วหรือไม่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากพระหรรษทาน ในจดหมายถึงชาวโรม นักบุญเปาโลแสดงปฏิกิริยาต่อต้านการบิดเบือนเบี้ยวทำนองนี้ ที่เน้นย้ำว่ามีพระหรรษทานอุดมสมบูรณ์ท่วมท้น ไม่ใช่เพราะเป็นสัดส่วนกับบาป แต่เพราะมนุษย์ถูกตัดสินให้ชอบธรรมในพระเจ้า โดยทางพระหรรษทานเท่านั้น "ดังนั้น เมื่อได้เป็นผู้ชอบธรรมด้วยความเชื่อแล้ว เราย่อมมีสันติกับพระเจ้า เดชะพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา  โดยทางพระองค์ เราจึงเข้าถึงพระหรรษทานและกำลังดำรงอยู่ในพระหรรษทานนี้” ( โรม 5.1-2)
    ความเข้าใจผิดขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับวิธีที่พระเจ้าบันดาลให้เกิดความชอบธรรม  คนทั่วไป มักคิดว่า ครั้งแรก พระเจ้าต้องแสดงความยุติธรรมก่อน แล้วจึงทรงทำให้คนบาปกลายเป็นคนชอบธรรมภายหลัง ความคิดที่ว่า ในเรื่องความเป็นธรรม   พระเจ้าประทานสิ่งที่คนดีสมควรได้รับก่อน แล้วจึงทรงบันดาลให้เขากลายเป็นคนชอบธรรม  อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับความยุติธรรมของพระเจ้า,ซึ่งพระเจ้าทรงเป็นธรรมในทุกขณะในสิ่งที่ทรงบันดาลให้คนบาปเป็นผู้ชอบธรรม เรื่องอุปมานี้ทำให้เข้าใจข้อเท็จจริง นั่นคือ  ทำให้ความชอบธรรมเกิดขึ้นกับคนเก็บภาษี  แต่ความชอบธรรมจะไม่เกิดหลังจากเขาสมควรรับได้รับ ถ้าเป็นกรณีเช่นนั้น ชาวฟาริสีจะเป็นผู้ชอบธรรมส่วนหนึ่งเพราะเขาเป็นผู้ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติอย่างกระตือรือร้น  แทนที่จะเป็นเช่นนั้น กลับไม่มีช่องว่างระหว่างความยุติธรรมของพระเจ้าและการทำให้คนบาปเป็นคนชอบธรรม ดังนั้น พระเจ้าทรงพระยุติธรรมเมื่อพระองค์ทรงทำให้คนบาปเป็นคนชอบธรรม
ในที่สุด ผลที่ตามมาที่สำคัญแห่งการบันดาลความชอบธรรมมีความสำคัญ  นั่นคือ เขาคืนดีกับพระเจ้าเพื่อความสัมพันธ์ใหม่ที่ไม่คาดหวังมาก่อน   การบันดาลความชอบธรรมคือการกระทำที่เป็นอิสระในส่วนของพระเจ้า และความชอบธรรมของคนเก็บภาษีอยู่เหนือความคาดหวังใดๆ อย่างไรก็ตาม การคืนดีนี้ไม่ตอบสนองต่อการสถาปนาสันติภาพขึ้นใหม่ระหว่างสองบุคคลที่อยู่ในระดับเดียวกัน  คือ โดยทั่วไป มีความขัดแย้งทั้งหมดของการคืนดีในพระคริสตเจ้า  คนที่ทำผิดต้องแก้ไข และขอคืนดีกับคนที่เป็นฝ่ายถูก - “กล่าวคือ พระเจ้าทรงทำให้โลกคืนดีกับพระองค์ในองค์พระคริสตเจ้า พระองค์มิได้ทรงเอาผิดกับมนุษย์ แต่ทรงประกาศสารแห่งการคืนดีนี้มอบแก่เรา”
(2 คร.5.19)  ชาวฟาริสีไม่ได้กลับบ้านพร้อมกับความชอบธรรม เพราะการทำดีของเขาไม่ได้ป้องกันเขาจากการตัดสินคนอื่น ขณะที่พระเจ้าทรงบันดาลให้คนเก็บภาษีเป็นคนชอบธรรม เพราะเขาหลีกเลี่ยงการตัดสินคนอื่น 

4.    ความยุติธรรมที่เปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาของพระเจ้า
    เป็นเวลาหลายศตวรรษที่เรื่องอุปมานี้ถูกตีความว่าเป็นคำวิจารณ์ลัทธิยิวว่า ชาวฟาริสีในเรื่องอุปมาเป็นชาวยิว และคนเก็บภาษีเป็นคริสตชน ความจริงแล้ว เป็นวิธีขัดแย้งกันในความสัมพันธ์กับพระเจ้าและกับผู้อื่น  ซึ่งอาจเกิดขึ้นในบรรยากาศทางศาสนาใดๆก็ได้ รวมทั้งบรรยากาศของพระศาสนจักรด้วย  ความเสี่ยงในการพิจารณาตนว่า ปราศจากความผิด และความต้องการที่จะลดคุณค่าของคนอื่นเพื่อยกย่องตนเอง เป็นเรื่องที่ปรากฏอย่างช่วยไม่ได้ในมวลมนุษยชาติ และไม่จำกัดกับศาสนาศาสนาหนึ่งใดเลย
    อคติที่คิดว่า  ลัทธิยิวเป็นศาสนาแห่งการทำดี และคริสตศาสนาเป็นศาสนาแห่งพระหรรษทาน  ดูเหมือนทั้งสองศาสนาได้เล่นบทบาทที่ถูกกำหนดในบทอ่านเรื่องอุปมาอย่างผิดๆ         อย่างไรก็ตาม วิธีการนั้น   เสี่ยงในการ   ที่สร้างภาพผิดๆ ที่พันธสัญญาเดิม นำเสนอพระเจ้าที่ต่างจากพระเจ้าของพระเยซูคริสตเจ้า และพระเจ้าของกลุ่มคริสตชนเริ่มแรก ตามพันธสัญญาเดิม  ความยุติธรรมของพระเจ้าอยู่ในข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงความรอดและพระเมตตากรุณา,เช่นเดียวกับประกาศกโฮเชยากล่าวว่า               “เราจะแต่งงานกับท่านตลอดไป   เราจะแต่งงานกับท่านในความยุติธรรมและความชอบธรรมด้วยความรักมั่นคง และความเมตตาของพระเจ้า” (ฮชย.2.19)
เช่นเดียวกับชนรุ่นแล้วรุ่นเล่าตลอดเวลาที่ผ่านมา หนังสือสดุดี กล่าวว่า “แล้วข้าพเจ้าจะสรรเสริญพระนาม    หรือกฎแห่งชุมชน 11,11-12 ในคัมภีร์ของศาสนาอิสลาม ประกอบด้วย บทภาวนาที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับความยุติธรรมที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา กรุณาของพระเจ้า
     “ส่วนข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าสะดุดล้มลง พระเมตตากรุณาของพระเจ้าจะเป็นความรอดพ้นตลอดไป ถ้าข้าพเจ้าล้มลงในบาปทางเนื้อหนัง การตัดสินของข้าพเจ้าจะเป็นไปตามพระยุติธรรมของพระเจ้า  ซึ่งคงอยู่ตลอดกาล”
เราอยู่ห่างไกลมากจากวิสัยทัศน์ของพระเจ้า ผู้ทรงจำกัดพระองค์เองในการตัดสินคนเพราะบาปของพวกเขา บาปก็คือ บาป และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปสับสนกับการทำดี แต่พระยุติธรรมของพระเจ้าเป็นธรรม เมื่อทรงแปรสภาพให้ตัวเองเข้าสู่ความเมตตาที่ยกบาปได้
พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่เต็มไปด้วยความยุติธรรม ที่เปิดเผยโฉมพระพักตร์ของพระเจ้าโดยไม่เข้าใจผิดที่เห็นดีเป็นชั่ว แต่เป็นการเปลี่ยนจากชั่วมาเป็นดีมากกว่า เรื่องอุปมานี้สอนเราว่า เราเองควรเข้าถึงความรักของพระคริสตเจ้า เรื่องน่าอายที่พระเยซูเจ้ายั่วยุให้บางคนที่คิดว่าตัวเขาเป็นผู้ชอบโรม ยิ่งเข้มข้นขึ้นอีก ผ่านทางเรื่องอัปยศแห่งการดูถูกที่ไม้กางเขน    “เพราะเห็นแก่เรา พระเจ้าจึงทรงทำให้พระเยซูเจ้าผู้ไม่รู้จักบาปเป็นผู้รับบาป เพื่อว่าในพระองค์เราจะได้กลายเป็นผู้ชอบธรรมของพระเจ้า” (2 คร.5.21) พระเยซูเจ้าทรงถูกทำให้พระองค์เองบาป ขณะที่พระองค์ถูกตรึงบนไม้กางเขน เพื่อว่าความชอบธรรมของพระเจ้าจะสามารถเข้าถึงทุกคน นำแต่ละคนเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระองค์เอง
    อุปมาเรื่องชาวฟาริสีกับคนเก็บภาษีเริ่มเข้าสู่ความจริงที่ขัดแย้งมากสำหรับทุกคน    การทำให้คนบาปเป็นคนชอบธรรม ขณะที่คนที่คิดว่าตนชอบธรรม กลับไม่ชอบธรรม  ที่ใดมีการตัดสินผู้อื่น ที่นั่นไม่มีพระยุติธรรมของพระเจ้า