บทสรุป
พระวรสารกับพระเมตตากรุณาในเรื่องอุปมา
เหตุใดมีการสนทนาเกี่ยวกับเมตตากรุณาในเรื่องอุปมามากมาย เรื่องอุปมาทั้งสามอยู่ในพระวรสารโดยนักบุญลูกาไม่เพียงพอหรือ ความจริงคือ ดวงใจมนุษย์เป็นเหวลึก และความเมตตาจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด เป็นการง่ายที่จะพูดเกี่ยวกับเมตตากรุณา แต่เป็นการยากที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีเมตตากรุณา ให้เราทบทวนสองถึงสามประเด็นในเรื่องอุปมาที่สัมผัสพระเมตตากรุณาของพระเจ้าที่ทรงมีต่อมนุษย์
1. โฉมหน้าต่างๆ ของพระเมตตากรุณา
ความเมตตาดังเช่นการยกหน้ที่เกิดขึ้น (เช่น บาปของมนุษย์) ถูกสะท้อนในเรื่องอุปมาลูกหนี้ 2 คนที่ ได้รับการยกหนี้จากเจ้าหนี้ของเขา (ดู ลก.7.41-43) ใครก็ตามที่ได้รับการอภัยมากกว่า มักจะรักมากกว่า ขณะที่คนที่ได้รับการอภัยน้อยกว่า ก็จะรักน้อยกว่า โฉมหน้าแรกของความเมตตาคือ พระหรรษทานนั่นเองที่ก่อให้เกิดความกตัญญู ความกตัญญูเป็นปฏิกิริยาที่เด่นชัดสำหรับการบันดาลความชอบธรรมแก่คนบาปที่รู้คุณ
เมื่อดูจากมุมมองของความเวทนาสงสารต่อผู้อื่น ความเมตตาไม่ต้องวิ่งไปทั่ว เพื่อมองหาผู้อื่นที่จะรัก แต่พบเขาในถนนเหมือนคนใกล้สิ้นใจที่ชาวสะมาเรียช่วยชีวิตไว้ (ดู ลก.10.25-37) ความรักต่อพระเจ้ามักจะได้ผลเมื่อรักผู้อื่นด้วย หากไม่มีแล้ว จำเป็นต้องแยกเป็นธรรมบัญญัติหนึ่งต่างหาก
ความเมตตาดังเช่นการแสวงหาคนที่พลัดหลง,ขัดแย้งกับคนที่คิดว่า พวกเขามั่นคงปลอดภัยแล้ว,ถูกสะท้อนในอุปมาเรื่องแกะพลัดหลง (ดู ลก.15.4-7) ความเมตตาที่ขัดแย้งกันเช่นนี้ปรับใช้กับคนบาปเพียงคนเดียวที่กลับใจ เพราะแต่ละคนมีคุณค่า,เหมือนกับเงินเหรียญเดียวที่มีค่า ถึงแม้หญิงคนนั้นจะยังมีเงินเหรียญอีกเก้าเหรียญในบ้านของนางก็ตาม (ลก.15.8-10)
บิดาคนหนึ่งที่สะเทือนใจจากความเวทนาสงสารเหลือประมาณถึงกับทิ้งบ้านของเขาถึงสองครั้ง เพื่อช่วยบุตรชายทั้งสองให้รอด เขาวิ่งไปหาบุตรคนเล็กและจัดงานเลี้ยงฉลองให้เขา และแล้ว ก็ออกจากบ้านอีกครั้งเพื่ออ้อนวอนบุตรคนโตให้มาร่วมงานเลี้ยงฉลองของน้องชาย (ดู ลก.15.11-32)
ไร้ประโยชน์ที่จะยอมรับคนยากจนเช่นลาซารัส ในชีวิตหลังความตายเท่านั้น เราต้องไปหาเขาและช่วยเขาขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ เพราะที่ใดไม่มีความเมตตา ที่นั่นก็ไม่มีพระเมตตาของพระเจ้า (ดู ลก.16.19-31) เศรษฐีจะรอดพ้นก็ต่อเมื่อเขาได้ช่วยคนยากจนไว้
การภาวนาอย่างเพียรทนสามารถก่อให้เกิดความเมตตาเมื่อพระเจ้าทรงเปลี่ยนพระทัยมากกว่า เมื่อแม่ม่าย
ที่รบเร้าได้รับความเมตตากรุณาจากผู้พิพากษาไม่ยุติธรรม (ดู ลก.18.1-8) ผู้ที่พระเจ้าเลือกสรร ได้แก่ ผู้อ่อนแอและผู้ยากไร้ การเลือกสรรของพระองค์ไม่ทรงกีดกันคนอื่นๆ แต่ทรงเริ่มจากคนต่ำต้อยที่สุดเพื่อเข้าถึงทุกคน
ความเมตตาพิสูจน์และฟื้นฟู แม้กระทั่งคนบาป เช่น คนเก็บภาษี ซึ่งอาชีพของเขาชั่วร้าย ขณะที่พระเจ้าไม่ทรงกระทำสิ่งใดสำหรับคนที่ประกอบอาชีพที่ซื่อสัตย์ แต่ตำหนิคนบาปเพื่อยกย่องตนเอง (ดู ลก.18.9-14)
เราสามารถเห็นความใส่พระทัยของพระเยซูเจ้าในพระวรสารโดยนักบุญลูกา ที่เน้นท่าทีที่จำเป็นของความเมตตามากกว่าเน้นการตัดสินทางศีลธรรม ความเมตตาเกิดขึ้นอาศัยความสัมพันธ์ต่างๆที่มาจากดวงใจมนุษย์ และถูกหลั่งรินเป็นคำพูดและการกระทำ
2. บทสรุปแบบปลายเปิด
ถ้าเรายังไม่คิดถึงเรื่องอุปมาแกะที่พลัดหลงที่รอดตาย และการค้นพบเงินเหรียญดรักมา ที่สรุปด้วยการร่วมยินดี ขณะที่เรื่องอุปมาความเมตตาอื่นๆสรุปแบบปลายเปิด ปล่อยให้คนฟังรับผิดชอบในการเลือกอย่างฉลาด ไม่ได้บอกว่าซีโมน ชาวฟาริสีทำสิ่งใดหลังจากได้ยินเรื่องอุปมาลูกหนี้ 2 คนกับเจ้าหนี้ของพวกเขา นักกฎหมายที่ได้ยินเรื่องอุปมาชาวสะมาเรียที่ดี ได้ถูกเชิญให้เป็นเพื่อนบ้านสำหรับคนอื่น และจะไม่ตัดสินใจว่าใครคือเพื่อนบ้านตามความพอใจของเขาเอง คนที่ได้ยิน “เรื่องอุปมาที่แสดงพระเมตตากรุณา” 3 เรื่อง พึมพำต่อไปหรือหยุดการบ่นพึมพำต่อพระเยซูเจ้าไหม อุปมาเรื่องเศรษฐีและลาซารัส ที่ก่อความโกรธเคือง ทำให้เศรษฐีมั่นใจว่า พวกเขาหลอกลวงตนเอง ถ้าพวกเขาคิดว่า พวกเขาจะได้รับการยกย่องในชีวิตหน้า เหมือนวิธีที่พวกเขาเคยได้รับการยกย่องในโลกนี้ไหม อุปมาเรื่องผู้พิพากษาและหญิงม่ายจบลงด้วยการถามอย่างกระสับกระส่ายว่า “แต่เมื่อบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมา จะทรงพบความเชื่อในโลกนี้” (ลก.18.8) และจะมีกี่คนที่ดูหมิ่นคนอื่นเพื่อยกย่องตนเอง ที่จะได้รับคำเชิญชวนให้เปลี่ยนแปลง เพราะได้ยินอุปมาเรื่องชาวฟาริสีและคนเก็บภาษีที่สวดภาวนาในพระวิหาร
ถ้าเรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้ายังคงท้าทายผู้อ่านในเวลาใดก็ตาม ในสถานที่ใดก็ตามที่พวกเขาอยู่ หมายความว่า เรื่องอุปมายังคงเกี่ยวข้องกับทุกคนด้วยการเสนอสภาพความเป็นจริงของชีวิตด้วยวิธีที่ถูกต้อง ความสัมพันธ์ที่แท้จริงกับพระเจ้าสำหรับประชาชนในสมัยโบราณ อาศัยผ่านทางการเทศน์สอนของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับประชาชนในยุคปัจจุบันนี้ และจะเป็นเช่นเดียวกันสำหรับประชาชนในอนาคตด้วย
ความเมตตาพิสูจน์ได้และได้รับการฟื้นฟู แม้กระทั่งคนบาป เช่น คนเก็บภาษี ซึ่งอาชีพของเขาชั่วร้ายและต่ำต้อย โดยไม่มีการนำสิ่งใดเลยออกจากบทเทศนาของพระเยซูเจ้าเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้า พระเมตตากรุณาของพระเจ้า เคลื่อนออกไปผ่านทางเรื่องอุปมา เหนือแวดวงของสาวก และการสนทนากับทุกคนที่ได้ยินเรื่องนี้ แม้ว่า ในตัวเรื่องอุปมาเองไม่ได้นำความรอดพ้นก็ตาม – ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ในการพบปะเป็นการส่วนตัวกับพระเยซูเจ้า ที่ทรงสิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพเท่านั้น - พวกเขาจึงต้องสำรวจเส้นทางใหม่ๆ มิฉะนั้น พวกเขาอาจจะเดินทางตามเส้นทางที่ไม่อาจเข้าถึงพระวรสาร หรือที่ยังไม่ได้ยินเรื่องราวในพระวรสาร ดังนั้น ถ้าคิดไม่ถึงว่า ความรอดพ้นนั้นมาจากเพียงความเข้าใจเรื่องอุปมาหนึ่งเท่านั้น,แล้วยังปฏิเสธไม่ได้อีกว่า เรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้าชี้เส้นทางต่างๆสู่ความรอดด้วยหนทางที่น่าทึ่งทีเดียวเป็นสำคัญ
3. ตัวอย่างอื่นๆ ของความเมตตา
เซเนกา นักปรัชญาชาวโรมันแนะนำลูชีลีอุส เพื่อนของเขาว่า “หนทางนั้นยาวไกล ถ้าทำตามคำสั่งสอน แต่จะเป็นเส้นทางลัดที่มีประสิทธิภาพโดยอาศัยอุทาหรณ์” (จดหมาย 6.5) มีคนใดบ้างนอกจากพระเยซูเจ้าที่ปฏิบัติตามคำร้อง ขอให้มีความเมตตาเหมือนพระบิดาเจ้า ให้เรามองดูพระวรสารโดยนักบุญลูกาและหนังสือกิจการอัครสาวกอย่างรวบรัด
พระวรสารฉบับที่ 3 เริ่มด้วยบทเพลง 2 บท ที่กล่าวถึงพระเมตตากรุณา บทเพลงแรกคือบทเพลงของพระนางมารีย์ หลังจากทูตสวรรค์แจ้งสารแก่พระนางมารีย์ ระหว่างที่พระนางมารีย์เสด็จไปเยี่ยมนักบุญเอลีซาเบ็ธ ญาติของพระนาง เราเรียกบทเพลงนี้ว่า บทเพลงสรรเสริญของพระนางมารีย์ (Magnificat)
พระผู้ทรงสรรพานุภาพทรงกระทำกิจการยิ่งใหญ่สำหรับข้าพเจ้า
พระนามของพระองค์ศักดิ์สิทธิ์
พระกรุณาต่อผู้ยำเกรงพระองค์แผ่ไปตลอดทุกยุคทุกสมัย
พระองค์ทรงยกพระกรแสดงพระอานุภาพ
ทรงขับไล่ผู้มีใจมักใหญ่ใฝ่สูงให้กระจัดกระจายไป
ทรงคว่ำผู้ทรงอำนาจจากบัลลังก์ และทรงยกย่องผู้ต่ำต้อยให้สูงขึ้น (ลก.1.49-52)
สิ่งที่พระเจ้าได้ทรงกระทำในชีวิตของหญิงสาวที่สุภาพถ่อมตนคนหนึ่งในแคว้นกาลิลี ทรงลงมือกระทำก่อนล่วงหน้าการกลับสถานการณ์ตามธรรมเนียมที่เราพบในเรื่องอุปมาต่างๆ โดยสอดคล้องกับกับพระนางมารีย์ เศคารียาห์ บิดาของนักบุญยอห์น บัปติสท์ เมื่อท่านพบว่า ตนเองเผชิญกับเครื่องหมายอัศจรรย์แห่งการรอคอยบุตรชายที่ยาวนาน ท่านจึงถวายพระพรแด่พระเจ้า ด้วยการร้องเพลงถวายพระพรแด่พระเจ้า (Benedictus) ที่เสด็จมาเยี่ยมประชากรของพระองค์ว่า (ลก.1.72-78)
“ทรงสัญญาว่าจะทรงแสดงพระกรุณาแก่บรรพบุรุษของเรา
ทรงระลึกถึงพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ และคำปฏิญาณที่ทรงให้ไว้แก่
อับราฮัม บรรพบุรุษของเราว่า จะทรงช่วยเราให้พ้นจากเงื้อมมือของศัตรู
เพื่อรับใช้พระองค์โดยปราศจากความหวาดกลัวใด ๆ ให้เราเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์และชอบธรรม เฉพาะพระพักตร์
ของพระองค์ตลอดชีวิตของเรา
ส่วนเจ้า ทารกเอ๋ย เจ้าจะได้ชื่อว่าเป็นประกาศกของพระผู้สูงสุด เจ้าจะนำหน้าองค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่อเตรียมทางสำหรับพระองค์
เพื่อให้ประชากรของพระองค์รู้ว่า เขาจะรอดพ้น เพราะบาปของเขาได้รับการอภัย เดชะพระเมตตากรุณาของพระเจ้าของเรา
พระองค์จะเสด็จมาเยี่ยมเราจากเบื้องบนดังแสงอรุโณทัย” (ลก.1.72-78)
ความเห็นใจที่เปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาของพระเจ้าเป็นความรู้สึกที่จริงใจ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่แสดงพระองค์เอง ไม่ใช่เพื่อการพิพากษาโทษ แต่ด้วยความเวทนาสงสารเดียวกับบิดาผู้ใจดีที่มีต่อบุตรชายทั้งสองของเขา “คนสุภาพถ่อมตนของแผ่นดิน (หรือของประเทศ)” เช่นเดียวกับที่เรียกกันในสมัยของพระเยซูเจ้า – คนที่ไม่เป็นของแวดวงคนที่มีอภิสิทธิ์ – เป็นตัวอย่างที่นักบุญลูกาชี้ตั้งแต่แรกในเรื่องอุปมาแห่งพระเมตตากรุณา ตราบใดที่ผู้คนต้องการประสบกับพระเมตตาของพระเจ้าโดยตรงจากต้นกำเนิด ตราบนั้นพวกเขาต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนสุภาพถ่อมตน – ในโลก ในพระศาสนจักร และในสังคม-ที่ซึ่งการพลิกคว่ำสถานการณ์ของผู้คน นำมาซึ่งความประหลาดใจและความชื่นชมยินดีแห่งพระเมตตากรุณา
ตัวอย่างอื่นของพระเมตตากรุณาเกิดขึ้นในหนังสือกิจการอัครสาวกระหว่างมรณสักขีกรรมของสังฆานุกร
สเตเฟนที่กล่าวว่า “ขณะที่คนทั้งหลายกำลังเอาหินทุ่มใส่สเทเฟน เขาภาวนาว่า “ข้าแต่พระเยซูเจ้า โปรดรับวิญญาณของข้าพเจ้าด้วย และเขาคุกเข่าลงและร้องด้วยเสียงอันดังว่า “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดอย่าทรงลงโทษพวกเขาเพราะบาปนี้เลย” เมื่อกล่าวดังนี้แล้ว เขาก็สิ้นใจ (กจ.7.59.60) ถ้อยคำสุดท้ายของนักบุญสเตเฟนเตือนเราให้คิดถึงพระวาจาของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขนที่ตรัสแทนคนที่ประการพระองค์ว่า ‘พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร’ (ลก.23.34)
ระหว่างสมัยพระศาสนจักรเริ่มแรก มรณกรรมของคริสตชนคือความสูงส่งของความเมตตาเพราะมีลักษณะเช่นเดียวกับของพระคริสตเจ้าที่ทรงสละพระชนมชีพเพื่อผู้อื่นโดยไม่มีร่องรอยของการแก้แค้นหรือความเกลียดชัง,ซึ่งทรงเปลี่ยนคนชั่วให้กลายเป็นคนดีได้