แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 7
เราจะเปลี่ยนพระทัยของพระเจ้าได้อย่างไร
ผู้พิพากษาที่ไร้มโนธรรมและหญิงม่ายผู้รบเร้า (ลก.18.1-8)

ในสภาวะแวดล้อมของชีวิตแบบไหนที่เราประสบกับพระเมตตากรุณาของพระเจ้ามากที่สุด เมื่อเราต้องการพระเมตตากรุณาของพระเจ้ามากกว่าของขวัญอื่นๆของพระเจ้าหรือ  และเราจะรู้จักพระเมตตากรุณาได้อย่างไร  
พระเยซูเจ้าในพระวรสารโดยนักบุญลูกาไม่ทรงลังเลเกี่ยวกับคำตอบนื้  นั่นคือโฉมพระพักตร์อันทรงพระเมตตากรุณาของพระเจ้า ซึ่งฉายแสงบนชีวิตมนุษย์ ที่เห็นได้ในการภาวนา  ดังนั้น ให้เราหยุดนิ่งสักครู่ เพื่อรำพึงเกี่ยวกับเรื่องอุปมาด้วยท่าทีการภาวนาที่เพียรทน ซึ่งพระเยซูเจ้าตรัสถึงเมื่อใกล้จะสิ้นสุดการเดินทางสู่กรุงเยรูซาเล็ม

“พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาหนึ่งแก่บรรดาศิษย์เพื่อสอนว่าจำเป็นต้องอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอโดยไม่ท้อถอย  พระองค์ตรัสที่เมืองๆหนึ่งว่า ‘ผู้พิพากษาคนหนึ่งอยู่ในเมืองหนึ่ง เป็นผู้ที่ไม่ยำเกรงพระเจ้าและไม่เกรงใจมนุษย์ผู้ใด   มีหญิงม่ายคนหนึ่งอยู่ในเมืองนั้นด้วย นางมาพบเขาครั้งแล้วครั้งเล่าพูดว่า “กรุณาพิสูจน์ความบริสุทธิ์จากความผิดของฉันสู้ต่อคู่ความของฉันด้วย”  ผู้พิพากษาผู้นั้นไม่ยอมทำตามที่นางขอร้องจนเวลาผ่านไประยะหนึ่ง จึงคิดว่า “แม้ว่าฉันไม่ยำเกรงพระเจ้าและไม่เกรงใจมนุษย์ผู้ใด  แต่เพราะหญิงม่ายผู้นี้มาทำให้ฉันรำคาญ ฉันจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์จากความผิดให้นาง ไม่เช่นนั้นนางก็จะทำฟให้ ฉันอ่อนล้าจากากรที่นางรบเร้าฉันอย่างไม่จบสิ้น”’
องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า  ‘จงฟังคำที่ผู้พิพากษาอธรรมคนนั้นพูดซิ   แล้วพระเจ้าจะไม่ประทานความยุติธรรมแก่ผู้เลือกสรรที่ร้องหาพระองค์ทั้งวันทั้งคืนดอกหรือ  พระองค์จะไม่ทรงช่วยเขาทันทีหรือ  เราบอกท่านทั้งหลายว่าพระองค์จะประทานความยุติธรรมแก่เขาโดยเร็ว แต่เมื่อบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมา จะทรงพบความเชื่อในโลกนี้หรือ” (ลก.18.1-8)

1.    ผู้พิพากษา พระเจ้า และหญิงม่าย
    ตัวเอกในเรื่องอุปมานี้คือผู้พิพากษาที่ไม่กลัวเกรงพระเจ้ากับอีกฝ่ายหนึ่งคือแม่ม่าย  ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเอกเป็นรูปสามเหลี่ยมอีก นั่นคือ ผู้พิพากษาที่เชื่อมโยงกับพระเจ้าโดยทางอ้อมและกับแม่ม่ายโดยทางตรง  เท่าที่เราตรวจสอบประเด็นต้นแบบความสัมพันธ์ใหม่นี้ ก็พบในเรื่องอุปมาอื่นๆด้วย พระเจ้าไม่เคยมีบทบาทโดยตรง โดยทั่วไป พระองค์ทรงประทับอยู่โดยทั่วๆไปผ่านบุคคลที่มีประสบการณ์ฟังพระองค์ พระองค์ให้พวกเขาเป็นผู้แทนของพระองค์ (เช่น อับราฮัมในเรื่องอุปมาเศรษฐีกับลาซารัสผู้ยากจน)  หรือพระองค์ทรงถูกซ่อนอยู่เบื้องหลังคนอื่น (เหมือนบิดาผู้ใจดี) ณ ที่นี้ ตามหัวข้อการสวดภาวนาซึ่งถูกเลือกเป็นลักษณะเด่น เป็นแรงบันดาลใจของเรื่องอุปมานี้  ในบทต่อไป เกี่ยวกับอุปมาเรื่องชาวฟาริสีกับคนเก็บภาษี  ที่พระเจ้าทรงเริ่มมีบทบาทโดยอ้อมเนื่องจากเป็นหัวข้อการภาวนาเช่นเดียวกัน
    การปกครองตามลำดับชั้นทางสังคมในสมัยพระเยซูเจ้า โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่รู้หนังสือและไม่รู้กฎหมาย ต่างถือว่า ผู้พิพากษาเป็นบุคคลที่มีลักษณะเด่นในสังคม เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้พิพากษาก็เหมือนนายกเทศมนตรีประจำเมือง  ทนายความ    อัยการและโจทก์ (ผู้ฟ้องร้องคดี) พนักงานจดทะเบียน ผู้พิพากษามีอำนาจไม่จำกัด   ส่วนอีกฝั่งหนึ่งของตราชั่ง มีหญิงม่ายซึ่งสถานะของนาง บวกกับสถานะของเราเป็นลูกกำพร้า เป็นตัวแทนของสภาพมนุษย์ที่ตกอับที่สุด เมื่อนางไม่สามารถพี่งพาอำนาจทางครอบครัวหรือทางสิทธิพลเมืองของสามีได้ แม่ม่ายจึงถูกบังคับให้ทนทุกข์กับการข่มเหงสารพัดรูปแบบอยู่บ่อยครั้ง  เรื่องอุปมานี้เกี่ยวกับผู้พิพากษาที่มีอำนาจสูงมาก กับแม่ม่ายที่ไร้อำนาจมาประจวบรวมกันที่นี่   พระเจ้าทรงเอาพระทัยใส่ตัวเอกทั้งสอง 2 คนพร้อมกันเนื่องจากผู้พิพากษาเกี่ยวข้องกับพระเจ้าโดยอ้อมตั้งแต่แรก  เพราะมีคนพูดกันว่า ผู้พิพากษาไม่เกรงกลัวพระเจ้า และแล้วเขาเองก็ยอมรับคำกล่าวนี้  ท้ายสุด มีการเปรียบเทียบระหว่างผู้พิพากษากับพระเจ้า
    พระเยซูเจ้าทรงเน้นวิธีพิเศษ เมื่อมีเหวหรือช่องว่างระหว่างอำนาจทางการเมืองของผู้พิพากษาและสถานการณ์ของแม่ม่าย  ผู้พิพากษาไม่เกรงกลัวพระเจ้าและไม่เคร่งศาสนา นอกจากที่เขาไม่เกรงกลัวพระเจ้า หรือไม่เชื่อในพระเจ้าแห่งอิสราเอลแล้ว  เขายังตัดสินคดีตามความพอใจของเขาเอง  เขาไม่ได้เป็นเพียงผู้พิพากษาที่ไม่ซื่อสัตย์เท่านั้น  เขายังเป็นผู้พิพากษาที่ไม่เที่ยงธรรมที่ขาดความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่นเพราะเขาไม่เชื่อในพระเจ้า
    ด้านตรงกันข้ามของแถบหลากสีคือ แม่ม่ายที่แวะเวียนมารบเร้าผู้พิพากษาเพื่อขอความยุติธรรม ในการสู้ความกับคู่กรณี  เรื่องอุปมาไม่ได้กล่าวถึงคู่กรณีของนางเลย สิ่งที่น่าสนใจในที่นี้คือ อำนาจตัดสินตามอำเภอใจของผู้พิพากษาเปรียบเทียบอำนาจของพระเจ้าในความหมายของความยุติธรรม   และการยืนกรานของแม่ม่าย  หลังจากที่แม่ม่ายรบเร้าหลายๆครั้ง  ผู้พิพากษาจึงตัดสินใจที่จะทำตามคำร้องขอของแม่ม่าย  อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องของความเห็นอกเห็นใจที่เปลี่ยนจิตใจของผู้พิพากษา แต่เป็นการรบเร้าอย่างต่อเนื่องของแม่ม่ายต่างหาก

2.    พระเจ้าไม่ใช่ผู้พิพากษา
หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาผู้พิพากษาและแม่ม่าย พระองค์ทรงหันมาทางผู้ฟัง เพื่อตรัสถามพวกเขาว่า โดยทั่วไปแล้ว พวกเขาคิดอย่างไรเกี่ยวกับการกระทำของพระเจ้า  พระเยซูเจ้าทรงโต้แย้งด้วยเหตุผลที่ดีกว่า เริ่มจากข้อเสนอที่เล็กน้อยจนถึงข้อเสนอที่ใหญ่โต  พระเยซูเจ้าตรัสถามผู้ฟังว่า พระเจ้าจะประทานความยุติธรรมที่ดีกว่าแก่ผู้ที่ได้รับเลือกสรรไหม และพระเจ้าทรงกระทำได้เร็วกว่าผู้พิพากษาที่กระทำแก่แม่ม่ายไหม  พระเจ้าไม่ทรงเหมือนผู้พิพากษาที่ไม่เที่ยงธรรม  แต่พระองค์จะทรงตัดสินด้วยความยุติธรรมอย่างรวดเร็ว สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรรที่ร้องขอต่อพระองค์ทั้งวันทั้งคืน
แม้ว่า ผู้พิพากษากับพระเจ้าจะแตกต่างกันอย่างมโหฬาร  แต่ก็มีลักษณะเฉพาะเด่นอย่างหนึ่งที่เหมือนกันตรงที่แสดงตัวอย่างคุณค่าล้ำเลิศของการสวดภาวนา ทั้งสองบุคคลทบทวนวิธีการของเขาต่อแม่ม่ายและต่อผู้เลือกบนรากฐานของการอ้อนวอนที่เขาได้รับตามที่ร้องขออย่างเพียรทน ผู้คนมักคิดว่า พระเจ้าทรงเป็นบุคคลที่ทรงมั่นคงแน่วแน่วและไม่ทรงเปลี่ยนแผนการของพระองค์ที่มีต่อมนุษย์  ชาวตะวันตกเคยชินที่จะคิดถึงพระเจ้าพระองค์หนึ่งที่ไม่ทรงมีอารมณ์ความรู้สึก ที่ไม่ทรงปล่อยให้พระองค์เองถูกกระทบจากตัวกระทำภายนอก  อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ความรอดพ้นถ่ายทอดภาพที่เกี่ยวกับพระเจ้าต่างออกไป  พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่ปล่อยองค์ ให้รับคำร้องขอจากผู้คนเกี่ยวกับสถานการณ์ของพวกเขา และสดับฟังคำภาวนาของผู้เลือกสรร (ผู้ยากจนและผู้อ่อนแอ) ที่วิงวอนต่อพระองค์
สำหรับพระทัยกว้างของพระเจ้าทรงทบทวนแผนการของพระองค์ใน 2 ฉากจากพันธสัญญาเดิม ได้แก่การภาวนาของกษัตริย์เฮเซคียาห์และการสำนึกบาปของชาวเมืองนีนะเวห์ หนังสือพงษ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เล่าว่า กษัตริย์เฮเซคียาห์ประชวรหนัก และชีวิตของพระองค์เหมือนถูกแขวนอยู่บนเส้นด้าย พระองค์ทรงผินพระพักตร์เข้าข้างฝา  และพระองค์อธิษฐานทูลพระยาห์เวห์ว่า “ข้าแต่พระยาห์เวห์ โปรดทรงระลึกเถิดว่า ข้าพเจ้าได้ดำเนินชีวิตเฉพาะพระพักตร์พระองค์อย่างซื่อสัตย์และด้วยสิ้นสุดจิตใจ และได้ทำตามที่พระองค์ทรงเห็นว่าถูกต้อง”  (2 พกษ. 20.3) องค์พระผู้เป็นเจ้าสดับฟังคำวอนขอและการร่ำไห้ของกษัตริย์เฮเซคียาห์และพระเจ้าทรงรักษากษัตริย์ให้หายจากโรค
หนังสือประกาศกโยนาห์บรรยายวิธีที่พระเจ้าทรงเปลี่ยนพระทัยเกี่ยวกับความประพฤติชั่วของชาวนีนะเวห์ที่พระองค์ทรงขู่จะลงโทษ (ดู โยนาห์ 3.10) พระเจ้าผู้ทรงพระเมตตากรุณา คือความคิดรวบยอดที่ยากเกี่ยวกับพระเจ้าผู้ทรงพระกรุณาสำหรับโยนาห์  นั่นคือ สาเหตุที่ “ข้าพเจ้าจึงรีบหนีไปยังเมืองทารชิช เพราะข้าพเจ้ารู้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้เมตตาและกรุณา ไม่โกรธง่าย เปี่ยมด้วยความรักมั่นคง และกลับพระทัยไม่ลงโทษ” (โยนาห์ 4.2)  ประกาศกพยายามทุกวิถีทางเท่าที่สามารถ เพื่อขัดขวางพระเมตตากรุณาของพระเจ้าที่มีต่อชาวเมืองนั้นดังนั้น หลังจากการเทศน์สอนชาวนีนะเวห์ เขายังอยู่ในเมืองเพื่อดูว่า พระเจ้าจะทรงลงโทษชาวนีนะเวห์หรือไม่ เมื่อชาวนีนะเวห์ใช้โทษบาป    โยนาห์จึงไปตั้งหลักทางทิศตะวันออกของเมืองภายใต้ร่มเงาของเพิง  เพื่อให้เขาผ่อนคลาย  พระเจ้าทรงปลูกต้นไม้ต้นหนึ่งให้งอกขึ้นมา  เพื่อบังแดดให้เขาและเพื่อปลอบประโลมใจเขาบ้าง แต่ในวันต่อมา  พระองค์ก็ทรงทำให้ต้นไม้เหี่ยวเฉาไป  ด้วยการโต้เถียงที่ส่อให้เห็นเรื่องอุปมา พระเจ้าตรัสถามประกาศกว่า “ท่านสงสารต้นละหุ่งต้นนั้นที่ท่านไม่ได้ลงแรงปลูกหรือทำให้มันงอกขึ้น มันโตขึ้นในคืนเดียว แล้วก็ตายไปในคืนเดียว แล้วเราจะไม่ต้องสงสารเมืองนีนะเวห์นครยิ่งใหญ่นั้นหรือ...” (โยนาห์ 4.10-11)
พระเจ้าในพันธสัญญาใหม่และในพันธสัญญาเดิมเป็นพระเจ้าที่ทรงปล่อยให้ดวงพระทัยของพระองค์ถูกสัมผัสได้ เพราะพระองค์ไม่ทรงพระประสงค์ให้คนบาปตาย แต่โปรดให้พวกเขากลับใจ” (ดู อสค.33.11)

3.    เราควรขอสิ่งใดและสวดภาวนาอย่างไร
อุปมาเรื่องผู้พิพากษาและหญิงม่าย สรุปด้วยคำสัญญาของผู้พิพากษาที่จะให้ความยุติธรรมแก่หญิงม่ายเนื่องมาจากการรบเร้าของนาง  การภาวนาอย่างไม่ท้อถอยมักจะสามารถเปลี่ยนพระทัยของพระเจ้าได้ด้วย  อย่างไรก็ตาม ผู้คนมักไม่ได้รับคำตอบจากการภาวนา และรู้สึกราวกับว่า ไม่มีใครฟังคำภาวนาของเขา  พระเมตตากรุณาของพระเจ้าอยู่ที่ไหนเมื่อมีคำร้องขอของผู้เลือกสรรที่เป็นคนยากจนที่สุด – เรียงตั้งแต่หญิงม่ายไปถึงเด็กกำพร้า และในที่สุด ไปถึง เด็กยากจนและเจ็บป่วย – ดูเหมือนพระเจ้าไม่สดับฟังพวกเขา  และถ้าพระเจ้าสดับฟังพวกเขา  เหตุใดผลลัพธ์ดูเหมือนแสดงว่า คำร้องขอไม่ได้รับการตอบสนอง พระเยซูเจ้าในพระวรสารโดยนักบุญลูกาคือ พระอาจารย์แห่งการสวดภาวนา  และตรัสถึงสภาพความเป็นจริงที่น่าเศร้า  พระองค์ทรงเล่าอุปมาเรื่องเพื่อนที่เพียรทน               
    เรื่องอุปมานั้นได้ถูกยกบอกมาก่อนหน้านี้ในพระวรสารโดยนักบุญลูกา 11.5-8 มีเค้าโครงเหมือนอุปมาเรื่องหญิงม่ายกับผู้พิพากษา (ถึงแม้ไม่เกี่ยวข้องกับพระเมตตากรุณาของพระเจ้าก็ตาม) เป็นเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ไม่มีอะไรจะให้แขกที่มาหาเขาอย่างไม่คาดหวัง,ดังนั้น เขาจึงไปเคาะประตูเพื่อนบ้านเพื่อขอขนมปัง 3 ก้อน น่าเสียดาย มันเป็นเวลาเที่ยงคืนแล้วและเพื่อนบ้านก็ได้ล็อคประตูบ้านของเขาไปแล้ว และลูกๆของเขาก็เข้านอนแล้ว เมื่อชายคนนี้พบกับการรบเร้าของเพื่อนที่ประตู  ในที่สุด เขาก็ถูกบังคับให้ลุกขึ้นมาหยิบขนมปังให้เพื่อนตามที่เพื่อนขอร้อง
ในคำอธิบายที่กล่าวต่อไปในข้อ 9-13 พระเยซูเจ้าทรงกระตุ้นให้ผู้คนวอนขอ แสวงหา และเคาะประตูเพราะพระเจ้าทรงสามารถในการให้ ในการพบ  และในการเปิดประตูให้ และแล้วพระองค์ตรัสว่า ถ้าบิดาสามารถให้ปลาแก่ลูกแทนที่จะให้งู “พระบิดาผู้สถิตในสวรรค์จะไม่ประทานพระจิตเจ้าแก่ผู้ที่ทูลขอพระองค์มากกว่านั้นหรือ” ถ้ามองอย่างเร็วๆ  อย่างน้อยที่สุดเหมือน “พระจิตเจ้า” เป็นหัวข้อที่สำคัญในที่นี้ อย่างไรก็ตาม พระจิตเจ้าทรงเป็นของประทานที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้วอนขอในเวลาภาวนา เพราะพระจิตเจ้าเท่านั้นที่ทรงช่วยเราให้แยกแยะปลาจากงูและไข่จากแมงป่องได้ หลายครั้ง คนที่ภาวนาวอนขอสิ่งที่ดูเหมือนมีประโยชน์และจำเป็นสำหรับเรา,แต่ไม่อาจเป็นเช่นนั้นสำหรับพระเจ้า เพราะสิ่งที่พวกเขาวอนขอเป็นเรื่องรองและไม่ตรงกับพระประสงค์ของพระองค์                                                                                                                                                                                                                        
    ในการสวดภาวนา เราไม่รู้จะทูลขอสิ่งใด  นี่เป็นโอกาสที่ผู้คนจะไดสัมผัสประสบการณ์ความ
อ่อนแอประสามนุษญ์มากกว่าที่อื่นๆ แต่เป็นเพียงอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้ที่ “พระจิตเจ้าเสด็จมาช่วยเหลือเราผู้อ่อนแอ เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องอธิษฐานภาวนาขอสิ่งใดที่เหมาะสม แต่พระจิตเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาวอนขอแทนเราด้วยคำที่ไม่อาจบรรยาย และพระผู้ทรงสำรวจจิตใจ ทรงทราบความปรารถนาของพระจิตเจ้า เพราะว่าพระจิตเจ้าทรงอธิษฐานเพื่อบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ตามพระประสงค์ของพระเจ้า” (โรม 8.26-27)
เป็นการง่ายที่จะหยุดภาวนาเมื่อคำภาวนาดูเหมือนไม่ได้รับคำตอบ. เป็นการยากที่จะเพียรทนเหมือนแม่ม่ายที่รบเร้า,แต่พระเจ้าทรงเต็มพระทัยมากกว่าผู้พิพากษาใดใดที่จะทรงสดับฟังต่อเสียงร้องขอของผู้ได้รับเลือกอย่างรวดเร็ว ขอให้ผู้ที่มีความเชื่อเพียรภาวนา แม้เมื่อผลลัพธ์ต่างไปจากสิ่งที่หวังไว้ก็ตาม

4.    ความพากเพียรในความเชื่อ
อุปมาเรื่องผู้พิพากษาและหญิงม่ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ เราต้องคิดใคร่ครวญคำถามที่ว่า “...เมื่อบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมา จะทรงพบความเชื่อในโลกนี้” (ลก.18.8) บ่อยครั้ง เรามีความเข้าใจที่ไม่กระจ่างชัดและมีข้อจำกัดในการเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อ  เราคิดว่า “ความเชื่อ” เป็นสิ่งเดียวกับกลุ่มความคิดรวบยอด,ดังนั้น จึงเป็นความเชื่ออันเดียวกันสำหรับทุกคน แต่ตรงกันข้ามว่า ความเชื่อตอบสนองสิ่งที่เข้าใจไม่ได้  ความจริงแล้ว ยากที่จะยึดความเชื่อไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราไม่ได้รับตามสิ่งที่ภาวนาขอ แล้วเราก็เลิกล้มความตั้งใจที่จะภาวนาและจบลงด้วยการขาดความเชื่อ
ต้นแบบความสัมพันธ์ระหว่างการภาวนากับความเชื่อ เป็นสิ่งที่กล่าวเกี่ยวกับพระเยซูเจ้าในจดหมายถึงชาวฮีบรูว่า “ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงพระชนมชีพบนแผ่นดินนี้ พระองค์ทรงอธิษฐาน ทูลขอ คร่ำครวญและร่ำไห้ต่อพระเจ้าผู้ทรงช่วยพระองค์ให้พ้นความตายได้ พระเจ้าทรงฟังเพราะความเคารพยำเกรงของพระเยซูเจ้า ถึงแม้ว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตร ก็ยังทรงเรียนรู้ที่จะนอบน้อมเชื่อฟังโดยการรับทรมาน และเมื่อทรงกระทำภารกิจของพระองค์สำเร็จบริบูรณ์แล้ว ก็ทรงเป็นผู้บันดาลความรอดพ้นนิรันดรแก่ทุกคนที่ยอมนอบน้อมเชื่อฟังพระองค์” (ฮีบรู 5.7-9) พระเยซูเจ้าทรงผ่านเวลาแห่งการทดลองในมนุษยภาพของพระองค์ แต่พระองค์ทรงยึดพระเมตตาของพระบิดาเจ้า ดังนั้น พระองค์จึงยืนยันความเชื่อโดยทรงยอมจำนนเข้าสู่พระกรของพระบิดาโดยไม่มีเงื่อนไข
    การที่พระเยซูเจ้าทรงรับพระมหาทรมาน ไม่ได้ทำให้พระองค์ห่างไกลจากองค์พระผู้เป็นเจ้าเลย แต่กลับช่วย
ให้พระองค์ได้ทรงเรียนรู้ถึงความเชื่อ ซึ่งหมายถึงการนบนอบต่อพระประสงค์ของพระบิดาเจ้า สิ่งที่จดหมายถึงชาวฮีบรูกล่าว ดูเหมือนเป็นความจริงที่ขัดแย้งกันก็ตาม เป็นไปได้อย่างไรที่กล่าวว่า พระเจ้าสดับฟังการภาวนาของพระเยซูเจ้าในสวนเกทเสมนีว่า พระบิดาเจ้าโปรดให้พระเยซูเจ้าต้องดื่มหมดถ้วย (ความทุกข์ทรมาน) ทั้งๆที่พระเยซูเจ้าทรงขอให้ถ้วย (พระมหาทรมาน) ผ่านพ้นจากพระองค์ไป   เราจะพิจารณาว่า พระเจ้าทรงฟังคำภาวนาของพระเยซูเจ้าได้อย่างไร หากพระองค์ทรงต้องเพียรทนรับความอับอายบนไม้กางเขน ความจริงแล้ว พระบิดาเจ้าสดับฟังพระเยซูเจ้า  และทรงตอบรับคำภาวนาของพระเยซูเจ้าด้วยการให้พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ โดยมักเกิดขึ้นผ่านมรณกรรมบนไม้กางเขนนั่นเอง
การขอความเชื่อของคนที่ได้ยินอุปมาเรื่องผู้พิพากษาและแม่ม่าย   ขณะเดียวกัน ยังรวมถึงความวางใจ ความซื่อสัตย์ และความมั่นใจ การภาวนาทำให้เกิดความเชื่อและจบลงด้วยการนอบน้อมเชื่อฟังแก่ผู้ที่เรียนรู้ที่ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า แม้เมื่อพวกเขาไม่เข้าใจก็ตาม น่าเสียดาย ในสมัยของเรา เป็นการยากขึ้นไปเรื่อยๆ และหายากขึ้นที่จะมั่นคงแน่วแน่ในการภาวนาอย่างสม่ำเสมอ  และเปิดใจที่จะรับคำตอบที่บ่อยครั้งมักจะแตกต่างจากสิ่งที่วอนขอ

5.    เมื่อพระเยซูเจ้าทอดพระเนตรเขาด้วยพระเนตรแห่งพระเมตตากรุณา  พระองค์ก็ทรงเลือกเขา
    ความคล้ายคลึงกันระหว่างแม่ม่ายและผู้รับเลือกสรรจากพระเจ้า จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนยิ่งขึ้น เพราะแสดงความยุ่งเหยิงต่อความจริงแห่งพระวรสารมากที่สุด   เป็นจริงที่ว่า พระเจ้าไม่ทรงอยู่ข้างผู้พิพากษาผู้ซึ่งในบรรดาเรื่องอื่นๆทั้งหลายที่ไม่เกรงกลัวพระเจ้า แต่ทรงอยู่ข้างแม่ม่าย  ผู้เลือกสรรของพระเจ้าคือ เด็กกำพร้าและแม่ม่ายผู้ซึ่งไม่อาจต่อรองด้วยตนเองกับการข่มเหงต่างๆที่พวกเขาตกเป็นเบี้ยล่าง  ดังนั้น เหตุใดพระเยซูเจ้าทรงเลือกคนที่บกพร่องทางศีลธรรมและคนบาปอย่างเลวีที่เป็นคนเก็บภาษี “หลังจากนั้น พระองค์เสด็จออกไป ทอดพระเนตรเห็นคนเก็บภาษีคนหนึ่งชื่อเลวีนั่งอยู่ที่ด่านภาษี จึงตรัสสั่งเขาว่า “จงตามเรามาเถิด”   เลวีก็ลุกขึ้น  ละทิ้งทุกสิ่ง  แล้วตามพระองค์ไป (ลก.5.27-28)
ในคำอธิบายที่ตามมา พระเยซูเจ้าทรงกำหนดว่า “คนสบายดีย่อมไม่ต้องการหมอ    แต่คนป่วยต้องการ  เราไม่ได้มาเพื่อเรียกคนชอบธรรม แต่มาเพื่อเรียกคนบาปให้กลับใจ” (ดู ลก.5.31,32)  ยากที่จะเข้าใจตรรกะแห่งการเลือก  พระเจ้าทรงเลือกคนที่อ่อนแอ คนที่ถูกดูหมิ่น และคนต่ำศักดิ์ในโลก เพื่อทำให้คนที่แข็งแรง ฉลาด และสูงศักดิ์รู้สึกอับอาย  เพื่อว่าจะไม่มีใครที่สามารถโอ้อวดเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าได้  (1 คร.1.26-29) ในความหมายเชิงบวก พระเจ้าทรงเลือกพวกที่มาก่อนเพื่อเข้าถึงพวกที่มาภายหลัง  มิฉะนั้น เราเลี่ยงไม่ได้ที่จะคิดว่า การเลือกของพระองค์จะกีดกันคนอื่นออกไปอย่างอัตโนมัติ  สิ่งที่กล่าวในหนังสืออพยพ 33.19 และนักบุญเปาโลกล่าวซ้ำ ยังสมเหตุสมผล “เพราะพระองค์ตรัสกับโมเสสว่า เราเมตตาต่อผู้ที่เราเมตตา และสงสารผู้ที่เราสงสาร” (โรม 9.15) พระเจ้าทรงพระเมตตากรุณาต่อผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรรหมายความว่าอย่างไร  พระองค์ทรงกีดกันบางคนจากพระเมตตากรุณาของพระองค์ได้หรือ และใครคือผู้ที่ทรงเลือกสรร
เหนือสิ่งอื่นใด การเลือกของพระเจ้าในเรื่องนี้ เต็มไปด้วยพระหรรษทานตั้งแต่ต้นจนจบ และไม่ได้ถูกกำหนดจากตัวการภายนอกใดๆทั้งสิ้น  พระเจ้าไม่ได้เลือกคนเพราะพวกเขาเป็นคนดี แต่เพื่อทำให้คนที่ทรงเลือกกลายเป็นคนดี นักบุญเปาโลอธิบายการเลือกสรรของพระองค์ว่า “พระคริสตเยซูเสด็จมาในโลกเพื่อช่วยคนบาปให้รอดพ้น ข้าพเจ้าเป็นคนแรกในบรรดาคนบาปเหล่านี้  ด้วยเหตุนี้  พระองค์จึงทรงแสดงพระเมตตากรุณาต่อข้าพเจ้า พระคริสตเยซูทรงอดทนอย่างสมบูรณ์” (1 ทิโมธี 1.15-16)
ผู้ที่ได้รับเลือกโดยพระหรรษทานไม่ได้กีดกันคนอื่น แต่รวบรวมพวกเขาไว้ในพระเมตตากรุณาของพระเจ้า น่าเสียดาย เมื่อเราคิดถึงผู้ได้รับเลือกสรร  บ่อยครั้ง เราติดกับดักในการกีดกันคนอื่น  ในสภาพความเป็นจริง พระเจ้าทรงเลือกบางคน ไม่ใช่เพื่อปฏิเสธคนอื่น แต่ทรงรวบรวมทุกคน  ในการกระทำเช่นนั้น  เรื่องอุปมาที่น่ากลัวที่ “กำหนดไว้ล่วงหน้า” ไม่เกี่ยวกับการเลือกสรรและการปฏิเสธ แต่เป็นเพียงการเลือกสรรเท่านั้น  ในแผนการของพระเจ้า ไม่มีการกำหนดล่วงหน้าว่าเป็นคนดีหรือเป็นคนชั่ว  แต่เพียงเพื่อช่วยให้พวกเขาไปสู่การเป็นคนดีเสมอ  และการเลือกไม่ขึ้นกับความดีของพระเจ้า แต่ขึ้นกับข้อเท็จจริงที่ว่า ขณะที่พระเยซูเจ้าที่ทรงอธิบายในการสนทนากับนิโคเดมัสในตอนกลางคืนว่า“พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมากจึงประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศแต่จะมีชีวิตนิรันดร”(ยน.3.16 ย้ำเน้นมาก)  เมื่อเราคิดถึงการเลือกสรรโดยไม่ยืนต่อหน้าไม้กางเขนของพระคริสตเจ้า เราสามารถจินตนาการได้ไหมว่า  มีการเลือกสรรของบางคนที่เชิงกางเขน เพื่อเอาเปรียบคนอื่นหรือที่แย่กว่านั้น คือ ที่ทำไม่ดีกับคนอื่น
ผลของการเลือกสรรอาศัยพระเมตตากรุณาของพระเจ้าไม่ได้แสดงด้วยความหยิ่งยโสหรือความคิดสมมติ แต่ด้วยการรับใช้ผู้อื่น  ถ้าพระเจ้าทรงเป็น “องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา พระบิดาผู้ทรงพระกรุณา และพระเจ้าผู้ประทานการปลอบประโลมใจทุกประการ”  เป็นเพราะพระองค์ “ทรงปลอบประโลมใจในความทุกข์ยากต่าง ๆ ของเรา เพราะเราได้รับการปลอบประโลมใจจากพระเจ้าแล้ว เราจึงปลอบใจผู้มีความทุกข์ทั้งมวลได้”  (2 คร.1.3-4)  อย่างไรก็ตาม การเลือกสรรไม่เกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยมีเมตตา   แต่มีการแปรสภาพจากพระเมตตากรุณาของพระเจ้าให้เป็นการเลือกสรร  ท่านเบดาผู้น่าเคารพ (Venerable Bede) วิจารณ์ได้ดีเกี่ยวกับการเรียกของเลวี (หรือนักบุญมัทธิว) ว่า “พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรคนเก็บภาษีและด้วยสายพระเนตรแห่งพระเมตตากรุณา   พระองค์ได้ทรงเลือกเขาและตรัสกับเขาว่า, “ตามเรามา”  (บทเทศน์ 21.149)
    คติพจน์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสคือ “ทรงทอดพระเนตรด้วยความเมตตาสงสาร และทรงเลือกสรรเขา” (Miserando   atque   eligendo)