แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

วิธีสอนแบบอุปมานและอนุมาน (GCD (1971) 72)
150    การสื่อสารเรื่องความเชื่อในการสอนคำสอน เป็นผลที่เกิดขึ้นจากพระหรรษทาน ซึ่งจะเป็นจริงเมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีประสบการณ์กับพระวาจาของพระเป็นเจ้าอย่างเป็นส่วนตัว  โดยที่การสื่อสารนั้นจะถูกแสดงออกด้วยเครื่องหมายต่างๆ ที่มองเห็นได้  และเป็นการเปิดไปสู่พระธรรมล้ำลึกอย่างถึงที่สุด  การสื่อสารนี้อาจเกิดขึ้นได้ในหลากหลายวิธีการ  โดยที่เราไม่อาจรู้ได้อย่างครบถ้วนเสมอไป    ตามที่ได้พิจารณาถึงประวัติศาสตร์ของการสอนคำสอนพบว่า มีการอ้างอิงวิธีการแบบธรรมดาที่ใช้ในปัจจุบันนี้คือ วิธีสอนแบบอุปมานและวิธีสอนแบบอนุมาน 

วิธีสอนแบบอุปมาน (inductive) ประกอบด้วย การนำเสนอความจริงต่างๆ (เหตุการณ์ต่างๆ ในพระคัมภีร์  การกระทำต่างๆ ทางพิธีกรรม  เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของพระศาสนจักร เช่นเดียวกับเหตุการณ์ต่างๆ จากชีวิตประจำวัน)  เพื่อให้เข้าใจความหมายของความจริงเหล่านี้ที่อาจมีอยู่ในการเปิดเผยของพระเป็นเจ้า  มันเป็นวิธีหนึ่งที่มีประโยชน์มากมาย  เพราะวิธีการสอนนี้ปรับเข้ากับแผนการของการเปิดเผย  ทั้งยังตรงกันกับแรงกระตุ้นอันล้ำลึกแห่งจิตใจมนุษย์ให้มารู้ถึงสิ่งต่างๆ ที่มิอาจเข้าใจได้ โดยอาศัยสิ่งต่างๆ ที่เห็นได้   วิธีนี้ยังปรับเข้ากับลักษณะเฉพาะต่างๆ ของความรู้เกี่ยวกับความเชื่อซึ่งเป็นความรู้ที่ได้มาโดยอาศัยเครื่องหมายต่างๆ  วิธีสอนแบบอุปมานมิได้กันวิธีสอนแบบอนุมาน (deductive) ออกไป   โดยจริงแล้ววิธีสอนแบบอุปมานต้องการวิธีการแบบอนุมานที่ช่วยอธิบายและบรรยายความจริงต่างๆ โดยการดำเนินการจากเหตุแห่งความจริง เหล่านั้น  อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ได้จากการสังเคราะห์แบบอนุมาน จะมีคุณค่าสมบูรณ์ครบถ้วนก็ต่อเมื่อกระบวนการแบบอุปมานนั้นเป็นไปอย่างสมบูรณ์ (อ้างถึง GCD (1971) 72)

151    ในการอ้างถึงวิธีการดำเนินการต่างๆ นั้น ยังมีอีกความหมายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “แบบการเทศน์สอนเรื่องพระเยซูเจ้า” (kerygmatic) (descending)  ซึ่งเริ่มต้นด้วยการประกาศสารแห่งพระวรสาร  ตามที่มีเขียนไว้ในเอกสารสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อ (เช่น พระคัมภีร์ พิธีกรรม ข้อความเชื่อ) และนำเอาสารนั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิต   อีกแบบหนึ่งเรียกว่า “แบบตามที่เป็นอยู่จริงๆ” (existential) (ascending)  ซึ่งเริ่มจากปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ ของมนุษย์ และอาศัยพระวาจาของพระเป็นเจ้าช่วยให้เข้าใจสิ่งเหล่านั้น วิธีการทั้งสองนี้ต่างก็มีความเหมาะควรในตัวเองหากองค์ประกอบต่างๆ ที่มีผลต่อวิธีการนั้นได้รับการสังเกตในวิธีที่ถูกต้อง  ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวได้แก่ พระธรรมล้ำลึกเรื่องพระหรรษทานและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับมนุษย์ ความเข้าใจในเรื่องความเชื่อและกระบวนการใช้เหตุผล