แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาและวิธีการในการสอนคำสอน (อ้างถึง CT 31,52,59) 
149    หลักการแห่ง “ความซื่อสัตย์ต่อพระเป็นเจ้า และความซื่อสัตย์ต่อมนุษย์” นำไปสู่การหลีกเลี่ยงการขัดแย้งใดๆ หรือการแยกกันอย่างไม่เป็นธรรมชาติ หรือความเป็นกลางที่เสแสร้งระหว่างวิธีการกับเนื้อหา  มันค่อนข้างจะยืนยันถึงความสัมพันธ์และการกระทำร่วมกันอันจำเป็นของวิธีการกับเนื้อหา  ครูคำสอนตระหนักดีว่าวิธีการเป็นสิ่งที่ต้องรับใช้การเปิดเผยของพระเป็นเจ้าและการกลับใจ (อ้างถึง CT 52) 

ดังนั้น จึงจำเป็นที่ครูคำสอนจะต้องใช้ประโยชน์จากวิธีการ  ครูคำสอนทราบดีว่าไม่มีวิธีการสอนคำสอนใดที่ดีเป็นพิเศษสำหรับเนื้อหาการสอนคำสอน  เนื้อหาการสอนคำสอนต้องการกระบวนการถ่ายทอดที่เหมาะสมกับลักษณะของสาร  แหล่งกำเนิดต่างๆ ของสารและภาษา  อีกทั้งต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่มีลักษณะจำเพาะของชุมชนทั้งหลายของพระศาสนจักร และต้องเหมาะกับสถานการณ์ต่างๆ ที่พิเศษอย่างยิ่งของสัตบุรุษที่เป็นเป้าหมายของการสอนคำสอน
    เพราะการสอนคำสอนมีความสำคัญอย่างแท้จริงทั้งในกระบวนการสืบทอดความเชื่อคาทอลิกและในการสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน  การกล่าวสิ่งใดนั้นจึงต้องประกอบด้วยวิธีการที่นำเข้าสู่พระคัมภีร์ (อ้างถึง เอกสารของสมณกรรมาธิการฝ่ายพระคัมภีร์  เรื่องการตีความพระคัมภีร์ในพระศาสนจักร) และ “วิชาครูที่มีเนื้อหาพิเศษ” และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องประกอบด้วยข้อความเชื่อ   เนื่องจากการสอนคำสอนเป็นการถ่ายทอดความเชื่อ (MPD 9)  การถ่ายทอดวิธีการเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายต่างๆ ของพระศาสนจักรในพิธีกรรม  และการถ่ายทอดวิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสื่อมวลชน   วิธีการสอนคำสอนที่ดีแบบหนึ่งเป็นเครื่องประกันความซื่อสัตย์ต่อเนื้อหา