แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การประกาศข่าวดีขั้นแรกหรือครั้งแรก  และการสอนคำสอน


61    การประกาศข่าวดีขั้นแรกนี้มุ่งไปยังผู้ที่ไม่มีความเชื่อ  และพวกเย็นเฉยเรื่องศาสนา  บทบาทต่างๆ ของการประกาศนี้คือ  การประกาศพระวรสาร (ข่าวดี)  และเชิญให้กลับใจ  การสอนคำสอน  “ซึ่งแตกต่างจากการประกาศข่าวดีแห่งพระวรสารขั้นแรก”  (CT 19)  มีจุดมุ่งหมาย  2 ประการ ได้แก่  1) ส่งเสริมและทำให้การกลับใจขั้นแรกนี้สมบูรณ์   2) ให้การสั่งสอนและอบรมเรื่องความเชื่อแก่ผู้กลับใจและนำเขาเข้าสู่กลุ่มคริสตชน  ความสัมพันธ์ระหว่างสองรูปแบบของศาสนบริการด้านพระวาจา (การประกาศข่าวดีขั้นแรกและการสอนคำสอน) จึงเป็นความสัมพันธ์ของความแตกต่างที่เกื้อกูลกัน  การประกาศข่าวดีขั้นแรกที่คริสตชนทุกคนได้รับการเรียกร้องให้ กระทำนั้น เป็นส่วนประกอบของคำว่า “ไป” “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก  ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง”  (มก 16:15;  มธ 28:19)  อันเป็นคำสั่งที่พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ทั้งหลายของพระองค์  นั่นหมายความถึง การออกไปสู่โลกภายนอก  ความรีบเร่ง  ข่าวสาร  อย่างไรก็ตาม  การสอนคำสอนก็เริ่มต้นจากเงื่อนไขที่พระองค์ทรงแสดงไว้คือ  “ผู้ที่เชื่อ”  (มก 16:16)  ผู้ที่กลับใจ  ผู้ที่ตัดสินใจเชื่อ  กิจกรรมทั้งสองนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกันและกัน  คือ จงไปและต้อนรับ  จงป่าวประกาศและอบรม  จงเชิญและนำเข้ากลุ่ม 

62    อย่างไรก็ตาม  ในการปฏิบัติงานอภิบาล  มิใช่เรื่องง่ายที่จะนิยามขอบเขตของกิจกรรมเหล่านี้    บ่อยครั้งคนจำนวนมากแสดงตัวว่าต้องการการสอนคำสอน  แต่ที่จริงพวกเขาต้องการการกลับใจอย่างแท้จริง   ด้วยเหตุนี้  พระศาสนจักรจึงปรารถนาให้ขั้นตอนที่หนึ่งในกระบวนการสอนคำสอนมุ่งเน้นให้มีการกลับใจอย่างมั่นคง (อ้างถึง CT 19; GCD 18)    ใน  “พันธกิจการเผยแผ่ธรรมสู่นานาชาติ” นั้น เป็นธรรมดาที่ขั้นตอนที่หนึ่งในกระบวนการสอนคำสอนจะสำเร็จไปใน  “ระยะเวลาก่อนเรียนคำสอน” (pre-catechumenate)  (RCIA 9-13;  อ้างถึง CIC 788)   ในข่อบข่ายของ “การประกาศพระวรสารกันใหม่”  ขั้นตอนนี้เกิดขึ้นได้ด้วยวิธี  “การสอนคำสอนที่เกี่ยวกับเรื่องพระเยซูเจ้า”  (kerygmatic  catechesis)   บางครั้งเรียกว่า “ช่วงก่อนการสอนคำสอน” (pre-catechesis)  (ในคู่มือแนะแนวเล่มปัจจุบันนี้  มีการคาดการว่า  การสอนคำสอนที่เกี่ยวกับเรื่องพระเยซูเจ้า   หรือช่วงก่อนการสอนคำสอนควรมุ่งไปที่ผู้สนใจพระวรสาร  ในสภาพที่บุคคลต่างๆ ไม่มีความสนใจดังกล่าวก็คงต้องใช้การประกาศข่าวดีขั้นแรก)   เพราะช่วงเวลานี้อยู่บนพื้นฐานของระยะเวลาก่อนเรียนคำสอน   และถูกนำเสนอโดยพระวรสาร  เพื่อมุ่งไปสู่การเลือกความเชื่ออย่างมั่นคง  เพียงแต่เริ่มต้นด้วยการกลับใจ  แล้วก็ให้เวลาแก่ความโน้มเอียงตามธรรมชาติภายในจิตใจของ “ผู้ที่เชื่อ”  เท่านั้นจริงๆ    การสอนคำสอนจึงจะสามารถประสบผลสำเร็จในภาระการจัดการศึกษาแก่ผู้ที่เชื่ออย่างเหมาะสม  (อ้างถึง  RCIA  9,10,50;  CT 19)
    ด้วยความจริงที่ว่า แม้อย่างน้อยที่สุดในตอนเริ่มต้น การสอน คำสอนนั้นจะมีจุดมุ่งหมายด้านธรรมทูต ก็มิได้ทำให้พระศาสนจักรเฉพาะถิ่นใดเปลี่ยนแปลงแผนการประกาศข่าวดีขั้นแรกอย่างที่เป็นมานานนั้นให้กลายเป็นการประกาศพระวรสารที่ตรงกับคำสั่งเรื่องการ เผยแผ่ธรรมของพระเยซูเจ้ามากขึ้น  การฟื้นฟูการสอนคำสอน (catechetical renewal)     จึงควรมีการประกาศพระวรสารอย่างธรรมทูตเริ่มแรกเป็นพื้นฐาน