แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ทำไมเราจึงมีข้อความเชื่อ (Creed)

article-new-ehow-images-a05-4r-5t-learn-catholic-faith-800x800     Credo (ข้าพเจ้าเชื่อ) เป็นคำภาษาลาติน หมายถึง สำนวนสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับคำสอนพื้นฐานของความเชื่อคริสตัง เพื่อที่จะสารภาพความเชื่อนั้นจำต้องร่างข้อความเชื่อขึ้นมา การสวดบทข้าพเจ้าเชื่อแบบส่วนตัวหรือแบบเปิดเผยโดยลำพังหรือกับคนอื่นๆ หมายถึงการยอมรับข้อความเชื่อต่างๆ ที่มีอยู่ในบทข้าพเจ้าเชื่อและอุทิศตนตามนั้น
     ข้อความเชื่อต่างๆ ที่ชาวคาทอลิกคุ้นเคยและสวดอยู่บ่อยๆ นั้นเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อของบรรดาอัครสาวก และเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อของนิเช บทข้าพเจ้าเชื่อของบรรดาอัครสาวกโดยทั่วๆ ไปใช้สวดเวลาเริ่มสวดสายประคำ ส่วนบทข้าพเจ้าเชื่อของนิเชนั้น ใช้สวดในพิธีมิสซาวันอาทิตย์และวันฉลองหรือวันสมโภชต่างๆ

       ถึงแม้จะมีเรื่องเล่าว่า บทข้าพเจ้าเชื่อของบรรดาอัครสาวกเป็นสำนวนที่บรรดาอัครสาวกแต่งขึ้นเอง อัครสาวกแต่ละคนมีส่วนร่วมแต่งขึ้นมาคนละข้อ แต่ก็ไม่มีข้อพิสูจน์ทางประวัติศาสตร์ว่ามีความเชื่อมโยงกับบรรดาอัครสาวกโดยตรงแต่ประการใด คงจะเป็นเพราะว่าบทข้าพเจ้าเชื่อนั้นเริ่มใช้สวดเพื่อประกาศยืนยันความเชื่อเมื่อรับศีลล้างบาปในพระศาสนจักรยุคแรก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อดั้งเดิม สำนวนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นคงแต่งขึ้นประมาณกลางศตวรรษที่ 7 ซึ่งเอามาใช้แทนบทแสดงความเชื่อดั้งเดิมเมื่อรับศีลล้างบาป จึงกลายเป็นที่รู้จักกันดี และเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อที่ใช้กันทั่วไปในพระศาสนจักร จากต้นศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ได้มีบทข้าพเจ้าเชื่อที่พระศาสนจักรตะวันตกใช้กันทั่วไป มิใช่แค่สวดประกาศยืนยันความเชื่อเมื่อรับศีลล้างบาปเท่านั้น แต่ยังมีการใช้สวดเป็นประจำวันในการสวดทำวัตรด้วย
      บทข้าพเจ้าเชื่อที่เรียกว่าบทข้าพเจ้าเชื่อของนิเชนั้น หลังจากประชุมสภาสังคายนาสากลครั้งแรกแห่งนิเช (ค.ศ. 325)   จริงๆ แล้วเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อของที่ประชุมสภาสังคายนาสากลครั้งแรกแห่งคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 381) อย่างไรก็ตาม มีส่วนเชื่อมโยงกับบทข้าพเจ้าเชื่อที่ประยุกต์มาจากสภาสังคายนาแห่งนิเช ซึ่งเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อของพระศาสนจักรสากล โดยมีจุดประสงค์มิใช่แค่ประกาศยืนยันความเชื่อเท่านั้น แต่ยังเป็นการประกาศถึงความถูกต้องชอบธรรมของความเชื่อคริสตัง ที่ต่อต้านความเชื่อของพวกเฮเรติก ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า ข้อความเชื่อนั้นถูกใช้เป็นกฎเพื่อแสดงความเชื่อและคำสอนที่ถูกต้องชอบธรรม ไม่เหมือนกับบทข้าพเจ้าเชื่อของบรรดาอัครสาวกที่มีใช้กันทั่วไปในพระศาสนจักรตะวันตก ส่วนบทข้าพเจ้าเชื่อของคอนสแตนติโนเปิล (หรือบทข้าพเจ้าเชื่อของนิเช) นั้นเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อที่ใช้กันในพระศาสนจักรตะวันออก
      บทข้าพเจ้าเชื่อที่รู้จักกันดีอีกบทหนึ่ง คือ บทข้าพเจ้าเชื่อ อาธานาเซียน แม้ในปัจจุบันมิได้แพร่หลาย แต่ก็ถือกันมายาวนานว่าเป็นของนักบุญอาธานาซีอุสแห่งศตวรรษที่ 4 (ค.ศ. 296-373) ผู้ปกป้องความถูกต้องชอบธรรมที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง ถึงแม้จะแต่งขึ้นมาเมื่อประมาณปลายศตวรรษที่ 5 น่าจะเป็นนักบุญเซซารีอุส แห่งอาร์ส (ค.ศ. 470-543) ที่แต่งบทข้าพเจ้าเชื่อดังกล่าวคงจะเป็นบทข้าพเจ้าเชื่ออาธานาเซียน ที่ปกป้องความเชื่อแห่งนิเช บทข้าพเจ้าเชื่อนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักความเชื่อ เพราะกล่าวถึงพระตรีเอกภาพและการรับสภาพมนุษย์ เคยใช้กันในบทสวดทำวัตรแต่ก็ละทิ้งไปหลังการประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2
      บทข้าพเจ้าเชื่อในสมัยใหม่คือ บทข้าพเจ้าเชื่อของประชากรของพระเจ้าที่พระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 ทรงประกาศใช้เมื่อ ปี ค.ศ. 1967 ในโอกาสวันฉลองครบรอบ 1900 ปี แห่งการเป็นมรณสักขีของนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล เจตนานั้นมิใช่เพื่อให้นิยามเรื่องหลักความเชื่อ แต่อย่างที่พระสันตะปาปาตรัสไว้คือ เป็นสำนวนใหม่ที่คงไว้ซึ่งสาระเดิม โดยมีการพัฒนา เพื่อให้เข้ากับเงื่อนไขสภาพฝ่ายจิตในสมัยของเรา โดยใช้ชื่อว่าบทข้าพเจ้าเชื่อแห่งนิเชอันเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อตามธรรมประเพณีอมต ของพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า สำนวนภาษาของบทข้าพเจ้าเชื่อแห่งนิเชมีการอ้างถึงประเด็นของกระแสต่างๆ โดยเฉพาะส่วนที่ขัดแย้งกับหลักความเชื่อคาทอลิก
      ดังนั้น บทข้าพเจ้าเชื่อจึงเป็นบทสรุปข้อคำสอนคริสตังที่เป็นพื้นฐาน และถูกต้องชอบธรรม ทุกครั้งที่เราสวดเป็นการรื้อฟื้นถึงการยอมรับข้อความเชื่อนั้น และประกาศยืนยันยอมอุทิศตนและจะซื่อสัตย์ต่อข้อความเชื่อนั้น