แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ทำไมจึงเรียกวัดบางแห่งว่ามหาวิหาร (Basilica)
 

230px-Assumption cathedral Bangkokในยุคแรกๆของพระศาสนจักรนั้น บรรดาคริสตชนชุมนุมกันสวดภาวนาและถวายบูชามิสซาในห้องธรรมดาๆ เหมือนใน “ห้องชั้นบน” ที่ซึ่งหลังจากพระคริสตเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์แล้ว บรรดาอัครสาวกและผู้ติดตามพระคริสตเจ้าทั้งชายและหญิง พร้อมกับพระมารดาของพระคริสต์ “ทุกคนร่วมอธิษฐานภาวนาสม่ำเสมอเป็นหนึ่งหนึ่งใจเดียวกัน” (กจ 1:12-14) บรรดาคริสตชนรุ่นแรกๆ ยังไปสวดภาวนาในวิหารกรุงเยรูซาเล็ม แต่จัดพิธีบิขนมปังกันในบ้านของตน (กจ 2:46)

หลังจากพระจักรพรรดิคอนสแตนติน ได้ฟื้นฟูให้เสรีภาพทางศาสนาแก่บรรดาคริสตชน จึงสามารถจัดชุมนุมถวายนมัสการพระเจ้าได้อย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ จึงมีความต้องการสถานที่เพื่อถวายคารวกิจ ศาสนาเก่าแก่อื่นๆ มีอาคารพิเศษที่ใช้ถวายนมัสการพระเจ้า ดังนั้นบรรดาคริสตชนจึงเริ่มจัดหาอาคารเพื่อถวายนมัสการพระเจ้าในแต่ละท้องที่ซึ่งเรียกว่า “บ้านแห่งการภาวนา หรือ “เคหะของพระ-เจ้า” โบสถ์น้อยประจำอารามหรือวัด       ต้นศตวรรรษที่ 4 คำว่ามหาวิหารได้เริ่มเรียกสำหรับวัดบางแห่ง

มหาวิหารเป็นชื่อเรียกหอประชุมใหญ่ของชาวโรมันที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางโลก เป็นต้น การถ่ายโอนธุรกิจหรือการจัดศาลยุติธรรม บ่อยครั้งเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีทางเดินภายในและมีมุขตอนท้ายในแต่ละทางเดิน มหาวิหารเก่าแก่ที่สุดหลังหนึ่งถูกสร้างขึ้นประมาณปี 180 ก่อนคริสตกาล โดยผู้อาวุโสชื่อ คาโต (234-149 ก่อน ค.ศ.)  มหาวิหารหลายแห่งมีรูปทรงคล้าย ๆ กัน โดยทั่วๆ ไปถูกสร้างขึ้นก่อนปี ค.ศ. 300 ทั้งในกรุงโรมและในเมืองขึ้นต่างๆ

เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินได้ให้เสรีภาพในการถือศาสนา และทางรัฐก็ให้ความคุ้มครองบรรดาคริสตชน มหาวิหารบางแห่งถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของทางราชการโดยให้คริสตชนดูแล และได้เปลี่ยนเป็นสถานที่ให้คริสตชนถวายนมัสการพระเจ้า แต่คำว่ามหาวิหารนั้นยังคงไว้เหมือนเดิม เช่น มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน วัดที่เป็นอาสนวิหารของพระสังฆราชแห่งโรม และ “มารดาแห่งวัดทั้งปวง” นั้นได้ถูกสร้างขึ้นมาจากมหาวิหารของทางราชการ

บรรดาคริสตชนยังได้จัดสร้างสถานนมัสการพระเจ้าแห่งใหม่ขึ้นมาอีก หลังจากมหาวิหารต่างๆ แต่ประยุกต์ให้เข้ากับความต้องการของคริสตชน ซึ่งเรียกว่ามหาวิหารเช่นเดียวกัน ต่อมา มิใช่แค่วัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นตามแบบมหาวิหาร แต่มีวัดอื่นๆ ซึ่งกว้างและมีสถาปัตยกรรมที่น่าประทับใจก็เรียกว่ามหาวิหาร ดังนั้น คำว่ามหาวิหารจึงถือว่าเป็นเกียรติพิเศษ และได้เริ่มใช้เรียกวัดต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างโดดเด่นทรงเกียรติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเหล่านี้หรือเหตุผลอื่น

มหาวิหารที่ใหญ่โต และเป็นที่รู้จักอย่างดีในกรุงโรมคือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารนักบุญเปโตร มหาวิหารเซนต์แมรี่เมเจอร์ มหาวิหารนักบุญเปาโล นอกกำแพงเมือง มหาวิหารนักบุญลอเรนซ์ และมหาวิหารนักบุญอักแนส

ทุกวันนี้พระศาสนจักรยังคงใช้คำว่ามหาวิหาร เรียกชื่อวัดในที่ต่างๆ ของคาทอลิกด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น เพราะความเก่าแก่ และเป็นที่นับถือ สักการะสถานที่มีชื่อเสียง ที่มีความสำคัญทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่งพระศาสนจักรจึงยอมรับสถานภาพว่าเหมาะสมดีแล้ว เพื่อให้วัดเป็นสถานที่สัตบุรุษมาร่วมแสดงกิจศรัทธานมัสการพระเจ้า ในขณะเดียวกัน พระศาสนจักรยังส่งเสริมให้สัตบุรุษใช้ประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะใช้ได้ โดยการยกฐานะและให้เกียรติวัดต่างๆ