แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako
ปังและเหล้าองุ่น (Bread and Wine)

eucharistปังและเหล้าองุ่น เปลี่ยนเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซู บันดาลให้พระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพประทับท่ามกลางเรา

  • ปังและเหล้าองุ่นเป็นสัญลักษณ์สากลของสิ่งที่นำชีวิตให้แก่เรา คือ อาหารและเครื่องดื่ม ผู้ประพันธ์บทสดุดีขอบพระคุณพระเจ้าที่สนองความต้องการของมนุษยชาติ : “พระองค์ทรงให้หญ้างอกมาเพื่อสัตว์เลี้ยงและผักให้มนุษย์ได้ดูแล เพื่อเขาจะทำให้เกิดอาหารจากแผ่นดิน และเหล้าองุ่น ซึ่งให้ใจมนุษย์ยินดี” (สดด.104.14-15)


ดังนั้นพระคริสตเจ้าได้ทรงเลือกส่วนประกอบพื้นๆ ที่สุด ให้เป็นสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระหรรษทานของพระองค์ คริสตชนเลี้ยงดูตัวเขาเองด้วยปังและเหล้าองุ่นซึ่งกลายเป็นพระกายและพระโลหิตขององค์พระเยซู ขณะที่พระศาสนจักรคาทอลิกและคริสตจักรออธอร์ดอกซ์สนใจการแปลงสารที่เกิดขึ้นจริงขณะเสกศีล คริสตจักรแองกลิกันและคริสตจักรลูเธอร์แรนรับความเชื่อนี้ด้วย (ความหมายที่กว้างที่สุด) ของพระคริสตเจ้า และพระเยซูไม่ได้ประทับอยู่ในแผ่นปังนั้นจริง

  • เราเห็นได้ชัดเจนว่าการแยกระหว่างพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า เป็นสัญลักษณ์ถึงการสิ้นพระชนม์บนกางเขน การประทับอยู่จริง เป็นพยานถึงการรื้อฟื้นการถวายบูชาของศีลมหาสนิทที่พระเยซูเจ้าทรงตั้งขึ้นในระหว่างอาหารค่ำมื้อสุดท้าย พระองค์ประทานพระกายและพระโลหิตเป็นอาหารเลี้ยงดูสัตบุรุษตามพระดำรัสของพระคริสตเจ้าที่ว่า “ผู้ที่กินเนื้อของเราและดื่มโลหิตของเราก็มีชีวิตนิรันดร เราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย เพราะว่าเนื้อของเราเป็นอาหารแท้ และโลหิตของเราเป็นเครื่องดื่มแท้ ผู้ที่กินเนื้อของเรา และดื่มโลหิตของเราก็ดำรงอยู่ในเรา และเราก็ดำรงอยู่ในเขา พระบิดาผู้ทรงชีวิตทรงส่งเรามา และเรามีชีวิตเพราะพระบิดาฉันใด ผู้ที่กินเนื้อของเรา จะมีชีวิตเพราะเราฉันนั้น” (ยน 6:54-57)

ใครที่รับศีลมหาสนิทก็จะได้รับชีวิตของพระเยซูโดยอาศัยพระบิดาและดังนั้นโดยอาศัยธรรมล้ำลึกแห่งพระตรีเอกภาพที่รวมความรักพระบิดา พระบุตรและพระจิตเป็นหนึ่งเดียวกัน เราได้รับเชิญให้ร่วม “โต๊ะศักดิ์สิทธิ์” และได้รับการต้อนรับในฐานะการรับเชิญให้ร่วมชีวิตของพระเยซูที่ทรงเป็น พระบุตรซึ่งทรงเป็นพระบุคคลที่สำคัญในพระตรีเอกภาพ

  • holy_eucharist1แผ่นปังทำศีลมหาสนิทประกอบด้วยขนมปังแผ่นบางไร้เชื้อ (ยีสต์) เรียกว่า แผ่นศีล คำนี้เชื่อมโยงระหว่างศีลมหาสนิทกับเครื่องบูชา เพราะคำในภาษาลาติน คือ hostia หมายถึง เหยื่อบูชายัญ และนี่เป็นเครื่องหมายที่นักบุญเปาโลใช้ เพื่อกล่าวถึงพระคริสตเจ้า (1)     ขนมปังไร้เชื้อเป็นขนมปังชนิดเดียวที่จารีตของชาวยิวอนุญาตให้ใช้ในงานเลี้ยงปัสกา (2) เพราะฉะนั้นพระเยซูเจ้าทรงเสกในมื้ออาหารค่ำสุดท้าย ด้วยเหตุนี้พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกไม่อนุญาตให้เสกขนมปังธรรมดา ผิดกับพระศาสนจักรออธอร์ดอกซ์ที่เฉลิมฉลองศีลมหาสนิทด้วยขนมปังใส่เชื้อ มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับธรรมเนียมที่แตกต่างออกไป โชคดีที่พ้นความขมขื่นในช่วง 2 ศตวรรษที่ผ่านมาได้

ในพระศาสนจักรตะวันตก มีความแตกต่างเรื่องขนาดของแผ่นศีล คือ แผ่นเล็กสำหรับแจกสัตบุรุษสะดวกในการแจกและรับ และแผ่นใหญ่สำหรับพระสงฆ์ เพื่อจะเห็นแผ่นศีลง่ายเมื่อชูขึ้นหลังจากการเสก ปัจจุบันนี้มีการผลิตแผ่นศีลให้หนาขึ้นและใส่สีให้เห็นเป็นสีทองมากกว่าสีขาวเวลาอบแผ่นปัง

ตอนต้นของมิสซา พระสงฆ์วางแผ่นศีลที่ได้รับการเสกบนจานรองแผ่นศีล  (มาจากภาษาละติน patena “จานก้นตื้น”) มีลักษณะเป็นจานกลม โค้งออกข้างนอก และทำด้วยโลหะที่มีค่าเช่นทองหรือเงิน ส่วนใหญ่เป็นผลงานชิ้นเอกของช่างทองเลยทีเดียว เช่นเดียวกับ ผอบศีล (Ciborium) (จากคำกรีก kiborion “ผลของดอกบัว” เพราะผอบศีลมีลักษณะคล้ายผลไม้ประเภทนี้) สำหรับวางแผ่นศีลเพื่อแจกประชาสัตบุรุษ ผอบศีลมีลักษณะเป็นถ้วยครึ่งทรงกลม มีฝาปิดซึ่งส่วนใหญ่มีกางเขนประดับบนฝา เมื่อมิสซาจบ จะนำผอบศีลไปเก็บไว้ในตู้ศีล เพื่อเก็บ “ศีลศักดิ์สิทธิ์ที่สำรองไว้” คือ แผ่นศีลที่เสกแล้วเหลือจากการแจกสัตบุรุษ จะมีผ้าคลุมผอบศีล “ Canopy” ซึ่งเป็นผ้าที่มีลักษณะกลม

ระหว่างการนมัสการศีลมหาสนิท แผ่นศีลที่เสกแล้วจะตั้งแสดงให้สัตบุรุษแสดงคารวกิจในรัศมี (monstrance มาจากคำละติน monstrare แปลว่า “แสดงให้เห็น”) ประกอบด้วยแผ่นเงินหรือแผ่นทองประดับลวดลายที่เป็นจุดสำคัญของศิลปะตรงกลางเป็นฐานวงกลม (ดวงจันทร์ขนาดเล็ก) ประดับด้วยแผ่นกระจก 2 แผ่น สำหรับวางแผ่นศีล รัศมีจะมีลวดลายเหมือนดวงอาทิตย์เรืองแสงรอบศีลศักดิ์สิทธิ์

ถ้าไม่ตั้งแสดงศีลศักดิ์สิทธิ์ให้สัตบุรุษนมัสการ ก็จะเก็บแผ่นศีลไว้ในตู้ศีลในกล่องโลหะที่เรียกว่า กล่องเก็บศีล (มาจากคำละตินว่า Custodire แปลว่า “เก็บ” หรือ pyx (มาจากคำว่า pyxis แปลว่า “กล่อง”) กล่องนี้เป็นชื่อของกล่องกลมที่ใช้เก็บศีลมหาสนิทสำหรับไปส่งศีลให้คนป่วย

a9845rกฎหมายของพระศาสนจักร ได้อธิบายเกี่ยวกับเหล้าองุ่นที่ใช้ในบูชามิสซา “เหล้าองุ่นต้องมีลักษณะธรรมชาติ ทำจากผลองุ่นของต้นองุ่น และไม่เน่าเปื่อย” (กฎหมายพระศาสนจักรข้อ 924) ดังนั้น ต้องเป็นการหมักน้ำองุ่นบริสุทธิ์ ระหว่างมื้ออาหารค่ำสุดท้าย พระเยซูทรงแปลงสาร “ผลของต้นองุ่น” เป็นพระโลหิตในตอนท้ายของการรับประทานอาหาร มื้ออาหารปัสกาตามธรรมเนียมแล้วประกอบด้วยถ้วยใส่เหล้าองุ่น 4 ใบ และเป็นถ้วยที่ 4 เรียกว่า ฮัลเลล Hallel (คำสรรเสริญสดุดีในบทสดุดีที่ 114-117) ซึ่งพระคริสตเจ้าทรงใช้ในขณะกล่าวบทเสกศีล (3)

เมื่อย้อนเวลาไปถึงช่วงพันธสัญญาเดิม เหล้าองุ่นเป็นสัญลักษณ์พื้นฐานหนึ่งของงานเลี้ยงฉลองพระเมสสิยาห์ (พระผู้ไถ่) ตามคำกล่าวของประกาศกอิสยาห์ที่ว่า “เหล้าองุ่นกรองอย่างดี”(อสย.25.6) การถวายบูชาขอบพระคุณและ ศีลมหาสนิททำให้มื้ออาหารค่ำสุดท้ายและการพลีบูชาที่เนินเขากัลวารีโอเป็นจริง สำหรับเรา โดยทำให้สัตบุรุษได้ชิมลางล่วงหน้าถึงงานฉลองพระอาณาจักรที่จะมาถึง

เพราะโดยทั่วไปการเสกศีลระหว่างมิสซา พระศาสนจักรโรมันใช้เหล้าองุ่นขาวเพื่อที่จะไม่เปื้อนอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ เพราะเหล้าที่หกจะติดเนื้อผ้า ประธานในพิธีจะรินเหล้าองุ่นลงในจอกกาลิกส์ (มาจาก คำกรีกว่า kylix, ภาษาละติน คือ calix แปลว่า “ถ้วยสำหรับดื่ม”) ที่ทำด้วยทองเนื้อดี ลวดลายของจอกกาลิกส์เปลี่ยนไปตามยุคสมัยต่างๆ ปกติประดับด้วยเครื่องหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์หรือข้อความจากพระคัมภีร์

เวลาผลิต จะใช้รูปปังและเหล้าองุ่นเป็นเครื่องหมายของความเป็นหนึ่งเดียวของประชาสัตบุรุษที่รับศีลศักดิ์สิทธิ์ มีการอธิบายข้อเท็จจริงดังกล่าวในตำราของคริสต์ศาสนาเริ่มแรก ชื่อ ดีดาเค Didache หรือ “คำสอนขององค์พระผู้เป็นเจ้าสำหรับคนต่างศาสนา” ซึ่งนับย้อนไปตอนปลายคริสต์ศตวรรษแรก “ขณะปังที่ถูกบินี้ ซึ่งครั้งหนึ่งเมล็ดของมันได้รับการหว่านไปทั่วเนินเขา ถูกนำมารวมกันถวายเป็นปังก้อนเดียว ขอให้พระศาสนจักรของพระองค์ได้รับการรวมเข้าด้วยกัน จากปลายแผ่นดินโลกสู่อาณาจักรของพระองค์ เช่นเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่า องุ่นจำนวนมหาศาลถูกคั้นด้วยกัน กลายเป็นเหล้าองุ่นเดียว ดังนั้น สัตบุรุษจึงได้บิปังและดื่มถ้วยแห่งความรอด ในอีกแง่หนึ่ง การรับประทานปังของพระคริสต์และดื่มโลหิตของพระองค์ ก็จะเติบโตเป็นสมาชิกที่มีวุฒิภาวะของพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า (4) ซึ่งเป็นพระศาสนจักรของพระองค์

eucharistelevationเมื่อเรากล่าวถึงศีลมหาสนิท เราควรกล่าวอ้างถึงธรรมเนียมที่กลับมีชีวิตชีวาอีก บทภาวนาอวยพรตอนเริ่มรับประทานอาหาร และวอนขอพระหรรษทานในตอนท้ายของการรับประทานอาหาร นี่เป็นจารีตของชาวยิวด้วย มาจากคำอวยพรหรือ berakoth ที่หมายถึง ช่วงเวลาต่างๆของวัน พิธีของครอบครัวที่เป็นบทอวยพรในมื้ออาหารที่เรียกว่า Birkat-her-Mazon มีความสำคัญมาก “ขอถวายพระพร องค์พระผู้เป็นเจ้า พระราชาแห่งจักรวาล พระองค์ทรงเลี้ยงโลกจากพระเมตตากรุณา ความอ่อนโยน พระหรรษทานและทุกสิ่งล้วนเป็นสิ่งดี” ระหว่างภาคถวายในมิสซาของคาทอลิก มีบทสวดภาวนา 2 บท เกี่ยวกับปังและเหล้าองุ่น เป็นพระพร ถึงแม้พระพรของมื้ออาหารเป็นพื้นฐาน ของศีลมหาสนิทของคริสตชนที่มีความลึกซึ้งกว่าก็ตาม

คริสตชนต้องรักษาประโยชน์ที่พระเจ้าประทานความรักที่ถาวรลงภายในจิตใจของตน และขอบพระคุณพระองค์เสมอ ถึงแม้ว่าหนทางที่พระองค์โปรดให้เราเดินตามนั้นจะเต็มไปด้วยความยากลำบากก็ตาม (ซึ่งความจริง เป็นความหมายดั้งเดิมของคำว่า “ศีลมหาสนิท”) ผ่านทางพระเยซูคริสตเจ้า ตามที่นักบุญเปาโลได้กล่าวว่า พระหรรษทานมาถึงเราโดยอาศัยพระเยซู “ขอถวายพระพรแด่พระเจ้า พระบิดาของพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา พระองค์ทรงอวยพระพรแก่เราโดยประทานพระพรนานาประการ ของพระจิตเจ้าจากสวรรค์เดชะพระคริสตเจ้า” (อฟ 1:3)

คริสตชนจะเคารพต่อปังและต่อสิ่งที่มีความหมายในพระศาสนจักร ศีลมหาสนิทสามารถเปลี่ยนแปลงมนุษย์ได้ เป็นธรรมเนียมของคริสตชนที่ไม่ทิ้งเศษของแผ่นปัง และก่อนจะตัดขนมปัง ต้องทำเครื่องหมายกางเขนที่ขนมปังก่อน

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:7-14) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ถ้าท่านทั้งหลายรู้จักเรา ท่านก็รู้จักพระบิดาของเราด้วย บัดนี้ ท่านก็รู้จักพระบิดา และเห็นพระองค์แล้ว” ฟีลิปทูลว่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ( St. Catherine of Siena ;...
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
14098
15633
83095
292628
306218
36036350
Your IP: 18.117.81.240
2024-04-26 20:41

สถานะการเยี่ยมชม

มี 283 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์