แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

พระศาสนจักรกับความยุติธรรมทางสังคม
Gods justiceประชากรของพระเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์ มีหน้าที่เป็นผู้เผยแผ่คำสอนของพระเจ้า ภาระหน้าที่ของเราประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ การเป็นผู้ประกาศ  การเป็นสัญลักษณ์ และการเป็นผู้รับใช้พระวรสาร  เราป่าวประกาศข่าวดีเมื่อเราประกาศเรื่องการคืนพระชนมชีพของพระคริสต์ เราเป็นสัญลักษณ์ของพระวรสารเมื่อเราดำเนินชีวิตอย่างซื่อสัตย์ตามที่พระเยซูเจ้าทรงสอน  เราเป็นผู้รับใช้พระวรสารเมื่อเราเป็นพยานยืนยันถึงข่าวสารเกี่ยวกับความรักของพระเจ้าที่ประสงค์ช่วยโลกให้รอดพ้น โดยการออกไปทำงานเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับประชากรทั้งมวล

ความยุติธรรมทางสังคมและความรักตามแบบพระวรสารเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
(CCC1928-1933; 1943-1944)
    ความยุติธรรมทางสังคมเกี่ยวข้องกับการนำเอาพระวรสารไปใช้กับโครงสร้าง ระบบและขนบธรรมเนียมของสังคม ดังปรากฎในเอกสารชื่อ Justice in the World ซึ่งเป็นแถลงการณ์จากการประชุมสมัชชาพระสังฆราชในปีค.ศ. 1971 ว่า “ความรักบอกว่าต้องมีความยุติธรรมอย่างสมบูรณ์   โดยปกติหมายถึงการยอมรับศักดิ์ศรีและสิทธิอันชอบธรรมของเพื่อนมนุษย์”   เราไม่สามารถพูดได้เลยว่าเรามีความรัก ถ้าเรายังไม่ให้ความเคารพและไม่สนใจต่อสิทธิและความต้องการขั้นพื้นฐานของบรรดาเพื่อนมนุษย์ของเรา ความรักแท้จริงต่อพระเจ้าและความรักเพื่อนมนุษย์ จึงเป็นความจริงที่แยกจากกันไม่ได้
    อีกแง่หนึ่ง รักหมายถึงการที่ใครสักคนยอมมอบตัวเองให้กับผู้อื่น มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรักโดยไม่มีการแบ่งปันสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับให้กับเพื่อนของเรา  อย่างไรก็ตามความรักย่อมอยู่เหนือความยุติธรรม  ความยุติธรรมเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยมาก ที่บรรดาผู้คนและคริสตชนทั่วไปสามารถปฏิบัติต่อผู้อื่น ส่วนความรักเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่เหนือความยุติธรรม ถ้าเราจริงจังกับการเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์
พระศาสนจักรมีบทบาทอย่างไรในเรื่องความยุติธรรม?
(CCC 2419-2425)
    ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระศาสนจักรได้พยายามแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อระหว่างพระวรสารกับสภาพการณ์อันเลวร้ายของคนยากไร้  บ่อยครั้งที่พระศาสนจักรคาทอลิกได้พยายามบุกเบิกทำสิ่งต่างๆ ในฐานะตัวแทนของคนยากไร้และคนด้อยโอกาส อาทิ การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายทั้งในและต่างประเทศ, โรงพยาบาลและสถานพยาบาลหลายแห่ง, หน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย, สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า, บ้านฉุกเฉิน(สำหรับเด็กและแม่ที่ไม่มีสามีดูแล), การให้บริการผู้สูงอายุ, หน่วยงานสำหรับเยาวชน และงานบริการด้านการศึกษาขนาดใหญ่
    อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้วิพากย์วิจารณ์พระศาสนจักรว่าไม่มีความกระตือรือร้นในการส่งเสริมสันติภาพและความยุติธรรมมากขึ้นกว่าเดิม  ผู้นำพระศาสนจักรหลายท่านบางครั้งก็ละเลยคำสอนสังคมในพระวรสาร  ขณะที่ท่านเหล่านั้นกำลังเทศน์สอนผู้ยากไร้และถูกกดขี่ให้ยอมรับสภาพชีวิตของพวกเขาแบบเงียบๆ
    ปัจจุบันพระศาสนจักรรับบทบาทเป็นผู้นำการสนับสนุนส่งเสริมเรื่องความยุติธรรม ดังนี้
การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมและการมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงโลก มีให้เราเห็นอย่างชัดเจน ในลักษณะที่เป็นส่วนหนึ่งของการเทศน์สอนพระวรสาร หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจของพระศาสนจักรด้านการไถ่กู้มนุษยชาติและการปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากการถูกกดขี่ในทุกสภาพ
                                    - บทนำในเอกสารชื่อJustice in the World
    เอกสารสำคัญฉบับนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การทำงานเพื่อเสริมสร้างความยุติธรรมขึ้นในโลก  เป็นงานที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระศาสนจักรเช่นเดียวกับการเฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์และการประกาศพระวรสาร
อะไรคือพื้นฐานของคำสอนด้านสังคมของคาทอลิก?
(CCC 2419-2449)
    ในบทความที่เกี่ยวกับงานอภิบาลชื่อ หนึ่งศตวรรษแห่งคำสอนด้านสังคม: สิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา, ความท้าทายแบบต่อเนื่อง( A Century of Social Teaching: A Common Heritage, A Continuing Challenge) สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งสหรัฐอเมริกาได้สรุปประเด็นหลักที่เป็นพื้นฐานอันสนับสนุนคำสอนด้านสังคมคาทอลิกไว้ 6 ประการ ดังนี้
1. พระศาสนจักรส่งเสริมชีวิตและศักดิ์ศรีของบุคคล
    2. พระศาสนจักรยอมรับว่ามนุษย์มีสิทธิพื้นฐานบางอย่าง พร้อมกับหน้าที่รับผิดชอบซึ่งคล้ายกับสิทธิ์เหล่านั้นด้วย
3. พระศาสนจักรยอมรับว่า โดยธรรมชาตินั้น มนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นสังคม และนั่นเป็นการเรียกของพระเจ้าให้เรามาอยู่รวมกันเป็นครอบครัว เป็นชุมชนและดูแลซึ่งกันและกัน
4. พระศาสนจักรยอมรับความจริงเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวของมนุษย์  นั่นเป็นเพราะมนุษย์ทุกคนเป็นสมาชิกของครอบครัวหนึ่ง นั่นคือครอบครัวของพระเจ้า
5. พระศาสนจักรปกป้องศักดิ์ศรีของงานและสิทธิอันชอบธรรมของผู้ทำงาน
6. พระศาสนจักรสอนทางเลือกหนึ่งที่มีสิทธิพิเศษให้กับคนยากไร้และอ่อนแอ
 “ศักดิ์ศรีของบุคคล” เป็นคำที่มุ่งหวังสิ่งใดบ้าง?
(CCC 27, 1700-1703)
    คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิกเกิดขึ้นและได้รับแรงผลักดันจากความคิดเรื่องศักดิ์ศรีของมนุษย์  พวกเราแต่ละคนแสดงภาพลักษณ์ของพระเจ้าและสะท้อนให้เห็นพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงรักและไถ่บาปมวลมนุษยชาติ  ทุกคนมีศักดิ์ศรีพื้นฐานของการเป็นมนุษย์และ “มีสติปัญญาที่จะรู้จักและรักพระผู้สร้างของพวกเขา” ซึ่งก็คือผู้ที่สร้างเรา (จากธรรมนูญเรื่อง พระศาสนจักรในโลกสมัยใหม่, ข้อ 12) คุณค่าของเรามาจากการที่เราได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า ไม่ใช่มาจากสิ่งที่เรากระทำ  คุณค่าของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ, เพศ, อายุ, หรือสถานภาพทางการเงิน   คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิกต้องการให้พวกเราพิจารณาทุกนโยบาย ทุกกฎหมาย และทุกขนบประเพณี ว่าได้ช่วยให้ชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษย์ดีขึ้นอย่างไร
อะไรคือสิทธิและหน้าที่ของเรา?
(CCC 1913-1917; 2415-2418;2451-2452;2456-2457)
    ความยุติธรรมเรียกร้องให้มีการจัดระเบียบทางสังคมในลักษณะที่สามารถรับประกันได้ว่า ทุกคนที่อาศัยอยู่ในสังคมหนึ่งสามารถมีส่วนร่วมในชีวิตของสังคมนั้นได้ทั้งด้านการเมือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ  สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเป็นเรื่องที่ต้องทำให้สำเร็จก่อนจึงจะมีการดำเนินชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีในชุมชน  ในบรรดาเอกสารทั้งหมดของพระศาสนจักรมีการอภิปรายและปกป้องสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
สิทธิด้านเศรษฐกิจ
•    สิทธิในการดำรงชีวิต : ต้องมีอาหาร มีที่พักอาศัย เครื่องนุ่งห่ม และ ยารักษาโรค 
•    สิทธิในการทำงาน
•    สิทธิที่จะได้รับค่าจ้างอย่างเหมาะสม
•    สิทธิในการครอบครอง
สิทธิด้านการเมืองและสังคม
•    สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง
•    สิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม
•    สิทธิในการชุมนุม
สิทธิด้านศาสนาและวัฒนธรรม
•    สิทธิในการนับถือศาสนา
•    สิทธิที่จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
•    สิทธิเสรีภาพในการพูด
สิทธิทุกข้อที่กล่าวมา มีหน้าที่ที่สอดคล้องกันสำหรับแต่ละคนซึ่งจะต้องเคารพ สนับสนุนและกระทำให้สำเร็จ ตัวอย่างเช่น สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง แบกรับหน้าที่ที่จะต้องไปลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง
มนุษย์มีชีวิตเกี่ยวข้องกับสังคมอย่างไร?
(CCC 1877-1882; 1890-1893)
    พระเจ้าทรงสร้างเราให้เป็นสมาชิกครอบครัวมนุษย์ เราก็เป็นโดยธรรมชาติสังคมที่เราอยู่   ตั้งแต่ปฐมกาล พระเจ้าทรงสร้างเรามาเพื่อความเป็นเพื่อน การพัฒนาของคนและความก้าวหน้าของสังคมต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เราเป็นส่วนหนึ่งของ 3 ชุมชน ที่มีลักษณะเหมือนวงกลมซึ่งมีจุดศูนย์กลางร่วมกันคือ บุคคลหนึ่งอาศัยอยู่ในวงกลมที่เรียกว่าครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงกลมที่ใหญ่กว่านั่นคือประเทศ อันเป็นส่วนหนึ่งของวงกลมที่ใหญ่ที่สุดคือโลก   ชุมชนเหล่านี้เป็นชุมชนที่ถูกอภิปรายถึงบ่อยที่สุดในคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร
อะไรเรียกร้องให้มนุษย์มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน?
(CCC 2437-2442)
    ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของเราที่มีต่อกันและต่อสังคมโลกของเรา รวมเอาหลายเรื่องราวไว้ด้วยกันเช่น สันติภาพของโลก, การพัฒนาโลก, เรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ  การขัดแย้งอย่างรุนแรงและการปฏิเสธสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนไม่ว่าที่ใดก็ตาม ส่งผลกระทบและเป็นการดูหมิ่นพวกเราทุกคน  เราต้องสนใจฟังความต้องการของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสมาชิกที่อ่อนแอที่สุดในสังคมมนุษย์ พระเยซูเจ้าทรงรวมความรักพระเจ้าพระบิดาและความรักเพื่อนมนุษย์เข้าด้วยกัน และทรงอธิษฐานเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ :“ข้าแต่พระบิดา ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนาเพื่อให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงอยู่ในข้าพเจ้า และข้าพเจ้าอยู่ในพระองค์” (ยน17:21)
ศักดิ์ศรีของงานและสิทธิของคนทำงานสัมพันธ์กันอย่างไร?
(CCC 2426-2436)
    การงานช่วยเราให้ดำรงชีพได้, แสดงศักดิ์ศรีความเป็นคนของเรา และช่วยให้เรามีส่วนในงานสร้างแบบไม่หยุดยั้งของพระเจ้า งานมีไว้เพื่อคน ไม่ใช่คนมีไว้เพื่องาน  เรามีสิทธิพื้นฐานในการประกอบอาชีพที่เหมาะสมและประสบผลสำเร็จมาก, ได้รับค่าจ้างอย่างยุติธรรม, มีทรัพย์สินส่วนตัวและมีการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจ  พระศาสนจักรสนับสนุนสิทธิของผู้ใช้แรงงานอย่างสอดคล้องกับสิทธิพื้นฐานนี้  โดยให้จัดตั้งสหภาพแรงงานและสมาคมต่างๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีสิทธิและศักดิ์ศรี พร้อมกับมีความเชื่อที่ว่าเศรษฐกิจมีอยู่เพื่อช่วยมนุษย์  ไม่ใช่ทำลายมนุษย์  
อะไรคือสิทธิพิเศษสำหรับผู้ยากไร้?
(CCC 2443-2449; 2461-2463)
    คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิกถามสังคมดวยคำถามนี้คือ บรรดาผู้ที่อ่อนแอที่สุดที่อยู่ในชุมชนของพวกเขากินอยู่อย่างไร?  พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า เราต้องจัดการกับความต้องการของผู้ยากไร้และอ่อนแอเป็นสิ่งแรก พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงอธิบายความเกี่ยวโยงระหว่างความยุติธรรมกับความรักคนยากจนไว้อย่างดี ดังต่อไปนี้
ความยุติธรรมจะไม่มีทางเกิดผลอย่างเต็มที่  ถ้าคนเราไม่มองดูบุคคลผู้ยากจนซึ่งกำลังร้องขอความช่วยเหลือเพื่อความอยู่รอดของพวกเขาว่า เป็นโอกาสหนึ่งที่จะได้แสดงความเมตตาและโอกาสเพิ่มคุณค่าให้ชีวิตอย่างแท้จริง ไม่ใช่ผู้ที่น่ารำคาญหรือเป็นภาระอีกต่อไป  มันไม่พอที่จะเอาสิ่งของดีๆที่เป็นส่วนเกิน ซึ่งที่จริงโลกของเราได้สร้างไว้อย่างมากมายไปให้ผู้ที่ยากจน  แต่ความยุติธรรมเรียกร้องมากกว่านั้น คือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการดำเนินชีวิต, ของแบบอย่างการผลิตและการบริโภค และของโครงสร้างอำนาจที่ใช้ปกครองสังคมในปัจจุบันซึ่งถูกจัดตั้งขึ้น
                                            –The One Hundredth Year, ข้อ 58

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 16:16-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “อีกไม่นาน ท่านทั้งหลายจะไม่เห็นเรา และต่อไปไม่นาน ท่านจะเห็นเราอีก” ศิษย์บางคนจึงถามกันว่า “ที่พระองค์ตรัสกับเราว่า...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 16:12-15) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “เรายังมีอีกหลายเรื่องที่จะบอกท่าน แต่บัดนี้ท่านยังรับไว้ไม่ได้ เมื่อพระจิตแห่งความจริงเสด็จมา พระองค์จะทรงนำท่านไปสู่ความจริงทั้งมวล พระองค์จะไม่ตรัสโดยพระองค์เอง แต่จะตรัสทุกสิ่งที่ทรงได้ฟังมา...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 16:5-11) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “บัดนี้เรากำลังไปเฝ้าพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา ไม่มีผู้ใดถามเราว่า ‘พระองค์จะเสด็จไปไหน’ แต่เพราะเราได้บอกเรื่องเหล่านี้กับท่าน ใจของท่านจึงมีแต่ความทุกข์ เราบอกความจริงกับท่านทั้งหลายว่า...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

228. ใครสามารถให้อภัยบาป พระเจ้าเท่านั้นทรงสามารถให้อภัยบาป พระเยซูเจ้าตรัสว่า “บาปของท่านได้รับการอภัยแล้ว” (มก 2:5) เพราะพระองค์เป็นบุตรของพระเจ้า พระสงฆ์สามารถให้อภัยบาปในตำแหน่งของพระเยซูเจ้าเท่านั้น เพราะพระเยซูเจ้าทรงมอบอำนาจให้กับพวกท่าน (1441 –...
227. ใครเป็นผู้ก่อตั้งศีลอภัยบาป พระเยซูเจ้าเป็นผู้ก่อตั้งศีลอภัยบาป เมื่อพระองค์ทรงแสดงพระองค์กับบรรดาอัครสาวกในวันปัสกา และทรงสั่งพวกเขาว่า “จงรับพระจิตเจ้าเถิด ท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ได้รับการอภัย ท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ไม่ได้รับการอภัยด้วย” (ยน 20:22–23)...
226. เมื่อรับศีลล้างบาปเราคืนดีกับพระเจ้าแล้วทำไมจึงต้องมีศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดีอีก ศีลล้างบาปฉุดเราออกจากอำนาจของบาป ความตาย และนำเราสู่ชีวิตใหม่ สู่การเป็นบุตรของพระเจ้า แต่ไม่ได้ให้เราเป็นอิสระจากความอ่อนแอของมนุษย์ และความโน้มเอียงทางบาป ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องการสถานที่ที่เราสามารถคืนดีกับพระเจ้าเรื่อยๆ สถานที่นั้นคือการสารภาพบาป (1425-1426) ดูเหมือนเป็นสิ่งไม่ทันสมัยในการไปสารภาพบาป...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ฟองอากาศ
ฟองอากาศ
ฟองอากาศ เรื่อง การคุยโว พระคัมภีร์ เยเรมีย์ 9:24 ภาพรวม เด็กๆ ได้รับประสบการณ์ในความไร้ประโยชน์ของการคุยโวเรื่องตนเอง และสิ่งสำคัญคือให้ความเชื่อถือในพระเจ้า อุปกรณ์ ขวดใส่น้ำที่ใช้เป่าเป็นฟองเท่าจำนวนเด็ก ประสบการณ์ แจกขวดใส่น้ำที่ใช้เป่าเป็นฟองให้แก่เด็กแต่ละคน ให้เวลาเด็กๆ เป่าฟอง 3 นาที โดยเป่าเท่าที่เขาคุยโวในสัปดาห์นี้ เช่น ฉันขี่จักรยานเป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ฉันเตะบอลชนะตลอด ฉันเป็นคนทำแต้มทุกครั้ง...
สัญญา สัญญา
สัญญา สัญญา
สัญญา สัญญา เรื่อง รักษาสัญญา พระคัมภีร์ ยากอบ 5:12 ภาพรวม ท้าทายเด็กแต่ละคนให้วิ่งผลัดเปลี่ยนกัน และมีประสบการณ์ถึงความยากลำบากของการรักษาสัญญาที่ไม่จริง อุปกรณ์ ถังน้ำ 1 ใบ ช้อน 1 อัน แก้วน้ำใบเล็กๆ ของรางวัลต่างๆ ประสบการณ์ แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละเท่าๆ กัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ผู้หว่าน 8
ผู้หว่าน 8
🌾 ผู้หว่าน 8 🌾 วันที่ 2 พฤษภาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจร แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้มีโอกาสไปแบ่งปันให้กับผู้ที่มาเข้าคอร์ส "ผู้หว่าน รุ่นที่ 8" จำนวน 14 คน ที่บ้านผู้หว่าน อำเภอสามพราน ในหัวข้อ...
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

13 พฤษภาคม  พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา  (Our Lady of Fatima)
13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา (Our Lady of Fatima) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1917 ซึ่งอยู่ในช่วงปีที่...
1 พฤษภาคม  ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร (St Joseph the Worker, memorial) เมื่อวันที่ 1...
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ( St. Catherine of Siena ;...
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
7695
9304
45141
91172
346070
36180964
Your IP: 3.15.180.175
2024-05-08 21:04

สถานะการเยี่ยมชม

มี 112 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์