แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ยุคแรกเริ่มพระศาสนจักร (Church)

19. ประชาคมแรกที่กรุงเยรูซาเล็ม
หลังจากที่พระเยซูได้สิ้นพระชนม์ กลับคืนพระชนมชีพและเสด็จสู่สวรรค์แล้ว สาวกของพระองค์ “ทุกคนร่วมอธิษฐานภาวนาสม่ำเสมอเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พร้อมกับบรรดาสตรี รวมทั้งมารีย์พระมารดาของพระเยซูเจ้าและพี่น้องของพระองค์” (กจ 1:14) พวกเขาอยู่ด้วยกันทั้งหมด  120 คน  (กจ 1:15)  ห้าสิบวันหลังจากพระเยซูได้กลับคืนพระชนมชีพ    พระจิตของพระเจ้า  ได้เสด็จมาเหนือพวกเขา (กจ 2:1)  ทำให้พวกเขามีกำลังใจเข้มแข็งและเริ่มออกไปเผยแพร่ “ข่าวดี” ของพระเยซูคริสต์
รายละเอียดต่างๆ  เกี่ยวกับชาวคริสต์กลุ่มแรก  และการเผยแพร่ศาสนาในยุคเริ่มต้นนี้มีบันทึกไว้ในหนังสือกิจการของอัครทูต ซึ่งเซนต์ลูกาเป็นผู้บันทึกไว้   (เป็นบุคคลคนเดียวกับผู้นิพนธ์พระวรสารฉบับที่สาม) โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับงานเผยแพร่ศาสนาของเซนต์ปอลและเซนต์ปีเตอร์ ทั้งนี้เพราะท่านเป็นศิษย์และผู้ร่วมงานที่ใกล้ชิดของเซนต์ปอลเองด้วย
ประชาคมแรกเป็นชาวยิว  ทั้งผู้ที่ได้ติดตามพระเยซูเองและผู้ที่ได้เข้าร่วมประชาคมนี้หลังจากได้ฟังการเทศนาของเซนต์ปิเตอร์หลังจากได้รับพระจิตของพระเจ้า ซึ่งมีจำนวนสามพันคน และไม่นานหลังจากนั้นก็มีเพิ่มขึ้นอีกสองพันคน (กจ 2:5,22-29; 4:4) คนเหล่านี้เริ่มรวมกันเป็นประชาคมเดียวกับบรรดาสาวก (กจ 2:44) แต่พวกเขาก็ยังใช้โรงสวดของชาวยิวเป็นที่สวดและรับการเทศน์สอนจากบรรดาสาวก  ทั้งนี้โดยไม่ขึ้นต่ออำนาจผู้นำศาสนายูดายอีกต่อไป (กจ 21:24) พวกเขาเชื่อว่าพระเยซูได้เสด็จมาทำให้ประเพณีดั้งเดิมและความเชื่อในศาสนายูดายนั้นสมบูรณ์ พระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ที่พวกเขาได้รอคอย อย่างไรก็ดี  พวกเขายังเข้าร่วมพิธีกรรมตามประเพณีของชาวยิวในวิหารและโรงสวด ส่วนพิธีกรรม  “การหักปัง” เพื่อระลึกถึงงานเลี้ยงครั้งสุดท้ายตามที่พระเยซูทรงสั่งไว้นั้นกระทำกันในบ้านส่วนตัวของ “ชาวคริสต์” บางคน  ทั้งนี้คงเป็นเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้กระทำในวิหาร แต่กระนั้นบรรดาสาวกก็กล้าที่จะเทศน์สอนเรื่องพระเยซู  ณ ที่นั้น  ซึ่งก็ได้รับการห้ามและถูกลงโทษ (กจ 4:1-22; 5:17-40)     นี่คือการเริ่มต้นของการเบียดเบียน แต่ก็ไม่มีผู้ใดท้อถอย “เขาทั้งหลายสั่งสอนและประกาศข่าวดีอย่างต่อเนื่องทั้งในพระวิหารและตามบ้าน    ว่าพระเยซูทรงเป็นพระคริสตเจ้า” (กจ 5:42)    จนกระทั่งการเบียดเบียนรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิตด้วยการทุ่มหิน สเทเฟนคือคนแรกที่ถูกประหารเพราะความเชื่อในพระเยซู  (กจ 6-7)
ประชาคมแรกนี้มีลักษณะพิเศษอยู่สองประการคือ ประการแรก
“ผู้มีความเชื่อทุกคนดำเนินชีวิตร่วมกันและมีทุกสิ่งเป็นของกลาง เขาขายที่ดินและทรัพย์สินอื่นๆ เอาเงินมาแบ่งให้แก่ทุกคนตามความต้องการ ทุกๆ วัน เขาพร้อมใจกันไปที่พระวิหารและไปตามบ้านเพื่อทำพิธีบิขนมปัง ร่วมรับประทานอาหารด้วยความชื่นชมยินดี และเข้าใจกัน” (กจ 2:44-46)
รากฐานของประชาคมนี้อยู่ที่ความเชื่อในองค์พระเยซู ซึ่งบรรดาสาวกได้ถ่ายทอดมาและที่บรรดาประกาศกได้ประกาศไว้ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างประเพณีดั้งเดิมกับประเพณีใหม่ เซนต์ปอลเขียนถึงชาวคริสต์ที่เอเฟซัสว่า “ท่านถูกสร้างขึ้นเป็นอาคารโดยมีบรรดาอัครสาวกและประกาศกเป็นรากฐาน มีพระคริสตเยซูทรงเป็นศิลาหัวมุม” (อฟ 2:20)
ประการที่สอง ปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูซึ่งได้สอนว่า “เราให้บทบัญญัติใหม่แก่ท่านทั้งหลาย ให้ท่านรักกัน... ทุกคนจะรู้ว่า ท่านเป็นศิษย์ของเรา” (ยน 13:34-35) ในเวลาเดียวกันพวกเขาก็ถือเอาบรรดาสาวกเป็นผู้นำ  ซึ่งก็เป็นประเพณีปฏิบัติของชาวยิวทั่วไป
“กลุ่มผู้มีความเชื่อดำเนินชีวิตเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่คิดว่าสิ่งที่ตนมีเป็นกรรมสิทธิ์ของตน แต่ทุกอย่างเป็นของกลาง  บรรดาอัครสาวกยังคงเป็นพยานยืนยันถึงการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยเครื่องหมายอัศจรรย์อันยิ่งใหญ่และทุกคนได้รับความเคารพนับถืออย่างสูง” (กจ 4:32-33)
อย่างไรก็ดี   ปัญหาในการอยู่ร่วมกันก็ค่อยๆ  ตามมา  ทั้งนี้เพราะว่านอกจากชาวยิวที่อยู่ในปาเลสไตน์แล้วยังมีชาวยิวซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ รวมทั้งชาวกรีกและชนชาติอื่นๆ  ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมได้เริ่มขึ้นเมื่อมีการเลือกผู้ช่วยสาวกเพื่อดูแลความทุกข์สุขและแจกจ่ายสิ่งของ   ทั้งนี้เพราะบรรดาสาวกเห็นว่าหากเอาธุระแต่การแจกจ่ายสิ่งของก็คงไม่มีเวลาเทศนาสั่งสอน นอกนั้นก็มีเสียงบ่นจากชาวกรีก และคนที่ไม่ใช่ชาวยิววาไม่มีใครดูแล เอาใจใส่  ไม่ได้รับสิ่งของที่จ่ายแจกเหมือนคนอื่นๆ จึงได้มีการเลือกผู้ช่วยขึ้นมา 7 คน ปรากฏว่ามีชาวกรีกสองคนได้รับเลือกด้วย คือ สเทเฟนและฟิลิป ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียนและเป็นผู้ที่พยายามชี้ให้ทุกคนเห็นว่า  พระเยซูได้เสด็จมาเพื่อมนุษย์ทุกคน  ไม่ใช่แต่สำหรับชาวยิว คำพูดและการกระทำของคนทั้งสองโดยเฉพาะสเทเฟนได้สร้างความไม่พอใจแก่ชาวยิวเป็นอันมาก  นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ชาวยิวที่ไม่เป็นคริสต์เริ่มเห็นอันตรายคุกคามจาก “คนนอก”  วัฒนธรรมของตนเอง  และเริ่มทำการเบียดเบียน สเทเฟน คือ “มาร์ตีร์” (Martyr) คนแรก
สาเหตุของความขัดแย้งภายในประชาคมแรก ซึ่งมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นผลที่มาจากความเชื่อของชาวยิวที่เป็นคริสต์ว่า พระเยซูเสด็จมาเพื่อสถาปนาอาณาจักรใหม่ให้กับอิสรา-เอล  หลังจากพระเยซูได้ทรงกลับคืนพระชนม์นั้น “ผู้ที่มาชุมนุมกับพระเยซูเจ้า ได้ทูลถามพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า พระองค์จะทรงสถาปนาอาณาจักรอิสราเอลอีกครั้งหนึ่งในเวลานี้หรือ?” (กจ 1:6) ซึ่งพระเยซูได้ทรงปฏิเสธ แต่บรรดาสาวกก็ยังไม่สามารถปรับความรู้สึกของตนได้  ด้วยเหตุนี้จึงรับผู้ที่ไม่ใช่ยิวเข้าสู่ประชาคมด้วยความยากลำบาก เพราะตามประเพณียิว เขาเหล่านั้น “ไม่บริสุทธิ์”  แต่ในท้ายที่สุดเรื่องนี้ก็ได้ข้อสรุปที่ทุกคนยอมรับว่า คนต่างชาติก็มีสิทธิรับ “ข่าวดี” อย่างเท่าเทียมกับชาวยิว  ปิเตอร์เป็นผู้เห็นนิมิตและประกาศเรื่องนี้ให้คนอื่นๆ ปฏิบัติตาม (ดู กจ 11:1-8)  อย่างไรก็ดี  บุคคลที่ได้ต่อสู้เพื่อเรื่องนี้  คือ เซนต์ปอล

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:7-14) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ถ้าท่านทั้งหลายรู้จักเรา ท่านก็รู้จักพระบิดาของเราด้วย บัดนี้ ท่านก็รู้จักพระบิดา และเห็นพระองค์แล้ว” ฟีลิปทูลว่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ( St. Catherine of Siena ;...
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
12138
15633
81135
290668
306218
36034390
Your IP: 18.119.130.218
2024-04-26 18:23

สถานะการเยี่ยมชม

มี 247 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์