แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ทำไมเราจึงมีข้อความเชื่อ (Creed)

article-new-ehow-images-a05-4r-5t-learn-catholic-faith-800x800     Credo (ข้าพเจ้าเชื่อ) เป็นคำภาษาลาติน หมายถึง สำนวนสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับคำสอนพื้นฐานของความเชื่อคริสตัง เพื่อที่จะสารภาพความเชื่อนั้นจำต้องร่างข้อความเชื่อขึ้นมา การสวดบทข้าพเจ้าเชื่อแบบส่วนตัวหรือแบบเปิดเผยโดยลำพังหรือกับคนอื่นๆ หมายถึงการยอมรับข้อความเชื่อต่างๆ ที่มีอยู่ในบทข้าพเจ้าเชื่อและอุทิศตนตามนั้น
     ข้อความเชื่อต่างๆ ที่ชาวคาทอลิกคุ้นเคยและสวดอยู่บ่อยๆ นั้นเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อของบรรดาอัครสาวก และเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อของนิเช บทข้าพเจ้าเชื่อของบรรดาอัครสาวกโดยทั่วๆ ไปใช้สวดเวลาเริ่มสวดสายประคำ ส่วนบทข้าพเจ้าเชื่อของนิเชนั้น ใช้สวดในพิธีมิสซาวันอาทิตย์และวันฉลองหรือวันสมโภชต่างๆ

       ถึงแม้จะมีเรื่องเล่าว่า บทข้าพเจ้าเชื่อของบรรดาอัครสาวกเป็นสำนวนที่บรรดาอัครสาวกแต่งขึ้นเอง อัครสาวกแต่ละคนมีส่วนร่วมแต่งขึ้นมาคนละข้อ แต่ก็ไม่มีข้อพิสูจน์ทางประวัติศาสตร์ว่ามีความเชื่อมโยงกับบรรดาอัครสาวกโดยตรงแต่ประการใด คงจะเป็นเพราะว่าบทข้าพเจ้าเชื่อนั้นเริ่มใช้สวดเพื่อประกาศยืนยันความเชื่อเมื่อรับศีลล้างบาปในพระศาสนจักรยุคแรก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อดั้งเดิม สำนวนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นคงแต่งขึ้นประมาณกลางศตวรรษที่ 7 ซึ่งเอามาใช้แทนบทแสดงความเชื่อดั้งเดิมเมื่อรับศีลล้างบาป จึงกลายเป็นที่รู้จักกันดี และเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อที่ใช้กันทั่วไปในพระศาสนจักร จากต้นศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ได้มีบทข้าพเจ้าเชื่อที่พระศาสนจักรตะวันตกใช้กันทั่วไป มิใช่แค่สวดประกาศยืนยันความเชื่อเมื่อรับศีลล้างบาปเท่านั้น แต่ยังมีการใช้สวดเป็นประจำวันในการสวดทำวัตรด้วย
      บทข้าพเจ้าเชื่อที่เรียกว่าบทข้าพเจ้าเชื่อของนิเชนั้น หลังจากประชุมสภาสังคายนาสากลครั้งแรกแห่งนิเช (ค.ศ. 325)   จริงๆ แล้วเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อของที่ประชุมสภาสังคายนาสากลครั้งแรกแห่งคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 381) อย่างไรก็ตาม มีส่วนเชื่อมโยงกับบทข้าพเจ้าเชื่อที่ประยุกต์มาจากสภาสังคายนาแห่งนิเช ซึ่งเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อของพระศาสนจักรสากล โดยมีจุดประสงค์มิใช่แค่ประกาศยืนยันความเชื่อเท่านั้น แต่ยังเป็นการประกาศถึงความถูกต้องชอบธรรมของความเชื่อคริสตัง ที่ต่อต้านความเชื่อของพวกเฮเรติก ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า ข้อความเชื่อนั้นถูกใช้เป็นกฎเพื่อแสดงความเชื่อและคำสอนที่ถูกต้องชอบธรรม ไม่เหมือนกับบทข้าพเจ้าเชื่อของบรรดาอัครสาวกที่มีใช้กันทั่วไปในพระศาสนจักรตะวันตก ส่วนบทข้าพเจ้าเชื่อของคอนสแตนติโนเปิล (หรือบทข้าพเจ้าเชื่อของนิเช) นั้นเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อที่ใช้กันในพระศาสนจักรตะวันออก
      บทข้าพเจ้าเชื่อที่รู้จักกันดีอีกบทหนึ่ง คือ บทข้าพเจ้าเชื่อ อาธานาเซียน แม้ในปัจจุบันมิได้แพร่หลาย แต่ก็ถือกันมายาวนานว่าเป็นของนักบุญอาธานาซีอุสแห่งศตวรรษที่ 4 (ค.ศ. 296-373) ผู้ปกป้องความถูกต้องชอบธรรมที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง ถึงแม้จะแต่งขึ้นมาเมื่อประมาณปลายศตวรรษที่ 5 น่าจะเป็นนักบุญเซซารีอุส แห่งอาร์ส (ค.ศ. 470-543) ที่แต่งบทข้าพเจ้าเชื่อดังกล่าวคงจะเป็นบทข้าพเจ้าเชื่ออาธานาเซียน ที่ปกป้องความเชื่อแห่งนิเช บทข้าพเจ้าเชื่อนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักความเชื่อ เพราะกล่าวถึงพระตรีเอกภาพและการรับสภาพมนุษย์ เคยใช้กันในบทสวดทำวัตรแต่ก็ละทิ้งไปหลังการประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2
      บทข้าพเจ้าเชื่อในสมัยใหม่คือ บทข้าพเจ้าเชื่อของประชากรของพระเจ้าที่พระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 ทรงประกาศใช้เมื่อ ปี ค.ศ. 1967 ในโอกาสวันฉลองครบรอบ 1900 ปี แห่งการเป็นมรณสักขีของนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล เจตนานั้นมิใช่เพื่อให้นิยามเรื่องหลักความเชื่อ แต่อย่างที่พระสันตะปาปาตรัสไว้คือ เป็นสำนวนใหม่ที่คงไว้ซึ่งสาระเดิม โดยมีการพัฒนา เพื่อให้เข้ากับเงื่อนไขสภาพฝ่ายจิตในสมัยของเรา โดยใช้ชื่อว่าบทข้าพเจ้าเชื่อแห่งนิเชอันเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อตามธรรมประเพณีอมต ของพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า สำนวนภาษาของบทข้าพเจ้าเชื่อแห่งนิเชมีการอ้างถึงประเด็นของกระแสต่างๆ โดยเฉพาะส่วนที่ขัดแย้งกับหลักความเชื่อคาทอลิก
      ดังนั้น บทข้าพเจ้าเชื่อจึงเป็นบทสรุปข้อคำสอนคริสตังที่เป็นพื้นฐาน และถูกต้องชอบธรรม ทุกครั้งที่เราสวดเป็นการรื้อฟื้นถึงการยอมรับข้อความเชื่อนั้น และประกาศยืนยันยอมอุทิศตนและจะซื่อสัตย์ต่อข้อความเชื่อนั้น

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 15:9-11) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “พระบิดาของเราทรงรักเราอย่างไร เราก็รักท่านทั้งหลายอย่างนั้น จงดำรงอยู่ในความรักของเราเถิด ถ้าท่านปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา ท่านก็จะดำรงอยู่ในความรักของเรา เหมือนกับที่เราปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระบิดาของเรา...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา (นักบุญโยเซฟ กรรมกร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 15:1-8) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราเป็นเถาองุ่นที่แท้จริง และพระบิดาของเราทรงเป็นชาวสวน กิ่งก้านใดในเราที่ไม่เกิดผล พระองค์จะทรงตัดทิ้งเสีย...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:27-31ก) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “เรามอบสันติสุขไว้ให้ท่านทั้งหลาย เราให้สันติสุขของเราแก่ท่านเราให้สันติสุข แก่ท่าน ไม่เหมือนที่โลกให้ ใจของท่านอย่าหวั่นไหว หรือมีความกลัวเลย...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

223. ศีลมหาสนิทเป็นการกระทำล่วงหน้าถึงชีวิตนิรันดรอย่างไร พระเยซูเจ้าทรงสัญญากับบรรดาศิษย์ของพระองค์ และกับเราพร้อมกับพวกท่านเหล่านั้นว่า สักวันหนึ่งเราจะมีที่นั่งที่โต๊ะกับพระองค์ ดังนั้นทุกๆมิสซาเป็น “การระลึกถึงพระทรมานอันทรงบุญ” (บทขอบพระคุณแบบที่ 1 ที่เรียกว่ากฎหมายโรมัน) ซึ่งเปี่ยมด้วยพระหรรษทาน และเป็นมัดจำของสิริรุ่งโรจน์ในอนาคต...
222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)

กิจกรรมพระคัมภีร์

ฟองอากาศ
ฟองอากาศ
ฟองอากาศ เรื่อง การคุยโว พระคัมภีร์ เยเรมีย์ 9:24 ภาพรวม เด็กๆ ได้รับประสบการณ์ในความไร้ประโยชน์ของการคุยโวเรื่องตนเอง และสิ่งสำคัญคือให้ความเชื่อถือในพระเจ้า อุปกรณ์ ขวดใส่น้ำที่ใช้เป่าเป็นฟองเท่าจำนวนเด็ก ประสบการณ์ แจกขวดใส่น้ำที่ใช้เป่าเป็นฟองให้แก่เด็กแต่ละคน ให้เวลาเด็กๆ เป่าฟอง 3 นาที โดยเป่าเท่าที่เขาคุยโวในสัปดาห์นี้ เช่น ฉันขี่จักรยานเป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ฉันเตะบอลชนะตลอด ฉันเป็นคนทำแต้มทุกครั้ง...
สัญญา สัญญา
สัญญา สัญญา
สัญญา สัญญา เรื่อง รักษาสัญญา พระคัมภีร์ ยากอบ 5:12 ภาพรวม ท้าทายเด็กแต่ละคนให้วิ่งผลัดเปลี่ยนกัน และมีประสบการณ์ถึงความยากลำบากของการรักษาสัญญาที่ไม่จริง อุปกรณ์ ถังน้ำ 1 ใบ ช้อน 1 อัน แก้วน้ำใบเล็กๆ ของรางวัลต่างๆ ประสบการณ์ แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละเท่าๆ กัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ( St. Catherine of Siena ;...
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
1253
8088
45692
9341
346070
36099133
Your IP: 3.129.13.201
2024-05-02 04:27

สถานะการเยี่ยมชม

มี 267 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์