แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การสร้างโบสถ์ใหม่ และบูรณะปรับปรุงโบสถ์ที่มีอยู่แล้ว
    ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกของคริสต์ศาสนาแล้ว ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของความเชื่อแบบคริสตชน ก็คือการประกอบคารวกิจจึงสะท้อนทั้งสภาพการณ์ปัจจุบันของบรรดาคริสตชนในช่วงเวลานั้นของประวัติศาสตร์ในดินแดนแถบนั้นและความหมายที่เขาให้แก่สถานที่นั้นด้วย เป็นความจริงว่าความเชื่อและการภาวนามีอิทธิพลต่อกันอยู่ตลอดเวลา ประชาชนอธิษฐานภาวนาตามความเชื่อที่เขามี และคำอธิษฐานภาวนาก็ชำระและทำให้ความเชื่อของเขาชัดเจนยิ่งขึ้น ให้เรายกตัวอย่างสักตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องการสร้างโบสถ์ของคริสต์ศาสนา

โดยทั่วไปแล้วโบสถ์วิหารทางศาสนาจำนวนมากมักมีขนาดเล็ก ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโบสถ์วิหารเป็นบ้านของเทพเจ้าที่เขาเคารพบูชา โดยทั่วไปโบสถ์วิหารมักจะบรรจุฝูงชนที่มาอธิษฐานภาวนาจำนวนมากไม่ได้ ประชาชนมักจะยืนอยู่ในลานกว้างเบื้องหน้าวิหารที่เขาถวายบูชาและอธิษฐานภาวนา พระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มก็สร้างขึ้นในแบบนี้ บ้านที่ประทับจริงของพระยาห์เวห์นั้นเป็นห้องเล็กมาก บรรดาสมณะประชาชนก็มีลานกว้างของตน บรรดาคริสตชนเชื่อว่า พระเจ้ามิได้ประทับอยู่ในวิหารที่สร้างด้วยก้อนหิน พระเจ้าประทับอยู่ในพระเยซูเจ้าและทุกแห่งที่ชุมชนเล็กๆของบรรดาคริสตชนมาชุมนุมกัน พระเยซูเจ้าก็ประทับอยู่ในหมู่เขา และพระเจ้าก็ประทับอยู่ที่นั่นด้วย บรรดาคริสตชนมีความสำนึกว่าตนเป็นเสมือนก้อนหินมีชีวิตที่ก่อสร้างขึ้นเป็นพระวิหารทรงชีวิตของพระเจ้าผู้ทรงชีวิต ไม่ว่าเขาจะมาชุมนุมกันที่ใด ในบ้านของพี่น้องคริสตชนคนหนึ่ง ในสถานที่ที่ใหญ่กว่านั้นที่อาจบรรจุผู้คนได้จำนวนมากกว่า หรือในท้องพระโรงแบบโรมัน (Roman Basilica) ที่อาจบรรจุฝูงชนจำนวนมากได้ ความเชื่อของคริสตชนก็ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สถานที่ที่เขามาชุมนุมกันเพื่อถวายคารวะแด่พระเจ้าก็เป็นบ้านของประชากรของพระเจ้า สถานที่นี้อาจเรียกว่าเป็นบ้านของพระเจ้าก็เพราะว่าพระเจ้าประทับอยู่ในหมู่ประชากรของพระองค์ที่มาชุมนุมกันที่นี่และเวลานี้ในสถานที่นี้ ดังนั้น จึงเป็นการถูกต้องที่ตั้งแต่แรกเริ่ม “โบสถ์” (‘church’) จึงเป็นชื่อที่ใช้เรียกทั้งชุมชนคริสตชนที่มาชุมนุมกันและเรียกอาคารที่ชุมชนคริสตชนมาชุมนุมกันเพื่อฟังพระวาจาของพระเจ้า, อธิษฐานภาวนาร่วมกัน, รับศีลศักดิ์สิทธิ์ และเฉลิมฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณ
    หนังสือกิจการของอัครสาวกกล่าวถึงสถานที่แรกที่คริสตชนกลุ่มแรก ซึ่งในขณะนั้นส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวยิวที่กลับใจ มาชุมนุมกันว่า “ทุกๆวัน เขาพร้อมใจกันไปที่พระวิหารและไปตามบ้านเพื่อทำพิธีบิขนมปัง ร่วมกินอาหารด้วยความยินดี” (กจ 2: 46)
    หนังสือกิจการฯยังบอกด้วยว่า เมื่อเปโตรได้รับการปลดปล่อยอย่างอัศจรรย์จากคุกที่กรุงเยรูซาเล็มแล้วว่า “เปโตรเข้าไปยังบ้านของมารีย์มารดาของยอห์น ที่รู้จักในนามว่ามาระโก ที่นั่นหลายคนมาชุมนุมอธิษฐานภาวนา” (กจ 12:12)
    ในจดหมายของเปาโล การที่คริสตชนมาชุมนุมกันตามบ้านเพื่อประกอบพิธีกรรมเป็นปรากฏการณ์ที่       เกิดขึ้นทั่วไป ในเวลานั้น คำว่า ‘church’ (หรือในภาษากรีกว่า “ekklesia”) หมายถึงการที่บรรดาคริสตชนมาชุมนุมกันมากกว่าหมายถึงตัวอาคารที่เขามาชุมนุมกัน หลายครั้งถ้าสถานการณ์ทางการเมืองอนุญาต บ้านขนาดใหญ่เหล่านี้บางแห่งก็ได้รับการซ่อมแซมขึ้นใหม่ทั้งหมดและเปลี่ยนเป็นสถานที่สำหรับประกอบคารวกิจโดยเฉพาะ จุดเปลี่ยนจริงๆในการสร้างโบสถ์ของคริสตชนเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 4 ในรัชสมัยของพระจักรพรรดิคอนสแตนติน พระจักรพรรดิคริสตชนพระองค์แรกที่ประทานเสรีภาพการนับถือศาสนาแก่คริสตชน และทรงส่งเสริมการก่อสร้างโบสถ์คริสต์ขนานใหญ่ทั้งทางตะวันตกและตะวันออกของจักรวรรดิ มหาวิหารในคริสต์ศาสนา (Christian Basilica) ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบของท้องพระโรงโรมันสมัยโบราณได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของคริสต์ศาสนาที่มีชัยชนะและทรงอำนาจ ทั้งยังมีบทบาทและที่อยู่ชัดเจนในสังคม ศตวรรษต่อๆมาจึงได้เห็นการก่อสร้างโบสถ์ในรูปแบบต่างๆอย่างต่อเนื่อง  เช่น โบสถ์ประจำอารามนักพรต โบสถ์สไตล์โรมาเนสก์และโกธิค ฯลฯ และแต่ละรูปแบบก็สะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของบรรดาคริสตชนในสมัยนั้น สไตล์การก่อสร้างแบบยุโรปเหล่านี้ถูกส่งออกไปยังดินแดนมิสซังในแอฟริกา เอเชีย ฯลฯ ช่วยทำให้คริสต์ศาสนามีหน้าตาเป็นยุโรปในดินแดนเหล่านี้ด้วย ปรากฏการณ์เดียวกันก็เกิดขึ้นในพระศาสนจักรจารีตตะวันออกด้วย เช่นเดียวกัน ไม่ว่าบรรดามิชชันนารีจากจารีตตะวันออกไปถึงที่ใด เขาก็สร้างโบสถ์ตามรูปแบบของจารีตตะวันออกด้วย ประเทศจีนเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศที่เราพบโบสถ์คริสต์ที่สร้างขึ้นได้ทั้งตามรูปแบบของ (จารีต) ตะวันออกและตะวันตก
    หลังจากได้รู้จักภูมิหลังด้านประวัติศาสตร์อย่างย่อๆมาแล้ว ให้เราอ่านข้อ 123 ของธรรมนูญ SC อีกครั้งหนึ่ง ข้อนี้แสดงจิตตารมณ์ของวาติกันที่ 2 ให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อจะได้เปิดหน้าต่างให้ลมสดชื่นพัดเข้ามาในพระศาสนจักรได้
    “พระศาสนจักรไม่เคยมีรูปแบบศิลปะใดเป็นของตนโดยเฉพาะ แต่ยอมรับรูปแบบศิลปะของแต่ละยุคสมัยมาใช้ตามลักษณะเฉพาะ และสภาพแวดล้อมของชนชาติต่างๆ และตามความต้องการของจารีตพิธี ดังนี้ จึงได้สร้างขุมทรัพย์ด้านศิลปะขึ้นมากมายในระยะเวลาหลายศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องเอาใจใส่รักษาไว้อย่างดีที่สุด ศิลปะในยุคสมัยของเราและของชนทุกชาติทุกถิ่นก็ควรมีอิสระที่จะแสดงผลงานในพระศาสนจักรได้เช่นเดียวกัน ขอแต่ให้ศิลปะนั้นช่วยส่งเสริมทั้งความน่าเคารพและศักดิ์ศรีที่สอดคล้องกับอาคารสถานที่และจารีตพิธีศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ  ดังนี้ ศิลปะร่วมสมัยก็จะร่วมเสียงกับศิลปินยิ่งใหญ่ในอดีต ที่ได้เปล่งเสียงเป็นเกียรติแก่ความเชื่อคาทอลิกในหลายศตวรรษที่ผ่านมา” (SC 123)
    ถ้อยคำเหล่านี้ยังสะท้อนในคำแนะนำของหนังสือมิสซาจารีตโรมันดังนี้
    “เพราะฉะนั้น พระศาสนจักรจึงประสงค์ให้โบสถ์มีศิลปะตกแต่งอย่างมีคุณค่า แต่ไม่หรูหราจนเกินไปและยังอนุญาตให้นำศิลปะของทุกชนชาติหรือท้องถิ่นมาใช้ได้ด้วย ยิ่งกว่านั้น ยังควรรักษางานศิลปะมีค่าที่ได้รับตกทอดมาจากศตวรรษก่อนๆไว้ และถ้าจำเป็นยังส่งเสริมให้ปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่างๆตามความต้องการใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับลักษณะของสมัยปัจจุบันได้ด้วย ดังนั้นในการกำหนดตัวนายช่างและเลือกผลงานศิลปะสำหรับโบสถ์ จึงขอให้เป็นศิลปะเด่นจริงๆ ที่จะหล่อเลี้ยงความเชื่อและความศรัทธา ตรงกับความหมายและเจตนาแท้จริงของผลงานนั้น” (RM 289)
    เมื่อกล่าวถึงการสร้างโบสถ์ใหม่ บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมเพียงแต่เน้นความคิดหลักของธรรมนูญ SC เท่านั้น “ในการสร้างอาคารศักดิ์สิทธิ์บรรดาพระสังฆราชจะต้องเอาใจใส่อย่างพิถีพิถันให้อาคารสถานที่เหล่านี้เหมาะสำหรับประกอบพิธีกรรม และส่งเสริมให้สัตบุรุษมีส่วนร่วมพิธีกรรมได้อย่างแข็งขัน” (SC 124) คำแนะนำทั่วไปของหนังสือมิสซาจารีตโรมันยังขยายความต่อไปโดยใช้ถ้อยคำเหล่านี้ว่า “ดังนั้นโบสถ์หรือสถานที่อื่นจะต้องเหมาะสำหรับประกอบกิจกรรมศักดิ์สิทธิ์ และช่วยให้สัตบุรุษมีส่วนร่วมได้อย่างแข็งขัน” (RM 288) สถาปัตยกรรมและรูปแบบของพื้นที่ภายในอาคารโบสถ์ซึ่งประชาชนมาชุมนุมควรปลุกสำนึกของประชาชนให้รู้สึกถึงการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในหมู่ของเขาและพระประสงค์ของพระองค์ที่จะร่วมอยู่ในที่ชุมชนนี้ในการปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ในการถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าและบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่มนุษย์ (SC 7) ในเวลาเดียวกัน การจัดระเบียบอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ในพิธีกรรมควรแสดงให้ประชาชนแลเห็นภาพของพระศาสนจักรในฐานะที่เป็นประชากรของพระเจ้าที่มีศาสนบริการต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นโครงสร้างพระฐานานุกรมต่างๆ ที่มีความต่อเนื่องกันของพระศาสนจักร คำแนะนำของหนังสือมิสซาจารีตโรมันกล่าวไว้ดังนี้ว่า
    “ประชากรของพระเจ้าซึ่งมาชุมนุมกันเพื่อร่วมพิธีมิสซามีระเบียบความสัมพันธ์กันตามลำดับขั้น ลำดับขั้นเช่นนี้แสดงออกในหน้าที่และกิจกรรมส่วนต่างๆ ของการประกอบพิธีแต่ละครั้ง ดังนั้น แบบแปลนของโบสถ์  จึงต้องแสดงภาพของชุมชนที่มาประชุมกันนี้ให้ปรากฏได้อย่างใดอย่างหนึ่ง และต้องเอื้ออำนวยให้จัดระเบียบสิ่งของและปฏิบัติหน้าที่ต่างๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม พระสงฆ์ประธาน สังฆานุกรและผู้ช่วยอื่นๆ จะอยู่ภายในสถานที่ประกอบพิธีกรรม (presbyterium) จะต้องเตรียมที่นั่งไว้สำหรับพระสงฆ์ผู้ร่วมถวายสหบูชาภายในสถานที่ประกอบพิธีกรรมด้วย ถ้าพระสงฆ์ผู้ร่วมถวายสหบูชามีจำนวนมาก ก็ให้จัดที่นั่งไว้ในส่วนอื่นของโบสถ์ แต่ให้ใกล้กับพระแท่นบูชา” (RM 294)
    โครงสร้างที่เป็นสัญลักษณ์ถาวรของพื้นที่ภายในอาคารโบสถ์ ได้แก่ พระแท่นบูชา บรรณฐาน สถานที่ประกอบพิธีศีลล้างบาปและอ่างล้างบาป พื้นที่สำหรับศีลอภัยบาป ตู้ศีล ที่นั่งของพระสงฆ์ประธาน ที่นั่งสำหรับสัตบุรุษ และสถานที่สำหรับคณะนักขับร้อง และที่จัดวางรูปศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
    “องค์ประกอบเหล่านี้ แม้จะต้องแสดงให้เห็นลำดับชั้นและหน้าที่ต่างกัน แต่ก็ทำให้เกิดเอกภาพลึกซึ้งที่แท้จริง ที่แสดงให้เห็นชัดว่าประชากรของพระเจ้าทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวกัน ลักษณะและความงดงามของสถานที่และเครื่องใช้ทั้งหมดต้องส่งเสริมความศรัทธา และแสดงความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมล้ำลึกที่พระศาสนจักรกำลังเฉลิมฉลองอยู่นั้น” (RM 294)
    องค์ประกอบเหล่านี้ทั้งหมดต้องไม่ถูกจัดไว้ให้เป็นเหมือนห้องแสดงนิทรรศการที่มีผู้เข้ามาชมวัตถุที่ตั้งแสดงไว้ตามลำดับ ทุกสิ่งเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของการประทับอยู่ของพระเยซูคริสตเจ้าในการประกอบพิธีกรรม ในระหว่างการประกอบพิธีกรรม พระเยซูเจ้าทรงใช้เครื่องหมายต่างๆ เพื่อทรงเรียกพวกเรามารวมเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อตรัสกับเรา เพื่อทรงเลี้ยงดูเราหรืออธิษฐานภาวนาพร้อมกับเรา
    บทภาวนาสำหรับพิธีมอบถวายโบสถ์ใหม่วอนขอให้อาคารโบสถ์หลังนี้ “ได้เป็นเครื่องหมายของพระศาสนจักรซึ่งกำลังเดินทางอยู่ในโลกนี้ และเป็นภาพของพระศาสนจักรที่บรรลุถึงจุดหมายปลายทางแล้วในสวรรค์” ธรรมนูญ SC กล่าวสั้นๆว่า “ในพิธีกรรมที่ประกอบบนแผ่นดินนี้ เรามีส่วนลิ้มรสล่วงหน้าพิธีกรรมในสวรรค์” (SC 8)
    ในสังคมทุกวันนี้ เมื่อพิจารณาถึงมาตรฐานการดำเนินชีวิตในระดับต่างๆ ของแต่ละประเทศ ตามปกติแล้วในสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมากมาชุมนุมกัน มักจะจัดให้มีความสะดวกสบายพอควรไว้สำหรับทุกคน รวมทั้งผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ ฯลฯ ความสะดวกสบายเหล่านี้ได้แก่ บรรยากาศเงียบสงบ ทางเข้าถึงโบสถ์ได้โดยง่าย ที่นั่ง แสงสว่าง ระบบเสียง การระบายอากาศและเครื่องปรับอากาศ ความปลอดภัย ห้องสุขา สถานที่จอดรถ และบริการอื่นๆ คำแนะนำของหนังสือมิสซาจารีตโรมันกล่าวไว้ดังนี้
    “เพื่อที่จะจัดโบสถ์และเครื่องใช้อย่างเหมาะสมให้ตอบสนองความจำเป็นของสมัยปัจจุบันจริงๆ จำเป็นต้องเอาใจใส่ไม่จำเพาะแต่สิ่งของที่จำเป็นสำหรับการประกอบพิธีกรรมโดยตรงเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆแก่สัตบุรุษ ซึ่งตามปกติมักจะจัดไว้ในสถานที่ที่ประชาชนย่อมมาชุมนุมกันด้วย” (RM 293)
    เมื่อได้กล่าวถึงเรื่องทั้งหมดนี้แล้ว เราต้องไม่ลืมคำเตือนของธรรมนูญ SC ที่ว่า “บรรดาประมุขผู้ปกครองท้องถิ่น ควรสนับสนุนและส่งเสริมศิลปะศักดิ์สิทธิ์ที่แท้จริง โดยเอาใจใส่เสาะหาความงดงามชนิดที่ยกจิตใจให้สูงขึ้น ยิ่งกว่าจะแสวงหาเพียงความโอ่อ่าหรูหราแต่อย่างเดียว ควรใช้หลักการนี้สำหรับอาภรณ์และเครื่องประดับศักดิ์สิทธิ์ด้วย” (SC 124)
    คำแนะนำทั่วไปของหนังสือมิสซาจารีตโรมันยังเสริมอีกว่า
    “เครื่องประดับโบสถ์จะต้องแสดงให้เห็นความเรียบง่าย แต่ไม่ไร้คุณค่าของโบสถ์ มากกว่าจะแสดงความหรูหราเท่านั้น ในการเลือกสิ่งของต่างๆเพื่อใช้ประดับ จะต้องเอาใจใส่ใช้สิ่งที่เป็นของจริง และ ต้องพยายามให้เป็นการเพิ่มความรู้แก่สัตบุรุษและเพิ่มเกียรติแก่สถานที่เป็นส่วนรวมด้วย” (RM 292)
    พื้นที่ภายในโบสถ์ส่วนใหญ่มักจะเป็นชุมนุมของผู้ที่รับศีลล้างบาปและคริสตังสำรอง กระนั้นก็ดีเราต้องไม่ลืมว่าบ่อยๆเช่น ในฮ่องกงและประเทศจีนโดยทั่วไป (รวมทั้งประเทศไทยด้วย) แม้แต่ผู้ที่ยังไม่ได้รับศีลล้างบาปก็มักจะมาร่วมพิธีด้วย เช่น พิธีมิสซา พิธีรับศีลล้างบาป งานแต่งงาน งานศพ ฯลฯ มีสามีหลายคนที่พาภรรยาและบุตรมาโบสถ์มาเป็นเวลาหลายๆปี ก่อนจะตัดสินใจว่าตนเองก็ปรารถนาจะรับศีลล้างบาปด้วย มีผู้ที่เป็นเพื่อนกันทั้งชายหญิง ผู้ที่เคยเป็นนักเรียนในโรงเรียนคาทอลิกระดับต่างๆและคนอื่นอีกจำนวนมากที่มาร่วมมิสซาวันอาทิตย์เป็นประจำโดยที่ยังไม่พร้อมจะรับศีลล้างบาป พิธีกรรมและบรรยากาศภายในโบสถ์จึงควรแสดงให้เขารู้ลึกถึงการเชิญชวนที่เขารู้สึกว่าอบอุ่นและเป็นกันเอง
    สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งของการออกแบบโบสถ์ก็คือพื้นที่ประกอบพิธีกรรมภายนอก พื้นที่ภายนอกรอบๆโบสถ์
    การก่อสร้างโบสถ์เป็นศิลาในสถานที่เฉพาะเจาะจงแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าพระศาสนจักรได้ฝังรากลงแล้วในสถานที่นั้น และในวัฒนธรรมนั้น อาคารของโบสถ์จึงต้องกลมกลืนกับแบบแปลนของเมืองที่อยู่โดยรอบและกับวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นด้วย ในประเทศที่คริสตชนเป็นส่วนน้อย อาคารโบสถ์เป็นวิธีการสำคัญมากของการประกาศข่าวดี อาคารโบสถ์ต้องแสดงท่าทีต้อนรับทุกคนและเป็นเสมือนโอเอซิสที่ให้ความร่มเย็นและความสงบสุขแก่ทุกคน พื้นที่ประกอบพิธีกรรมภายนอกต้องกลมกลืนกับพื้นที่ภายในซึ่งแสดงให้เห็นภาพของชุมชนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและรับใช้กัน อาคารโบสถ์หลังใหม่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หมายความว่าที่นั่นมีชุมชนที่ต้องการโบสถ์ และในสังฆมณฑลนั้นยังมีโบสถ์แม่ หรืออาสนวิหารของพระสังฆราช มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างโบสถ์ประจำตำบลกับอาสนวิหารของสังฆมณฑล ดังที่ธรรมนูญ SC กล่าวไว้ว่า “ทุกคนต้องตระหนักว่า พระศาสนจักรแสดงตนเด่นชัด เมื่อประชากรศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดของพระเจ้ามาร่วมพิธีกรรมอย่างเต็มที่และแข็งขันในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในพิธีบูชาขอบพระคุณหนึ่งเดียว ในการภาวนาอธิษฐานหนึ่งเดียว ณ พระแท่นบูชาหนึ่งเดียวที่พระสังฆราชเป็นประธาน โดยมีคณะสงฆ์และผู้ช่วยอื่นๆร่วมพิธีด้วย” (SC 41)
    ถึงกระนั้น เป็นที่น่าเสียดาย โดยเฉพาะในประเทศที่คริสตชนเป็นชนส่วนน้อย แล้วยังมีโบสถ์คริสต์ที่สร้างขึ้นโดยชาวคาทอลิกและคริสตชนนิกายอื่นๆ ในท้องที่เดียวกัน เรื่องนี้ทำให้ประชาชนมีความสับสน เป็นพยานขัดแย้งกันสำหรับเอกภาพของพระศาสนจักร และเรื่องนี้ยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่ของการประกาศข่าวดี

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพุธ สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 8:31-42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับชาวยิวที่เชื่อในพระองค์ว่า “ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง ท่านจะรู้ความจริง และความจริงจะทำให้ท่านเป็นอิสระ” คนเหล่านั้นจึงตอบว่า “พวกเราเป็นเชื้อสายของอับราฮัม...
วันอังคาร สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 1:16, 18-21, 24ก) ยาโคบเป็นบิดาของโยเซฟ พระสวามีของพระนางมารีย์ พระเยซูเจ้าที่ขานพระนามว่า “พระคริสตเจ้า” ประสูติจากพระนางมารีย์ผู้นี้ เรื่องราวการประสูติของพระเยซูคริสตเจ้าเป็นดังนี้ พระนางมารีย์...
วันจันทร์ สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 8:1-11) เวลานั้น พระเยซูเจ้าเสด็จไปยังภูเขามะกอกเทศ เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น พระองค์เสด็จไปในพระวิหารอีก ประชาชนเข้ามาห้อมล้อมพระองค์ พระองค์ประทับนั่ง แล้วทรงเริ่มสั่งสอน บรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสีนำหญิงคนหนึ่งเข้ามา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

208. ศีลมหาสนิทคืออะไร ศีลมหาสนิทเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ในศีลมหาสนิทพระเยซูคริสตเจ้าทรงมอบพระกายและพระโลหิตของพระองค์ คือมอบพระองค์เองให้กับเรา ดังนั้น เราต้องมอบตัวของเราเองให้กับพระองค์ในความรักและในความเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ในศีลมหาสนิทด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยวิธีนี้เราจึงร่วมกับพระกายของพระคริสตเจ้า พระศาสนจักร (1322, 1324,1409,1413) หลังจากศีลล้างบาปและศีลกำลังแล้ว...
207. ใครสามารถโปรดศีลกำลังได้ ศีลศักดิ์สิทธิ์ แห่งศีลกำลัง โดยปกติแล้วพระสังฆราชจะเป็นผู้ทำพิธีโปรด แต่เหตุผลที่สำคัญเมื่อมีความจำเป็น พระสังฆราชสามารถให้พระสงฆ์ท่านหนึ่งเป็นผู้แทนในการโปรดศีลกำลังได้ ในอันตรายถึงความตาย พระสงฆ์ท่านใดก็ได้ก็ได้สามารถโปรดศีลกำลังได้ (1312- 1314)
206. ใครสามารถรับศีลกำลังและผู้สมัครรับศีลกำลังจำเป็นต้องมีอะไร คริสตชนคาทอลิกที่ได้รับศีลล้างบาปและอยู่ใน “สถานะพระหรรษทาน” สามารถได้รับอนุญาตให้รับศีลกำลังได้ (1306-1311, 1319) ที่จะอยู่ “ในสถานะพระหรรษทาน” หมายถึงไม่ได้กระทำบาปหนัก เพราะบาปหนักคือบุคคลคลนั้นแยกตนเองออกจากพระเจ้า และสามารถคืนดีกับพระเจ้าด้วยการไปสารภาพบาปอย่างดี...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...
อบรมคุณธรรม ให้กับนักเรียน โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์
อบรมคุณธรรม ให้กับนักเรียน โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์
❤ "รัก รับใช้ ซื่อสัตย์" ❤ . วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้จัดกิจกรรมอบรมคุณธรรม ให้กับนักเรียน ชั้นอนุบาล - ประถมฯ 6 จำนวน 174 คน ที่โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Lent
เทศกาลมหาพรต คือช่วงเวลาแห่งการภาวนาและการใช้โทษบาปก่อนถึงสมโภชปัสกา ซึ่งเริ่มต้นด้วยวันพุธรับเถ้าและมีระยะเวลานานสี่สิบวัน
Satation of the Cross
ทางแห่งกางเขน (เดินรูป 14 ภาค) เป็นการภาวนาที่ระลึกพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า...
Sign of the Cross
เครื่องหมายสำคัญมหากางเขน เป็นบทภาวนาถวายเกียรติแด่พระตรีเอกภาพ ทำโดยการใช้มือขวาทำเครื่องหมายกางเขนบนตัวเรา พร้อมกับภาวนาว่า “เดชะพระนาม...

ประวัตินักบุญ

19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...
10 กุมภาพันธ์ ระลึกถึงนักบุญสกอลัสติกา พรหมจารี
10 กุมภาพันธ์ ระลึกถึงนักบุญสกอลัสติกา พรหมจารี (C. 480 - 547) (St Scholastica, Virgin, memorial)...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
5648
8544
20041
152286
326718
35589790
Your IP: 100.25.40.11
2024-03-19 10:00

สถานะการเยี่ยมชม

มี 218 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์