แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในพิธีกรรม
    ข้อ 7 เริ่มด้วยการย้ำว่าพระเยซูคริสตเจ้าประทับอยู่ในพิธีกรรมเพื่อทรงต่องานกอบกู้ของพระองค์และทรงปฏิบัติพระภารกิจนี้ผ่านทาง “เครื่องหมาย” เฉพาะเจาะจง
    “เพื่อทำให้งานยิ่งใหญ่นี้สำเร็จ พระคริสตเจ้าประทับอยู่เสมอในพระศาสนจักร โดยเฉพาะในการประกอบพิธีกรรม พระองค์ประทับในพิธีบูชามิสซา ทั้งในตัวของผู้ประกอบพิธี เพราะ “เป็นพระองค์ซึ่งแต่ก่อนนั้นทรงถวายพระองค์บนไม้กางเขน บัดนี้ยังทรงถวายพระองค์อาศัยศาสนบริการของพระสงฆ์” และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระองค์ประทับอยู่ภายใต้รูปปรากฏของศีลมหาสนิท พระองค์ยังประทับอยู่ในศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ด้วยพระอานุภาพ จนกระทั่ง เมื่อผู้ใดประกอบพิธีศีลล้างบาปพระคริสตเจ้าเองก็ทรงประกอบพิธีศีลล้างบาป พระองค์ประทับอยู่ในพระวาจา เพราะเป็นพระองค์ที่ตรัส เมื่ออ่านพระคัมภีร์พระศาสนจักร ในที่สุด พระองค์ยังประทับอยู่เมื่อพระศาสนจักรอธิษฐานภาวนาและขับร้องเพลงสดุดี เพราะพระองค์ทรงสัญญาว่า ‘ที่ใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่นในหมู่พวกเขา’ (มธ 18:20)” (SC7)

    พิธีกรรมเป็น “พิธีกรรมแบบคริสต์” เพราะพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพประทับในพิธีกรรมและทรงปฏิบัติงานผ่านทางพิธีกรรม วิธีการที่พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในพิธีกรรมมีหลายวิธีและวิธีการเหล่านี้ก็สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน วิธีการต่างๆ ทั้งหมดที่พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในพิธีกรรมปรากฏให้เห็นอย่างดีที่สุดในพิธีมิสซาพระเยซูเจ้าประทับอยู่เมื่อบรรดาผู้มีความเชื่อมาชุมนุมกันในพระนามของพระองค์และเริ่มขับร้องและสวดภาวนาพร้อมกัน พระเยซูเจ้าประทับอยู่เมื่อตรัสกับบรรดาผู้มีความเชื่อผ่านทางพระคัมภีร์ พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในบุคคลของศาสนบริกรของพระองค์ พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในการถวายบูชาหนึ่งเดียวของพระองค์บนไม้กางเขนที่เป็นปัจจุบันอีกบนพระแท่น พระเยซูเจ้าประทับอยู่โดยวิธีพิเศษในศีลมหาสนิทในรูปปรากฏของขนมปังและเหล้าองุ่น นี่เป็นตัวอย่างพิเศษสุดของการปฏิรูปพิธีกรรมที่สภาสังคายนาคาดหมายไว้ล่วงหน้า
    วิธีการต่างๆ ที่พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในพิธีกรรมนี้เป็นความจริงที่ได้รับตกทอดมาถึงเรา และเกิดขึ้นพร้อมๆกับพิธีกรรมของคริสต์ศาสนาทีเดียว สภาสังคายนานำเรื่องการประทับอยู่ในแบบต่างๆกลับมาใหม่ และอธิบายให้บรรดาผู้มีความเชื่อได้รู้ว่าจะมีส่วนร่วมการประทับอยู่ในแบบต่างๆ นี้ได้อย่างไร เพื่อจะได้รับความศักดิ์สิทธิ์จากพระเยซูเจ้าและถวายพะเกียรติแด่พระเจ้า มีเรื่องหนึ่งที่ต้องอธิบายให้แจ่มแจ้งที่นี่ คือการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในรูปแบบต่างๆ นี้ล้วนเป็นการประทับอยู่ “โดยแท้จริง” ทั้งนั้น พิธีกรรมตามแบบของสภาสังคายนาที่เมืองเตร็นท์ เพราะเหตุผลจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของสมัยนั้น เน้นอย่างมากถึง “การประทับอยู่โดยแท้จริง” ของพระเยซูเจ้าภายใต้รูปปรากฏของศีลมหาสนิท จนกระทั่งบรรดาผู้มีความเชื่อเห็นไม่ชัดหรือไม่รู้จักวิธีการประทับอยู่ในวิธีอื่นๆ อีกเลย ความศรัทธาต่อศีลมหาสนิทเติบโตขึ้นโดยแยกเกือบจะเด็ดขาดจากพิธีมิสซา บรรดาสัตบุรุษมารับประทานปังศีลมหาสนิทนานๆครั้ง และไม่เคยดื่ม(พระโลหิต)จากถ้วยกาลิกษ์เลย มีแต่พระสงฆ์เท่านั้นที่ทำเช่นนี้หลายๆครั้ง ผู้ที่รับศีลมหาสนิทก็มักจะรับศีลก่อนหรือภายหลังมิสซา หรือในเวลาอื่น ในพระสมณสาสน์ ‘Mysterium Fidei’ (ค.ศ.1965) สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ตรัสถึงการประทับอยู่โดยแท้จริงของพระเยซูเจ้าภายใต้รูปปรากฏของศีลมหาสนิท และทรงสรุปว่า
    “เราเรียกการประทับอยู่นี้ว่า “แท้จริง” แต่ก็มิได้หมายความว่าเราปฏิเสธว่าการประทับอยู่ในแบบอื่นนั้น “ไม่แท้จริง” ด้วย แต่เพราะว่า การประทับอยู่ “ในศีลมหาสนิท” นี้เป็นการประทับอยู่ในความหมายสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งหมายความว่าเป็นการประทับอยู่ “โดยพระธรรมชาติ” (substantial presence) ซึ่งเป็นวิธีการที่พระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ (the God-Man) ประทับอยู่ทั้งองค์โดยสมบูรณ์” (Mysterium Fidei 39)
    การค้นพบอีกถึงวิธีการต่างๆ ของการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในพระศาสนจักรเช่นนี้ยังมีผลกระทบหลายประการในด้านอื่นๆด้วย เมื่อสภาสังคายนาประกาศยืนยันว่า “ด้วยพระอานุภาพ พระองค์ประทับอยู่ในศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จนกระทั่ง เมื่อผู้ใดประกอบพิธีศีลล้างบาป พระคริสตเจ้าเองก็ทรงประกอบพิธีศีลล้างบาป” หรือเมื่อสภาฯกล่าวว่า “พระองค์ประทับอยู่ในพระวาจา เพราะเป็นพระองค์ที่ตรัส เมื่ออ่านพระคัมภีร์ในพระศาสนจักร” สภาฯ ก็ไม่กำหนดเจาะจงว่าใครเป็นผู้ประกอบพิธีล้างบาปหรืออ่านพระคัมภีร์เป็นพระเยซูเจ้าเองที่ทรงประกอบพิธีล้างบาปหรือตรัสพระวาจา ไม่ว่าใครจะประกอบพิธีล้างบาปหรือใครอ่าน(พระคัมภีร์) จะเป็นพระสังฆราช พระสงฆ์ สังฆานุกรหรือฆราวาสคาทอลิก(ในบางกรณีแม้ผู้ที่ยังไม่ได้รับศีลล้างบาปก็ยังประกอบพิธีล้างบาปให้ผู้อื่นได้) แนวคิดทางเทววิทยานี้ของสภาฯ ทำให้เรามีมุมมองที่กว้างยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพิธีกรรมและทำให้เราแลเห็นความหลากหลายของศาสนบริการด้านพิธีกรรมที่พระเยซูเจ้าทรงปฏิบัติพระภารกิจ ในเวลาเดียวกันก็เป็นการชี้แนะอย่างชัดเจนถึงการที่ศาสนบริกรในด้านนี้ (ด้านพิธีกรรม) ต้องได้รับการเตรียมตัวและชีวิตจิตที่จำเป็น
    ควรจะกล่าวที่นี่ด้วยว่าเรื่องการประทับอยู่แท้จริงของพระเยซูเจ้าในพระวาจาเป็นเรื่องที่บรรดาพระสังฆราชถกเถียงกันนานพอสมควรก่อนจะได้รับความเห็นด้วยเกือบเป็นเอกฉันท์ เมื่อเรื่องเดียวกันนี้ถูกนำขึ้นมาถกเถียงกันอีกเกี่ยวกับกฤษฎีกา Ad Gentes (พันธกิจเป็นมิชชันนารีของพระศาสนจักร) ที่มีขึ้นในปี ค.ศ.1965 สองปีหลังจากการประกาศธรรมนูญ SC บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุม มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในการรับรองข้อ 9 ของกฤษฎีกา Ad Gentes ที่กล่าวว่า “โดยการเทศน์สอนพระวาจาและการประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ งานมิชชันนารีทำให้พระคริสตเจ้าผู้ประทานความรอดพ้น ให้มาประทับอยู่กับเราด้วย”
    ความเชื่อเรื่องวิธีการต่างๆ ที่พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในพระศาสนจักรยังมีอิทธิพลอย่างมากในด้านคริสตศาสนิกสัมพันธ์อีกด้วย ถ้าเราจำกัด “การประทับอยู่แท้จริง” ของพระเยซูเจ้าว่า หมายถึงการประทับอยู่ในศีลมหาสนิทเพียงอย่างเดียว ความเห็นของเราต่อคริสตจักรอื่นๆ ซึ่งไม่มีศาสนบริกรที่รับศีลบวชก็จะมีลักษณะค่อนข้างไปในด้านลบ ตรงกันข้าม ถ้าเราเชื่อว่าพระเยซูเจ้าประทับอยู่จริงๆ ในชุมชนคริสตชนที่กำลังขับร้องและสวดภาวนาพร้อมกันและฟังพระวาจาของพระเจ้า เวลานั้น แม้ว่าคริสตจักรนั้นยังไม่มีการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าอย่างสมบูรณ์เต็มที่ เขาก็ยังเป็นพระศาสนจักร เพราะพระเยซูเจ้าประทับอยู่ที่นั่นโดยแท้จริงด้วยเหมือนกัน

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:7-14) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ถ้าท่านทั้งหลายรู้จักเรา ท่านก็รู้จักพระบิดาของเราด้วย บัดนี้ ท่านก็รู้จักพระบิดา และเห็นพระองค์แล้ว” ฟีลิปทูลว่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
7900
15633
76897
286430
306218
36030152
Your IP: 18.226.96.61
2024-04-26 12:22

สถานะการเยี่ยมชม

มี 222 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์