แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

สารฉบับสุดท้ายของการประชุมสมัชชาพระสังฆราชเกี่ยวกับการประกาศพระวรสารแบบใหม่


นครรัฐวาติกัน  วันที่ 26 ตุลาคม 2012 (VIS)


     เช้านี้ มีการนำเสนอสารฉบับสุดท้ายของการประชุมสมัชชาพระสังฆราชสมัยสามัญครั้งที่ 13 ที่สำนักพิมพ์สันตะสำนัก. การประชุมสมัชชาพระสังฆราชได้จัดขึ้นระหว่างวันที่  7-28 ตุลาคม 2012 และเราจะพินิจพิเคราะห์หัวข้อ: "การประกาศพระวรสารแบบใหม่เพื่อถ่ายทอดความเชื่อคริสตชน”
     พระคาร์ดินัล Giuseppe Betori, พระอัครสังฆราชแห่งฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี  ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อจัดทำสาร พร้อมกับพระอัครสังฆราช Pierre-Marie Carre of Montpellier ประเทศฝรั่งเศส เลขาธิการพิเศษ และพระอัครสังฆราช  Luis Antonio G. Tagle of Manila ประเทศฟิลิปปินส์ เลขาธิการ คณะกรรมาธิการเพื่อจัดทำสารร่วมกันได้แถลงข่าวหนังสือพิมพ์วันนี้. สมัชชาพระสังฆราชได้ทำบทสรุปฉบับภาษาอังกฤษดังข้อความข้างล่างนี้

    "ตอนต้นของเอกสาร บรรดาพระสังฆราชเตือนให้ระลึกถึงข้อความพระวรสารโดยนักบุญยอห์นที่เล่าเกี่ยวกับการพบปะกันระหว่างพระเยซูเจ้ากับหญิงชาวสะมาเรียที่บ่อน้ำ. นี่คือภาพของคนร่วมสมัยพร้อมด้วยภาชนะว่างเปล่า กำลังกระหายและปรารถนาพระเจ้า  และเป็นคนที่พระศาสนจักรต้องหันมาทำให้องค์พระผู้เป็นเจ้าประทับอยู่กับเขา. และเฉกเช่นหญิงชาวสะมาเรียที่พบพระเยซูเจ้า  แต่เขาจะกลายเป็นพยานแห่งการประกาศความรอดและความหวังแห่งพระวรสาร
    "โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราพิจารณาบริบทของการประกาศพระวรสารแบบใหม่  สมัชชาพระสังฆราชเตือนถึงความจำเป็นที่จะฟื้นฟูความเชื่อ ที่เสี่ยงไปสู่ความคลุมเคลือในบริบทของวัฒนธรรมต่างๆในปัจจุบัน, ยังต้องเผชิญหน้ากับการทำให้ความเชื่อของผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปอ่อนแอลง. การพบปะกับองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเผยให้เห็นว่าพระเจ้าคือองค์ความรัก สามารถเกิดขึ้นในพระศาสนจักร  ในรูปแบบของประชาคมที่รับพระเจ้าและมีประสบการณ์ของการเป็นหนึ่งเดียวกัน; จากจุดนี้ คริสตชนจะเป็นพยานในสถานที่อื่นๆด้วย. อย่างไรก็ตาม พระศาสนจักรอธิบายว่า  ในการประกาศพระวรสารนั้น            เราต้องประกาศ
พระวรสารแก่ตัวเราเองก่อน และส่งสารัตถะหนึ่ง นั่นคือ การเริ่มต้นเพื่อกลับใจ  เพราะความอ่อนแอของศิษย์พระเยซูเจ้าให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของพันธกิจ. ความสำนึกในข้อเท็จจริงที่ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นองค์ชี้นำแห่งประวัติศาสตร์ และดังนั้น ความชั่วจะไม่ใช่คำสุดท้าย, บรรดาพระสังฆราชจึงเชื้อเชิญคริสตชนให้เอาชนะความกลัวด้วยความเชื่อและให้พิจารณาโลกด้วยความกล้าหาญอันสุขุมคัมภีรภาพ เพราะขณะที่โลกเต็มไปด้วยความขัดแย้งและความท้าทาย, ก็ยังเป็นโลกที่พระเจ้าทรงรัก. ดังนั้น เราต้องไม่มองโลกในแง่ร้าย     ไม่ว่าเรื่องของโลกาภิวัตน์  เรื่องของโลกียวิสัย และเรื่องการวางแผนโดยสร้างฉากทัศน์อนาคต (Scenarios) ของสังคม การย้ายถิ่น แม้กระทั่ง ความยากลำบากและความทุกข์ทรมานที่เป็นผลมาจากสิ่งเหล่านี้, เราต้องเห็นว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโอกาสที่จะประกาศพระวรสาร. เพราะนี่ไม่ใช่ปัญหาในการหากลยุทธ์ใหม่ๆราวกับว่าพระวรสารถูกแพร่ไปเหมือนสินค้าในตลาด, แต่เป็นการค้นหาวิธีการต่างๆที่แต่ละคนใช้เพื่อใกล้ชิดกับพระเยซูเจ้า
    “เราพิจารณาครอบครัวว่าเป็นสถานที่ตามธรรมชาติสำหรับการประกาศพระวรสาร จึงสมควรได้รับการสนับสนุนจากพระศาสนจักร จากองค์กรทางการเมือง และจากสังคม. ภายในครอบครัว ควรเน้นบทบาทพิเศษของสตรีและใส่ใจสถานการณ์ที่เจ็บปวดของคนที่หย่าร้างและคนแต่งงานใหม่ ขณะเดียวกัน ก็เน้นย้ำการอบรมเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ. อธิบายได้ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าไม่ทรงละทิ้งพวกเขาเลย และพระศาสนจักรกำลังต้อนรับให้ทุกคนกลับบ้าน. สารยังกล่าวถึงชีวิตแห่งการถวายตัว ซึ่งเป็นพยานแห่งความหมายสูงสุดเกี่ยวกับโลกในเรื่องการดำรงอยู่ของมนุษย์ และวัดเป็นศูนย์การประกาศพระวรสาร เพราะมีความสำคัญต่อการอบรมอย่างถาวรสำหรับพระสงฆ์และนักบวชชาย และนักบวชหญิง นอกจากนี้ยังเชื้อเชิญบรรดาฆราวาส (ขบวนการและกลุ่มกิจกรรมใหม่ๆของพระศาสนจักร) เพื่อประกาศพระวรสาร, รักษาความเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระศาสนจักร. การประกาศพระวรสารแบบใหม่เชื้อเชิญให้ร่วมมือกับคริสตจักรต่างๆและประชาคมของพระศาสนจักร, พวกเขาก็เช่นกัน ที่ถูกขับเคลื่อนโดยพระจิตเจ้าแห่งการประกาศพระวรสารองค์เดียวกัน. ขอให้ใส่ใจเป็นพิเศษกับเยาวชนด้วยการรับฟังพวกเขาและเสวนากับพวกเขา เพื่อช่วยพวกเขาให้รอดและอย่าดับทำลายความกระตือรือร้นของพวกเขา.
    “เมื่อพิจารณาเรื่องการเสวนาด้วยวิธีการต่างๆ  
    -  กับวัฒนธรรมซึ่งต้องการความสัมพันธ์แบบใหม่ระหว่างความเชื่อกับเหตุผล
    -  กับการศึกษา, กับวิทยาศาสตร์ เมื่อไม่ปิดกั้นมนุษย์ด้วยแนวคิดวัตถุนิยม, เพื่อจะกลายเป็นการรวมตัวเพื่อขบวนการมนุษยนิยมแห่งชีวิต:     - กับศิลปะ กับเศรษฐศาสตร์และการทำงาน กับความเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมาน
    -  กับองค์การทางการเมือง ที่ต้องเกี่ยวโยงกันอย่างโปร่งใสกับความดีส่วนรวมที่มีการถามหา,
    - กับศาสนาอื่น. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ประชุมสมัชชาสภาพระสังฆราชเน้นว่า การเสวนาระหว่างศาสนาต่างๆมีส่วนสร้างสันติภาพ พยายามหาหลักฐานมาหักล้างแนวคิดยึดศาสนาตามตัวอักษร (fundamentalism) และประณามความรุนแรงที่กระทำต่อผู้มีความเชื่อ.     สารเตือนถึงความเป็นไปได้ต่างๆที่ปีแห่งความเชื่อเสนอมา  โดยระลึกถึงการประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 และโดยหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก. ในที่สุด  สารนี้ชี้ถึงการแสดงออกถึงชีวิตแห่งความเชื่อ ซึ่งมีความหมายสำหรับการประกาศพระวรสารแบบใหม่  การรำพึงภาวนา ซึ่งความเงียบสงบจะทำให้ยอมรับพระวาจาของพระเจ้าดีขึ้น และการรับใช้คนยากจน จะทำให้เราจำพระคริสตเจ้าได้ในใบหน้าของพวกเขา
    "ในตอนสุดท้ายของสาร, ได้พิจารณาพระศาสนจักรในโลกเป็นรายภูมิภาค และให้กำลังใจแก่แต่ละภูมิภาคในการประกาศพระวรสารดังนี้
-    พระศาสนจักรตะวันออก ปรารถนาให้ฝึกปฏิบัติตนตามความเชื่อเพื่อสันติภาพและเสรีภาพในการนับถือศาสนา
-    พระศาสนาจักรแอฟริกา ขอให้พัฒนาการประกาศพระวรสารขณะเผชิญกับวัฒนธรรมเก่าและใหม่แล้ว เรียกร้องรัฐบาลต่างๆให้หยุดความขัดแย้งและความรุนแรง.
-     คริสตชนในทวีปอเมริกาเหนือ ที่ดำเนินชีวิตในวัฒนธรรมที่มีการแสดงแสดงออกที่ห่างไกลจากพระวรสาร ต้องมุ่งที่การกลับใจ เพื่อเปิดรับผู้อพยพและผู้พลัดถิ่น.
-    ละตินอเมริกา ขอให้ดำเนินชีวิตตามพันธกิจถาวรเพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายในปัจจุบัน เช่น ความยากจน ความรุนแรง รวมทั้งสภาพใหม่ๆของพหุนิยมด้านศาสนา.
-    พระศาสนจักรในเอเชีย แม้ว่าคริสตชนเป็นชนกลุ่มน้อย พวกเขามักอยู่ชายขอบของสังคมและถูกเบียดเบียน ขอเป็นกำลังใจและกระตุ้นให้มีความเชื่อมั่นคง.
-    ทวีปยุโรป เด่นในเรื่องโลกียวิสัยที่ก้าวร้าวและได้รับบาดแผลจากระบอบการปกครองในอดีต อย่างไรก็ตาม ให้สร้างวัฒนธรรมด้านมานุษยวิทยา ที่เน้นศักดิ์ศรีของมนุษย์และการสร้างความดีส่วนรวม  ดังนั้น ความยากลำบากในปัจจุบัน ต้องไม่ทำให้คริสตชนยุโรปท้อแท้ใจ,  แต่พวกเขาควรรับรู้ว่าเป็นการท้าทายอย่างหนึ่ง.
-     ขอให้ชาวโอเชียเนียเกิดความสำนึกอีกครั้งในการมีส่วนร่วมในการเทศน์สอนพระวรสาร.
ในที่สุด สารปิดด้วยการวางใจในพระนางมารีย์ ซึ่งทรงเป็นดวงดาราแห่งการประกาศพระวรสารแบบใหม่”

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 15:9-11) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “พระบิดาของเราทรงรักเราอย่างไร เราก็รักท่านทั้งหลายอย่างนั้น จงดำรงอยู่ในความรักของเราเถิด ถ้าท่านปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา ท่านก็จะดำรงอยู่ในความรักของเรา เหมือนกับที่เราปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระบิดาของเรา...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา (นักบุญโยเซฟ กรรมกร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 15:1-8) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราเป็นเถาองุ่นที่แท้จริง และพระบิดาของเราทรงเป็นชาวสวน กิ่งก้านใดในเราที่ไม่เกิดผล พระองค์จะทรงตัดทิ้งเสีย...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:27-31ก) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “เรามอบสันติสุขไว้ให้ท่านทั้งหลาย เราให้สันติสุขของเราแก่ท่านเราให้สันติสุข แก่ท่าน ไม่เหมือนที่โลกให้ ใจของท่านอย่าหวั่นไหว หรือมีความกลัวเลย...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

223. ศีลมหาสนิทเป็นการกระทำล่วงหน้าถึงชีวิตนิรันดรอย่างไร พระเยซูเจ้าทรงสัญญากับบรรดาศิษย์ของพระองค์ และกับเราพร้อมกับพวกท่านเหล่านั้นว่า สักวันหนึ่งเราจะมีที่นั่งที่โต๊ะกับพระองค์ ดังนั้นทุกๆมิสซาเป็น “การระลึกถึงพระทรมานอันทรงบุญ” (บทขอบพระคุณแบบที่ 1 ที่เรียกว่ากฎหมายโรมัน) ซึ่งเปี่ยมด้วยพระหรรษทาน และเป็นมัดจำของสิริรุ่งโรจน์ในอนาคต...
222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)

กิจกรรมพระคัมภีร์

ฟองอากาศ
ฟองอากาศ
ฟองอากาศ เรื่อง การคุยโว พระคัมภีร์ เยเรมีย์ 9:24 ภาพรวม เด็กๆ ได้รับประสบการณ์ในความไร้ประโยชน์ของการคุยโวเรื่องตนเอง และสิ่งสำคัญคือให้ความเชื่อถือในพระเจ้า อุปกรณ์ ขวดใส่น้ำที่ใช้เป่าเป็นฟองเท่าจำนวนเด็ก ประสบการณ์ แจกขวดใส่น้ำที่ใช้เป่าเป็นฟองให้แก่เด็กแต่ละคน ให้เวลาเด็กๆ เป่าฟอง 3 นาที โดยเป่าเท่าที่เขาคุยโวในสัปดาห์นี้ เช่น ฉันขี่จักรยานเป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ฉันเตะบอลชนะตลอด ฉันเป็นคนทำแต้มทุกครั้ง...
สัญญา สัญญา
สัญญา สัญญา
สัญญา สัญญา เรื่อง รักษาสัญญา พระคัมภีร์ ยากอบ 5:12 ภาพรวม ท้าทายเด็กแต่ละคนให้วิ่งผลัดเปลี่ยนกัน และมีประสบการณ์ถึงความยากลำบากของการรักษาสัญญาที่ไม่จริง อุปกรณ์ ถังน้ำ 1 ใบ ช้อน 1 อัน แก้วน้ำใบเล็กๆ ของรางวัลต่างๆ ประสบการณ์ แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละเท่าๆ กัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ( St. Catherine of Siena ;...
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
2985
8088
47424
11073
346070
36100865
Your IP: 13.58.150.59
2024-05-02 07:11

สถานะการเยี่ยมชม

มี 169 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์