แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

คำประกาศจากสมณกระทรวงเพื่อข้อความเชื่อ


นครวาติกัน, 4 มิถุนายน 2012 (VIS)

    วันนี้ สมณกระทรวงเพื่อข้อความเชื่อตีพิมพ์ "คำประกาศเกี่ยวกับหนังสือชื่อ “เพียงแต่รัก” (Just Love). เค้าโครงจริยธรรมทางเพศสำหรับของคริสตชน โดย ซิสเตอร์มาร์กาเร็ต เอ. ฟาร์ลีย์ อาร์.เอส.เอ็ม (Margaret A. Farley R.S.M)” .  คำประกาศเตือนสัตบุรุษว่า หนังสือนี้มีปัญหาเพราะ “  หนังสือนี้ไม่สอดคล้องกับคำสอนของพระศาสนจักร. ด้วยเหตุนี้ งานเขียนนี้ไม่สามารถเป็นคำสอนคาทอลิก คำปรึกษาหรือการอบรม หรือการเสวนา ศาสนศาสนจักรสัมพันธ์ และการเสวนาระหว่างศาสนาได้” พระคาร์ดินัล วิลเลียมโจเซฟ เลอวาดา  (Cardinal William Joseph Levada) สังฆมนตรีของสังฆกระทรวงเพื่อข้อความเชื่อลงนามรับรองคำประกาศภาษาอังกฤษ และสมเด็จพระสันตะปาปาก็ทรงเห็นชอบ
    ในปี 2010 สมณกระทรวงเพื่อข้อความเชื่อเขียนถึงซิสเตอร์ ฟาร์ลีย์ (Sr. Farley)  ในปี 2010 ได้แนบใบประเมินผลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือของเธอ และแสดงข้อความเชื่อที่ปรากฏในหนังสือของเธอ อย่างไรก็ตาม คำตอบของเธอไม่อาจชี้แจงประเด็นเหล่านั้นให้เป็นที่น่าพอใจได้ ดังนั้น สมณกระทรวงจึงดำเนินการตรวจสอบหนังสือที่จะจัดพิมพ์ต่อมา  เป็น“การตรวจสอบในกรณีเร่งด่วน".  ในมิถุนายน 2011 คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า "หนังสือประกอบด้วยข้อเสนอที่ผิดพลาด การเผยแพร่ที่สุ่มเสี่ยงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสัตบุรุษ" ซิสเตอร์ฟาร์ลีย์ได้รับรายการข้อผิดพลาดและข้อแก้ไขปรับปรุง แต่ผลคือ "ไม่อาจทำให้ปัญหาร้ายแรงที่อยู่ในหนังสือของเธอกระจ่างชัดอย่างเพียงพอได้” สมณกระทรวงจึงตัดสินใจที่จะดำเนินการด้วยการจัดพิมพ์ข้อประกาศ ตามที่ตัดตอนมาต่อไปนี้

    “นักประพันธ์ไม่ได้เสนอความเข้าใจที่ถูกต้องตามบทบาทของอำนาจสอนของพระศาสนจักรที่เป็นสิทธิอำนาจการสอนของบรรดาพระสังฆราช ที่เป็นหนึ่งเดียวกับผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญเปโตร ซึ่งชี้นำให้พระศาสนจักรเข้าใจพระวาจาของพระเจ้า ที่พบในพระคัมภีร์ ...ในการนำเสนอเรื่องจริยธรรมต่างๆนั้น  ซิสเตอร์ได้เพิกเฉยต่อคำสอนที่แน่ชัดของอำนาจการสอนพระศาสนจักร แล้วซิสเตอร์พูดถึงเรื่องชั่วคราว หรือทำเสมอเหมือนความเห็นของคนๆหนึ่ง... ซิสเตอร์ยังแสดงความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ต่อกฎจริยธรรมธรรมชาติที่เป็นวัตถุวิสัย    ในบรรดาข้อผิดพลาดและคำกำกวมหลายประการของหนังสือเล่มนี้ ได้แก่เรื่องการกระตุ้นอวัยวะเพศของตัวเองเพื่อให้ถึงจุดสุดยอด (การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง) การเล่นสวาท  การร่วมเพศระหว่างเพศเดียวกัน การลบล้างการแต่งงาน และปัญหาของการหย่าร้างและการแต่งงานใหม่"

    "ซิสเตอร์ฟาร์ลีย์เขียนว่า: ปกติ ความสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองไม่เป็นปัญหาเลย” ข้อความนี้ไม่สอดคล้องกับคำสอนของพระศาสนจักร “ทั้งอำนาจการสอนของพระศาสนจักร ในกระแสของธรรมประเพณีที่คงที่ และความสำนึกที่มั่นคงว่า การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองคือ การกระทำภายในจิตใจที่ขาดระเบียบอย่างร้ายแรง... เพราะ ณ ที่นี้ ถือว่า เป็นการแสวงหาความพึงพอใจทางเพศที่กระทำนอกศีลสมรส เพราะศีลสมรสต้องเป็นไปตามระเบียบศีลธรรมและเป็นความหมายโดยรวมของการมอบตนเองและการให้กำเนิดลูกหลาน ซึ่งเป็นการบรรลุความรักแท้
    "ซิสเตอร์ ฟาร์ลีย์เขียนว่า 'ดิฉันเห็นว่า ความสัมพันธ์และกิจกรรมระหว่างเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามจริยธรรมทางเพศ เช่นเดียวกับความสัมพันธ์และกิจกรรมที่ทำกับเพศตรงข้าม' ....
     พระศาสนจักรไม่อาจยอมรับความเห็นนี้  ความจริงแล้ว พระศาสนจักรคาทอลิกแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างผู้ที่มีแนวโน้มที่จะรักเพศเดียวกันกับผู้ที่มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน. เกี่ยวกับบุคคลที่มีแนวโน้มรักเพศเดียวกันนั้น คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกสอนว่า "พวกเขาจะต้องได้รับความเคารพต่อความรู้สึกไวและเห็นใจพวกเขา. เราต้องหลีกเลี่ยงการแสดงความรังเกียจพวกเขา” อย่างไรก็ตาม  เกี่ยวกับพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน วิชาคริสตศาสนธรรมยืนยันว่า  “จากความรู้พื้นฐานจากข้อพระคัมภีร์ที่เสนอว่า พฤติกรรมรักเพศเดียวกันเป็นพฤติกรรมที่เลวทราม, และจิตใจที่ขาดระเบียบวินัย. ซึ่งขัดแย้งกับกฎธรรมชาติ. พวกเขาไม่ยอมรับว่า พฤติกรรมทางเพศเป็นของขวัญแห่งชีวิต. พวกเขาไม่ได้ทำมาจากความรักแท้และการเสริมกันและกันให้สมบูรณ์ระหว่างชาย หญิง. ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ไม่อาจรับรองความเห็นนี้ได้เลย”
    พระศาสนจักรสอนว่า การเคารพผู้ที่รักเพศเดียวกัน ว่าไม่สามารถนำไปสู่การยอมรับการร่วมเพศระหว่างเพศเดียวกันได้เลย  ความดีส่วนรวมต้องมีการยอมรับทางกฎหมาย ส่งเสริมและป้องกันชีวิตแต่งงาน ซึ่งเป็นพื้นฐานของครอบครัว... ซึ่งเป็นหน่วยแรกของสังคม...การปฏิเสธสถานะทางกฎหมายและทางสังคมเพื่อก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา ไม่ถือว่าเป็นเป็นการสมรสและไม่สามารถเป็นด้วย  เพราะขัดกับความยุติธรรม อีกแง่หนึ่ง  ความยุติธรรมต้องมีการสมรส
    ซิสเตอร์ ฟาริลีย์เขียนว่า “จุดยืนของดิฉัน คือพันธะจากการแต่งงานเป็นหัวข้อที่ควรปลดปล่อย” ความคิดเห็นนี้ขัดแย้งกับคำสอนของพระศาสนจักรเกี่ยวกับการลบล้างศีลสมรส  “ตามธรรมชาติ ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา ซึ่งเป็นผลมาจากความซื่อสัตย์ที่ทำลายไม่ได้ของคู่สมรส. นี่เป็นผลที่ตามมาจากของขวัญของพวกเขาเองซึ่งพวกเขาสร้างเพื่อกันและกัน. ความรักแสวงหาที่จะเป็นรักสุดท้าย  จึงไม่สามารถเป็นการเตรียมการ “จนกว่าทำการสังเกตมากขึ้น”. การร่วมเพศในชีวิตสมรส  จึงเป็นการที่บุคคลสองคนมอบตัวเองแก่กันและกัน และข้อดีของบุตร  คู่สมรสต้องมีความซื่อสัตย์อย่างครบถ้วนและต้องการความเป็นหนึ่งเดียวกันที่ไม่อาจทำลายได้ระหว่างพวกเขา
    ..."องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงยืนยันพระประสงค์แรกของพระผู้สร้างที่ทรงตั้งพระทัยให้การแต่งงานเป็นสิ่งลบล้างไม่ได้ พระองค์จึงทรงลบล้างการหย่อนยานที่ลื่นไถลเข้าสู่ธรรมบัญญัติเก่า”
    คำประกาศยังประเมินความคิดเห็นของซิสเตอร์ฟาร์ลีย์ว่า คนที่หย่าร้างอาจแต่งงานใหม่ได้ เธอกล่าวว่า “ความเห็นนี้ขัดแย้งกับคำสอนคาทอลิกที่ไม่อนุญาตให้แต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง. ..  เพื่อซื่อสัตย์ต่อพระดำรัสของพระเยซูคริสตเจ้า... พระศาสนจักรยังยืนยันว่า การแต่งงานใหม่ไม่สมเหตุสมผล ถ้าการแต่งงานครั้งแรกยังเป็นที่ยอมรับ”
    “ด้วยคำประกาศนี้ สมณกระทรวงเพื่อข้อความเชื่อ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งว่าสมาชิกของสถาบันนักบวชคนหนึ่ง คือ ซิสเตอร์ Margaret A. Farley R.S.M., ยืนยันจุดยืนที่ขัดแย้งกับคำสอนคาทอลิกในเรื่องของจริยธรรมทางเพศ...ยิ่งกว่านั้น สมณกระทรวงปรารถนาที่จะสนับสนุนนักเทววิทยาให้ติดตามการศึกษาและการสอนเทววิทยาทางจริยธรรมที่ต้องสอดคล้องกับหลักการของข้อความเชื่อคาทอลิกอย่างเต็มที่

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 15:9-17) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “พระบิดาของเราทรงรักเราอย่างไร เราก็รักท่านทั้งหลายอย่างนั้น จงดำรงอยู่ในความรักของเราเถิด ถ้าท่านปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา ท่านก็จะดำรงอยู่ในความรักของเรา เหมือนกับที่เราปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระบิดาของเรา และดำรงอยู่ในความรักของพระองค์...
วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 15:18-21) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ถ้าโลกเกลียดชังท่านทั้งหลาย ก็จงรู้ไว้เถิดว่า โลกเกลียดชังเราก่อนแล้ว ถ้าท่านทั้งหลายเป็นฝ่ายโลก โลกก็คงรักสิ่งที่เป็นของตน แต่เพราะท่านมิได้เป็นฝ่ายโลก...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญฟิลิปและยากอบ อัครสาวก) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:6-14) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสตอบโทมัสว่า “เราเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต ไม่มีใครไปเฝ้าพระบิดาได้นอกจากผ่านทางเรา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

226. เมื่อรับศีลล้างบาปเราคืนดีกับพระเจ้าแล้วทำไมจึงต้องมีศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดีอีก ศีลล้างบาปฉุดเราออกจากอำนาจของบาป ความตาย และนำเราสู่ชีวิตใหม่ สู่การเป็นบุตรของพระเจ้า แต่ไม่ได้ให้เราเป็นอิสระจากความอ่อนแอของมนุษย์ และความโน้มเอียงทางบาป ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องการสถานที่ที่เราสามารถคืนดีกับพระเจ้าเรื่อยๆ สถานที่นั้นคือการสารภาพบาป (1425-1426) ดูเหมือนเป็นสิ่งไม่ทันสมัยในการไปสารภาพบาป...
225. ศีลอภัยบาปมีชื่อว่าอย่างไรบ้าง ศีลอภัยบาปยังมีชื่อเรียกอีกว่าศีลแห่งการคืนดี ศีลอภัยบาป ศีลแห่งการกลับใจ หรือศีลแห่งการสารภาพบาป (1422-1424, 1486)
224. ทำไมพระคริสตเจ้าจึงทรงมอบศีลอภัยบาปและศีลเจิมผู้ป่วยแก่เรา ความรักของพระคริสตเจ้าปรากฏในความจริงที่ว่าพระองค์ทรงแสวงหาผู้ที่หายไป และรักษาผู้เจ็บป่วย ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงประทานศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเยียวยารักษา และการบูรณะ ซึ่งทำให้เราเป็นอิสระจากบาป ทำให้ร่างกายและจิตใจของเราที่อ่อนแอเข้มแข็งขึ้น (1420-1421) 67

กิจกรรมพระคัมภีร์

ฟองอากาศ
ฟองอากาศ
ฟองอากาศ เรื่อง การคุยโว พระคัมภีร์ เยเรมีย์ 9:24 ภาพรวม เด็กๆ ได้รับประสบการณ์ในความไร้ประโยชน์ของการคุยโวเรื่องตนเอง และสิ่งสำคัญคือให้ความเชื่อถือในพระเจ้า อุปกรณ์ ขวดใส่น้ำที่ใช้เป่าเป็นฟองเท่าจำนวนเด็ก ประสบการณ์ แจกขวดใส่น้ำที่ใช้เป่าเป็นฟองให้แก่เด็กแต่ละคน ให้เวลาเด็กๆ เป่าฟอง 3 นาที โดยเป่าเท่าที่เขาคุยโวในสัปดาห์นี้ เช่น ฉันขี่จักรยานเป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ฉันเตะบอลชนะตลอด ฉันเป็นคนทำแต้มทุกครั้ง...
สัญญา สัญญา
สัญญา สัญญา
สัญญา สัญญา เรื่อง รักษาสัญญา พระคัมภีร์ ยากอบ 5:12 ภาพรวม ท้าทายเด็กแต่ละคนให้วิ่งผลัดเปลี่ยนกัน และมีประสบการณ์ถึงความยากลำบากของการรักษาสัญญาที่ไม่จริง อุปกรณ์ ถังน้ำ 1 ใบ ช้อน 1 อัน แก้วน้ำใบเล็กๆ ของรางวัลต่างๆ ประสบการณ์ แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละเท่าๆ กัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ผู้หว่าน 8
ผู้หว่าน 8
🌾 ผู้หว่าน 8 🌾 วันที่ 2 พฤษภาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจร แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้มีโอกาสไปแบ่งปันให้กับผู้ที่มาเข้าคอร์ส "ผู้หว่าน รุ่นที่ 8" จำนวน 14 คน ที่บ้านผู้หว่าน อำเภอสามพราน ในหัวข้อ...
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

1 พฤษภาคม  ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร (St Joseph the Worker, memorial) เมื่อวันที่ 1...
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ( St. Catherine of Siena ;...
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
4821
13202
75715
39364
346070
36129156
Your IP: 18.222.138.230
2024-05-04 10:44

สถานะการเยี่ยมชม

มี 132 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์