แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

25 .  ทำไมความเชื่อต้องมีคำจำกัดความและรูปแบบ

ความเชื่อไม่ใช่คำที่ว่างเปล่า แต่เป็นความจริง ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา ได้มีการเขียนบทยืนยันความเชื่อรูปแบบต่าง ๆ  ในพระศาสนจักร โดยอาศัยบทยืนยันความเชื่อเหล่านี้ เราจึงได้พิจารณาไตร่ตรอง แสดงความคิดเห็น เรียนรู้ แบ่งปัน เฉลิมฉลอง และดำเนินชีวิตความจริงเช่นนี้ได้ ( 170-174 )

 

หากไม่มีบทยืนยันความเชื่อที่กำหนดไว้ เนื้อหาสาระของความเชื่ออาจจะเลือนหายไป ด้วยเหตุนี้พระศาสนจักรจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับประโยคที่ชัดเจน ถ้อยคำที่ถูกต้อง ซึ่งกว่าจะสำเร็จได้ ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้สารของพระคริสตเจ้าถูกเข้าใจผิด หรือถูกบิดเบือน ยิ่งกว่านั้น บทยืนยันความเชื่อนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อต้องถ่ายทอดความเชื่อของพระศาสนจักรไปสู่วัฒนธรรมต่าง ๆ โดยที่ต้องรักษาสาระสำคัญไว้ เพราะความเชื่อที่มีร่วมกันเป็นพื้นฐานของเอกภาพในพระศาสนจักร

 

พระศาสนจักรดูแลรักษา (ความเชื่อและคำเทศน์สอนของบรรดาอัครสาวก) ด้วยความเอาใจใส่ เสมือนดูแลบ้านที่มีอยู่เพียงหลังเดียว และเชื่อด้วยว่าเป็นดังจิตวิญญาณและหัวใจดวงเดียวกัน  พระศาสนจักรเทศน์สอน และถ่ายทอดความเชื่อนี้ด้วยเสียงเดียวกัน ประหนึ่งว่ามีเพียงปากเดียว

นักบุญอีเรเน แห่ง ลีออง

(135-202 ปิตาจารย์ของพระศาสนจักร)

 

ขอให้ บทข้าพเจ้าเชื่อ เป็นดังกระจกเงา

จงมองดูตัวเองในนั้น เพื่อดูว่าท่านเชื่อในสิ่งที่ท่านยืนยันจริง ๆ หรือไม่ และจงชื่นชมยินดีในความเชื่อของท่าน   ทุก ๆ วัน

นักบุญออกัสติน

(354-430)