แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 7 : เกียจคร้าน (SLOTH)
    พยศชั่ว “เกียจคร้าน” เป็นความขี้เกียจที่เกิดขึ้นในจิตใจและนับรวมถึงความขี้เกียจทางด้านร่างกายด้วย    พยศชั่วนี้เกิดขึ้นจากการขาดความไว้วางใจในพระเจ้าและทำให้เราเฉยเมยในการใช้วิธีการต่างๆ เพื่อทำให้เราศักดิ์สิทธิ์    มันเป็นความเกลียดชังต่อจิตใจที่พยายามเพียรกระทำการใดๆ และนำเราไปสู่การละเลยไม่เอาใจใส่พระหรรษทาน    ผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่สุดของมันคือการทำให้เราหันเหออกจากพระเจ้าหลังจากที่เราได้ทำบาปหนักใดๆ    จิตวิญญาณมากเท่าใดแล้วที่ได้ละเลยหน้าที่ที่พวกเขาต้องปฏิบัติในช่วงเทศกาลปัสกา หรือ ห่างเหินจากการไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณที่โบสถ์ ปีแล้วปีเล่าฯลฯ    นั่นเลวร้ายมากทีเดียวต่อการที่จะไถ่กู้เขากลับคืนจากบาปเพราะพวกเขาเหล่านั้นจะไม่สามารถทำลายพันธะแห่งความเกียจคร้านได้เลย

    พยศชั่ว “เกียจคร้าน” สิงสถิตอยู่ในความคิดและความปรารถนาของเราและเป็นอันตรายที่สุดในบรรดาพยศชั่วทั้งหลายเพราะว่ามันทำให้เราปฏิเสธที่จะร่วมมือกับพระหรรษทาน    ความเกียจคร้านทำให้เราโน้มเอียงเข้าสู่นิสัยการทำบาปและนำเราสู่การหมดศรัทธาและสิ้นหวังที่จะสลัดความเป็นทาสของพยศชั่วทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ มันอาจนำเราไปสู่การไม่สำนึกผิดและการพ่ายแพ้ของจิตใจของเราในท้ายที่สุด
    บาปเบานับไม่ถ้วนที่เป็นผลมาจากความเมินเฉยไม่เต็มใจของเรา, ความเฉื่อยชาและความไม่แยแสสนใจในความช่วยเหลือใดๆ ของพระเจ้า    ในที่สุดสิ่งเหล่านี้จะทำให้ความปรารถนาของเรายิ่งอ่อนแอลง และเราจะพบตัวเราเองว่า เราติดกับดักที่เราไม่อาจทำลายได้
    เราสามารถรับรู้ว่าความเกียจคร้านส่งผลร้ายต่อเราได้อย่างไรบ้าง    ก็เมื่อจิตใจของเราเฉยชาต่อเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตจิต; เมื่อเรามักจะเอื่อยเฉื่อย; เมื่อเรามักจะผัดวันประกันพรุ่งของเรา หรือ เมื่อเราชอบที่จะเลื่อนกำหนดการทำสิ่งต่างๆ ออกไปโอกาสหน้าเสมอๆ; เมื่อเรามักจะทำงานเรื่อยเปื่อยมีแต่เรื่องไร้สาระอันเป็นกิจกรรมประเภทหนึ่งที่เร่งเร้าเราให้วอกแวกและไม่ให้เวลาเข้าร่วมในสิ่งที่จิตวิญญาณของเราต้องการ; โดยการแสวงหาของเราต่อความสะดวกสบายฝ่ายร่างกาย; โดยการอยู่เฉยๆ อย่างไร้สาระ, หรือ การทำสิ่งที่ไม่ดีตลอดเวลา
    พยศชั่ว “เกียจคร้าน” ชักนำเราไปสู่การละเลยที่จะทำตามหน้าที่ของเราในสภาพที่เราเป็นอยู่    มันทำให้เราเลิกที่จะพยายามทำตามความตั้งใจของเรา    มันทำให้เรามีจิตใจหดหู่และเศร้าสร้อยเพราะเรารู้ว่าเราไม่สามารถใช้พระหรรษทานของเราได้มันทำให้เราทำสิ่งต่างๆ โดยทำไปบ่นไป, ทำแบบขัดข้องใจเพราะเราไม่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อในการเผื่อแผ่ของเรา    มันทำให้เรามีความโน้มเอียงที่จะชอบพูดมากเกินไปเพราะเราไม่ต้องการทำเป็นชิ้นเป็นอัน และดังนั้นเราจึงใช้พลังใจของเราอย่างไร้ประโยชน์และพูดผัดผ่อนหน่วงเวลาเรื่อยไป
    เรื่องราวของคนรับใช้ผู้เกียจคร้านในอุปมาเรื่องเงินตะลันด์ที่พระเยซูเจ้าตรัสสอนในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิวบทที่ 25 ข้อ 14-30 เตือนเราถึงอันตราย, ความไร้ประโยชน์และจุดจบของมัน คือ นรก
    รูปแบบใหญ่ของความเกียจคร้านมี 3 รูปแบบ คือ การทำงานในสิ่งที่ไม่จำเป็น     ซึ่งเป็นการอธิบายได้อย่างดีถึงเรื่องราวข้างต้นว่า เราทำตัวเราให้ไขว้เขวเราไปทำในสิ่งที่ไม่จำเป็น    จนทำให้เราไม่มีเวลาไปรับฟังเสียงของความสำนึกบาปผิด; การวอกแวก (distraction) และ การมีจิตใจเลื่อนลอย (spiritual melancholy)
    การวอกแวก ทำลายการไม่สำรวมตั้งใจในการสวดภาวนาของเรา    ทำให้เราจบกิจกรรมด้านจิตใจของเราโดยปราศจากความกระตือรือร้นและความตั้งใจ    และทำให้เราเต็มไปด้วยความเบื่อหน่ายจนกระทั่งเราเลื่อนสิ่งที่เราควรต้องกระทำออกไป    เราจะมองเห็นเพียงว่าหน้าที่ของเราเป็นภาระที่มากเกินจะรับได้ – ไม่ให้ความพิเศษมุ่งมั่นในการทำหน้าที่เพื่อพระเจ้าและเก็บสะสมบุญกุศลนิรันดรไว้ในสวรรค์
    การมีจิตใจเลื่อนลอย หรือ ความหดหู่ใจ เป็นความโมโหที่ซ่อนเร้นในตัวเราและเป็นความรักตัวเองประเภทหนึ่ง    ด้วยสิ่งนี้เราจะไม่มีความกล้าหาญที่จะทำลายข้อผิดพลาดและความไม่สมบูรณ์ของเรา  ด้วยนิสัยบาปของเรา และเราจะรู้สึกถึงความรู้สึกหมดอาลัยตายอยาก    นี่เป็นภาวะที่ทำให้เราเกิดการทะเลาะวิวาทและชอบโต้เถียง    ในการที่จะอยู่ให้ห่างจากความขัดแย้งในจิตใจของเราและความกระวนกระวายเราจะหันไปสร้างสรรค์และทำตัวเสมือนว่าถูกจองตัวไว้แล้วให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่ไม่มีความจำเป็นเลย    ขณะที่เรายังคงอยู่ในสภาพที่ไม่กระตือรือร้น การผัดวันประกันพรุ่ง และ การเฉยๆ หรือบาป
    จิตใจที่หดหู่ของเราทำให้ปีศาจมีอำนาจเหนือจิตใจของเราและเป็นสภาพของจิตใจที่ง่ายต่อการทำบาปที่ร้ายแรงหลายประการ    มันขัดขวางและทำให้ผลของศีลศักดิ์สิทธิ์อ่อนแอลง    มันทำให้เครื่องมือหลายประการของชีวิตจิตกลายเป็นพิษขึ้นมา    เราไม่สามารถพบพระเจ้าได้ และความไม่เป็นสุขของเราก็เพิ่มขึ้นโดยการที่เราไม่ทำอะไรจริงจังเลยในการค้นหาพระเจ้าในการแสวงหาการปลอบประโลมของพระองค์    พระประสงค์และพระเกียรติของพระเจ้ามิได้ส่งผลต่อเรามากเท่าที่เราปรารถนาและการถวายเกียรติของเรา    เป้าหมายของเรามิใช่พระเจ้าแล้วแต่เป็นความสุขทางใจของเรา หรือ ความเจริญก้าวหน้า: คือ “การแสวงหาเพียงตัวเอง” ด้านจิตใจนั่นเอง    เราได้สูญเสียการมองภาพถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของเราและหนทางที่เราจะเดินไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น
    คุณพ่อเฟเบอร์ได้พูดถึงสภาพจิตใจนี้ว่า “ความเศร้าเป็นความอ่อนแอทางจิตใจอย่างหนึ่ง คนที่มีจิตใจหดหู่ไม่สามารถเป็นได้มากกว่าคนที่พักฟื้นในบ้านของพระเจ้า    พระเจ้าจะทรงเฝ้ารอที่จะดูแลเขาเยี่ยงบุรุษพยาบาลมากกว่าที่เขาจะรอพระเจ้าดังที่พระองค์เป็นบิดาหรือกษัตริย์ . . .ไม่มีความบกพร่องทางศีลธรรมใดใหญ่ไปกว่าการเอาแต่บ่นว่าและความมีอารมณ์อ่อนไหว    เขาผู้ที่นอนราบลงกับพื้นราวกับว่ามันเป็นเตียงนอนคนป่วยที่น่าสงสาร, จิตใจที่อิดโรย, เขาจะทำอะไรเพื่อพระเจ้าได้?”
    ทุกวันนี้พยศชั่ว “เกียจคร้าน” มักจะอยู่ภายใต้ชื่อว่า “การหนีจากชีวิตจริง” (escapism)    ผู้ที่เป็นเหยื่อของความเกียจคร้านรับรู้ว่าเขาอยู่ในม่านหมอกทางจิตใจและอาจพยายามที่จะกล่าวโทษไปที่การแล้งน้ำใจ หรือ อ้างเหตุผลอื่นๆ เมื่อมันเป็น ความเกียจคร้านของจิตใจที่ทำลายความรัก
    เราอาจดิ้นรนในการดำเนินชีวิตของเราและไม่เคยรับรู้เลยว่าอะไรที่กีดกันเราจากความก้าวหน้าฝ่ายจิต นั่นก็คือ ความเกียจคร้านนั่นเอง    ไม่มีใครจะรับรู้เลยว่าเขาได้ห่างศีลศักดิ์สิทธิ์มากเพียงใดแล้ว? หรือขาดการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณและการรับศีลมหาสนิทเพราะความเกียจคร้าน    ไม่มีใครสามารถวินิจฉัยได้ว่าเมตตากิจทั้งด้านร่างกายและวิญญาณที่เราควรจะมีนั้นถูกปล่อยปละละเลยไปเพียงใดแล้วเพราะความเกียจคร้านนั้น แต่ที่แน่ๆ พยศชั่วนี้สร้างความเสียหายได้หลายรูปแบบมาก
    กระทั่งความคิดที่เกียจคร้านที่ทำให้เราละเลยการใช้สติปัญญาของเราในสิ่งที่มีประโยชน์หรือในงานที่สำคัญก็เสียหายไปด้วยเพราะว่าความคิดของเราที่ไม่อยากทำอะไรนั้นมีความโน้มเอียงไปทางปีศาจ และไม่มีอะไรที่จะหยุดยั้งการแพร่ขยายของมันได้.    ความคิดของเราจะถูกครอบงำด้วยความคิดต่างๆ ที่น่าตำหนิ ว่าร่างกายของเรานั้นยุ่งอยู่ หรือ การอยากอยู่เฉยๆ และ ความเฉื่อยชาอันอาจนำเราไปสู่สิ่งล่อใจอีกนับพันที่เราไม่อาจทนทานได้เพราะความอ่อนแอและความเกียจคร้านของจิตใจของเรา, การหลับใหลอยู่ในการอยู่เฉยๆ ของพยศชั่ว “เกียจคร้าน” นี้
    เราต้องขจัดความเกียจคร้านเพราะมันจะกีดกันเราจากการกระทำเพื่อการไถ่กู้เราให้รอดพ้น; เพราะมันคือต้นเหตุของบาปชั่วหลายประการ    ถ้าเรามิได้หว่านเมล็ดพันธุ์ใดเราก็จะเก็บเกี่ยวผลใดไม่ได้เลย    ชีวิตนี้สั้นนักและเวลาในการทำกิจกุศลเพื่อความสุขนิรันดรในสวรรค์นั้นช่างน้อยนิด    เราต้องปฏิบัติตามตัวอย่างขององค์พระเยซูเจ้าผู้ทรงได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ในสวรรค์ด้วยการทรงเหน็ดเหนื่อยและทุกข์ทรมานจากพระมหาทรมานและการถูกตรึงกางเขนของพระองค์    หากเราพลาดพลั้งในการที่จะสั่งสมกิจกุศลแล้วบุญกุศลในสวรรค์นิรันดรของเราก็จะยิ่งน้อยลงไปด้วย    หากเราพลาดพลั้งในการบรรลุถึงการไถ่กู้นิรันดรของเราแล้วท้ายที่สุดเราก็จะต้องไปรับความทุกข์นิรันดรในไฟนรก
    ความขยันหมั่นเพียรและความกระตือรือร้นในการทำงานเพื่อพระเจ้าและเพื่อคุณความดีในจิตใจนั้นเป็นคุณธรรมที่ตรงกันข้ามกับพยศชั่ว “เกียจคร้าน”    มันจะนำมาซึ่งความสะดวกสบายและความปิติยินดีในการทำหน้าที่ทางศาสนาของเราให้เสร็จสมบูรณ์    แสงสว่างของความเชื่อนั้นช่วยหล่อเลี้ยงได้ด้วยการทำคุณความดี    สิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยวนและบาปได้หลายประการ และ ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าเราจะมีความขยันหมั่นเพียรในที่สุด

การตอบโต้พยศชั่ว “เกียจคร้าน”
    ในการต่อสู้กับพยศชั่ว “เกียจคร้าน” นั้น    เราต้องใช้ความรุนแรงต่อสู้กับความโน้มเอียงที่จะนำไปสู่ความขี้เกียจ    และแสวงหาความช่วยเหลือในการภาวนาและศีลศักดิ์สิทธิ์    เราต้องจำไว้ว่าในวันแห่งการพิพากษานั้น การพิจารณาด้านจิตใจจะช่วยกระตุ้นเจตนาที่เอื่อยเฉื่อยของเรา    แต่เหนือไปกว่านั้นการสัตย์ซื่อต่อพระจิตเจ้าจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล    เพราะความกลัว การขาดความรัก ความโน้มเอียงที่จะเกียจคร้าน และพระจิตเจ้านั้นเป็นองค์แห่งความรัก เป็นแหล่งพลังสำหรับผู้ที่เราต้องไปแสวงหาทางแก้ไขสำหรับความเกียจคร้าน คือ ความรักของพระเจ้า    เราต้องวอนขอพระเจ้าได้โปรดหลั่งความรักของพระองค์ลงมาในจิตใจของเรา