แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การวางแผนอย่างรอบคอบในเรื่องเครื่องมือและสื่อช่วยสอนต่างๆ สำหรับกิจกรรมด้านการสอนคำสอน
283    ในกิจกรรมด้านการสอนคำสอน นอกจากจะมีเครื่องมือทั้งหลายที่ใช้ในการวางแนวทางปฏิบัติ  และการวางแผนงานทั่วไปเกี่ยวกับกิจกรรมด้านการสอน (การวิเคราะห์สถานการณ์  แผนการดำเนินงาน  คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน) แล้ว   ยังมีเครื่องมืออื่นๆที่ต้องใช้ร่วมด้วย  อันดับแรกต้องกล่าวถึง แบบเรียนคำสอน (CT 49)

ซึ่งจะอยู่ในมือของผู้เตรียมเป็นคริสตชนและบุคคลที่เรียนคำสอนโดยตรง  และสิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วยก็คือ คู่มือต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสอนคำสอน (catechetical Guides)  ทั้งสำหรับครูคำสอน และในกรณีการสอน คำสอนสำหรับเด็กก็สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองด้วย (GCD(1971) 121)  เครื่องมือทางโสตทัศนศึกษาก็มีความสำคัญในการสอนคำสอนด้วย  และควรมีการฝึกฝนใช้เครื่องมือเหล่านี้จนมีความรู้ดีเพียงพอ (อ้างถึง GCD(1971) 122)   หลักเกณฑ์พื้นฐานสำหรับเครื่องช่วยงานสอนคำสอนเหล่านี้คือ ความซื่อตรงสองส่วนที่มีต่อพระเป็นเจ้าและต่อมนุษย์  ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำหรับพระศาสนจักรทั้งหมด และสิ่งนี้หมายความว่า เครื่องช่วยงานสอนคำสอนต้องมีความสามารถที่จะรวมความซื่อสัตย์ต่อข้อคำสอนอย่างสมบูรณ์เข้ากับการปรับตัวให้เหมาะกับความต้องการของมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้ง  โดยการพิจารณาถึงจิตวิทยาในเรื่องวัย  และสถานการณ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่
    สรุปสั้นๆ ก็คือ เครื่องมือช่วยในการสอนคำสอนจะต้อง
    -  “เชื่อมโยงกับชีวิตจริงของคนในยุคที่เราสอน แสดงถึงความสัมพันธ์อย่างมากกับความกังวลและปัญหาการต่อสู้และความหวังของชีวิตคนในยุคนั้น” (CT 49b)
    - พยายาม “พูดอย่างมีประโยชน์กับคนยุคนี้” (CT 49b)
    -  “มุ่งหวังอย่างแท้จริงที่จะให้ผู้ที่ใช้เครื่องมือช่วยเหล่านี้ได้รับความรู้ในเรื่องพระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าดีขึ้น   เพื่อพวกเขาจะได้กลับใจอย่างแท้จริงและดำเนินชีวิตได้สอดคล้องกับน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้ายิ่งขึ้น” (CT 49b)