แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

063ฤทธิ์กุศล
     มนุษย์เราเมื่อพยายามชนะกิเลสเพื่อจะกระทำความดีและเจริญชีวิตตามน้ำพระทัย จะรู้สึกว่าการประพฤติอย่างถูกต้องลำบากและต้องสู้ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อจะสามารถเจริญชีวิตเป็นคนดีต้องมีกำลังใจหรือฤทธิ์ที่จะช่วยในการต่อสู้เพื่อจะชนะความชั่วและทำสิ่งที่ถูกต้อง ฤทธิ์กำลังนี้ หรือกำลังของเราจะเพิ่มขึ้นด้วย 2 ประการ คือ
1. ต้องฝึกหัดทำความดี การที่เราทำสิ่งที่ถูกเสมอๆ ช่วยให้เรารู้สึกว่าทำสิ่งที่ถูกต้องนั้นง่ายเหมือนกับเมื่อเราฝึกหัดทำงานและชำนาญแล้วจะรู้สึกว่าทำได้ง่าย ดังนั้นการกระทำสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่ดีอยู่เป็นนิตย์ให้เราเพิ่มกำลังใจเพื่อจะทำสิ่งถูกง่ายขึ้น เป็นวิธีตามธรรมชาติเพื่อจะเพิ่มพลังจิต เรียกว่าการสร้างฤทธิ์กุศล
2. สำหรับคริสตชน นอกจากวิธีนี้เรารู้จักวิธีหนึ่งคือขอกำลังใจและขอฤทธิ์อำนาจจากเบื้องบน อาศัยคำภาวนาและพิธีอันศักดิ์สิทธิ์

   เราคริสตชนรู้ว่ามีฤทธิ์กุศลบางชนิดซึ่งมาจากพระเจ้า โดยอาศัยพิธีศักดิ์สิทธิ์และเพิ่มขึ้นได้ด้วยคำภาวนา พิธีศักดิ์สิทธิ์และการฝึกหัดในทางที่ดีฤทธิ์กุศลสุดท้ายนี้ เรียกว่า ฤทธิ์กุศลเหนือธรรมชาติ เพราะตามธรรมชาติมนุษย์มีฤทธิ์กุศลเหล่านี้โดยตนเองไม่ได้ ฤทธิ์เหนือธรรมชาติที่เป็นหลักใหญ่มี 2 ประการ
1. ความเชื่อหรือความเลื่อมใสศรัทธา (คือรู้จักพระเจ้าและคำสอนของพระองค์ อาศัยวาจาที่พระองค์ไขแสดง)
2. ความหวัง (คือความไม่แน่ใจว่าอาศัยความช่วยเหลือของพระเจ้าเราจะสามารถรักพระเจ้าเหนือสรรพสิ่งและทำทุกอย่างเพื่อพระองค์)
     ฤทธิ์กุศลเหล่านี้มาจากพระเจ้า เรียกว่าฤทธิ์กุศลเหนือธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนสามารถให้ฤทธิ์กุศลนี้เพิ่มขึ้นในตัวเองได้ แต่อาศัยความพยายามและฝึกหัดขอความช่วยเหลือจากเบื้องบน
ฤทธิ์กุศลตามธรรมชาติที่เป็นหลักใหญ่มี 4 ประการ
1. ความรอบคอบ
2. ความยุติธรรม
3. ความอดทน
4. ความรู้จักประมาน
    ฤทธิ์กุศล 4 ประการนี้ เป็นหลักใหญ่ที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถประพฤติอย่างสมควรและทำสิ่งที่ถูกต้อง ฤทธิ์กุศล 4 ประการนี้เองช่วยให้เราสามารถดับทุกข์และเป็นหนทางให้มนุษย์เราเจริญชีวิตอย่างถูกต้อง ในพระพุทธศาสนา มีเบญจธรรมหลัก 5 ประการ คือ
1. เมตตากรุณา (ตรงกับยุติธรรมแก่ผู้อื่น)
2. สัมมาอาชีพ คือมีอาชีพที่สุจริต (ตรงกับประพฤติอย่างยุติธรรมและมีความอดทน)
3. มีความสังวรณ์ คือระวังใจ (ตรงกับความรอบคอบและความอดทน)
4. มีสัจจะ คือมีความจริงเป็นหลัก (ตรงกับความยุติธรรมและความอดทน)
5. มีสติสัมปชัญญะ (ตรงกับความรอบคอบ)
     เราเห็นว่าในพระพุทธศาสนามีคำสอนเกี่ยวกับฤทธิ์กุศลตามธรรมชาติ ตรงกับคำสอนในคริสต์ศาสนาแม้แต่จะมีวิธีอธิบายเป็นคนละอย่าง ฤทธิ์กุศลตามธรรมชาตินี้เป็นหลักสำคัญของมนุษย์ หากปราศจากฤทธิ์กุศลเหล่านี้ไม่มีทางที่จะเป็นคนดีไปได้และไม่มีทางที่จะเป็นคริสตชนที่ดี หากว่าคริสตชนไม่รักษาฤทธิ์กุศลเหล่านี้ทีละเล็กทีละน้อย แม้แต่ฤทธิ์กุศลเหนือธรรมชาติก็จะสูญหาย และฤทธิ์กุศลเหนือธรรมชาติมีหลายประการตามที่ได้อธิบายข้างบนเป็นหลักใหญ่ๆ ซึ่งเป็นเหมือนรากของฤทธิ์กุศลอื่น ๆ เท่านั้น กำลังใจที่มีมาจากฤทธิ์กุศลเหล่านี้จะช่วยให้มนุษย์เป็นนายตัวเอง รู้จักบังคับตัวและทำสิ่งที่ถูก จึงให้คริสตชนสามารถถือตามพระบัญญัติของพระเจ้าทุกประการได้

 

ที่มา: หนังสือความสว่างที่แท้จริง ซึ่งนำไปสู่ความรอด เล่ม 3