กิเลส
เราต้องเข้าใจว่าหลายครั้งกิเลสบังความเข้าใจของมนุษย์และทำลายน้ำใจซึ่งทำให้บุคคลนั้นสามารถทำสิ่งที่ดี ความเห็นแก่ตัวมีเสมอ แต่ความรักของตนเองอย่างแท้จริง (เพื่อสร้างความสุขความดีของตน) หลายครั้งทีเดียวสูญหาย และทำตามความชอบใจชั่วคราวตามกิเลส แม้แต่รู้ตัวว่าการกระทำเช่นนั้นทำลายความสุขความดีของตนเอง นำความทุกข์ตรงการลงโทษและความพินาศ
กิเลสของมนุษย์มาจากความรู้สึกตามธรรมชาติ ความรู้สึกตามธรรมชาตินั้นมีอยู่ในตัวของเราและเป็นความรู้สึกอย่างแรงกล้า ซึ่งก็เป็นหลักที่ดีเพื่อจะให้มีกำลังใจและกำลังกายในการกระทำสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตปัจจุบันหรือเพื่อหนีอันตราย แต่ถ้าความรู้สึกอันแรงกล้านี้ เป็นความรู้สึกฝ่ายเนื้อหนังปราศจากความคิด ก็เหมือนกับความรู้สึกของสัตว์ มนุษย์มีสติปัญญาเพื่อที่จะบังคับความรู้สึกอันแรงกล้านี้ไม่ให้เกินขนาดและไม่ทำลายความดี แทนที่จะช่วยรักษาความดีไว้เมื่อความรู้สึกแรงกล้านี้ได้เอาชนะใจมันไม่อนุญาตให้สติปัญญาบังคับบัญชาได้แล้ว และให้บุคคลปราศจากความคิดเห็นถูกต้อง เรียกว่า
กิเลสตัณหา
กิเลสนั้นมีหลายอย่างตามปรัชญาตะวันตก รากของกิเลสต่าง ๆ มี 7 ประการ :
1. การตั้งตัวเป็นใหญ่กว่าสรรพสิ่ง
2. ความมักได้ (ความโลภ อยากได้)
3. ความปรารถนาฝ่ายเนื้อหนัง (หรือการไม่บังคับตัวในการแสวงหาสิ่งที่สนุกในเรื่องเพศ)
4. ความโกรธเคือง
5. ความโลภอาหาร
6. ความอิจฉา
7. ความเกียจคร้าน
กิเลส 7 ประการนี้ เรียกว่าเป็นรากของความผิดทุกประการ เพราะการที่มนุษย์ทำผิดก็เป็นผลร้ายจากความรู้สึก 7 ประการนี้ เมื่อตั้งตัวเป็นใหญ่กว่าสรรพสิ่งความรักของตนเองก็เสียไปกลายเป็นความเห็นแก่ตัว เพื่อจะรักตนเองอย่างถูกต้องเราต้องยอมรับสภาพความเป็นอยู่ของตนเอง รู้ว่ามีขอบเขต ในเมื่อไม่ยอมรับขอบเขตของตนเองและเห็นแก่ตน สำคัญตัวเองว่าใหญ่กว่าทั้งหมด เท่ากับตั้งตนเองเป็นพระเจ้า ความคิดเช่นนี้ก็จะนำไปสู่ความผิดทุกประการ
พระพุทธศาสนาอธิบายทางไปสู่ความพินาศ ซึ่งเป็นรากฐานแห่งความชั่วเหมือนกัน เรียกว่าอบายมุข 6 ประการ
1. ดื่มน้ำเมา (คู่กับข้อ 5 โลภอาหาร)
2. เที่ยวกลางคืนซึ่งเป็นเหตุให้เป็นนักเลงหญิงด้วย (คู่กับข้อ 3 ความปรารถนาฝ่ายเนื้อหนัง)
3. เที่ยวดูการเล่น (คู่กับข้อ 3 ความปรารถนาฝ่ายเนื้อหนัง)
4. เล่นการพนัน (คู่กับข้อ 2 ความมักได้, ความโลภอยากได้)
5. คบคนชั่วเป็นมิตร
6. เกียจคร้านการงาน (คู่กับข้อ 7 ความเกียจคร้าน)
มนุษย์ทุกคนอยู่ในอันตรายที่จะให้อบายมุขชั่วเหล่านี้ครอบงำตนเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องรู้จักบังคับตัวเองเพื่อจะชนะความรู้สึกที่ไม่ดีเหล่านี้ “ใครมีสติปัญญาทำอะไรก็ต้องมีจุดประสงค์ พระเจ้าสร้างสิ่งนานาประการ พระองค์เป็นผู้มีสติปัญญาสูงสุด ทุกสิ่งที่พระองค์สร้างมาต้องมีจุดประสงค์”
ที่มา: หนังสือความสว่างที่แท้จริง ซึ่งนำไปสู่ความรอด เล่ม 3