แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

7 คำถาม 7 ข้อสังเกต 

พิธีกรรมวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

เนื้อหา : คุณพ่ออนุสรณ์ แก้วขจร

 

1. ทำไมจึงกำหนดเวลาเป็น “บ่ายสามโมง” 

ปัจจุบัน ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ วัดแต่ละแห่งจะมีพิธีกรรมสำคัญในเวลาที่เอื้ออำนวยให้สัตบุรุษมาร่วมได้สะดวก จึงมักเป็นเวลาค่ำ ซึ่งถือเป็นเหตุผลเพื่อการอภิบาลที่เหมาะสม   อย่างไรก็ตาม ที่กรุงโรม จะมีพิธีระลึกถึงพระมหาทรมานนี้ ในเวลา "บ่ายสามโมง"  และบางวัดก็มีพิธีกรรมนี้ เวลา "บ่ายสามโมง"   เช่นกัน   มีคำอธิบายว่า ที่กำหนดเวลา "บ่ายสามโมง"   ก็เพราะเป็นเวลาที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ นักบุญลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร  ได้ระบุเวลาไว้เช่นนั้น  คือเวลาบ่ายสามโมง  (ลก 23:44)  "...ม่านในพระวิหารฉีกขาด...  พระเยซูเจ้าทรงร้องเสียงดัง..... แล้วก็สิ้นพระชนม์"   นี่คือเรื่องราวที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์  แต่บ่อยครั้ง พระคัมภีร์ก็ใช้สัญลักษณ์   เพื่อการอธิบายสิ่งที่ลึกซึ้งกว่า  นั่นก็คือ ทำไมต้องเป็น "บ่ายสามโมง"

ในสมัยของพระเยซู  ที่พระวิหาร  ทุกเย็นจะมีการประกอบศาสนกิจ  มีการสวดและถวายเครื่องบูชายามเย็น ซึ่งมีหลายอย่าง รวมทั้งแกะ    ไม่ไกลจากพระวิหาร มีสถานที่ที่ใช้สำหรับเตรียมเครื่องบูชา คือเตรียม "ฆ่าแกะ"  และเวลาที่เขาจะฆ่าแกะ ก็คือเวลา "บ่ายสามโมง" นักบุญลูกาใช้เวลา "บ่ายสามโมง"  เป็นสัญลักษณ์เพื่อเน้นว่า  พระเยซูเจ้า คือ "ลูกแกะ" ที่ถูกฆ่า ทรงหลั่งโลหิตเพื่อไถ่บาปเรา

 

2. วันนี้ ทำไมพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีจึงกาสุลาสีแดง

วันนี้ เราระลึกถึงพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า รวมถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ บางคนจึงเรียกกันติดปากว่า วันนี้ คือ  "วันพระตาย"  คริสตชนบางคนจึงมักสวมชุดสีดำมาร่วมพิธีกรรมในวันนี้   แต่เหตุใด ประธานและพระสงฆ์ที่ร่วมประกอบพิธีกรรมจึงสวมอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์  "สีแดง"

หากเราย้อนกลับไปก่อนสังคายนาวาติกันที่ 2 ไม่ใช่แค่สัตบุรุษที่สวมชุดสีดำในวันนี้ เพราะพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีก็สวมอาภรณ์พิธีกรรมสีดำเช่นกัน   ต่อมาภายหลังคือหลังสังคายนาวาติกันที่ 2  มีการกำหนดสีอาภรณ์พิธีกรรมวันนี้ เป็นสีแดง    ทำให้คิดถึง “ลูกแกะที่ถูกฆ่า”  คิดถึงการมอบชีวิตของบรรดาอัครสาวก และมรณสักขี ซึ่งล้วนได้รับแบบอย่างและแรงบันดาลใจจากองค์พระเยซูเจ้า ผู้ทรงยอมตายเพื่อไถ่บาปเรามนุษย์   

นอกจากนี้ ในทางพิธีกรรม สีของอาภรณ์ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของชาวโรมัน   สีแดงสำหรับชาวโรมัน เป็นสีของ "กษัตริย์"     วันอาทิตย์ใบลาน  พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่าแบบที่ทรงเป็นกษัตริย์   วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน     ด้วยข้อกล่าวหาว่าทรงอ้างตนเป็นกษัตริย์ (ซึ่งพระองค์ก็ทรงเป็นกษัตริย์จริง)  ที่กางเขน จึงมีข้อความติดไว้ว่า “เยซู ชาวนาซาเร็ธ กษัตริย์ของชาวยิว”               

 

3. ทำไมประธานจึงนอนหมอบราบที่หน้าพระแท่น

พิธีกรรมวันนี้  ตอนเริ่มพิธี จะไม่มีเสียงเพลง   แต่จะเริ่มด้วยความเงียบ แล้วประธานจะมานอนหมอบราบที่หน้าพระแท่น (หรืออาจจะคุกเข่าแทนก็ได้) การนอนหมอบราบที่หน้าพระแท่นนี้  หมายถึง "การมอบชีวิตทั้งสิ้นแด่พระเจ้า”  และในวันนี้ พระเยซูเจ้าก็ได้ทรงมอบชีวิตแด่พระบิดาเพื่อไถ่บาปเรา เราจะเห็นการหมอบราบนี้เช่นกันในพิธีบวช ทั้งบวชสังฆานุกร พระสงฆ์   และพระสังฆราช 

 

4. ทำไมจึงอ่านบทพระทรมานตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น

เมื่อวันอาทิตย์ใบลาน วันเริ่มต้นสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์  เราได้รับฟังบทพระทรมานกันแล้ว   วันนี้ เราจะมารับฟังกันอีกครั้ง  แต่จะเป็นบทพระทรมานตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น   ทั้งวันอาทิตย์ใบลาน และวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ ต่างเป็นวันที่ระลึกถึงพระทรมานของพระเยซูเจ้า สำหรับการกำหนดให้วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ อ่านบทพระทรมานที่เฉพาะเจาะจงเป็นของนักบุญยอห์นนั้น ก็เพราะเรื่องราวในพระวรสารของผู้บันทึก 3 ท่าน คือ มัทธิว มาร์โก และลูกา จะคล้าย ๆ กัน  ส่วนของนักบุญยอห์นจะแตกต่างไป  ที่ว่าแตกต่างไปนั้น หากเราฟังอย่างตั้งใจ เราจะพบว่า นักบุญยอห์นมุ่งชี้ให้เรามองเห็นท่าทีอันโลเล หวั่นไหว เพราะตกอยู่ในการผจญทั้งของยูดาส ปิลาต เปโตร ฯลฯ ในขณะที่พระเยซูไม่ทรงหวั่นไหว  นักบุญยอห์นต้องการเน้น "ความเป็นพระเจ้า" (Divinity) ของพระเยซู      เมื่อฟังพระทรมานฯ ตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น  เราจึงทั้งรู้สึกและเข้าใจได้ว่า เรื่องราวบนไม้กางเขนจึงไม่ใช่ความพ่ายแพ้ หากแต่เป็นชัยชนะ   ไม่ใช่เพียงความโศกเศร้าอาดูร แต่เป็นความปลื้มปิติในความรัก ในความยิ่งใหญ่ของพระเยซู  ผู้เป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้.   (พระทรมานฯ ตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว, มาร์โก และลูกา จะอ่านในวันอาทิตย์ใบลาน เรียงกันไปแต่ละปี)

 

5. บทภาวนาเพื่อมวลชนมีความพิเศษอย่างไร

บทภาวนาเพื่อมวลชนในวันนี้มีความพิเศษจริง ๆ   มีหลายข้อ มีทั้งบทสวด และการบอกจุดประสงค์ของแต่ละข้อ  สลับกับการนิ่งเงียบ หรือการคุกเข่า ต้องถือว่านี่คือรูปแบบการภาวนาเพื่อมวลชนของคริสตชนแบบดั้งเดิมที่ยังเก็บรูปแบบการภาวนาแบบนี้ไว้ในวันอันแสนพิเศษ คือในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์     เนื้อหาแต่ละข้อกำหนดไว้ให้เราได้สวด ได้คิดถึงพระศาสนจักรอย่างเฉพาะเจาะจง และยังเพื่อสังคมส่วนรวม อย่างไรก็ตาม สามารถตัด และเพิ่มได้ตามที่เห็นเหมาะสม     มีการหยุดรำพึง เป็นจังหวะ เป็นข้อ ๆ  ให้ที่ชุมนุมได้มีส่วนร่วมในการภาวนานี้ ทั้งด้วยความเงียบ และการคุกเข่า

 

6. ทำไมจึงมีกางเขนเพียงหนึ่งเดียว

หัวใจสำคัญของพิธีในวันนี้ คือการนมัสการกางเขน และเป็นกางเขนที่มีพระเยซูถูกตรึงอยู่  ดังที่หนังสือคู่มือการฉลองพิธีกรรมได้แนะนำไว้ ว่าควรเป็นกางเขนที่มีขนาดใหญ่พอให้ประชาสัตบุรุษมองเห็น และควรมีรูปพระเยซูถูกตรึงอยู่ (Crucifix Cross)  เพื่อเวลาที่เข้ามานมัสการ ประชาสัตบุรุษจะได้สัมผัสพระหัตถ์และพระบาทของพระเยซูเจ้า   พิธีกรรมแนะนำอย่างแข็งขันว่าให้มีกางเขนเดียว เพื่อความเป็นหนึ่ง   :   กางเขนหนึ่งเดียวที่รวมใจสัตบุรุษเป็นหนึ่งเดียวกัน

 

7.วันนี้ไม่มีมิสซาแต่ทำไมยังมีการรับศีลมหาสนิท

ต้องย้อนกลับไปเมื่อวานตอนค่ำ ที่มีมิสซาระลึกถึงการเลี้ยงของพระเยซูเจ้า ซึ่งก็คือการฉลองการตั้งศีลมหาสนิท   เหตุการณ์ที่โต๊ะอาหาร ที่พระองค์ตรัสว่า  "นี่คือกายของเรา นี่คือถ้วยโลหิตของเรา.. ที่จะมอบเพื่อท่าน.." นั้น เชื่อมโยงอย่างแนบแน่น และสมบูรณ์ ด้วยเหตุการณ์บนไม้กางเขน   พิธีกรรมสองวันนี้ จึงต่อเนื่องกันมิสซาคืนวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

พระสงฆ์จึงเสกแผ่นปังเผื่อไว้สำหรับให้พี่น้องสัตบุรุษได้รับในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์  และการรับศีลหลังการฟังพระทรมาน หลังการนมัสการไม้กางเขนทำให้เรามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับธรรมล้ำลึกนี้ คือ  พระองค์ได้มอบชีวิตแก่เรา และเราได้รับพระองค์มาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ ประกอบด้วย คำอธิบายพระบัญญัติ 10 ประการ (แบบรูปภาพ) วีดีทัศน์ พระบัญญัติ 10 ประการ หนังสือ ชวนกันอ่าน พระบัญญัติ...
สื่อคำสอน เรื่องศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อคำสอน เรื่องศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมกิจกรรมที่ 1 ใบความรู้ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม (แตะที่รูปหนังสือ ท่านก็จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ)กิจกรรมที่ 2 เกมจับคู่ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมกิจกรรมที่ 3 เกมค้นหาคำ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ E-book ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 2 แบบทดสอบออนไลน์ ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 3...

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:16-20) เวลานั้น เมื่อพระเยซูเจ้าทรงล้างเท้าบรรดาอัครสาวกแล้ว พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้รับใช้ย่อมไม่เป็นใหญ่กว่านายของตน ผู้ถูกส่งไปย่อมไม่เป็นใหญ่กว่าผู้ที่ส่งเขาไป บัดนี้ ท่านรู้เรื่องนี้แล้ว ถ้าท่านปฏิบัติตาม ท่านย่อมเป็นสุข เราไม่พูดเช่นนี้เพื่อท่านทุกคน เรารู้จักผู้ที่เราเลือกไว้แล้ว...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมัทธีอัส อัครสาวก) บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 15:9-17) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “พระบิดาของเราทรงรักเราอย่างไร เราก็รักท่านทั้งหลายอย่างนั้น จงดำรงอยู่ในความรักของเราเถิด ถ้าท่านปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา ท่านก็จะดำรงอยู่ในความรักของเรา เหมือนกับที่เราปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระบิดาของเรา และดำรงอยู่ในความรักของพระองค์ เราบอกเรื่องเหล่านี้แก่ท่านทั้งหลายแล้ว...

ประชาสัมพันธ์

ประมวลภาพกิจกรรม

เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1/2025
เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1/2025
🎉 เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1 🎉 วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2025 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมกับโรงเรียนแม่พระฟาติมา ดินแดง จัดโครงการ เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1 หัวข้อ “สอนคำสอนอย่างไรให้สนุก จะไม่ทุกข์ถ้ามีสื่อ” ณ...
พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 2025
พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 2025
🎊✨️ พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 🎊✨️ ค่ำคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ 19 เมษายน 2025 เป็นวันที่สำคัญและเป็นช่วงเวลาพิเศษ ของบรรดาผู้เตรียมเป็นคริสตชน ตลอดระยะเวลา 8-10 เดือน ที่ได้มาเรียนคำสอน ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ และผ่านพิธีต่างๆ ของกระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน ไม่ว่าจะเป็นพิธีต้อนรับ พิธีเลือกสรร พิธีพิจารณาความตั้งใจ พิธีเอฟฟาธา...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

322. สังคมหรือปัจเจกชนสำคัญกว่ากัน ในสายพระเนตรของพระเจ้าทุกบุคคลมีความสำคัญในอันดับแรกในฐานะบุคคล ดังนั้นแล้วจึงเป็นสังคม (1881-1892) สังคมไม่สามารถสำคัญมากกว่าปัจเจกบุคคล มนุษย์อาจจะไม่มีความหมายต่อสังคมที่สิ้นสุดลง ถึงแม้สถาบันทางสังคม เช่น รัฐบาลและครอบครัวมีความจำเป็นสำหรับปัจเจกชน...
321. คริสตชนสามารถเป็นปัจเจกชนอย่างถอนรากถอนโคน หรือไม่ ไม่ คริสตชนไม่เคยเป็นปัจเจกชนอย่างถอนรากถอนโคน เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นถูกเตรียมไว้เพื่อมิตรภาพ (1877-1880, 1890-1891) ทุกบุคคลมีแม่และพ่อ เขารับความช่วยเหลือจากผู้อื่น...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

เพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 81 # II. “เพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย” (678-679) ในเรื่องการพิพากษาครั้งสุดท้าย พระเยซูเจ้าได้สอนประชาชนว่า จะมีวันหนึ่งที่พระองค์จะมาพิพากษาทุกคน ทั้งคนที่มีชีวิตอยู่และคนที่เสียชีวิตไปแล้ว...
แล้วจะเสด็จมาพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 80 # ตอนที่ 7 “แล้วจะเสด็จมาพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย” I. “พระองค์จะเสด็จมาอีกอย่างรุ่งโรจน์” (668-677) หลังจากที่พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์และฟื้นคืนพระชนม์ชีพ...

ประวัตินักบุญ

13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา
13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา (Our Lady of Fatima) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1917 ซึ่งอยู่ในช่วงปีที่ 3 ของสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งสงครามโลกครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปถึงแปดล้านคน)...
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร (St Joseph the Worker, memorial) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สมาคมของบรรดากรรมกรคาทอลิกอิตาเลียน...

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Don't be afraid

Facebook CCBKK

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

คู่มือแนะแนวในการสอนคำสอน

ปก คู่มือแนะแนว

คู่มือเตรียมรับศีลมหาสนิท แบบที่ 1-2

ปก แบบที่ 2 01

ครอบครัว บ่อเกิดแห่งความเชื่อ

F cover fmaily

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
7515
21672
105659
347716
944464
42800030
Your IP: 3.143.170.30
2025-05-15 07:26

สถานะการเยี่ยมชม

มี 265 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์