แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ไม้กางเขน (Cross)
cross-3กางเขน เป็น เครื่องหมายแห่งความรัก     ประกอบด้วยไม้ 2 ชิ้น ไขว้กัน ในลักษณะ ไม้ตั้งและไม้นอน
ไม้ตั้ง หมายถึง ความรักของพระเจ้าที่ลงมายังมนุษย์ และความรักของมนุษย์ขึ้นไปหาพระเจ้า    
ไม้นอน หมายถึง ความรักของมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน
ไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ พระเยซูเจ้าที่สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนซึ่งทรงเป็น “มนุษย์ – พระ” (God-man) ที่แสดงความรักทั้งสองแบบอย่างสมบูรณ์ที่สุด

ไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์แห่งการไถ่กู้มนุษย์ให้พ้นจากบาปและความตาย  การถวายบูชาของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขนของพระเยซูเจ้าเป็นการชดเชยบาปของมนุษย์ด้วยความสมัครพระทัย  โดยทรงนอบน้อมเชื่อฟัง
พระบิดาด้วยความรักเต็มเปี่ยมจนสิ้นพระชนม์ ความรัก “จนถึงที่สุด” (ยน.13.1) ของพระบุตรแห่งพระเจ้าต่อพระประสงค์นี้ ทำให้มนุษยชาติทั้งหมดคืนดีกับพระบิดา  
 ไม้กางเขนของพระเยซูเจ้าชนะปีศาจ (ยน.12.31) การขับไล่ปีศาจเป็นการประกาศว่า “พระเยซูเจ้าทรงแสดงให้เห็นถึงพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ผ่านทางไม้กางเขน” และคาดหวังถึงการกลับคืนพระชนมชีพและของสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ที่จะมาถึงที่ “จะทรงเปลี่ยนรูปร่างอันต่ำต้อยของเราให้เหมือนพระกายอันรุ่งโรจน์ของพระองค์” (ฟป.3.21)
การถวายบูชาปัสกาของพระคริสตเจ้าจึงเป็นค่าไถ่มนุษย์ที่เป็นหนึ่งเดียว สมบูรณ์แน่นอน และเปิดทางให้มนุษย์เข้าสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้า
พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์เพื่อให้มนุษย์ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นความรักที่สมบูรณ์ของคริสตชนด้วยการสนิทสัมพันธ์กับพระเยซูเจ้า นี่คือ หนทางสู่การเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์หลังจากการผ่านทางแห่งไม้กางเขน เขาก็จะพบกับความสมบูรณ์ในการกลับคืนชีพ
เนื่องจากพระเยซูเจ้าทรงมอบพันธกิจการไถ่มนุษยชาติให้รอดแก่เราว่า “ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำพิธีล้างบาปให้เขา เดชะพระนามพระบิดา พระบุตรและพระจิต” (มธ.28.19) คริสตชนทำเครื่องหมายสำคัญมหากางเขน      โดยยกมือขวาขึ้น แล้วใช้นิ้วกลางแตะที่หน้าผาก (พระบิดาผู้ประทานสติปัญญาแก่เรา) แตะที่หน้าอก (พระบุตร องค์แห่งความรัก) เป็นไม้กางเขนแนวตั้ง และจากหัวไหล่ซ้าย มาทางหัวไหล่ขวา (พระจิตประทานพละกำลังแก่เรา) เป็นไม้กางเขนแนวขวาง