แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako
การรักษาบาดแผลในความทรงจำ (Healing of Memories)

broken_heart_480x360เมื่อเราเจ็บปวด  ความเจ็บปวดจะทิ้งบาดแผลทางจิตใจไว้ให้เรา  และบาดแผลนี้จะหายก็ต่อเมื่อฉันให้อภัยผู้ที่ทำร้ายจิตใจฉัน  ดังที่พระคริสตเจ้าทรงรักเขา 
  • ฉันสามารถมอบการอภัยอันเป็นการเยียวยาของพระคริสต์แก่ผู้ที่ทำให้ฉันเจ็บปวดได้  และในทางกลับกัน  ฉันก็จะได้รับการรักษาและการอภัยโทษสำหรับการปล่อยให้ตัวเองต้องบาดเจ็บ  ห่างเหินและไม่สามารถสัมพันธ์กันได้
ข้อความจากพระคัมภีร์
มธ 6:12 โปรดให้อภัยความผิดของข้าพเจ้าทั้งหลายเหมือนที่ข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้ทำผิดต่อข้าพเจ้าทั้งหลาย
มธ 6:14-15 เพราะว่า  ถ้าท่านให้อภัยความผิดแก่ผู้อื่น   พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ก็จะทรงให้อภัยความผิดของท่านด้วย แต่ถ้าท่านไม่ให้อภัยความผิดแก่ผู้อื่น  พระบิดาของท่านก็จะไม่ทรงให้อภัยความผิดของท่านเช่นกัน
บสร 28:2 จงยกโทษให้ผู้ที่ทำผิดต่อท่าน แล้วบาปของท่านก็จะได้รับการอภัยบาปเมื่อท่านวิงวอน
ยก 5:15 การอธิษฐานด้วยความเชื่อจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต   และองค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงโปรดให้เขาหายจากโรค  และถ้าเขาได้กระทำบาป พระองค์ก็จะทรงโปรดอภัยให้
1 ยน 5:16 ถ้าผู้ใดเห็นพี่น้องของตนกระทำบาปอย่างหนึ่งอย่างใดที่ไม่นำไปสู่ความตาย ผู้นั้นจงทูลขอและพระองค์ก็จะทรงประทานชีวิตแก่ผู้ที่ได้กระทำบาปซึ่งไม่ได้นำไปสู่ความตาย
มธ 18:21-22    เปโตรเข้ามาทูลถามพระเยซูเจ้าว่า “พระเจ้าข้า ถ้าพี่น้องทำผิดต่อข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าต้องยกโทษให้เขาสักกี่ครั้ง  ถึงเจ็ดครั้งหรือไม่”  พระเยซูตรัสตอบว่า “เราไม่ได้บอกท่านว่าต้องยกโทษให้เจ็ดครั้ง  แต่ต้องยกโทษให้เจ็ดคูณเจ็ดสิบครั้ง”
มก 11:25 ขณะที่ท่านยืนอธิษฐานภาวนา  จงให้อภัยถ้าท่านมีเรื่องบาดหมางกับผู้ใด  เพื่อว่าพระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตบนสวรรค์จะทรงอภัยความผิดให้ท่านด้วย
คส 3:12-15 องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงโปรดยกโทษให้ท่านฉันใด ท่านจงกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน

วิธีการรักษา
•    จงสำรวมตนเฉพาะพระพักตร์พระเยซูเจ้าขณะถูกตรึงบนกางเขน  ถามพระองค์ผู้ประทับอยู่ภายในคุณถึงเวลาที่พระองค์ถูกผู้อื่นทำร้าย  เพื่อจะได้ทราบถึงจิตใจของพระองค์  และเราจะได้สามารถกล่าวดังที่พระองค์ตรัสได้ว่า “พระบิดาเจ้าข้า  โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด  เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร” ( ลก 23: 34)
•    ระลึกถึงเวลาที่คุณถูกทำร้าย 
วิธีการนี้อาจช่วยรักษาความทรงจำของคุณ อันเป็นการเอาใจใส่ชีวิตของคุณในแต่ละปี  หรือคนอื่นๆ เช่น ครอบครัว  เพื่อนๆ  บุคคลที่สัมพันธ์กับชีวิตของคุณ  คนในวัยเดียวกัน  นักศึกษา  หรือสถานที่ต่างๆ ที่คุณอยู่ หรือในทุกๆ เหตุการณ์ที่คุณนึกถึงคำเหล่านี้ เช่น ร้องไห้  โดดเดี่ยว  นินทา  ถูกตี  โกรธ  ทะเลาะกัน  กลัว  ถูกหลอก  ถูกยั่ว  ความอกตัญญู  การพูดโกหก  ความเจ็บป่วย  การถูกทอดทิ้ง  ได้รับความอับอาย  เป็นต้น