แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako
วันฉลองบังคับ
1.    วันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันของพระเป็นเจ้า ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์แรก
2.    วันสมโภชพระคริสตสมภพ (25 ธันวาคม)
3.    วันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ (6 มกราคม)
4.    วันสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ (อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา)
5.    วันสมโภชพระกายพระโลหิตพระคริสตเจ้า (อาทิตย์หลังฉลองพระจิต)
6.    วันสมโภชพระนางมารีย์พระชนนีพระเป็นเจ้า (1 มกราคม)
7.    วันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล ((8 ธันวาคม)
8.    วันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (15 สิงหาคม)
9.    วันสมโภชนักบุญยอแซฟ (19 มีนาคม)
10.    วันสมโภชนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล (29 มิถุนายน)
11.    วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (1 พฤศจิกายน)
วันสมโภชต่าง ๆ ที่ถือเป็นวันบังคับนี้ ยกเว้นวันสมโภชพระคริสตสมภพ ซึ่งจะสมโภชตรงวัน ส่วนวันสมโภชอื่น ๆ อาจเลื่อนไปวันอาทิตย์ถัดไปก็ได้  (มาตรา 1246)
-    คริสตชนต้องเข้าร่วมส่วนในพิธีบูชาขอบพระคุณ และต้องละเว้นจากการทำงานหรือธุรกิจที่อาจขัดขวางไม่ให้มานมัสการพระ
-    อนุโลมให้มาวันก่อนวันอาทิตย์แทนได้ หลัง 5 โมงเย็น ถือเป็นอีกวันหนึ่งหรือหากิจการอื่น ๆ ชดเชย เช่น ภาวนา
-    วันชดเชยใช้โทษบาป เพื่อ
1.    การภาวนา
2.    การปฏิบัติกิจเมตตาปรานีและความรัก
3.    การเสียสละตนเอง
4.    การอดอาหาร
-    วันชดเชยใช้โทษบาปคือ ทุกวันศุกร์ตลอดปี และวันในเทศกาลมหาพรต
-    การอดเนื้อและอาหารอื่น ๆ บางอย่างต้องถือตามในทุกๆ วันศุกร์
-    วันพุธรับเถ้าและวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ให้อดอาหาร (มาตรา 1251)
-    ผู้ที่มีอายุครบ 14 ปีบริบูรณ์ (ขึ้นปีที่ 15) จะต้องอดเนื้อ
-    เฉพาะผู้ที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์  จนถึง 59  ปีบริบูรณ์ต้องอดอาหาร (มาตรา 1252)
-    การอดอาหาร หมายถึง การรับประทานอาหารอิ่มเพียงมื้อเดียว

เปลี่ยนวันฉลอง
-    ฉลองพระตรีเอกภาพ
-    ฉลองพระจิตเสด็จมา
-    พฤหัสหลังฉลองพระจิต ฉลองพระวรกายและพระโลหิตของพระเยซูเจ้า (ศต. 3)
-    ศุกร์ที่ 3 หลังฉลองพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า (ศต.9)
-    อาทิตย์สุดท้าย (34) ฉลองพระเยซูเจ้า กษัตริย์แห่งสากลจักรวาล (ศต.20)
วันฉลองที่ไม่เปลี่ยนวันที่
-    2 ก.พ. - ฉลองพระเยซูเจ้าถวายตนในพระวิหาร (มีการเสกเทียน จุดเทียน ระลึกถึงที่ซีเมโอนพูดในวันนั้น) "แสงสว่าง"
-    6 ส.ค. - ฉลองพระเยซูเจ้า ประจักษ์พระวรกาย (ศตวรรษที่ 15)
-    14 ก.ย. - เทิดทูนกางเขนของพระเยซูเจ้า (ศตวรรษที่ 17)
-    9 พ.ย. - ฉลองอภิเษกพระวิหารลาเตรัน (ศตวรรษที่ 16)

วันอาทิตย์
- ปี A    ใช้พระวรสารนักบุญมัทธิว
- ปี B    ใช้พระวรสารนักบุญมารโก
- ปี C    ใช้พระวรสารนักบุญลูกา
-    วันอาทิตย์ที่ 17-21 จะใช้พระวรสารของนักบุญยอห์น (เพราะลูกาสั้นไป)
-    บทอ่านที่ 1     - มาจากพันธสัญญาเดิมและความหมายเกี่ยวกับพระวรสารด้วย
-    บทอ่านที่ 2      - จากเปาโลหรือสาวกทั้งหลาย ใช้เวลา 3 ปีในการอ่านทั้งหมด
-    ไม่กี่ครั้งที่ทั้ง 3 บทเกี่ยวเนื่องกัน
-    บทเริ่มขอบพระคุณมี 8 บท อย่างน้อย 6 บท พูดถึงวันฉลองปัสกา

วันธรรมดา - วันเสาร์
-    อ่านพระวรสารทั้ง 3 อย่างต่อเนื่อง
-    อาทิตย์ที่ 1-9  ใช้ของนักบุญมารโก
-    อาทิตย์ที่ 10-21 ใช้ของนักบุญมัทธิว
-    อาทิตย์ที่ 22-34 ใช้ของนักบุญลูกา
-    บทอ่าน จะเป็นจดหมายของเปาโล สลับกับพันธสัญญาเดิม 2 ปีจบ (ปีคี่ - ปีคู่)
-    25 มีนาคม "แม่พระรับสาร" เปลี่ยนเป็น "สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์"
-    25 มีนาคม "แม่พระรับสาร" เป็นวันฉลองอันเดียวที่อยู่ในเทศกาลมหาพรต
-    วันฉลองปัสกา เปลี่ยนวันที่ทุกปี เนื่องจากดวงจันทร์ ในฤดูใบไม้ผลิวันแรก