มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้างและหมายความว่าอะไร
มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพขององค์พระผู้เป็นเจ้า พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์และเป็นขององค์พระผู้เป็นเจ้า ธรรมล้ำลึกศักดิ์สิทธิ์ ศีลมหาสนิท (1328-1332)
การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีมิสซาขอบพระคุณ : เป็นการถวายบูชาของพระคริสตเจ้า ซึ่งสมบูรณ์และเหนือกว่าการถวายบูชาใดๆ ทำให้การถวายบูชามิสซาเป็นปัจจุบัน àพระศาสนจักรและสัตบุรุษ โดยทางการถวายบูชาตนเองของพวกเขา จะทำให้พวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกับการถวายบูชาของพระคริสตเจ้า คำว่ามิสซา มาจากภาษาลาตินว่า Ite, missa est (การปล่อยไป) “บัดนี้จงไป ท่านถูกส่งไป”
อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า : ทุกบูชามิสซายังคงเป็นอาหารค่ำที่พระคริสตเจ้าทรงร่วมฉลองกับบรรดาศิษย์ของพระองค์ ในขณะเดียวกัน เป็นการทำล่วงหน้าถึงงานเลี้ยงซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเฉลิมฉลองกับผู้ได้รับการไถ่กู้ เมื่อสิ้นสุดของเวลา เรามนุษย์ไม่เป็นผู้กระทำการถวายคารวะกิจ องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกเราให้ถวายคารวะกิจแด่พระเจ้า และการประทับอยู่อย่างล้ำลึกในพิธีกรรม
การบิปัง : “การบิปัง” เป็นพิธีมื้ออาหารของชาวยิวสมัยก่อน ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงใช้ในการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้าย เพื่อแสดงถึงการมอบตนเองของพระองค์ “เพื่อเรา” (รม 8:32) ใน “การบิปัง” บรรดาศิษย์กลับมาจำพระองค์ได้อีกครั้งหลังจากที่ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ พระศาสนจักรสมัยแรกเรียกการฉลองพิธีกรรมว่า “การบิปัง”
การชุมนุมศีลมหาสนิท: เป็นการเฉลิมฉลองอาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า ยังเป็นการชุมนุมของ “การขอบพระคุณ” ซึ่งพระศานจักรพบการแสดงออกที่มองเห็นได้
การรำลึกถึงพระทรมาน การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนม์ชีพขององค์พระผู้เป็นเจ้า : ในการบูชามิสซา ที่ชุมนุมมิได้เฉลิมตนเอง แต่ค้นพบและฉลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึงการประทับอยู่ของการช่วยให้รอดพ้นของพระคริสตเจ้าโดยทางความทุกข์ทรมาน และการสิ้นพระชนม์
พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์และเป็นขององค์พระผู้เป็นเจ้า ธรรมล้ำลึกศักดิ์สิทธิ์ :
ในพิธีมิสซา พระศาสนจักรในสวรรค์และในโลกรวมกันเป็นการฉลองเดียวกัน เพราะเป็นของถวายซึ่งพระคริสตเจ้าเองทรงเป็นของถวาย เรียกได้ว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก เรายังกล่าวได้อีกว่าเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่สุด
ศีลมหาสนิท : เพราะเรารวมตัวของเราเองกับพระคริสตเจ้าในมิสซา และโดยทางพระองค์เรารวมตัวของเราเองกับผู้อื่น เรากล่าวถึงศีลมหาสนิท (communio แปลว่า มิตรภาพ)
ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย
นักบุญ ฟรังซิส เดอ ซาล
(1567 -1622)
ชีวิตของท่านต้องถักทอรอบๆศีลมหาสนิทมุ่งสายตาของท่านไปยังพระองค์ ผู้ทรงเป็นความสว่างนำหัวใจของท่านให้ใกล้ชิดกับดวงหฤทัยของพระองค์วอนขอพระหรรษทานเพื่อจะได้รู้จักพระองค์ วอนขอความรักเพื่อจะได้รักพระองค์ วอนขอความกล้าหาญเพื่อรับใช้พระองค์ แสวงหาพระองค์อย่างไม่หยุดหย่อน
บุญราศี เทเรซา แห่งกัลกัตตา
(1910 -1997)
เราต้องไปแยกชีวิตของเราออกจากศีลมหาสนิท เมื่อใดก็ตามที่แยกออก บางสิ่งบางอย่างป่นปี้ ผู้คนถามเราว่า “พวกซิสเตอร์ได้รับความชื่นชมยินดีและพละกำลังในการกระทำสิ่งที่ได้ทำนั้นจากที่ไหน” ศีลมหาสนิทมีมากกว่าเพียงการได้รับ มีความสมปรารถนาของความหิวกระหายพระคริสตเจ้า พระองค์ตรัสว่า “จงมาหาเรา” พระองค์ทรงหิวกระหายวิญญาณ
บุญราศี เทเราซา แห่งกัลกัตตา
(1910-1997)
การเสก (CONSECRATION)
(มาจากภาษาลาตินว่า consecratio แปลว่าทำให้ศักดิ์สิทธิ์ การทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ) การเสกเป็นการกระทำให้บางอย่างศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นในระหว่างมิสซาในการเสกปังและเหล้าองุ่น “ได้รับการเสก” และโดยวิธีนั้นจึงเปลี่ยนเป็นพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกรได้รับการเสกด้วย สิ่งของบางอย่างที่ใช้เพื่อพระเจ้าเช่นวัด และพระแท่น