232. ฉันต้องนำอะไรไปในการสารภาพบาป
องค์ประกอบที่สำคัญของทุกๆ การสารภาพบาป คือการพิจจารณามโนธรรม ความสำนึกผิด จุดประสงค์ของการปรับปรุงแก้ไข ไปสารภาพบาป และทำกิจใช้โทษบาป (1450-1460,1490-1492,1494)
การพิจารณามโนธรรมควรกระทำอย่างถี่ถ้วน แต่ไม่สามารถหมดจดได้ ไม่มีใครสามารถให้อภัยบาปได้ถ้าไม่สำนึกผิดอย่างจริงจัง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ “ออกจากปาก” พอๆกับการขาดไม่ได้ของจุดประสงค์ของการปรับปรุงแก้ไข มีความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่กระทำบาปนั้นอีกในอนาคต คนบาปต้องสารภาพบาปอย่างครบถ้วนต่อพระสงฆ์ผู้ให้อภัยบาป แล้วจึงไปสารภาพบาป องค์ประกอบที่สำคัญสุดท้ายคือการชดใช้ หรือกิจใช้โทษบาปที่พระสงฆ์ผู้ให้อภัยบาปกำหนดให้คนบาปกระทำเพื่อเป็นการซ่อมแซมอันตรายที่เขาได้กระทำ
การอภัยบาป (ABSOLUTION)
(มาจากภาษาลาตินว่า absolvere แปลว่า การปลดออก การตัดสินให้พ้นโทษ) การอภัยบาปของพระสงฆ์เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการให้อภัยบาป หลังจากผู้รับศีลอภัยบาปสารภาพบาปของตน สูตรของการให้อภัยบาปคือ
พระเจ้าพระบิดาผู้ทรงเมตตากรุณา อาศัยการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระบุตรได้ทรงให้โลกคืนดีกับพระองค์ และทรงส่งพระจิตมาเพื่อให้อภัยบาป โดยทางศาสนบริการของพระศาสนจักร ขอให้ท่านได้รับการอภัยและมีสันติสุข ข้าพเจ้าขอให้อภัยบาปแก่ท่าน ในนามของพระบิดา พระบุตร และพระจิต
เป็นการไม่ถูกต้อง ที่คิดว่าเราต้องมีชีวิตแบบที่ว่า เราไม่เคยต้องการการให้อภัย เราต้องยอมรับความอ่อนแอของเรา เรายังคงทำบาปต่อไป เราไม่ได้หยุดกระทำ แต่เราก้าวไปข้างหน้า และกลับใจมาเป็นคนใหม่เหมือนเคย โดยทางศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี เพื่อเป็นการเริ่มต้นใหม่ เติบโตและเป็นผู้ใหญ่ในองค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยการสนิทสัมพันธ์กับพระองค์
สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16
17 กุมภาพันธ์ 2007