แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

อาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Vestments)

เมื่อจัดพิธีกรรมเป็นทางการในพระนามของพระเจ้า ผู้ประกอบพิธีจะสวมอาภรณ์เฉพาะ


images123ในช่วงแรกๆของหนังสือเล่มนี้ พิธีกรรมของคาทอลิกมีส่วนคล้ายคลึงกับละครโอเปร่า เช่นการใช้เสื้อผ้า เพราะผู้ประกอบพิธีต้องแต่งตัวด้วยอาภรณ์เฉพาะเมื่อประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์
หนังสือวิวรณ์ได้กล่าวถึงพิธีกรรมในสวรรค์ประกอบด้วยเครื่องดนตรี บทเพลง ขบวนแห่และการเคลื่อนไหวหลากหลาย นักบุญยอห์นได้เห็น “ประชาชนมากมายเหลือคณา...กำลังยืนอยู่เฉพาะพระบัลลังก์และเฉพาะพระพักตร์ลูกแกะของพระเจ้า ทุกคนสวมเสื้อขาว ถือใบปาล์ม ร้องสรรเสริญเสียงดังว่า ความรอดพ้นเป็นของพระเจ้าของเรา ผู้ประทับอยู่บนพระบัลลังก์และเป็นของลูกแกะของพระเจ้า” (วว.7.9:10)

เสื้อขาวของผู้ได้รับเลือกสรรเป็นสัญลักษณ์ถึงการชำระให้บริสุทธิ์เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้า ยังเป็นเสื้อของทูตสวรรค์ที่มาประกาศการกลับคืนชีพของพระคริสต์แก่หญิงใจศรัทธา นอกจากนี้ ผู้รับศีลล้างบาปใหม่จะได้รับเสื้อขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการบังเกิดใหม่ภายใน ระหว่างการรับศีลมหาสนิทอย่างสง่า ผู้รับศีลมหาสนิทจะสวมเสื้อขาว ซึ่งเป็นอาภรณ์แรกของบรรดาศาสนบริกรที่ร่วมพิธี ไม่ว่าจะทำหน้าที่ใดก็ตามคนที่รับศีลบวชก็ได้สวมเสื้อขาวเช่นกัน
“Alb” (มาจากภาษาละติน “Alba” แปลว่า ขาว) เสื้ออัลบาเป็นเสื้อขาวยาวพร้อมแขนเสื้อกว้างยาวถึงข้อเท้า มีเชือกผูกที่เอว เสื้อขาวยาวไม่มีผ้าคลุมไหล่หรือปลอกคอ แต่จะมีผ้าพันรอบคอแทน พระสังฆราชพระสงฆ์ สังฆานุกร ผู้ช่วยพิธี และผู้อ่านพระคัมภีร์จะใส่เสื้อขาวยาวเป็นอาภรณ์สำหรับร่วมพิธีกรรม ผู้ช่วยมิสซาสวมเสื้อขาวสั้น (surplices) ทับเสื้อสีดำและสีแดง
ผ้าคล้องคอ (ผ้า สโตลา-Stole) มาจากภาษาละตินว่า Stola “เสื้อยาว” (บอกยศหรือตำแหน่ง) กลายเป็นอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์สำหรับใช้ในพิธีกรรมระหว่างศตวรรษที่ 8) สวมทับเสื้อขาวยาว มีขนาดเล็กซึ่งผู้ได้รับศีลบวชจะสวมเป็นอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วยผ้าแถบยาวทำด้วยแถบผ้า 2 ชิ้นขนาดเท่ากัน พระสังฆราชและพระสงฆ์สวมรอบคอและแถบผ้า 2 ข้าง ห้อยลงมาด้านหน้าแบบขนานกัน สังฆานุกรเป็นแบบผ้าสะพายไหล่ สวมแบบไขว้กันที่หน้าอก มาจากไหล่ด้านซ้าย มีตะเข็บหรือปุ่ม เล็กๆห้อยมาตอนท้ายแล้วผูกติดกัน ดังนั้น มีการตัดผ้าคล้องคอให้ไขว้กันรอบตัวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
เสื้อมิสซา (กาซูลา มาจากภาษาละติน ว่า casual แปลว่า “บ้านเล็กๆ”) เป็นเสื้อชั้นนอกที่พระสงฆ์สวมทับเสื้ออัลบา สำหรับถวายบูชามิสซา กาซูลาเป็นอาภรณ์ที่สวมเต็มตัวด้านบน สวมทางศีรษะเหมือนเสื้อที่ทำจากผ้าขนาดใหญ่และเจาะรูไว้สวมศีรษะ เนื่องจากเสื้อหุ้มห่อผู้สวมใส่และป้องกันเขาไว้เหมือนบ้านเล็กๆหรือเต๊นท์ เป็นอาภรณ์ที่พระสังฆราชและพระสงฆ์สวมเวลาประกอบพิธีมิสซาเป็นเครื่องหมายแสดงว่าผู้ประกอบพิธีที่สวมกาซูลาได้ “สวม” พระคริสต์เพื่อกระทำการแทนพระองค์ระหว่างถวายบูชา ได้มีการปรับปรุงความกว้างของกาซูลาในระยะแรก แต่เราก็ยังพบว่ากาซูลาเหมือน “กล่องเก็บไวไอลิน” ในยุคบาร็อค
เพราะด้านหลังมีลักษณะเหมือนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขณะที่ด้านหน้าเหมือนกล่องเก็บไวโอลิน ทำให้แขนของพระสงฆ์มีอิสระที่จะทำสิ่งต่างๆ กาซูลาได้รับการประดับประดารวมทั้งการปักที่งดงามด้วย
เสื้อชั้นนอกสำหรับสังฆานุกร Dalmatic มาจากคำว่า Dalmatia ปัจจุบันนี้เรียกว่า Croatia ใช้ในพิธีกรรม เป็นอาภรณ์สำหรับสังฆานุกร นั่นคือ “ผู้บริการผู้รับใช้” ซึ่งเป็นเครื่องหมายของพระคริสต์ ผู้รับใช้จะสวมทับเสื้อคลุมแขนยาวสีขาวและผ้าคล้องคอ คริสตชนเกี่ยวข้องเพราะ “การรับใช้คือการครองราชย์” เป็นเสื้อคลุมมีแขนเสื้อกว้างซึ่งแยกส่วนกับใต้แขน ประดับลวดลายคล้าย กาซูลา และมีแขนเสื้อสั้นต้นกำเนิดมาจากส่วนหนึ่งของเสื้อผ้าของจักรพรรดิโรมันและของพระสันตะปาปาในยุคกลางตอนปลาย
Cape กัปปา (มาจากคำละตินว่า Cappa เสื้อคลุมไม่มีแขน) เสื้อคลุมยาวไว้คลุมร่างกายทั่วร่าง กัปปาประกอบด้วยผ้าครึ่งวงกลมหนึ่งชิ้น พร้อมด้วยผ้าพับกัน 2 ชั้น ติดด้วยตะขอและห่วงที่ด้านหน้ามีการสวมกัปปา ระหว่างงานที่เป็นทางการนอกเวลามิสซา ประธานในพิธีสวมเสื้อขาวยาวและผ้าคล้องคอ ผู้ช่วยพิธและนักขับจะสวมอาภรณ์นี้ก็ได้
การใช้สีในเทศกาลตามปีพิธีกรรม (หรือสิ่งประดับ) มีสีต่างๆ ตามระเบียบที่ตั้งไว้ สีขาว หรือ สีทอง หมายถึงความยินดี ใช้สำหรับเทศกาลพระคริสตสมภพและเทศกาลปัสกา รวมทั้งวันฉลองนักบุญที่ไม่ได้เป็นมรณสักขี สีม่วง หมายถึงความเป็นทุกข์ถึงบาป สำหรับเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า เทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการถือศีลอดอาหารเพื่อใช้โทษบาป สี่ชมพูสำหรับวันอาทิตย์ที่ 3 ของเทศกาลรับเสด็จพระคริสตเจ้าและวันอาทิตย์ที่ 4 ของเทศกาลมหาพรต สีแดง หมายถึง ความรัก ความเสียสละชีพเพื่อศาสนาสำหรับวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ วันสมโภชพระจิตเจ้าและวันฉลองของนักบุญมรณสักขี สีเขียว หมายถึง ความสดชื่น การเจริญเติบโต สำหรับเทศกาลธรรมดา ในบางท้องที่ใช้สีทอง สำหรับพิธีที่สง่า สีฟ้า สำหรับวันฉลองพระนางพรหมจารีมารีย์ และสำหรับ สีดำ หมายถึง ความทุกข์โศกสำหรับมิสซาผู้ตาย
อาภรณ์ที่มีสัญลักษณ์เหล่านี้ใช้สำหรับประธานในพิธีและผู้ช่วยพิธี เพราะพวกเขาเป็นผู้แทนหรือผู้รับใช้ของพระคริสตเจ้าสิ่งนี้ไม่ได้สร้างความประทับใจ ในแง่ที่ว่า การประกอบพิธีกรรมเป็นเพียงการแสดงบางสิ่งต่อหน้าผู้ชมที่เป็นประชาสัตบุรุษ แต่เป็นที่ประชุมที่แต่ละคนกระทำตามบทบาทของตน รวมทั้งผู้มีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึกแห่งบูชามิสซาด้วย แต่ละคนกระทำหน้าที่อย่างประสานกลมกลืนอย่างสมบูรณ์จากความร่วมมือกัน ประชาสัตบุรุษอาจสวมอาภรณ์ของพระคริสตเจ้าได้ด้วย เช่น สวมเสื้อขาวในโอกาสรับศีลล้างบาปและการปฏิญาณถวายตัวของนักบวช