แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ปฏิทินพิธีกรรม (The Liturgical Calendar)

ภายในช่วงเวลาของวัน สัปดาห์ และปี
การต่อเนื่องของวันฉลอง และวันฉลองนักบุญ ทำให้เราใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น

combination-calendarLG1

    แม้ว่าคนโบราณไม่เข้าใจ เกี่ยวกับการโคจรของดวงดาวและดาวเคราะห์อย่างถูกต้อง และเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล พวกเขาก็คุ้นเคยกับการหมุนเวียนเปลี่ยนฤดูกาล การแบ่งปีเป็น 12 เดือน และการสังเกต ความใกล้ชิดของดาวเคราะห์ที่เชื่อมโยงกับเทพเจ้าในนิยายโบราณ
    เมื่ออาณาจักรโรมันทิ้งระบบเก่าเกี่ยวกับการนับวันตามวิธีของ Kalends,Nones และ Ides ใช้ชื่อของเทพเหล่านี้มาเป็นชื่อของวันทั้ง 7 ตามชาวอียิปต์ กล่าวคือ วันอาทิตย์เป็นวันของสุริยเทพ (solis dies, ในภาษาเยอรมัน Sonntag) วันจันทร์ คือ วันแห่งพระจันทร์ (ภาษาฝรั่งเศส lundi) วันอังคารคือวันแห่งพระอังคาร (Mars ภาษาฝรั่งเศส mardi) ที่ในภาษาอังกฤษใช้ Norse เหมือนเทพ Tiw ซึ่งเป็นเทพแห่งสงคราม วันพุธ คือ วันแห่ง เทพเมอร์คิวรี่ (Mercury ในภาษาฝรั่งเศส mercredi) ภาษาอังกฤษใช้คำ Woden วันพฤหัสบดี คือ วันแห่งเทพจูปีเตอร์ (Jupiter ภาษาฝรั่งเศส Jeudi) แทนเทพ Thor ซึ่งเป็นเทพแห่งฟ้าร้อง วันศุกร์คือวันของเทพวีนัส (Venus ภาษาฝรั่งเศส vendredi)แทนด้วย เทพี Frig และวันเสาร์ เป็นวันของเทพแซทเทิร์น (Saturn) มีการนับชั่วโมงตามวันสุริยคติ ที่แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 3 ชั่วโมง

    พระคัมภีร์เข้าใจเรื่องจักรภพส่วนที่เกี่ยวกับศาสนาที่เป็นพหุเทวนิยม (นับถือเทพเจ้าหลายองค์) ตามหนังสือปฐมกาล ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจาก เครื่องมือที่แบ่งแยกแสงสว่างออกจากความมืด ดวงดาวและดาวเคราะห์เป็นกองทัพขององค์พระผู้เป็นเจ้า (Sabaoth) ที่พวกเขาไม่ได้บูชา ตามลักษณะนี้ หกวันแรกของสัปดาห์ เกี่ยวข้องกับขั้นตอนที่ต่อเนื่องของการสร้าง และวันที่ 7 เป็นวันที่พระเจ้าทรง พักผ่อน นี่เป็นเหตุที่ชาวยิวถือว่าวันของ Saturn เป็นวันสับบาโต (จากภาษาฮีบรู shabbath “การพักผ่อน” คำกรีกต่างออกไปเป็น sambati dies, ดังนั้นภาษาฝรั่งเศสใช้ samedi และภาษาเยอรมันใช้ Samstag)
    คริสตชนเรียกวันแรกของสัปดาห์ว่า วันอาทิตย์ คือ “วันของพระเจ้า” (คำละตินใช้ dies dominicus, ภาษาฝรั่งเศส ใช้ dimanche) เพื่อถวายเกรียติแด่การกลับคืนชีพ เราลองพิจารณาเครื่องหมายโบราณ เช่น ดวงอาทิตย์ส่องแสง ซึ่งเกิดขึ้นทุกเช้า เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ของพระคริสต์ผู้ทรงกลับคืนชีพคำอุปมานี้ได้รับมาจากพันธสัญญาเดิม (มลค.3.20) พระนางพรหมจารีมารีย์ ไม่เหมือนพระบุตรที่ทรงเป็น “องค์ความสว่างจากองค์ความสว่าง” (Credo บทข้าพเจ้าเชื่อ) พระนางสะท้อนความสว่าง พระนางมีบทบาทในการเป็นบุคคลกลาง ที่มีเครื่องหมายเป็นดวงจันทร์ ศิลปินหลายคนในทุกยุคต่างๆ วาดภาพพระนางโดยให้พระนางประทับยืนบนดวงจันทร์เสี้ยว จากการถักทอที่ละเมียดละไมของการลำดับของความเชื่อและสัญลักษณ์ และวิธีที่วัดเวลา ที่สุด พิธีกรรมคาทอลิกมี 3 วงจร วงจรประจำวัน วงจรประจำสัปดาห์ และวงจรประจำปี วงจรพิธีกรรมประจำวัน คือ “การทำวัตร” เพื่อสวดภาวนา ร้องเพลงสดุดี และบทอ่านที่ทำให้เวลาศักดิ์สิทธิ์ไป นั่นคือ การสวดทำวัตรเช้า (lauds) ทำวัตรเที่ยง (noontide office) ทำวัตรเย็น (Vesper) และทำวัตรค่ำ (Compline) ก่อนไปนอน “หนังสือทำวัตร” ได้รับตัวอย่าง ที่วิเศษสุดมาจากสมัยกลาง เป็นการรวบรวมบทภาวนา ที่อนุญาตให้ฆราวาสติดตามจารีตพิธีได้มีบททำวัตรเช้า (Matins) สำหรับฤาษีและนักบวชหญิง และ “ทำวัตรน้อย” ที่ได้รับมาจากธรรมเนียมของชาวยิวที่แบ่งเวลาระหว่างวัน ซึ่งใช้ในสมัยโบราณคือ “ทำวัตรสาย” ราวๆ 10 โมง (lierce) ทำวัตรเที่ยง ราวๆ บ่ายโมง (sext) และทำวัตรบ่าย ราวบ่าย 3 โมง (nones)
    วงจรประจำสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ (ลก.24.1) ที่เป็นบ่อเกิดและเป็นจุดสุดยอด ดังนั้นมิสซาวันอาทิตย์จึงมีความสำคัญสำหรับชาวคาทอลิก จากวันจันทร์ถึงวันเสาร์ แต่ละวันมีวันฉลองตามพิธีกรรมจากวันที่สองถึงวันที่เจ็ด (วันฉลอง feria ในภาษาลาติน) “วันฉลองของแต่ละวันเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ สารบทนักบุญตามพิธีกรรม ได้รับอิทธิพลมาจากสมัยไปเซนไทนระหว่างความพยายามที่จะลบล้างชื่อเก่าของคณะทางศาสนา ในวันระหว่างสัปดาห์) เมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์ วันที่สำนึกบาป และอดอาหาร ซึ่งเป็นอัปโชคตามไสยศาสตร์ที่นิยมกัน
    วงจรประจำปี ซับซ้อนมากขึ้น เพราะเป็นการฉลองในช่วงต่างๆ ทางพิธีกรรมซึ่งต่างกันไปตามเทศกาล และการฉลองของนักบุญ ที่มีการอุทิศตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่มีการฉลองธรรมล้ำลึกแห่งการรับเอาธรรมชาติมนุษย์และการไถ่กู้ แสดงว่ามีความสำคัญเท่าสังคายนาวาติกันที่ 2 มั่นใจกับการถือเรื่องนี้สำคัญมากเป็นประการแรก การสมโภชตามเวลาระหว่างปี มี 2 วงจร คือ วันคริสตสมภพ กับวันปัสกา เป็นวันฉลองที่ให้เราสำรวจธรรมล้ำลึกทั้งหมดของการไถ่กู้ของพระคริสต์ วันสมโภช 2 วันด้วยการเตรียมตัว เป็นวันฉลองที่ให้เราสำรวจธรรมล้ำลึกทั้งหมดของการไถ่กู้ของพระคริสตเจ้า เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าและเทศกาลมหาพรตมีการเน้นการฉลองวันที่พระเยซูประสูติและวันสมโภชปัสกา การฉลองทั้ง 2 วันดำเนินไปพร้อมทั้งมีตรีวาร 3 วันก่อนวันฉลองปัสกา ยังคงดำเนินไปพร้อมกัน เทศกาลคริสตสมภพ (Cristmastide) และเทศกาลปัสกา (Eastertide) และจบลงด้วยวันฉลองนักบุญยอห์น บัปติสท์ ผ่านไป และวันสมโภชพระจิตเจ้า วันที่เหลือของปีประกอบด้วย 34 สัปดาห์ที่เรียกว่าเทศกาลธรรมดา (Ordinary Time)

    ดังนั้น ในการเรียงลำดับเวลา จะมีวันฉลองของเทศกาล พร้อมทั้งคำอธิบายความหมาย ดังนี้
1.เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า (ADVENT มาจากคำละติน Adventus แปลว่า “การมา”) วงจรพิธีกรรมเริ่มจากเวลาเตรียมฉลองคริสมาส เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ สี่สัปดาห์ก่อนสมโภชพระคริสตสมภพ (วันที่ 25 ธันวาคม) สำหรับเรา การเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าเป็นการรอคอยด้วยความชื่นชมยินดี (โดยเฉพาะ อาทิตย์ที่ 3 ซึ่งเรียกว่า อาทิตย์ Gaudete แปลว่า ชื่นชมยินดี) มีการเสด็จมา 3 ประการ คือ การเสด็จมาประสูติอันต่ำต้อยของพระเยซูในคอกเลี้ยงสัตว์ที่เมืองเบธเลเฮม พระองค์ยังเป็นพระหรรษทานที่เสด็จมายังเราในปัจจุบัน เมื่อเราร่วมฉลองพิธีกรรมของพระองค์ และการเสด็จกลับมาของพระคริสต์ในพระสิริรุ่งโรจน์ในวันสุดท้าย อาทิตย์แรกของเทศกาลนี้เน้นเหตุการณ์ที่สาม ขณะที่สัปดาห์สุดท้ายก่อนวันพระคริสตสมภพเน้นสองเหตุการณ์แรก

2.วันสมโภชพระคริสตสมภพ (Christmas หรือ Noel จากคำละติน natalis dies แปลว่า วันเกิด) เก้าเดือนหลังจากวันที่ทูตสวรรค์มาแจ้งสาร (Annunciation ตรงกับวันที่ 25 มีนาคม) วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลองการประสูติของพระของพระคริสตเจ้าและพระธรรมล้ำลึกของการรับเอาธรรมชาติมนุษย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสัญลักษณ์ทั้งหมดของคริสตศาสนา วันพระคริสตสมภพยังเน้นการฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ที่มีนักบุญโยเซฟ พระนางมารีย์และพระเยซู และทุกครอบครัว เป็นการฉลองชีวิตที่มาจากพระเจ้าก่อนที่เราจะกลับไปหาพระองค์
    วันสมโภชพระคริสตสมภพ ตรงกับวันฉลองของคนต่างศาสนาที่เรียกว่า Natalis Invictus (“การเกิดของสุริยเทพผู้ปราบศัตรูพ่าย”) ในฤดูหนาวขณะที่ดวงอาทิตย์โคจรสู่ท้องฟ้าทางทิศเหนือ  ในวันนั้นดวงอาทิตย์เริ่มโผล่จากขอบท้องฟ้า เหมือน พระกุมารเยซูที่เจริญเติบโตขึ้น ทำนองเดียวกันในฤดูร้อน วันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลที่สุดจากเส้นศูนย์สูตรของโลก วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันสมโภชนักบุญยอห์น บัปติส ผู้มาล่วงหน้าเพื่อกล่าวถึงพระเยซูว่า “พระองค์จะต้องยิ่งใหญ่ขึ้น ส่วนข้าพเจ้าจะต้องด้อยลง” (ยน.3.30)

3.พระคริสต์แสดงองค์ (Epiphany) มาจากภาษากรีก epi- phainein แปลว่า “แสดง หรือ เปิดเผย”) พวกนิกายตะวันออก จัดฉลองการประสูติของพระเยซูและการเปิดเผยว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์และพระผู้ไถ่ วันที่ 6 มกราคม เป็นวันฉลองแสงสว่างเที่ยงแท้ ของดาวที่ปรากฏแก่บรรดาโหราจารย์ และนำพวกเขามาหาพระเยซู (มธ.2.1-12) วันฉลองโหราจารย์ เป็นที่นิยม บัณฑิตทั้ง 3 ได้มานมัสการกษัตริย์ที่เที่ยงแท้และถวายทองคำ กำยาน และมดยอบ การมาของบัณฑิตเป็นเหตุการณ์นำของ “การเปิดเผย” ในวันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ สองเหตุการณ์คือการที่พระเยซูรับพิธีล้างจากนักบุญยอห์น บัปติสท์ ที่แม่น้ำจอร์แดน (วันฉลองนี้ทำให้เหตุการณ์ศักดิ์สิทธิ์ในวันอาทิตย์หลังวันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ซึ่งรวมอยู่ในเทศกาลคริสตสมภพ) และงานสมรสที่หมู่บ้านคานาที่พระเยซูทรงพระชนม์ชีพอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก

4.วันเสกเทียน (Candlemas) ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 40 วันหลังจากการบังเกิดของพระเยซู แม่พระถวายพระกุมารในพระวิหารกรุงเยรูซาเล็ม เป็นการทำให้เทศกาลพระคริสตสมภพสมบูรณ์ นี่เคยเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ของชาวยิวที่ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ถือปฏิบัติด้วย (ลนต.12.2-4 : ลก.2.22-38) เป็นการฉลองความสว่างตามคำกล่าวของผู้เฒ่าสิเมโอนที่ได้เห็นพระกุมารเยซูทรงเป็น “แสงสว่างเปิดเผยให้คนต่างชาติรู้จักพระองค์ วันนี้จะมีการเสกเทียนและขบวนแห่เทียนก่อนมิสซา สัตบุรุษที่หวังจะกลายเป็น “บุตรแห่งความสว่าง” จะถือเทียนศักดิ์สิทธิ์ไป เทียนเหล่านี้เราใช้จุดข้างผู้ล่วงลับ เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความหวังในชีวิตนิรันดร

5.เทศกาลมหาพรต (Lent มาจากภาษาอังกฤษแบบเก่า Lencten แปลว่า “โผล่ออกมา”) ช่วง 40 วัน แห่งการใช้โทษบาปเพื่อเข้าสู่การสมโภชปัสกา (Holy quarantine) ช่วงเวลา 40 วัน เป็นช่วงเวลาเดียวกัน การที่โมเสสพบพระเจ้าบนภูเขาซีนาย และเอลียาห์ (อพย.24.18; พกษ.19.8) พระเยซูเองทรงเตรียมปฏิบัติศาสนกิจต่อสาธารณชน โดยจำศีลอดอาหาร ในถิ่นทุรกันดาร เป็นเวลา 40 วันเช่นกัน (มธ.4.2) เทศกาลมหาพรตเป็นช่วงเวลา 6 สัปดาห์ ไม่มีการใช้โทษบาปใน วันอาทิตย์ เทศกาลนี้เริ่มในวันพุธ ก่อนวันอาทิตย์แรก พระสงฆ์จะโรยเถ้าบนหน้าผากหรือโปรยเถ้าบนศีรษะ
    ตามปกติ “เถ้า”ทำมาจากการเผา ใบลาน ที่ใช้ในวันแห่ใบลานของปีก่อน เป็นเครื่องหมายเกี่ยวกับการกำเนิด ถึงความไม่มีค่าของมนุษย์เมื่ออยู่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า ฝุ่นเป็นภาพลักษณ์ของความตาย เกี่ยวโยงกับบาป พระเจ้าตรัสกับอาดัมว่า เจ้ามาจากดิน และเจ้าจะกลับเป็นดิน (ปฐก.3.19) คือ การถือศีลอดอาหาร ทำให้เราไตร่ตรองถึงข้อจำกัดของสภาพมนุษย์ ขณะที่ตั้งใจ จะทิ้งนิสัย โลภอาหาร ทำให้เราค้นพบตนเองว่าเป็นสิ่งที่ขึ้นกับบุญญานุภาพของพระผู้สร้างโดยแท้
    ตอนกลางของเทศกาลมหาพรต วันอาทิตย์ที่สี่ ที่เรียกว่า Laetare (ความชื่นชมยินดี) หมายถึง การพักจากการถือศีลอดอาหาร พระศาสนจักรเชิญชวนให้หยุดพักอย่างชื่นชมยินดีก่อนวันปัสกา พระสงฆ์สวมอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์สีขาว แต่คงใช้สีที่แสดงความยินดีคือ สีกุหลาบแทนสีม่วงที่แสดงถึง การใช้โทษบาป
    วันอาทิตย์ที่หกในเทศกาลมหาพรต คือ วันอาทิตย์ใบลานซึ่งเป็นการเริ่มสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นการระลึกถึง การที่พระเยซูเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่า สองสามวันก่อนที่พระองค์ทรงรับทรมานและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน (ยน.12.12-13) ประชาสัตบุรุษจะไปรวมกันนอกวัด ประธานในพิธีเสกใบลาน หรือกิ่งไม้) แล้วแต่วัฒนธรรมท้องถิ่น และตั้งขบวนแห่เข้าวัดเพื่อร่วมมิสซา ระหว่างนั้นมีการอ่านบทอ่านเกี่ยวกับพระทรมาน สัตบุรุษนำใบลานที่เสกแล้วกลับบ้าน เพื่อนำไปประดับกางเขนที่บ้าน

6.วันสมโภชปัสกา (Easter มาจากคำว่า Eastre หมายถึง เทพีที่ฉลองในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามเส้นศูนย์สูตรมีกลางวันยาวเท่ากับกลางคืนในฤดูใบไม้ผลิ คำคุณศัพท์ “Paschal” มาจากภาษาฮีบรูว่า Pasach แปลว่า “ยกโทษให้” ดังนั้น Pesach ลูกแกะปัสกาในภาษาละติน เขียนว่า pascha หมายถึง การถวายบูชาแกะปัสกา เป็นกิจการที่เริ่มต้นที่จะอพยพหนีจากอียิปต์) การสมโภชปัสกา มีความสำคัญที่สุดของปีพิธีกรรมทั้งหมด และรวมทั้ง 3 วัน ของตรีวารปัสกาด้วย วันปัสกาเริ่มด้วยมิสซา ในค่ำวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งระลึกถึงอาหารค่ำสุดท้าย ที่พระเยซูทรงตั้งศีลมหาสนิท วันต่อมา วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เราฉลองพระทรมานและการสิ้นพระชนม์บนกางเขน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างพิธีกรรมตอนบ่าย
    นอกจากพิธีกรรมเองแล้ว เรายังมีพิธี ทางกางเขน (ระลึกถึงพระทรมานของพระเยซู) ประกอบด้วย 14 ภาค ซึ่งเริ่มจากตอนที่ปิลาต ตัดสินประหารชีวิตพระเยซู จนถึงพระเยซูถูกฝังไว้ในคูหา เราสามารถเริ่มตั้งแต่อาหารค่ำสุดท้าย จนถึงการกลับคืนชีพ วันเสาร์ปัสกา เป็นวันแห่งความเงียบของการรอคอยและความหวัง การฉลองการกลับคืนชีพเริ่มด้วยการตื่นเฝ้าในค่ำวันเสาร์ มีการเสกไฟ เสกเทียนปัสกา ตามด้วยบทอ่านและมิสซา มีการเริ่มพิธีที่สง่างามมาก เพื่อสมโภชปัสกา เพื่อเป็นพยานถึงชัยชนะของพระเยซูเหนือความตาย เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการกลับคืนชีพของเราด้วย
    วันสมโภชปัสกา เป็นการสมโภชที่ไม่กำหนดด้านเจาะจง ในปฏิทินบ้านเมือง มีการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 จัดสมโภชกันในวันอาทิตย์แรกหลังวันที่ 14 หลังจากวันเพ็ญของเดือนมีนาคม นั่นคือ ระหว่างวันที่ 22 มีนาคมอย่างเร็วที่สุดจนถึง วันที่ 25 เมษายน อย่างช้า ที่สุด แต่ละปีจะมีการกำหนดวันปัสกา ต่อจากเทศกาลปัสกาก็เริ่ม เข้าสู่วันอาทิตย์ในเทศกาลธรรมดา 34 อาทิตย์
    วันสมโภชพระจิตจะทำการสมโภชหลังเทศกาลปัสกา 50 วัน ตามความจริง เทศกาลปัสกาไม่ใช่ฉลองแค่วันเดียว เป็นเทศกาลที่เต็มไปด้วยความชื่นชมยินดี มีการร้องเพลงอัลเลลูยา (จากภาษาฮีบรู Halleluyah แปลว่า Praise Jah) “จงสรรเสริญพระยาเวห์ จงสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” เป็นคำประกาศที่เราพบในบทเพลงสดุดี

7.วันสมโภชพระเยซูคริสตเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ (The Ascension) 40 วันหลังจากสมโภชปัสกา เป็นการฉลองพระเยซูผู้ทรงกลับคืนชีพเสด็จสู่สวรรค์ ตามที่บันทึกในหนังสือกิจการอัครสาวก บัดนี้ พระเยซูได้รับชัยชนะเหนือความตายแล้ว ทรงสำแดงพระองค์แก่บรรดาศิษย์ของพระองค์ 40 วันช่วงที่พระเยซูทรง “กล่าวถึงอาณาจักรของพระเจ้า” (กจ.1.3) ดังที่เราภาวนาในบทข้าพเจ้าเชื่อถึงพระเป็นเจ้าว่า “เสด็จขึ้นสวรรค์ประทับเบื้องขวาพระบิดา พระองค์จะเสด็จมาอีกด้วยพระสิริรุ่งโรจน์ เพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย รัชสมัยของพระองค์ จะไม่มีสิ้นสุด”

8.วันสมโภชพระจิตเจ้า (Pentecost มาจากคำกรีก pentekoste แปลว่า “วันที่ห้าสิบ”) สมโภชตรงกับวันที่ 50 หลังจากวันปัสกา เป็นวันสมโภชที่สรุปเทศกาลปัสกา พร้อมทั้งพระคุณพระจิต เป็นวันสุดยอดของพระธรรมล้ำลึก บรรดาอัครสาวกอยู่ด้วยกันกับพระนางมารีย์ในห้องชั้นบน เมื่อพวกท่านเปี่ยมด้วยพระจิตเจ้า ผู้เสด็จมาเหนือพวกเขา โดยมีลมพัดแรงกล้าและลิ้นไฟที่แยกไปอยู่เหนือศีรษะของเขาแต่ละคน (กจ.2.1-13) พวกเขาประกาศเผยแพร่ความรักของพระเจ้า ตามพันธกิจที่พระเยซูทรงมอบแก่พวกเขาวันสมโภชพระจิตเจ้าจึงเป็นวันสถาปนาพระศาสนจักรเป็นวันเกิดอย่างแท้จริง โดยอาศัยบรรดาอัครสาวกประกาศกิจการอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า (กจ.2.11)

9.วันสมโภชพระตรีเอกภาพ (Trinity) ตรงกับวันอาทิตย์หลังวันสมโภชพระจิตเจ้า เป็นวันที่มาล่าช้าในพิธีกรรมเพราะเป็นพระธรรมล้ำลึกของความเป็นหนึ่งเดียวของพระบิดา พระบุตรและพระจิต ที่ทรงเป็นจุดเริ่มต้นและจุดหมายของชีวิตคริสตชนทั้งหมด มีการจัดฉลองที่แน่นอน (เทียบบทที่เกี่ยวกับพระตรีเอกภาพ)

10.วันสมโภชพระคริสตวรกาย (Corpus Christi Day) ตรงกับวันพฤหัสบดี หลังวันสมโภชพระตรีเอกภาพ (หรือตรงกับวันอาทิตย์ในบางประเทศและบางท้องที่) วันสมโภชพระคริสตวรกายเป็นการฉลองศีลมหาสนิท การฉลองเป็นที่นิยมซึ่งดูได้จากการพิธีนมัสการ และการแห่ศีลมหาสนิท เส้นทางที่องค์พระผู้เป็นเจ้าเสด็จ ผ่านจะมีการโปรยด้วยดอกไม้และประดับประดาสวยงาม หลายเมืองทั่วโลกมีชื่อเสียงในการจัดขบวนแห่ ที่งดงามมาก

11.วันสมโภชพระหฤทัยพระเยซูเจ้า งานสมโภชตรงกับวันศุกร์ที่สอง หลังวันสมโภชพระตรีเอกภาพ มีความสำคัญพื้นฐานมาจากความรักแบบมนุษย์ของพระคริสตเจ้าและได้รับคำแนะนำจากฉากที่ทหารใช้หอกแทงพระหฤทัยของพระเยซู หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์บนกางเขน (ยน.19.32-34 ฉ) ทันใดนั้น น้ำและโลหิตก็ไหลจากแผลนั้น จึงเป็นสัญลักษณ์ถึงศีลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งนำพระพร จากพระหฤทัยที่เปิดอยู่ของพระเยซูตลอดกาล

12.วันสมโภชแม่พระได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (The Assumption) การรับยกขึ้นสวรรค์ของแม่พระทั้งกายและวิญญาณเพื่อกลับ ตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ขณะที่พระคริสต์เจ้าเสด็จขึ้นสู่ฟ้าสวรรค์ด้วยพระองค์เอง     ส่วนพระนางพรหมจารีมารีย์มีเหล่าทูตสวรรค์มาพยุงไว้ในพระสิริมงคลของพระเจ้าภาพนี้อธิบายคำว่า “ได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์” (Assumption มาจากคำละติน assumere แปลว่า “ยกขึ้น”)

13.วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints’Day) เนื่องจาก ศตวรรษที่ 9 มีการกำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันสมโภชนักบุญทั้งหลายและเป็นการรอคอยความรอดของเราด้วยความหวัง วันถัดมาคือวันที่ 2 พฤศจิกายน เป็นวันภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ นักบุญ โอดิลอน อธิการอารามที่คลูนี เป็นผู้เริ่มระลึกถึงผู้ตายตอนต้นของศตวรรษที่หก

14.วันสมโภชพระคริสตราชา (Christ the King) ตั้งแต่มี ค.ศ.1925 เรามีวันสมโภชนี้ในวันอาทิตย์สุดท้ายคือวันอาทิตย์ที่ 34 ของเทศกาลธรรมดา มีการสมโภชพระคริสตราชาเป็นการถวายคารวกิจอย่างสง่าแด่พระองค์ผู้ทรงมอบพระองค์ท่านเอง แม้ถึงแก่ความตายบนกางเขนแก่เรา มีการเตรียมเข้าสู่ปีพิธีกรรมใหม่ที่เริ่มในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าในวันอาทิตย์ถัดไป
    ตลอดปีมีการ ฉลองนักบุญต่างๆ อีกทั้งเป็นการระลึกถึงการฉลองและการสมโภชตามเทศกาลต่างๆ ดังนั้น แต่ละวันเป็นโอกาสที่เราคริสตชนจะระลึกถึงนักบุญต่างๆ ในช่วงเวลาต่างกัน คริสตชนควรเลียนแบบคุณธรรมของบรรดานักบุญ วันเหล่านี้มีความสำคัญต่างกัน ขึ้นกับความศรัทธาของแต่ละประเทศและพระศาสนจักรท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉลอง “นักบุญอุปถ้มภ์” ของแต่ละพระศาสนจักร (ท้องถิ่น) และท้องที่ มีการสร้างธรรมประเพณีที่น่านิยม เช่น ในฝรั่งเศส มีการฉลอง “นักบุญยอห์น” (Les Feux de Saint Jean) ในวันกลางฤดูร้อน หรือ มีคำกล่าวยกย่องต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย
    เทศกาลต่างๆ ที่หมุนเวียนและเป็นไปตามลำดับ ดูไม่น่าสร้างความประทับใจแก่คริสตชนตามเทศกาล ตรงข้ามแต่ละปี แต่ละสัปดาห์ แต่ละวัน ถ้าคริสตชนเข้าสู่พระธรรมล้ำลึกที่สำคัญของศาสนาด้วยใจศรัทธา ธรรมชาติของเราในฐานะมนุษย์ ปรารถนาสิ่งที่เตือนเราให้ระลึกถึง พระหรรษทานและความรักของพระเจ้าที่อยู่ในหัวใจของเราลึกซึ้งขึ้น
    การตีระฆังเป็นเครื่องหมายแสดงถึงวงจรพิธีกรรมต่างๆ เนื่องจากมีความสำคัญในชีวิตของคริสตชนเสียงระฆังจะดังขึ้นในพิธีศีลล้างบาป พิธีแต่งงานหรือพิธีปลงศพ มิสซาประจำวันหรือมิสซาวันอาทิตย์ และในอาราม การสวดทำวัตร เสียงตีระฆังจากวัดเป็นเครื่องหมายแสดงถึงชีวิตชีวา ระฆังเป็นสัญลักษณ์ว่าพระเจ้าตรัสเรียกประชาสัตบุรุษให้มาฉลองพันธสัญญา ตามธรรมประเพณี ถือว่าเป็นเสียงของเหล่าทูตสวรรค์ สิ่งนี้อธิบายถึงคารวกิจที่ประชาสัตบุรุษได้รับและความสำคัญที่เขาได้รับพระพรในพิธีศีลล้างบาปด้วยการชำระ ศีลเจิมคนป่วยด้วยน้ำมันคริสมาและการเผากำยาน