แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 1 : ทะนงตัว (PRIDE)
    “ทะนงตัว” เป็นบาปที่เกิดขึ้น    มันเป็นการทำบาปของลูซิเฟอร์ผู้ทะนงตัวคิดจะเทียบพระผู้เจ้า    มันยังเป็นรากเหง้าของบาปกำเนิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของอาดัมและเอวาอีกด้วย
    “ทะนงตัว” เป็นพยศชั่วที่ร้ายแรงที่สุดเพราะว่ามันเป็นสุดยอดของ “การรักเพียงตนเอง” และขัดแย้งโดยตรงต่อการอ่อนน้อมต่อพระเจ้า    นั่นคือ มันเป็นบาปที่พระเจ้าทรงรังเกียจมากที่สุด และ เป็นบาปที่พระองค์ทรงโทษทัณฑ์รุนแรงที่สุด คือ การลงโทษต่อบรรดาเทวทูตกบฏในสวรรค์, ต่ออาดัมและเอวา ต่อกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ (ดังที่ระบุไว้ในหนังสือดาเนียลบทที่ 4 ข้อ 32)

ที่กล่าวถึงการลงโทษทัณฑ์ว่า “ท่านจะถูกขับไล่ออกไปจากหมู่มนุษย์ ท่านจะอาศัยอยู่กับสัตว์ในทุ่งนา ท่านจะกินหญ้าเหมือนโค ท่านจะอยู่ในสภาพเช่นนี้เป็นเวลาเจ็ดปี จนกว่าท่านจะยอมรับว่าพระเจ้าสูงสุดทรงปกครองเหนืออาณาจักรทั้งหลายของมนุษย์ และทรงมอบอาณาจักรนั้นแก่ผู้ที่พระองค์พอพระทัย” ต่างเป็นพยานถึงเรื่องนี้
    “ทะนงตัว” ถูกจัดเป็นบาปที่ร้ายแรงที่สุดเพราะว่ามันเป็นต้นกำเนิดของ “การรักเพียงตนเอง” อันเป็นรากเหง้าของบาปประการอื่นอีกมากมาย : “เพราะความหยิ่งจองหองนำไปสู่หายนะและความกังวลมากมาย” (ทบต 4 : 13)    ในทุกๆ บาปนั้นต่างมีรากเหง้าของพยศชั่ว “ทะนงตัว” อยู่ทั้งสิ้นไม่ว่าบาปนั้นจะมีลักษณะเฉพาะอย่างไร
    “ทะนงตัว” เป็นบาปที่อันตรายที่สุดเพราะว่ามันจะทำให้ความเข้าใจต่างๆ ของเรามืดบอดไป หรือถ้าไม่เช่นนั้นกว่าเราจะตระหนักถึงความจริงได้ก็เป็นช่วงท้ายที่สุดเท่านั้น    จิตใจของเราจะยึดติดกับความเข้าใจผิด ภาพมายาผิดๆ ไปเรื่อยๆ วันแล้ววันเล่า เฝ้าแต่จินตนาการว่าการกระทำของเรานั้นดีแล้ว ถูกต้องแล้ว    จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยถาวรที่ชั่วร้ายผิดพลาด    เมื่อเรามืดบอดไปด้วย “ทะนงตัว” นั้นเราจะไม่คิดพิจารณาว่าทักษะความสามารถต่างๆ ของเรานั้นเป็นพระพรที่พระเจ้าประทานให้แก่เรา แต่เราจะเชื่อว่าความดีเด่นเหล่านั้นเป็นของเราเองและเรามีสิทธิที่จะใช้ทักษะความสามารถนั้นอย่างไรก็ได้ตามที่เราต้องการ
    เราทุกคนต่างติดเชื้อไวรัสตัวร้าย “ทะนงตัว” นี้ และมีความทะนงตัวแบบใดแบบหนึ่ง ในตัวแต่ละคน อย่างน้อยก็เป็นความทะนงตัวประเภทหนึ่งที่ครอบงำเราอยู่    ถึงแม้ว่าปกติแล้วจะมีความทะนงตัวหลายๆ แบบที่มีลักษณะเหมือนกัน    การทะนงตัวนี้กำหนดภาวะอารมณ์ของเรา หรือ กำหนดประเภทของบุคลิกลักษณะของเรา หรือ อย่างน้อยมันก็จะกำหนดโดยทางอ้อมอย่างแนบแน่น    การค้นหาประเภทของการทะนงตัวของเรานั้นสำคัญมากต่อการได้รับรู้ถึงการรู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรา และต่อการพยายามขจัดรากฐานของบาปและพยศชั่วให้ออกจากชีวิตของเราให้เป็นผลสำเร็จ
    ถ้าเราเป็นคนมีภาวะอารมณ์สดใสร่าเริง    ความทะนงตัวของเราจะอยู่ในรูปของ “การยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง”(Self-centeredness) เราต้องการที่จะเป็นศูนย์รวมของทุกสิ่ง;     นั่นคือ เราต้องการให้ผู้อื่นสนใจเรา    เราจะเป็นคนใจน้อยขี้งอนและรู้สึกขัดใจได้ง่าย    ความทะนงตัวของเราจะกระตุ้นเราให้เน้นมุ่งค้นหาแต่ชื่อเสียงเกียรติยศ การยกย่องสรรเสริญ คำเยินยอ จากนั้นเราก็จะกลายเป็นคนถือตัว หยิ่ง โอ้อวด ทะนงตัว
    ถ้าเราเป็นคนมีภาวะอารมณ์โกรธฉุนเฉียวง่าย    ความทะนงตัวของเราจะประกฎชัดแจ้งในรูปของ “การต้องการเพียงตนเอง” (Self-will) อย่างแรงกล้า    เราจะพบว่าเป็นการยากมากที่เราจะยอมรับผู้อื่น หรือ เห็นด้วยกับความเห็นของผู้อื่น    เรามักจะชอบเอาชนะผู้อื่น, ชอบการวิพากษ์วิจารณ์, ก่อให้เกิดความขัดแย้งถกเถียงกัน     เราจะมีความรู้สึกว่าเรามีความเหนือกว่าผู้อื่นเพิ่มขึ้นๆ เรื่อยๆ และจะไม่คิดคำนึงพิจารณาถึงสิทธิของผู้อื่นเลย
    ถ้าเราเป็นคนมีภาวะอารมณ์ซึมเศร้าใจลอย    ความทะนงตัวของเราจะปกปิดตัวมันเองอยู่ภายใต้ภาพพจน์ของ “การสงสารเพียงตนเอง” (Self-pity) และ “การอ่อนไหวง่าย”        เราจะมีอาการน้อยใจ, ต้องเก็บกดซ่อนเร้นความเสียใจ, หวาดระแวง และไม่แสดงออกถึงการต่อต้านขัดขืนใดๆ ความทะนงตัวประเภทนี้มักไม่ถูกจัดเป็นความทะนงตัวเพราะว่ามันปกปิดตัวเองอย่างดีกระทั่งเราไม่ยอมรับว่ามันเป็นความทะนงตัว   
    ถ้าเราเป็นคนมีภาวะอารมณ์เฉื่อยชา    ความทะนงตัวจะทำให้เรามีความโน้มเอียงที่จะมีความพึงพอใจในตัวเอง (Self-complacency) และ ภูมิใจในตัวเองมากเกินไป    เรามักจะประหลาดใจในความผิดพลาดของผู้อื่น แต่กลับพึงพอใจหากเป็นตนเองกระทำเช่นนั้น
    ความทะนงตัวของการรู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่น (Pride of superiority) นั้นจะทำให้ความต้องการที่จะควบคุมการดำเนินชีวิตของผู้อื่น    ต้องการที่จะทำให้ตัวเองเป็นผู้บงการผู้อื่น    ต้องการที่จะครอบงำหรือมีอำนาจเหนือผู้อื่นความทะนงตัวประเภทนี้มักทำให้จิตใจของเราแข็งกระด้างและไม่คล้อยตามความเห็นของผู้อื่น ไม่ยอมอยู่ใต้บังคับบัญชาของใครการทะนงตัวประเภทนี้เป็นการถือทิฐิ ดื้อรั้น และดันทุรังที่ทำให้เราต่อต้านพระประสงค์ของพระเจ้า    แสดงกริยาเหนือกว่าทุกคนรอบข้างและทำให้เราไม่ยอมที่จะปรับตัวในการควบคุม “การรักเพียงตนเอง”ของเรา    ผลที่ตามมาก็ เช่น ความโมโห ความโกรธ ความจองหอง จิตใจที่ขัดแย้งกันเอง และ ความหยิ่งยโส        ความทะนงตัวมักเป็นรากเหง้าของจิตใจที่ยึดมั่นในความคิดเห็นอย่างแข็งขัน    ซึ่งทำให้เราปฏิเสธเหตุผล หรือ หลักฐานความจริงตามหลักความเชื่อที่ได้มีการเผยแสดงความไม่เต็มใจนี้จะก่อให้เกิดการไม่ใส่ใจในที่สุด    มันเป็นความทะนงตัวนี่เองที่กีดกันเราจากการไปวัด หรือ การกลับมาปฏิบัติตามข้อความเชื่อหลังจากที่ได้ห่างเหินไปนาน

สิ่งที่คล้ายกันมากกับความทะนงประเภทนี้ หรือ เราอาจเรียกได้ว่าเป็นอีกชื่อหนึ่งของความทะนงประเภทนี้ คือ ความทะนงตัวของการเป็นอิสระ (Pride of Independence)        ความทะนงตัวนี้นำเราไปสู่การไม่นบนอบเชื่อฟัง และ การกระด้างกระเดื่องนำไปสู่การดูหมิ่นเหยียดหยามและความเจ้ายศเจ้าอย่างชอบโต้แย้งนำไปสู่การปฏิเสธที่จะรับฟังคำแนะนำใดๆ และ การช่วยเหลือใดๆ    นำไปสู่ความขุ่นเคืองไม่พอใจต่อการติเตียนตำหนิใดๆ จากผู้มีอำนาจตามกฎหมายนำไปสู่การแช่งด่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (blasphemy) ต่อพระเจ้า การสาปแช่งด้วยความแค้นเคือง การสบถสาบานและการไม่เคารพถือตาม (irreverence) คำพูดและการกระทำใดๆ

ความเชื่อที่ผิดๆ ในการพิจารณาจุดบกพร่องของเราเอง เช่น ความหยิ่งทะนง, การคิดไปเองว่าความคิดดีๆ ลักษณะดีๆ โอกาสดีๆ นั้นเป็นของเราเองมิใช่มาจากพระเจ้า, เผยให้เห็นถึงความทะนงตัวของความคิด (Pride of intellect)    บาปผิดต่อต้านความเชื่อที่เกิดขึ้นจากความทะนงตัว

ความทะนงตัวจากความมักใหญ่ไผ่สูง (Pride of ambition) นั้นชักนำเราไปสู่การมุ่งแสวงหาตำแหน่งหรือสถานที่ที่มีชื่อเสียงเกียรติยศและศักดิ์ศรีที่เราต้องการให้มีเหนือกว่าผู้อื่น    อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ก็อาจมีคุณค่าอยู่บ้างด้วยว่าสิ่งนี้ทำให้เรามีความใฝ่ฝัน วาดฝัน วางโครงการ    ทำตามข้อสันนิษฐานต่างๆ ให้ได้จนกระทั่งไม่สนใจว่าเราจะได้ผลสำเร็จมาได้อย่างไรก็ตาม    การเชื่อมั่นจนเกินพอดีทำให้เราประเมินความสามารถของเราสูงเกินไปการมีความปรารถนาจนเกินขอบเขต, ความเห่อเหิม, ความปรารถนาที่จะได้รับการสรรเสริญเยินยอ, การโอ้อวดและการใช้จ่ายเพื่อสิ่งจำเป็นในชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อจนเกินความจำเป็นเพื่อให้ดูสูงส่งหรูหรา    สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากความทะนงตัวประเภทนี้ และนำไปสู่การประจบสอพลอและความเจ้าเล่ห์เพทุบาย

เราอาจจะมีความทะนงตัวจากจิตคิดโอหัง (Pride of spiritual vanity) ด้วยการจินตนาการว่าตัวเราเองนั้นสมบูรณ์แบบแล้วและการกระทำต่างๆ ของเรานั้นถูกต้องดีมีศีลธรรมเสมอ หรือ การหาเหตุผลหรือข้ออ้างต่างๆ นานาสำหรับการกระทำที่เรารู้สึกว่าทำผิดพลาดไปแล้ว

ความทะนงตัวของเราอาจทำเป็นเสมือนว่านี่เป็นลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน เพื่อที่เราจะสามารถทำได้โดยไม่ตะขิดตะขวงใจ ไม่ต้องพูดถ่อมตัวใดๆ ไม่ต้องยึดถือทำเป็นนบนอบใดๆ    เป็นการที่เราหลอกลวงตนเองในความเป็นมนุษย์ของเรา การถากถางในคำพูดของเราเอง เป็นการทำสิ่งที่เราเกลียดให้เป็นนิสัยสันดาน เป็นการขัดขวางการที่เราจะยอมจำนนอ่อนน้อม เป็นการละโมบอยากได้อำนาจ เป็นการปรารถนาที่จะทำให้ผู้อื่นต่ำต้อยลง    เป็นความเกียจคร้านที่จะทำงานกิจการใดๆ    เรากระทำสิ่งเหล่านี้โดยอาศัยการกระตุ้นและเข้าแทรกแซงในกิจการงานของผู้อื่น    เราปรารถนาที่จะรับรู้ทุกๆ เรื่องโดยอาศัยการสอดรู้สอดเห็นอย่างออกนอกหน้า        เราชอบที่จะพูดในสิ่งต่างๆ แม้ว่าเราจะไม่มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งนั้นๆ เลยก็ตาม

เราอาจจะมีความทะนงตัวที่ทำให้เราชอบพูดเยาะเย้ยถากถาง (Cynical)     ซึ่งหากเราเป็นเช่นนั้นแล้ว เราจะชอบพูดตัดบท กระแหนะกระแหน เหน็บแนม พูดจาเสียดสี      เราจะล้อเลียน เยาะเย้ย ด่าว่าและตัดสินผู้อื่นอย่างผิดๆ

ความทะนงตัวที่เคร่งระเบียบแบบแผน (Pharisaical pride) ชักนำเราสู่การโอ้อวดและการวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น    เราจะเป็นคนพูดมากเกินความจำเป็น; ที่จะนำเราสู่การพูดโกหกและข้อขัดแย้งระหว่างกัน; นำเราสู่การเคารพให้ความ สำคัญต่อผู้อาวุโสหรือมีฐานะทางสังคมมากกว่าการเคารพให้ความสำคัญต่อคุณธรรมความดีงาม สภาพการหยิ่งยะโสจองหองถือตัว    การดูถูกเหยียดหยามต่อผู้อื่นที่เราเชื่อว่าผู้อื่นนั้นต่ำต้อยกว่าตนเองจะเกิดขึ้นจากความทะนงตัวเช่นนี้    ความทะนงตัวอย่างที่เคร่งระเบียบแบบแผนนี้จะแสดงออกอย่างชัดเจนด้วยการกระทำของเราที่ยึดถือระเบียบกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด    ทำให้เราทำหน้าที่ของเราโดยปราศจากจิตใจแต่เต็มไปด้วยการเสแสร้งแกล้งทำ (hypocrisy).

ความทะนงตัวของเราอาจซ่อนตัวมันเองอยู่ในความรู้สึกอ่อนไหว (Sensitiveness) หรือ การสงสารเพียงตนเอง    ในกรณีนี้เราจะรู้สึกวิตกกังวลเกินเหตุ (Over-anxious) เกี่ยวกับความคิดของผู้อื่นที่มีต่อตนเอง    เราจะกังวลถึงแต่เรื่องที่เราจินตนาการขึ้นมาอย่างผิดๆ และไม่อาจให้อภัยต่อผู้อื่นได้โดยง่าย  สิ่งที่คล้ายคลึงกับความทะนงตัวลักษณะนี้มากที่สุด คือ ความทะนงตัวแบบขาดกลัว (Pride of timidity) ซึ่งเกิดขึ้นจากการรู้สึกกลัวอย่างไม่มีเหตุผล    สิ่งนี้ทำให้เรารู้สึกเกรงกลัวต่อความคิดเห็นของผู้อื่น    ดังนั้นเราจึงมักพินอบพิเทาต่อผู้อื่นเกินไป    ภายใต้การกระตุ้นโดยความทะนงตัวนี้เราจะมิอาจกระทำการใดๆ ที่เราควรกระทำได้เพราะว่าความกลัวอันไร้เหตุผลนี้จะยึดเราไว้กับจิตใจที่เฉื่อยชาที่ค่อยๆ บ่อนทำลายความพยายามของเรา    และทำให้เราไม่สามารถใช้วิจารณญาณได้ดีพอ แล้วเราก็จะปล่อยให้โอกาสผ่านไปโดยมิได้ใช้ให้เป็นประโยชน์

    ความทะนงตัวแบบพิถีพิถัน (Pride of scrupulosity) จำกัดความสนใจของเราในข้อผิดพลาดต่างๆ เท่านั้น    นั่นทำให้เราให้ความสำคัญอย่างมากกับสิ่งที่ไม่ถูกศีลธรรมในขณะที่เราละเลยที่จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราควรจะสนใจเกี่ยวกับตัวเรา    ความทะนงตัวของเราอาจเพ่งความสนใจไปที่ความร่ำรวยและความเจริญก้าวหน้าของเรา, สถานะทางสังคมของเรา, เสื้อผ้าอาภรณ์ของเราที่ต้องดีเริดหรู, ความสวยงามหรือพละกำลัง    ความทะนงตัวนี้อาจเติบโตขึ้นจนเกินความเคร่งครัดในทางศาสนาและศีลธรรมอันดีด้วยข้อสนใจที่กล่าวไว้ข้างต้น

    ความทะนงตัวสามารถทำให้คุณความดีทุกๆ อย่างล่มสลายลง และ ชักนำเราไปสู่ความไร้ระเบียบทุกๆ อย่าง    คนที่ทะนงตัวนั้นสามารถกระทำบาปได้ทุกอย่าง    “ความเย่อหยิ่งย่อมนำหน้าหายนะ      ใจหยิ่งยโสย่อมนำหน้าการสะดุดล้ม” (สภษ 16 : 18)        ดังนั้นมันจึงจำเป็นอย่างที่สุดที่ชีวิตจิตของเราจะต้องต่อสู้กับพยศชั่วนี้ไม่ว่ามันจะมาในรูปแบบใดก็ตามถ้าเรายินยอมให้พยศชั่วนี้เข้าสู่จิตใจของเรา, บาปอื่นอีกมากก็จะติดตามเข้าสู่จิตใจเราพร้อมกับมันด้วยและในไม่ช้าเราก็จะตกเป็นทาสของปีศาจ    เราต้องระวังมิให้ตกหลุมพรางของพยศชั่วนี้    เพราะในบั้นปลายของความทะนงตัวนี้ ผู้ที่ไม่สำนึกบาปผิดจะต้องอยู่ในไฟนรกชั่วนิรันดร์เช่นเดียวกับปีศาจอื่นๆ ดังที่พระเยซูเจ้าได้ทรงตรัสไว้

การปรับปรุงแก้ไขสำหรับความทะนงตัว
    หนทางเดียวในการลดการทะนงตัว คือ การหมั่นปฏิบัติการนอบน้อมถ่อมตัว    นี่อาจจะฟังดูขัดแย้งกันอยู่บ้าง แต่คนที่นอบน้อมถ่อมตัวนั้นตระหนักดีว่าเขานั้นมีความทะนงตัวอยู่และพยายามอย่างมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังในการเอาชนะการแสดงออกใดๆ ถึงความทะนงตัวในการดำเนินชีวิตของเขาหรือเธอ
    ในการมุ่งมั่นที่จะนอบน้อมถ่อมตัวนั้น เราต้องมีความนอบน้อมถ่อมตัว        ให้เรานึกภาพถึงตัวอย่างที่พระเยซูเจ้าทรงให้ไว้แล้ว    เราต้องระลึกอยู่เสมอว่าพระเยซูคริสตเจ้าทรงตรัสไว้แล้วถึงผลของความนอบน้อมถ่อมตัวและการลงโทษทัณฑ์สำหรับความทะนงตัว    เราต้องใกล้ชิดกับพระเจ้าและทำตามพระประสงค์ของพระองค์ด้วยสิ้นสุดจิตใจของเรา    เราต้องวอนขอความช่วยเหลือจากพระองค์ในคำภาวนาซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อทรงประทานคุณงามความดีนี้ให้แก่เรา    เราต้องดำเนินชีวิตโดยมีพระเจ้าสถิตอยู่กับเราเสมอ  พยายามที่จะปฏิเสธตัวตนของตนเอง และแสวงหาคุณธรรมความดีของคริสตชนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความอดทน การข่มใจ (forbearance) ทำกิจการกุศลเมตตาจิต ความสุภาพอ่อนโยน    เราต้องไม่แสวงหาเกียรติยศชื่อเสียง แต่ให้เรายอมรับว่าเราเองนั้นไม่มีค่าอะไรเลยและยังขาดซึ่งคุณธรรมต่างๆ อยู่    และเราต้องตั้งใจที่จะยอมรับความอัปยศอดสูต่างๆ ได้และมุ่งมั่นที่จะแสวงหาพระเจ้าในทุกๆ สิ่ง