แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 5
ความเมตตาหาที่สุดมิได้
บิดาผู้ใจดี (ลก.15.11-32)
มนุษย์คนหนึ่งแตกต่างจากแกะตัวหนึ่งและแตกต่างจากเงินเหรียญเพียงเหรียญเดียวมากนัก เมื่ออ่านเรื่องอุปมาเกี่ยวกับพระเมตตากรุณา  2  เรื่องแรก พระเยซูเจ้าทรงตระหนักมากเกี่ยวกับความแตกต่างมากมายนี้ จึงเกิดเรื่องอุปมาเป็นผลงานศิลป์ นี่คือเรื่องอุปมาที่มีเหตุผลดีเลิศ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเปลี่ยนชื่อ  ก็ไม่ควรใช้ชื่อ “ลูกล้างผลาญ” หรือ “บิดาแสนดี” แต่ควรใช้ชื่อ “บิดาที่มีความเมตตา” ให้เราอ่านเรื่องอุปมาอีกครั้งเพื่อดื่มด่ำถึงความมั่งคั่งและความลึกซึ้งทั้งหมดของเรื่องอุปมานี้

พระองค์ยังตรัสอีกว่า ‘ชายผู้หนึ่งมีบุตรสองคน   บุตรคนเล็กพูดกับบิดาว่า   “พ่อครับ โปรดให้ทรัพย์สมบัติส่วนที่เป็นมรดกแก่ลูกเถิด” ต่อมาไม่นาน บุตรคนเล็กรวบรวมทุกสิ่งที่มีแล้วเดินทางไปยังประเทศห่างไกล ที่นั่นเขาประพฤติเสเพลผลาญเงินทองจนหมดสิ้น
 ‘เมื่อเขาหมดตัว   ก็เกิดความกันดารอาหารอย่างหนักทั่วแถบนั้น   และเขาเริ่มขัดสน  จึงไปรับจ้างอยู่กับชาวเมืองคนหนึ่ง  คนนั้นใช้เขาไปเลี้ยงหมูในทุ่งนา เขาอยากกินฝักถั่วที่หมูกินเพื่อระงับความหิว และแต่ไม่มีใครให้อะไรแก่เขาเลย  เขาจึงรู้สำนึกและคิดว่า “ผู้รับใช้ของพ่อฉันมีอาหารกินอุดมสมบูรณ์ ส่วนฉันอยู่ที่นี่ กำลังจะตายเพราะความหิวอยู่แล้ว  ฉันจะกลับไปหาพ่อ พูดกับพ่อว่า “พ่อครับ ลูกทำบาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ  ลูกไม่สมควรได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีก โปรดนับว่าลูกเป็นผู้รับใช้คนหนึ่งของพ่อเถิด”  เขาก็กลับไปหาบิดา
‘ขณะที่เขายังอยู่ไกล บิดามองเห็นเขา รู้สึกเวทนาสงสาร จึงวิ่งไปสวมกอดและจูบเขา   บุตรจึงพูดกับบิดาว่า   “พ่อครับ ลูกทำบาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีก”  แต่บิดาพูดกับผู้รับใช้ว่า  “เร็วเข้า จงไปนำเสื้อสวยที่สุดมาสวมให้ลูกเรา นำแหวนมาสวมนิ้ว นำรองเท้ามาใส่ให้  จงนำลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้วไปฆ่า แล้วกินเลี้ยงฉลองกันเถิด  เพราะลูกของเราผู้นี้ตายไปแล้วกลับมีชีวิตอีก หายไปแล้ว ได้พบกันอีก” แล้วการฉลองก็เริ่มขึ้น
 ‘ส่วนบุตรคนโต อยู่ในทุ่งนา เมื่อกลับมาใกล้บ้าน ได้ยินเสียงดนตรีและการร้องรำ  จึงเรียกผู้รับใช้คนหนึ่งมาถามว่าเกิดอะไรขึ้น  ผู้รับใช้บอกเขาว่า “น้องชายของท่านกลับมาแล้ว บิดาสั่งให้ฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้ว เพราะเขาได้ลูกกลับคืนมาอย่างปลอดภัย”  บุตรคนโตรู้สึกโกรธ ไม่ยอมเข้าไปในบ้าน บิดาจึงออกมาขอร้องให้เข้าไป  แต่เขาตอบบิดาว่า “ลูกรับใช้พ่อมานานหลายปีแล้ว ไม่เคยฝ่าฝืนคำสั่งของพ่อเลย พ่อก็ไม่เคยให้ลูกแพะแม้แต่ตัวเดียวแก่ลูกเพื่อเลี้ยงฉลองกับเพื่อน ๆ  แต่พอลูกคนนี้ของพ่อกลับมา เขาคบหญิงเสเพล ผลาญทรัพย์สมบัติของพ่อจนหมด พ่อยังฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้วให้เขาด้วย”
‘บิดาพูดว่า “ลูกเอ๋ย ลูกอยู่กับพ่อเสมอมา ทุกสิ่งที่พ่อมีก็เป็นของลูก   แต่จำเป็นต้องเลี้ยงฉลองและชื่นชมยินดี   เพราะน้องชายคนนี้ของลูกตายไปแล้ว กลับมีชีวิตอีก หายไปแล้ว ได้พบกันอีก” (ลก.15.11-32)


1.    เกินกว่าการตอบแทนที่ชอบธรรม
เรื่องอุปมาของบิดาที่เมตตากรุณาเป็นปมที่ยากที่จะเข้าใจ ที่สามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกันโดยเลือกเส้นด้ายเส้นหนึ่งจากหลายเส้นในเรื่องเล่า ให้เราเลือกสิ่งที่ดูเหมือนเป็นเส้นที่สำคัญที่สุดที่อยู่ใต้พื้นผิว นั่นคือการรับการตอบแทนที่เป็นธรรม
    ตั้งแต่เริ่มเรื่อง พระเยซูเจ้าทรงบ่งชี้หัวเรื่องการรับการตอบแทนที่เป็นธรรม ที่เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สุด ชายคนหนึ่งมีบุตรชาย 2 คน บุตรคนหนึ่งถามว่าเขาสมควรได้รับมรดกเท่าไร และบิดาจึงแบ่งทรัพย์สินของเขา  ในสมัยของพระเยซูเจ้า ธรรมบัญญัติยิวกำหนดให้บุตรคนโต (บุตรหัวปี)ได้รับมรดกสองส่วนสามขณะที่บุตรคนเล็กได้รับมรดกหนึ่งส่วนสาม (ดู ฉธบ. 21.27) บิดาให้ส่วนที่บุตรคนเล็กอ้างสิทธิมาโดยไม่ได้ทัดทานบุตรเลย ขณะที่บุตรคนเล็กใช้ชีวิตอย่างสุรุ่ยสุร่ายโดยแยกตัวไปอยู่ในพื้นที่ห่างไกล   เหตุผลหนึ่ง เพื่อให้มรดกของเขาปลอดภัย และอีกเหตุผลหนึ่งคือ พ้นจากอิทธิพลของบุตรชายคนโต ตามวิธีคิดที่ชอบธรรมและถูกต้องแล้ว ถ้าบุตรชายคนเล็กจะกลับบ้าน เขาไม่อาจอ้างสิทธิใดๆจากบิดาและพี่ชายของเขาอีกแล้ว ควรให้อภัยบุตรคนเล็กจากการทำผิดร้ายแรงที่สุด แต่ไม่ควรลืมความผิดของเขา!  กรณีบิดาอาจลืมความเบี่ยงเบนที่โชคร้ายของบุตรคนเล็ก  ขณะที่บุตรคนโตมักพร้อมที่จะจดจำเรื่องของเขาทั้งสอง  ดังนั้น  ต้องเคารพกฎแห่งการตอบแทน นั่นคือ ใช้กฎแห่งการตอบแทนสำหรับคนที่ทำดี และไม่ตอบแทนสิ่งใดเลย (หรือแม้กระทั่งต้องลงโทษด้วย) สำหรับคนที่ทำผิด
    ความจริง เรื่องอุปมาละเมิดกฎแห่งการตอบแทนที่เป็นธรรมตั้งแต่ตำแหน่งสูงสุดถึงต่ำสุด เป็นการเปิดเผยความรักเหลือล้นของบิดา บิดาไม่ได้อยู่ในบ้านขณะที่คอยบุตรชายทั้งสอง เขาแสดงให้เห็นชัดว่า บุตรคนเล็กสำนึกผิดจริงๆและเขาไม่ได้ถามว่าบุตรคนเล็กผลาญส่วนของมรดกของเขาหมดเกลี้ยงได้อย่างไรด้วยซ้ำ   เขากลับจัดงานเลี้ยงฉลองด้วยดนตรีและการเต้นรำ การที่บิดาแสดงออกต่อบุตรคนโตก็สักหน่อยที่ยากจะจินตนาการได้: เขาไม่ได้รอให้บุตรคนโตกลับจากทุ่งนา เพราะที่ซึ่งเขากำลังทำงานเพื่อครอบครัว หรือเขาไม่ได้ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีที่เขาจะแสดงต่อน้องชาย เรื่องอุปมานี้เผยแสดงโฉมพระพักตร์ของพระเจ้า พรรณนาอย่างละเอียดละออและไม่มีบกพร่องแม้แต่น้อยในการแสดงความเป็นมนุษย์ ความมีมนุษยธรรมที่ไม่ขาดหายในพระเจ้า แต่เป็นส่วนเกินจนเหลือเฟือ
    บุตรทั้งสองไม่อาจเข้าใจตรรกะของการให้เพื่อที่จะรับของบิดา ที่ละเมิดความเมตตาต่อกฎแห่งการตอบแทนที่เป็นธรรม  บุตรคนเล็กได้รับส่วนมรดกที่ควรเป็นของเขา,แล้วใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายกับหญิงโสเภณี และตัดสินใจที่จะกลับบ้านไปหาบิดา ตอนแรกบุตรคนเล็กไม่ได้กลับไปหาบิดาเพราะเขาสำนึกผิด แต่เพราะเขาไม่มีทางออก ในสถานการณ์เช่นนั้น เขาจินตนาการมากที่สุดที่ว่า  ขอให้บิดากระทำกับเขาเหมือนเป็นผู้รับใช้ในบ้านของบิดา นี่ไม่ใช่การสำนึกผิดที่เริ่มเป็นแรงจูงใจให้เขากลับบ้าน แต่เป็นเพราะเขาหิวโหยมากกว่า
    เช่นเดียวกัน บุตรคนโตคิดเหมือนคนทั่วไปที่จะได้รับสิ่งที่ควรได้ เขารับใช้บิดามาหลายปี,เขาไม่เคยฝ่าฝืนคำสั่งของบิดาเลย บิดาก็ไม่เคยให้แพะแม้แต่ตัวเดียวแก่เขาเพื่อเลี้ยงฉลองกับเพื่อน  เราเห็นว่าในการมองดูความเมตตาของบิดา  บุตรคนโตกล่าวหาบิดาที่ละเมิดหลักของการตอบแทนที่เป็นธรรม เขาไม่อาจคิดว่า น้องชายเป็นบุตรของบิดาเดียวกัน แต่ให้คำนิยามสำหรับน้องชายว่าเป็นเพียง “ลูกคนนี้ของพ่อ”(ข้อ 30) เขามองบิดาของเขาจากมุมมองของ “รางวัลที่ชอบธรรม” เท่านั้น,การมองเช่นนี้กีดขวางเขาจากการยอมรับบิดาว่า เป็นบิดาของเขาและยอมรับน้องชายว่าเป็นน้องของเขาเอง
นักวิจารณ์ให้ข้อสังเกตถึงการไม่ปรากฏตัวของมารดาในเรื่องอุปมา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแบ่งมรดกครอบครัว ที่สิทธิและหน้าที่นี้เป็นอำนาจทางกฎหมายของบิดา ไม่ใช่ของมารดา  ในจดหมายถึงชาวกาลาเทีย    นักบุญเปาโลกล่าวว่า กระบวนการแบ่งมรดกให้บุตร ยกให้เป็นอำนาจของบิดา ตามเวลาและวิธีการที่บิดาปรารถนา (ดู 4.1-2 - “ตลอดเวลาที่ทายาทคนหนึ่งยังเป็นเด็ก เขาก็ไม่แตกต่างอะไรจากทาสเลย ทั้งๆ ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมด  เขายังต้องถูกผู้ปกครองและผู้จัดการควบคุมดูแลจนกว่าจะถึงเวลาที่บิดากำหนดไว้”) ให้เรามองดูถึงความเมตตาหาที่สุดมิได้ของบิดาในความสัมพันธ์ต่อบุตรทั้งสองคนอย่างใกล้ชิดขึ้น

2.    บิดาทิ้งบ้านถึงสองครั้ง
    เป็นการยากลำบากสำหรับบางวัฒนธรรมท่ามกลางความขัดแย้งต่างๆที่ทวีมากขึ้นสามารถเกิดขึ้นภายในกำแพงบ้าน เป็นไปไม่ได้ที่จะจินตนาการถึงบิดาคนหนึ่งที่ทิ้งบ้านเพื่อไปหาบุตรที่ตามใจตัวเองและออกนอกลู่นอกทาง ถ้าเสนอให้ตั้งชื่อเรื่องปกติว่า เรื่องอุปมา  “ลูกล้างผลาญ”,  ก็นับว่าไม่เพียงพอ,เพราะตัวเอกคือบิดาที่ไม่โต้แย้งอะไร เป็นวิธีที่บิดาเชื่อมโยงกับบุตรชายทั้งสองคนด้วยการละเมิดกระบวนการมาตรฐานที่จะตอบแทนอย่างเป็นธรรม
    ตอนเริ่มเรื่อง บิดาทำตามคำร้องขอของบุตรคนเล็ก ไม่มีคำอธิบายว่าเหตุใดบุตรชายคนเล็กขอส่วนแบ่งมรดกเป็นเพราะบุตรชายคนเล็กขัดแย้งกับบุตรคนโตใช่ไหม  หรือเพราะเขาไม่อยากร่วมวิถีชีวิตของบิดาใช่ไหม หรือเพราะเขารู้สึกต้องการมีชีวิตอิสระ ไม่ว่าแรงจูงใจของเขาจะเป็นเช่นไร ไม่ได้บ่งบอกในเรื่อง เนื่องจากผู้เล่าเรื่องสนใจที่บุตรรีบจากบ้านของบิดา มากกว่าบอกสาเหตุที่จากบ้านไป
หลังจากพรรณนาการทำตัวเสเพลของบุตรคนเล็ก ก็กลับไปพรรณนาบิดาที่แสดงออกด้วยวิธีประหลาด บิดาเห็นบุตรชายคนเล็กของเขาแต่ไกล ซึ่งแสดงว่า เขาตั้งตารอยคอยบุตรตั้งแต่บุตรจากบ้านไป  เขามีความเวทนาสงสารต่อบุตร  จึงวิ่ออกไปหาเขาและกอดจูบเขา (ข้อ 20) จึงเหลือเวลาเพียงเล็กน้อยที่บุตรจะได้บอกความในใจที่เตรียมมาพูดเมื่อพบบิดา แต่บิดาพูดขัดจังหวะบุตร ก่อนที่จะได้ยินคำร้องขอของบุตรที่ขอให้รับตนเป็นเพียงผู้รับใช้คนหนึ่ง บิดาสั่งคนใช้ให้นำเสื้อสวยที่สุดมาสวมให้บุตร นำแหวนมาสวมนิ้วของเขา นำรองเท้ามาใส่ให้ที่เท้าของเขา   แล้วฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วนสำหรับงานเลี้ยงฉลอง  ในท่ามกลางทุกสิ่งทุกอย่างที่บิดาทำเพื่อบุตรคนเล็กซึ่งเป็นบุคคลสำคัญสำหรับบิดา ซึ่งบ่งชี้จุดเปลี่ยนของเรื่องอุปมาที่งวดขึ้นในวลีที่ว่าเขา “รู้สึกเวทนาสงสาร”(ข้อ 20)
    บิดาแสดงออกตามสัญชาติญาณแห่งความเป็นบิดาที่มีต่อบุตรที่พลัดหลงด้วยความตื้นตันใจสุดซึ้งของมนุษย์ เราเห็นวลีเดียวกันที่เป็นเหมือนจุดเปลี่ยนของอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี “เขารู้สึกเวลทนาสงสาร” (ลก.10.33) ความเมตตาของชาวสะมาเรียผู้ใจดีที่มีต่อคนใกล้สิ้นชีวิตคล้ายคลึงกับความกรุณาของบิดาที่มีต่อบุตรที่พลัดหลง ถ้าบิดาปราศจากความเวทนา จะเป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจะวิ่งออกไปหาบุตร กอดและฟื้นฟูศักดิ์ศรีที่เสียไปของเขา นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 (พระสันตะปาปา) ตรัสไว้อย่างดีในสมณสาส์นเรื่อง “ร่ำรวยด้วยพระเมตตากรุณา” (Dives   in Misericordia 30 พ.ย 1980) พระองค์ตรัสถึงเรื่องอุปมานี้ว่า   ความเที่ยงตรงของบิดาที่มีต่อตัวเองนั้น มุ่งเน้นเพียงเรื่องความเป็นมนุษย์ และศักดิ์ศรีของบุตรชายที่หลงผิดไปเท่านั้น (6) ความเมตตาของบิดาไม่ใช่คุณธรรมทางจริยธรรมของเขา เป็นจุดสำคัญของเรื่องอุปมา คุณธรรมของเขาเป็นคุณลักษณะนิสัยที่ดี แต่ความเมตตาคือ การกำหนดทิศทางที่แสดงความลึกล้ำของวิญญาณของคนๆหนึ่งในขั้นวุฒิภาวะ เพื่อเขาจะแสดงความกรุณาต่อผู้อื่นได้
การทดสอบที่ยากเข็ญที่สุดของบิดายังมาไม่ถึง นั่นคือวิธีคิดของบุตรชายคนโตที่ถูกเผยแสดงออก การที่บุตรชายคนโตปฏิเสธที่จะเข้าบ้านเป็นเรื่องเศร้า  เพราะความโกรธของเขาตรึงเขาให้อยู่ที่บริเวณทางเข้าบ้าน ที่เขาเคยเดินเข้า-ออกหลายครั้ง ดังนั้น บิดาจึงตัดสินใจที่จะออกจากบ้านอีกครั้งหนึ่งเพื่อขอร้องบุตรชายคนโต  ครั้งนี้ บิดาจ่ายราคาสูงกว่าราคาที่จ่ายสำหรับบุตรคนเล็กเพราะบิดาต้องถูกบุตรคนโตตำหนิแบบไม่ไว้หน้าทีเดียว บุตรคนโตกล่าวหาว่าบิดาเป็นคนตระหนี่ ไม่พร้อมที่จะให้ลูกแพะแก่เขาเพื่อเลี้ยงฉลองกับเพื่อนๆ ดูเหมือนบิดาผิดพลาดในบทบาทของเขา  เมื่อเขาไม่ได้ตอบแทนบุตรผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อเขา แต่กลับฆ่าลูกวัวเพื่อเลี้ยงฉลองบุตรที่ประพฤติเสเพล ความโกรธทำให้บุตรคนโตบิดเบือนความจริงที่เขาเรียนรู้มาตั้งแต่ต้น นั่นคือ  ถึงแม้บิดาไม่อาจปฏิเสธคำร้องขอแบ่งส่วนมรดกของบุตรคนเล็ก แต่ส่วนใหญ่ของมรดกครอบครัวก็ยังเป็นส่วนของบุตรชายคนโต
    ความเมตตาของบิดามีไม่จำกัด เขาสามารถตอบว่า เขามีหน้าที่บิดาตราบเท่าที่บุตรชายอาศัยอยู่ในบ้านของเขา ตามกฎของการรับมรดก,บิดาสามารถทำอะไรก็ได้กับทรัพย์สินตามที่เขาปรารถนาตราบเท่าที่เขายังมีชีวิตอยู่ แต่บิดาพบกับบุตรคนโตในระดับของบุตร และสนับสนุนบุตรคนโตเพื่อคิดทบทวนความสัมพันธ์ของเขา บิดาพูดเรื่องสำคัญกับบุตรคนโตอย่างอ่อนโยน  ถึงแม้บุตรไม่เคยเรียกเขาว่า“พ่อ”ก็ตาม  บิดาเรียกบุตรคนโตว่า“ลูก” (teknon)เป็นคำที่ชี้ถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิด บิดาตระหนักว่า มรดกที่เหลืออยู่เป็นของบุตรชายคนโต แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น  แต่บิดาติดใจที่จะเน้นการเปลี่ยนคำพูดของบุตรคนโตที่ว่า “ลูกคนนี้ของพ่อ” ให้เป็น “น้องชายคนนี้ของลูก”(ข้อ 32)  การกลับใจอย่างลึกซึ้งที่บิดากำลังรอ ไม่ใช่รอการกลับใจของบุตรคนเล็กที่กลับบ้าน (ความจริงแล้ว บุตรคนเล็กอาจจะอดอยากตาย นี่เป็นเหตุผลที่แท้จริงของการกลับบ้าน)  แต่บิดารอการกลับใจของบุตรชายคนโตที่ไม่สามารถยอมรับบิดาและน้องชายของเขามากกว่า
ขณะที่เราคิดและพูดเกี่ยวกับ “พระศาสนจักรที่ออกไปข้างนอก”  ครั้งแรก เราต้องเห็น “บิดาที่ออกไปนอกบ้านในเรื่องอุปมา เนื่องจากเขามีความเมตตาอย่างเหลือเฟือสำหรับบุตรทั้งสอง บิดาไม่รอพวกเขาโดยอยู่ภายในบ้าน แต่เขาวิ่งออกไปพบบุตรคนเล็กและเข้าถึงบุตรคนโต เพื่อทำให้บุตรทั้งสองท่วมท้นด้วยความเมตตาของเขา

3.    บุตรที่ตายไปแล้วกลับมีชีวิตอีก
ความเศร้าสลดของบุตรคนเล็กคือ ยิ่งเขาอยู่ไกลจากบิดามากเท่าไร,สถานการณ์ยิ่งเลวลง หลังจากบุตรได้รับมรดกในส่วนของเขาแล้ว   เขาก็เดินทางไปยังประเทศห่างไกล ที่เขาล้างผลาญมรดกและประพฤติเสเพล     ผลาญเงินทองจนหมดสิ้น เมื่อมีฝูงสุกรในดินแดน ที่อยู่ห่างไกลแสดงว่าเขาได้ออกไปนอกชายแดนของดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ที่ซึ่งไม่อนุญาติให้เลี้ยงสุกรเพราะถือว่าสุกรไม่สะอาด ดังนั้น การเลี้ยงสุกรเป็นสิ่งที่น่าอับอายเป็นที่สุด – สำหรับบุตรคนเล็ก ถึงจุดที่ว่า นายจ้างยังไม่ยอมให้เขากินฝักถั่วที่เอาไว้เลี้ยงสุกรด้วยซ้ำไป เมื่อนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโปประเมินชีวิตของท่านก่อนกลับใจ  ท่านสะท้อนสภาพของบุตรคนเล็กว่า “ข้าแต่พระเจ้า เวลาที่ข้าพระองค์เป็นวัยรุ่น ข้าพระองค์พลัดหลงจากพระองค์ และเที่ยวเตร่ไป ข้าพระองค์เองได้กลายเป็นดินแดนแห่งความทุกข์ระทม” (Confession 2,10,18)
สภาพขัดสนนำบุตรคนเล็กไปสู่ความรู้สึกต่างๆ  เขาจึงไตร่ตรองสถานการณ์ที่ทำให้เขาอยู่ในกับดัก เขาคิดถึงบรรดาผู้รับใช้ในบ้านของบิดาว่า ขณะที่เขาไม่สามารถเลี้ยงตัวเองแม้ด้วยฝักถั่ว ผู้รับใช้ของบิดากลับมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจที่จะกลับบ้านและขอบิดาให้ถือว่า เขาเป็นเพียงผู้รับใช้คนหนึ่งของบิดาเท่านั้น เพื่อเขาจะได้ไม่ต้องอดอยากตาย บุตรชายคนเล็กยังตระหนักว่า เขาทำบาปผิดต่อสวรรค์ และต่อบิดาของเขาด้วย และดังนั้น เขาก็จะพอใจกับการถูกปฏิบัติเหมือนผู้รับใช้เท่านั้น สิ่งที่ดึงดูดความสนใจเขาตั้งแต่แรก (ก่อนที่เขาแสดงความสำนึกผิด) คือการมีอาหารรับประทาน  และในเมื่องเขายังหาทางออกอย่างอื่นไม่ได้   เขาจึงเริ่มเดินกลับบ้าน
    บุตรคนเล็กรู้สึกประหลาดใจเมื่อพบกับบิดา ที่วิ่งไปหาเขา  กอดเขาและจูบเขาเป็นการใหญ่  ความเมตตาของบิดาเป็นเรื่องไม่สมควร แต่สามารถบรรเทาความหิวโหยของบุตร และกู้ศักดิ์ศรีของบุตรที่สูญเสียไป โดยไม่ต้องร้องขอคำอธิบายหรือคิดเรื่องค่าใช้จ่ายใดๆ  บิดารีบให้บุตรสวมเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ดีที่สุดและมีแหวนสวมใส่ที่นิ้วของเขาและรองเท้าที่เท้าของเขา ก่อนที่บุตรคนเล็กจะเห็นบิดาอีกครั้ง บุตรคนนี้ได้ถูกลดตัวเป็นขอทาน เขาไม่มีศักดิ์ศรีของการเป็นบุตรอีกต่อไป มีแต่ความอัปยศที่ต้องเลี้ยงสัตว์ที่มีมลทินทางศาสนา ที่ห้ามรับประทาน (สำหรับชาวอิสราเอล)
    เสียงดนตรีและการเต้นรำมาจากบ้านของบิดา หมายความว่าบิดาต้อนรับบุตรกลับสู่ครอบครัว “เขาตายไปแล้วกลับเกิดใหม่ หายไปแล้ว ได้พบกันอีก”  สิ่งที่คืนชีวิตแก่บุตรชายที่ตายแล้ว ไม่ใช่การสำนึกผิดของบุตรเอง แต่เป็นความเมตตามหาศาลของบิดาต่างหาก,ความเมตตาที่มีต่อบุตรชายทำให้บุตรคนเล็กเป็นสิ่งสร้างใหม่และกำลังเริ่มต้นชีวิตใหม่  ความเมตตาของบิดาเป็นมากกว่าอารมณ์ มันถูกเปลี่ยนให้เป็นความรู้สึกตื้นตันใจที่เห็นบุตรคนเล็กที่ตายไปแล้วกลับเกิดใหม่

    4.  “นี่ น้องชายของเจ้า” (ข้อ 32)
นี่เป็นเพียงกรณีหนึ่ง แต่ตามพระคัมภีร์ บุตรคนแรกหรือบุตรคนโตไม่มีทรัพย์สินมากในชีวิตเสมอไป ถึงแม้กฎหมายกำหนดล่วงหน้าที่เป็นบุตรแห่งพันธสัญญาหรือบุตรแห่งมรดก,พวกเขามักประสบโชคร้ายที่ถูกคนอื่นมาล่วงละเมิดสิทธิตามธรรมชาติของเขา  เรารู้เรื่องราวเกี่ยวกับกาอินและอาแบล,เอซาวและยาโคบ บรรดาบุตรของยาโคบพอๆกับโยเซฟจนถึงกษัตริย์ดาวิดบุตรที่น่าเคารพของเจสซี  ความจริงที่ขัดแย้งกันที่ยิ่งใหญ่มโหฬารของประวัติศาสตร์แห่งความรอดคือ พระเจ้าทรงละเมิดกฎของพระเจ้าเกี่ยวกับบุตรคนแรกเสียเอง เพื่อเหตุผลที่สำคัญมากจริงๆ  เมื่อกล่าวถึงการตอบแทนของพระเจ้าและการรับมรดก ทุกสิ่งต้องหลั่งไหลในระดับพระหรรษทาน และไม่ใช่ในระดับของสิทธิทางกฎหมาย  ในเรื่องอุปมานี้ บิดาที่เมตตากรุณายอมรับว่า มรดกของบิดาเป็นสิทธิของบุตรชายคนโต แต่บิดาขอให้บุตรคนโตปรับความคิดวิธีคิดของเขา
    ส่วนที่สองของเรื่องกลายมาเป็น “เรื่องอุปมาซ้อนในเรื่องอุปมาอีกเรื่องหนึ่ง” และบุตรคนโตเป็นตัวชูโรง “เขากลับมาจากทุ่งนา ที่ซึ่งเขากำลังทำงานเพื่อบิดา เขาได้ยินเสียงดนตรีและการเต้นรำ  เขาจึงเรียกผู้รับใช้คนหนึ่งมาถามว่าเกิดอะไรขึ้น  เหมือนผู้รับใช้โยนก๊าสบนกองไฟด้วยคำพูดเสียดสีขนานใหญ่ว่า “น้องชายของท่านกลับมาแล้ว บิดาสั่งให้ฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วนซะด้วย”
    บุตรคนโตควบคุมโทสะของตนไม่ได้ เขาตัดสินใจไม่เข้าไปในบ้าน,และเมื่อบิดาออกนอกบ้านเพื่อไปขอร้องเขา บุตรคนโตพาลกับทุกคน เขากล่าวหาว่าบิดาเป็นคนตระหนี่ เพราะเขาไม่เคยยอมให้ลูกแพะแม้แต่ตัวเดียวแก่เขาเพื่อเลี้ยงฉลองกับเพื่อน ๆ  และกล่าวหาน้องชายว่าเป็นคนที่เสื่อมเสีย (ลูกคนนี้ของบิดา) เป็นผู้ที่ผลาญทรัพย์สมบัติที่เป็นส่วนของเขาไปกับหญิงโสเภณีอย่างไม่เสียดาย ในใจกลางของ “เรื่องอุปมาซ้อนในเรื่องอุปมาอีกเรื่องหนึ่ง” เราพบคำกริยา “โกรธ”) (ข้อ 28) ที่ตรงข้ามมากกับกริยาวลีในส่วนแรกของเรื่องอุปมา ขณะที่บิดา “รู้สึกเวทนาสงสาร” (ข้อ 20)และรู้สึกสะเทือนใจต่อบุตรคนเล็กที่หลงผิด  บุตรคนโตกลับ “โกรธ” บิดาของเขา  ความโกรธทำให้เขามืดบอดและขัดขวางเขาจากการเห็นสิ่งดีๆ ว่า น้องชายสบายดีแล้ว ตายไปแล้ว แต่บันดนี้กลับมีชีวิตขึ้นใหม่  เขาหลงหายไป แต่บัดนี้ กลับมาพบกันอีก  บุตรคนโตไม่เห็นสิ่งใดนอกจากบาปของน้องชาย ซึ่งกีดขวางเขาจากการเห็นทรัพย์สินที่บิดาเก็บสะสมไว้ให้เขา เขาเห็นว่า การที่บิดาไม่ตำหนิความผิดของบุตรคนเล็ก ทำให้ความผิดของน้องชายดูเบาบางลงทันที  การที่บุตรคนเล็กผลาญสมบัติไปกับหญิงโสเภณีนั้น เราก็ได้ยินจากพี่ชายคนโตเท่านั้นณ ที่นี้ ดูเหมือนบุตรคนโตกล่าวเหมือนกับผู้เขียนหนังสือบุตรสิราที่แนะนำว่า “อย่ามอบตนแก่หญิงโสเภณี เพื่อท่านจะไม่สูญเสียมรดกของท่าน” (บสร. 9.6)
 เรื่องอุปมาไม่ได้เล่าว่าเป็นบทสรุปที่สุขหรือที่เศร้าที่เกี่ยวกับการเลือกขั้นสุดท้ายของพี่ชาย บิดารบเร้าให้บุตรคนโตเข้าบ้านไหม เขาด้วยใช่ไหมที่ตัดสินใจที่จะขอแบ่งมรดกและจากบ้านของบิดาไป เขาเคยสบสายตากับของน้องชายไหม  เรื่องอุปมาของบิดาผู้ใจดีเป็นเรื่องอุปมาปลายเปิดที่ยืดเวลาความรับผิดชอบเพื่อให้คนฟังได้เลือกอย่างเหมาะสม  พวกเขาจะพิสูจน์ความสัมพันธ์ตามมาตรฐานทางสิทธิทางกฎหมายและที่มีราคาแพงหรือไม่ พวกเขาจะติดตามเส้นทางวกวนแห่งพระหรรษทานและความเมตตาหรือไม่ หากพวกเขาจะเลือกทางเลือกข้อหลัง ผู้คนก็จะไม่สามารถกล่าวหาได้ว่าบิดาน่ารังเกียจถ้าเขาจะแสดงความเมตตาต่อคนบาป (น้องชาย)ได้ พวกเขาควรจะชื่นชมยินดีเมื่อคนบาปที่ตายแล้วกลับมีชีวิตใหม่
    เรื่องอุปมาแกะและเรื่องอุปมาเงินเหรียญดรักมาจบลงที่ข้อสังเกตเชิงบวก  ขณะที่อุปมาเรื่องบิดาผู้ใจดีจบลงด้วยความเงียบ  คนที่วิจารณ์พระเยซูเจ้าว่าพระองค์ทรงต้อนรับคนเก็บภาษีและคนบาป และรับประทานอาหารร่วมกับพวกเขา ได้รับมอบภาระที่จะเลือกวิธีคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับพระเจ้า (ซึ่งมีบิดาเป็นตัวแทน) และความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน (ซึ่งบุตรคนเล็กเป็นตัวแทน)

5.    ผู้รับใช้ ไม่ใช่ผู้พิพากษาที่แสดงความเมตตา
งานศิลปะชิ้นหนึ่งๆ สามารถถูกพินิจพิเคราะห์จากหลายมุมมอง และแต่ละครั้ง ความหมายใหม่ๆ และที่แตกต่างออกไปก็จะปรากฏออกมา นักวิจารณ์เรื่องอุปมานี้หลายคนหยุดเพื่อจะมองดูบทบาทของผู้รับใช้ให้ถี่ถ้วนมากขึ้น  เพราะว่าพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมาของเรื่อง  อย่างไรก็ตาม แท้จริง มีความตึงเครียดที่เห็นได้ชัดเกี่ยวกับผู้รับใช้ใน 2 ส่วนของเรื่องอุปมา แง่หนึ่ง ผู้รับใช้มีส่วนร่วมในงานเลี้ยงฉลองของบิดาและบุตรชายคนเล็ก  และในอีกแง่หนึ่ง  ผู้รับใช้คนหนึ่งแจ้งข่าวของครอบครัวในแง่ลบต่อบุตรคนโตที่เพิ่งมาจากการทำงานในทุ่งนา
    ผู้รับใช้ที่มีส่วนร่วมในการพบปะระหว่างบิดากับบุตรคนเล็ก ได้ทำตามคำสั่งที่พวกเขาได้รับ เช่น พวกเขานำเสื้อผ้าอาภรณ์สวยที่สุดมาสวมส่าเขา  นำแหวนมาสวมนิ้วของเขา  นำรองเท้ามาใส่ให้เท้าของเขา  พวกเขาฆ่าลูกวัวอ้วนพี และร่วมในงานเลี้ยงฉลอง
ผู้รับใช้ตระหนักถึงเหตุผลหลักของอากัปกริยาหลายสิ่งหลายอย่างของบิดาว่า “เพราะลูกของเราผู้นี้ตายไปแล้วกลับมีชีวิตอีก” ผู้รับใช้กำลังมีส่วนร่วมกับการแสดงความเมตตา และไม่มีข้อคัดค้านกับสิ่งที่บิดาแสดงความเมตตาอย่างมโหฬารเช่นนั้น  พวกเขามีงานต้องทำ ในการนำเสื้อสวยที่สุดมาสวมให้บุตรคนเล็ก  ที่สูญเสียศักดิ์ศรีไปแล้วและจัดงานเลี้ยงฉลอง สิ่งสำคัญอยู่ที่บิดาเองไม่ได้สวมเสื้อให้ลูกชายที่สูญเสียศักดิ์ศรีไปแล้ว  แต่ได้จัดการให้ผู้รับใช้ของเขามีส่วนร่วมในการแสดงความเมตตาของเขาด้วย
    ในส่วนที่สอง ผู้รับใช้คนหนึ่งถูกสอบถามโดยบุตรชายคนโต และเขาพูดเพียงว่า  “น้องชายของท่านกลับมาแล้ว บิดาของท่านสั่งให้ฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้ว เพราะเขาได้ลูกกลับคืนมาอย่างปลอดภัย” (ลก.15.27) มีความขัดแย้งที่สำคัญระหว่างผู้รับใช้ในส่วนแรกของเรื่องอุปมา และผู้รับใช้ในส่วนที่สอง   ผู้ซึ่งลดทอนความเมตตาของเจ้านายของเขา ให้เป็นความอยุติธรรมต่อพี่ชายคนโต นำไปสู่ความอยุติธรรมต่อบุตรคนโต ผู้รับใช้คนนี้จำกัดข้อมูลที่บิดาให้ฆ่าลูกวัวและสุขภาพด้านร่างกายของน้องชาย เขาไม่พูดถึงความเมตตาของบิดาที่มีต่อบุตรหรือกิจกรรมอื่นที่เขามีส่วนร่วม ยกเว้นการฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วน เขาให้เหตุผลตามตรรกะของการตอบแทนที่มีความเมตตาเป็นพื้น ไม่ใช่เรื่องพระหรรษทาน  ผู้รับใช้ทราบอย่างดีว่า ขณะที่ลูกวัวที่ดีที่สุดจะถูกฆ่าเพื่อบุตรคนเล็ก  บุตรคนโตไม่ได้รับแม้แต่แพะเพื่อเลี้ยงฉลองกับเพื่อนของเขา พูดอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้รับใช้ดูเหมือนจะพูดกับพี่ชายคนโตว่า  “มองดูสิว่า ท่านมีบิดาแบบไหน ความนบนอบที่สัตย์ซื่อของท่านมีค่าน้อยกว่าแพะตัวหนึ่งซะอีก  ขณะที่ความเหลวไหลของน้องชายของท่านมีค่าเท่ากับสำหรับลูกวัวที่ดีที่สุดทีเดียว” และข่าวเกี่ยวกับลูกวัวนี่แหละที่กระตุ้นความโกรธของพี่ชาย
ในด้านความเมตตาอย่างไม่มีขอบเขตของบิดา เขาอยู่เพียงลำพังกับบุตรคนโต  ผู้ซึ่งตามแนวความคิดเห็นของผู้รับใช้  ได้ทำให้ความเตตาของบิดาเล็กลง โดยการลดขนาดของความเมตตาลงจนเหลือ เป็นเพียงระดับของการตอบแทนเท่านั้น ในความสัมพันธ์เรื่องความเมตตาระหว่างบิดากับบุตรทั้งสอง ผู้รับใช้มีบทบาทที่ขัดแย้งกัน พวกเขาเป็นทั้งผู้รับใช้แห่งความเมตตา เพื่อฟื้นฟูศักดิ์ศรีที่สูญหายไปของบุตรและร่วมความยินดีกับนายจ้างหรือพวกเขาตัดสินว่าบิดาเป็นคนที่ขาดความยุติธรรม สำหรับความเมตตาหาที่สุดมิได้ของบิดาสำหรับบุตรคนเล็กที่ได้พบกันอีก

6.    การกลับจากเรื่องอุปมาไปสู่ชีวิตจริง นั่นคือการพบปะกับศักเคียส
เราไม่ต้องตีความเรื่องอุปมาที่แสดงพระเมตตากรุณาของพระเจ้า 3 เรื่อง  แต่กลับแสดงนิสัยใจคอของชีวิตของบุคคลต่างๆ   เรื่องอุปมาให้ความหมายกับการมีชีวิตและทำให้คนพิจาณาชีวิตด้วยวิธีใหม่  เมื่อมองครั้งแรก มีช่องว่างที่เติมเต็มระหว่างตัวเอกในเรื่องอุปมา 3 เรื่อง กับพระเยซูเจ้าผู้ทรงทำให้พระองค์เองมีมลทินด้วยการรับประทานอาหารร่วมกับคนบาป  คนเลี้ยงแกะที่ดี แม่บ้าน และบิดาผู้ใจดีอ้างถึงพระเมตตาของพระเจ้าอย่างชัดเจน พระเยซูเจ้าทรงเข้ามามีส่วนในเรื่องนี้อย่างไร ถ้าพระเจ้าเท่านั้นที่มีสิทธิที่จะยกโทษบาปได้
การที่พระเยซูเจ้าทรงพบปะกับศักเคียส (ดู ลก.19.1-10) เชื่อมช่องว่างระหว่างวิธีกระทำของพระเจ้ากับท่าทีของพระเยซูเจ้า  ดังนั้น ให้เรามองดูว่าได้ผลแค่ไหน  มีการบรรยายการพบปะเป็นหลายฉาก ฝูงชนรวมตัวกันเพื่อต้อนรับพระเยซูเจ้าที่ประตูเมืองเยรีโค ขณะที่พระองค์เสด็จอยู่ทรงพระดำเนินระหว่างทางไปกรุงเยรูซาเล็ม ศักเคียสเป็นคนที่มั่งคั่งด้วยการเป็นคนเก็บภาษีเป็นอาชีพที่ถูกเพ่งเล็งว่าไม่สะอาด(ตามลัทธิยิว) เนื่องจากเขาเป็นคนร่างเตี้ย เขาไม่อาจเห็นพระเยซูเจ้าได้ เขาจึงปีนขึ้นต้นมะเดื่อเทศ  พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรเห็นเขา และเสนอให้พระองค์เสด็จไปบ้านของศักเคียส  คนเก็บภาษีต้อนรับพระองค์ด้วยความชื่นชมยินดี แต่ประชาชนต่างบ่นว่าพระองค์ ศักเคียสสัญญาจะยกทรัพย์สมบัติครึ่งหนึ่งให้แก่คนจน และเขาจะคืนให้สี่เท่าในสิ่งที่เขาโกงมา
จุดเปลี่ยนอยู่ที่คำประกาศของพระเยซูเจ้าที่ว่า “ศักเคียส รีบลงมาเถิด เพราะเราจะไปพักที่บ้านท่านวันนี้” (ลก.19.5) คำกริยา “ต้อง” หมายถึงไม่ใช่สิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงพระประสงค์จากศักเคียส แต่กล่าวถึงพระประสงค์ของพระเจ้าที่จะต้องคำนึงถึง เราสามารถกล่าวด้วยวิธีนี้ว่า “เป็นสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อพระเจ้า”  จุดเชื่อมที่แกร่งที่สุดระหว่างเรื่องอุปมาบิดาผู้ใจดีและพระเยซูเจ้าที่เสวยพระกระยาหารกับคนบาปเกิดขึ้นด้วยคำกริยานี้ คำพูดของบิดาในเรื่องอุปมาที่เป็นสิ่งที่ถูกต้องคือ  “จำเป็นต้องเลี้ยงฉลองและชื่นชมยินดี” (ลก.15.32) สำหรับการกลับมาของบุตรที่หายไปแล้วกลับมา, บัดนี้พระเยซูเจ้าตรัสว่า  “เราต้อง..เราจะไปพักที่บ้านวันนี้” (ลก.19.5) ในการพบปะกับศักเคียส
พระประสงค์ของพระเจ้าสำเร็จทุกครั้งที่พระเยซูเจ้าทรงยอมรับความเร่งด่วนของพระเมตตา ที่ทรงแสดงต่อคนบาป  เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่ประทานความรอดพ้นแก่ศักเคียส  ความรอดพ้นเช่นนั้นไม่อาจเลื่อนไปแต่ต้องเกิดขึ้นตอนนี้  พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “วันนี้ ความรอดพ้นมาสู่บ้านนี้แล้ว เพราะเขาคนนี้เป็นบุตรของอับราฮัมด้วย”(ลก.19.9)  การพบปะกับพระเยซูเจ้าคือการเห็นโฉมพระพักตร์ที่เปี่ยมพระเมตตาของพระบิดาเจ้า ผู้ทรงระลึกถึงความรอดพ้นของคนบาป ที่เกิดขึ้นในขณะที่พบปะกันจวบจนกระทั่งลมหายใจเฮือกสุดท้าย พระเยซูเจ้าตรัสให้เขามั่นใจว่า “เราบอกความจริงกับท่านว่า วันนี้ ท่านจะอยู่กับเราในสวรรค์” (ลก.23.43)
    ประโยคหนึ่งที่สรุปย่อพระเมตตาของพระเจ้าที่แผ่ซ่านในชีวิตของพระเยซูเจ้าว่า “บุตรแห่งมนุษย์มาเพื่อแสวงหาและช่วยคนเลวทรามให้รอดพ้น” (ลก.19.10)  พระเยซูเจ้าทางช่วยแกะพลัดหลงให้รอดพ้น ได้ค้นพบเงินเหรียญที่หายไป และรีบเร่งไปหาบุตรชายที่หายไป  ความรักต่อพระเจ้าต่อคนบาปสร้างแรงจูงใจสำหรับการกระทำนี้ในท่ามกลางมนุษย์ด้วย   Fyodor  Dostoevsky แสดงความคิดลึกล้ำในหนังสือเรื่อง Brothers  Karamazov  เมื่อเขAosima พระสงฆ์ชาวรัสเซียกล่าวว่า “พี่น้อง อย่ากลัวบาปของมนุษย์ จงรักมนุษย์คนหนึ่งแม้เขาอยู่ในสถานะบาป เพราะว่านั่นเป็นความคล้ายคลึงกับความรักของพระเจ้า และนั่นเป็นความรักสูงสุดบนโลกนี้” (Fyodor Dostoevsky, The   Brothers   Karamazov,  trans.  Constance   Garnett (Min-cola, NY:  Dover Publications, 2005), 270