แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 2
ใครก็ตามที่ได้รับการอภัยบาปมากว่า  ก็จะรักมากกว่า
อุปมาเรื่องลูกหนี้ 2 คนและเจ้าหนี้ (ลก.7.36-50)

    เรื่องอุปมาสั้นๆที่เล่าใน ลก.7.41-43 ฉายแสงในสถานการณ์ที่เด่นชัดในชีวิตสาธารณะของพระเยซูเจ้า  พระองค์ทรงเยี่ยมชายคนบาปและหญิงคนบาป และจนกระทั่ง มีการคิดว่า พระองค์เองทรงมีสิทธิที่จะอภัยบาปพวกเขา นี่คืออภิสิทธิ์ เพราะสำหรับชาวยิวในสมัยนั้น ซึ่งเป็นประชากรของพระเจ้า พระสงฆ์ในพระวิหารเป็นผู้ออกกฎระเบียบ และพระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมานี้ขณะที่พระองค์เสวยพระกายาหารในบ้านของซีโมนชาวฟาริสี เรื่องอุปมานี้มีความไพเราะมาก จึงสมควรที่จะยกเรื่องอุปมานี้มาเล่าให้เห็นในบริบทดังนี้

    “ชาวฟาริสีคนหนึ่งทูลเชิญพระเยซูเจ้าไปเสวยพระกระยาหารกับเขา พระองค์เสด็จเข้าไปในบ้านของชาวฟาริสีนั้นและประทับที่โต๊ะ  ในเมืองนั้นมีหญิงคนหนึ่งเป็นคนบาป เมื่อนางรู้ว่า พระเยซูเจ้ากำลังประทับร่วมโต๊ะอยู่ในบ้านของชาวฟาริสีผู้นั้น จึงถือขวดหินขาวบรรจุน้ำมันหอมเข้ามาด้วย  นางมาอยู่ด้านหลังของพระองค์ใกล้ ๆ พระบาท ร้องไห้จนน้ำตาหยดลงเปียกพระบาท นางใช้ผมของนางเช็ดพระบาทจูบพระบาทและใช้น้ำมันหอมชโลมพระบาทนั้น
    เมื่อชาวฟาริสีที่ทูลเชิญพระองค์มาเห็นดังนี้ก็คิดในใจว่า “ถ้าผู้นี้เป็นประกาศก   เขาคงจะรู้ว่าหญิงที่กำลังแตะต้องเขาอยู่นี้เป็นใครและเป็นคนประเภทไหน นางเป็นคนบาป”  พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “ซีโมน เรามีเรื่องจะพูดกับท่าน” เขาตอบว่า “เชิญพูดมาเถิด อาจารย์”  พระองค์จึงตรัสว่า “เจ้าหนี้คนหนึ่งมีลูกหนี้อยู่สองคน คนหนึ่งเป็นหนี้อยู่ห้าร้อยเงินเหรียญ อีกคนหนึ่งเป็นหนี้อยู่ห้าสิบเงินเหรียญ  ทั้งสองคนไม่สามารถชดใช้หนี้ เจ้าหนี้จึงยกหนี้ให้ทั้งหมด ในสองคนนี้ คนไหนจะรักเจ้าหนี้มากกว่ากัน”  ซีโมนตอบว่า “ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นคนที่ได้รับการยกหนี้ให้มากกว่า”  พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “ท่านตัดสินถูกต้องแล้ว”
    พระองค์ทรงหันพระพักตร์มาทางหญิงผู้นั้นตรัสกับซีโมนว่า “ท่านเห็นหญิงผู้นี้ใช่ไหม เราเข้ามาในบ้านของท่าน ท่านไม่ได้เอาน้ำมาล้างเท้าให้เรา แต่นางได้หลั่งน้ำตารดเท้าของเราและใช้ผมของนางเช็ดให้  ท่านไม่ได้จูบคำนับเรา แต่นางจูบเท้าของเรามิได้หยุดตั้งแต่เราเข้ามา  ท่านไม่ได้ใช้น้ำมันเจิมศีรษะให้เรา แต่นางใช้น้ำมันหอมชโลมเท้าของเรา  เพราะเหตุนี้ เราบอกท่านว่าบาปมากมายของนางได้รับการอภัยแล้วเพราะนางมีความรักมาก ผู้ที่ได้รับการอภัยน้อยก็ย่อมมีความรักน้อย”  แล้วพระองค์ตรัสกับนางว่า “บาปของเจ้าได้รับการอภัยแล้ว”  บรรดาผู้ร่วมโต๊ะจึงเริ่มพูดกันว่า “คนนี้เป็นใคร จึงทำได้แม้แต่การอภัยบาป”  พระองค์ตรัสกับหญิงนั้นว่า “ความเชื่อของเจ้าช่วยเจ้าให้รอดพ้นแล้ว จงไปเป็นสุขเถิด” (ลก.7.36-50)

1. ความรักที่น่ากระดากอาย
    การต้อนรับขับสู้ที่พระเยซูเจ้าได้รับในบ้านของซีโมนชาวฟาริสี เป็นความใกล้ชิดสนิทสนมหนึ่งที่น่ากระดากอาย เหตุการณ์เกี่ยวข้องกับมื้ออาหารเย็น ที่พระเยซูเจ้าทรงรับคำเชิญมาในงานเลี้ยงธรรมดาๆอย่างเต็มพระทัย  ระหว่างมื้ออาหาร หญิงคนหนึ่งมาถึง ซึ่งคนในละแวกนั้นรู้จักชื่อเสียงไม่ดีของนาง  แม้ไม่ได้รับคำเชิญหรือไม่ได้รับอนุญาติจากใครให้เข้าไปในงานเลี้ยง แต่นางเข้าไปใกล้พระเยซูเจ้า เช็ดพระบาทของพระองค์ด้วยหยาดน้ำตาของเธอ ร้องไห้จนน้ำตาหยดลงเปียกพระบาท นางใช้ผมเช็ดพระบาทจูบพระบาทและใช้น้ำมันหอมชโลมพระบาทของพระเยซูเจ้า  การกระทำของนางเป็นที่น่าตกใจเพราะนางเป็นคนบาป และทันที ซีโมนตีตราบาปให้เธอ อย่างไรก็ตาม ซีโมนไม่ได้ใส่ใจในคนบาปแต่จดจ่อที่พระเยซูเจ้ามากกว่า ทำไมพระเยซูเจ้าซึ่งคนทั่วไปพิจารณาว่าพระองค์ทรงเป็นประกาศก จึงปล่อยให้หญิงคนบาปล้างเท้าด้วยวิธีนี้ได้อย่างไร ดังนั้น บุคคลที่อยู่ภายใต้คำตัดสิน ณ ที่นี้ ไม่ใช่หญิงนั้น  เพราะถูกประเมินอย่างรวดเร็วให้เป็นคนบาป แต่เป็นพระเยซูเจ้า ทรงเป็นมลทินจากบาปของนางเพราะพระองค์ทรงปล่อยให้นางสัมผัสพระองค์ต่างหาก
    พฤติกรรมของหญิงคนบาป ที่ทำให้ซีโมนและผู้รับเชิญอื่นๆ ประหลาดใจ  นางทำให้พระเยซูเจ้า
เป็นมลทินด้วยมือ น้ำตา และผมของนาง คนเราจะสื่อเรื่องราวพระวรสารที่น่าอัปยศเช่นนี้ได้อย่างไร เรื่องอุปมาเท่านั้นจะสามารถช่วยให้เราเข้าใจได้ว่า ทำไมพระเยซูเจ้าทรงก่อให้เกิดความอัปยศเช่นนี้

2. ลูกหนี้สองคนและเจ้าหนี้ของพวกเขา
    ความรักของพระเยซูเจ้าที่มีต่อคนบาปนั้น ช่างเปี่ยมด้วยมนุษยธรรมและเป็นการให้เปล่า โดยปราศจากแรงจูงใจที่ซ่อนเร้นใดๆทั้งสิ้น  อย่างไรก็ตาม เรื่องอุปมาสั้นๆเรื่องนี้ให้ความกระจ่างต่อสิ่งที่เกิดขึ้นที่บ้านของซีโมนเป็นอย่างดี ถึงเรื่องจะสั้นแต่ก็ชัดเจนและตรงประเด็นดี พระเยซูเจ้าไม่ทรงเผยแสดงความหมายเป็นนัยของเรื่องอุปมาว่าเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในขณะนั้นทั้งหมด แต่พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องลูกหนี้ 2 คนและเจ้าหนี้ของพวกเขา ตามปกติ พระองค์ไม่ทรงระบุชื่อของคนเหล่านี้ แต่เน้นประเด็นสำคัญของเรื่องมากกว่า   ลูกหนี้คนแรกเป็นหนี้ห้าร้อย เหรียญ และอีกคนเป็นหนี้ห้าสิบเหรียญ ความไม่ได้สัดส่วนมีความสำคัญ เพราะหนี้ห้าสิบเหรียญของลูกหนี้คนที่สองถูกเพิ่มแป็น 10 เท่าสำหรับลูกหนี้คนแรก   ตามประเด็นที่ใส่ในบริบทของเรื่องแล้ว  เงินห้าสิบเหรียญเท่ากับค่าแรง 2 เดือน ขณะที่ห้าร้อยเหรียญจะเท่ากับรายได้สองปีครึ่ง
    พระเยซูเจ้าทรงอธิบายให้กระจ่างชัดว่า ลูกหนี้ทั้งสองไม่สามารถชดใช้หนี้ได้ เจ้าหนี้จึงยกหนี้
ให้ทั้งหมด  ตัวละครในเรื่องอุปมาไม่ได้พูดอะไร ไม่มีบทเจรจาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ ควรใส่ใจมากที่สุดที่คำ “ยกหนี้” ซึ่งชี้ถึงการให้อภัยลูกหนี้ และเป็นการให้อภัยที่สง่างามของเจ้าหนี้ ก่อให้เกิดคำถามของพระเยซูเจ้าต่อซีโมนว่า
ลูกหนี้คนไหนจะรักเจ้าหนี้มากกว่ากัน
    ซีโมนไม่ได้ตระหนักว่า เขาอยู่ในกลุ่มคนที่ตรงกับกรณีที่พระเยซูเจ้ายกมาเล่า และตอบว่า คนที่ได้รับการยกหนี้ให้มากกว่าจะรักเจ้าหนี้มากกว่า คำตอบของเขาได้เปิดโปงและกล่าวหาตัวเขาเอง หากเขาใส่ใจในเรื่องอุปมามากกว่านี้ เขาก็อาจจะจำได้ว่าไม่ว่าบาปในรูปแบบใดๆก็คือหนี้ ที่ก่อให้เกิดขึ้น พระหรรษทานเท่านั้นจะสามารถชดเชยแทนหนี้ที่เราทุกคนติดพระเจ้าได้ เห็นได้ชัดเจนว่า ดูเหมือนซีโมนจะไม่สามารถเอาชนะอารมณ์ตกใจสุดขีดต่อพระหรรษทานที่พระเยซูเจ้าประทานให้แก่หญิงคนบาปได้

3. “ผู้ที่ได้รับการอภัยน้อยก็ย่อมมีความรักน้อย” (ข้อ 47)
    เรื่องอุปมาทำให้พระเยซูเจ้ากลายเป็นตัวเอกบนเวที เพื่อพระองค์ทรงเปิดเผยสถานการณ์ที่เป็นจริงว่า ซีโมนคล้ายกับลูกหนี้ที่เป็นหนี้เท่ากับค่าแรง 2 เดือนและสำหรับเหตุผลนั้น  ซีโมนที่ไม่ได้นำน้ำมาล้างพระบาทของพระเยซูเจ้าหรือทักทายพระองค์ด้วยการจุมพิต หรือเจิมน้ำมันที่พระเศียรของพระเยซูเจ้า (ตามธรรมเนียมของเจ้าของบ้านที่ปฏิบัติต่อแขกตามธรรมเนียมของชาวยิว) หญิงคนบาปเหมือนลูกหนี้ที่เป็นหนี้เท่ากับเงินเดือนสองปีครึ่ง นางไม่อาจจ่ายหนี้ได้สำเร็จ ทางออกเดียวสำหรับลูกหนี้ทั้งสองคนคือพระหรรษทาน ผลกระทบใหญ่ของเรื่องอุปมาต่อสถานการณ์ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการยกบาปและความรักของหญิงคนบาป น่าเสียดาย การตีความข้อ 47 เช่น (“บาปมากมายของนางได้รับการอภัยแล้วเพราะนางมีความรักมาก” อย่างไรก็ตาม  “บาป” เป็นคำกรีกดั้งเดิมแสดงถึงผลที่ตามมาของการอภัยบาป “บาปมากมายของนางได้รับการอภัยแล้วเพราะนางมีความรักมาก”   ถ้าความผิดมหันต์เชนนั้นไม่ได้รับการอภัย   นางก็คงไม่ถูกโน้มน้าวให้รัก  หญิงนั้นสามารถรักเพราะนางได้รับพระหรรษทานอย่างไม่มีเงื่อนไขต่างหาก
    ส่วนที่สองของคำตอบของพระเยซูเจ้ายืนยันความเป็นเอกของพระหรรษทานคือ “ผู้ที่ได้รับการ
อภัยน้อยก็ย่อมมีความรักน้อย” (ข้อ 47) คำอ้างนี้เชื่อมโยงระหว่างเรื่องอุปมากับชีวิตจริง  ใครก็ตามที่ไม่ได้ถูกครอบงำด้วยความรักแบบให้เปล่าของพระเจ้า ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรักพระองค์ได้

4. การยกบาปและความเชื่อที่ช่วยให้รอดพ้น
    พระเยซูเจ้าทำให้แขกที่รับเชิญทั้งหมดอับอายขายหน้า ซึ่งบ่นพึมพำในหมู่พวกเขาว่า “คนนี้เป็นใคร จึงทำได้แม้แต่การอภัยบาป?”  (ข้อ49) คำถามเรียกร้องคำตอบที่มีตรรกะมากที่สุด ซึ่งก็คือพระเจ้าเท่านั้นที่สามารถอภัยบาปได้ (ดู ลก.5.21) และขณะที่พระเจ้าสามารถอภัยบาป  มีกฎเกณฑ์เป็นข้อบังคับที่จะชดเชยแก้ไขความผิดตามธรรมบัญญัติ พระเยซูเจ้าจึงสมควรเป็นพระเจ้าอันเป็นสภาพที่แท้จริงของพระองค์ ไม่ใช่สภาพมนุษย์อย่างเดียว ซึ่งมีสิทธิยกบาปผู้อื่นด้วยพระองค์เอง ดังนั้น  นี่จึงเป็นการเหยียดหยามต่อพระองค์ในความคิดของแขกที่รับเชิญ
    อย่างไรก็ตาม  การ “ละเมิด” นี้เชื่อมช่องว่างระหว่างเรื่องอุปมากับการพบปะกันในบ้านของซีโมน พระเยซูเจ้าทรงเข้ากับวิธีแสดงออกของพระเจ้าด้วยอำนาจการอภัยบาปที่มีต่อหญิงคนบาป พระองค์ประทานอภัยแก่นางเพราะพระองค์ทรงยอมรับความเชื่อที่นางเชื่อในพระองค์ตั้งแต่แรกว่า พระองค์ทรงมีอำนาจแห่งการอภัยบาป   เมื่อนางได้ยินว่า พระเยซูเจ้าเสด็จประทับในบ้านของซีโมน  นางวิ่งไปซื้อน้ำหอมราคาแพง และเอาชนะอุปสรรคใดๆก็ตามที่มี เพื่อนางจะเข้าเฝ้าพระองค์ให้ได้  นั่นเป็นเพราะนางมีความมั่นใจอย่างไม่สั่นคลอนว่า พระเยซูเจ้าทรงสามารถอภัยบาปได้ (เหมือนเจ้าหนี้ที่ยกหนี้ให้ลูกหนี้เป็นเงินห้าร้อยเหรียญ)
ความเชื่อคือเงื่อนไขเดียวที่พระเยซูเจ้าทรงขอจากคนที่จะได้รับความรอดพ้น ทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ที่ธรรมดาสามัญในอัศจรรย์ทั้งหมดของพระองค์ ในเรื่องนี้ มีความคล้ายคลึงระหว่างการอภัยบาปแก่หญิงคนบาปและการรักษาคนอัมพาตหรือคนตาบอด ในเหตุการณ์ที่รักษาคนป่วยด้วย เป็นความเชื่อที่ช่วยให้รอดพ้น ไม่ใช่เครื่องหมายอัศจรรย์ในตัวมันเอง

5. ความหมายมีนัยอะไรสำหรับชุมชน
ให้เรามองดูเรื่องอุปมาเกี่ยวกับกษัตริย์ที่มีพระทัยเมตตากรุณาในพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว 18.23-35                                                                              ขณะที่เรื่องอุปมาในพระวรสารโดยนักบุญลูกา 7.41-43 มีเจ้าหนี้ (กษัตริย์) และลูกหนี้ 2 คน (บรรดาคนใช้) คนใช้คนแรกเป็นหนี้กษัตริย์หนึ่งหมื่นตาแลนต์ แต่คำขอร้องของเขาเร่งเร้าความเห็นอกเห็นใจของกษัตริย์ผู้ซึ่งจะยกหนี้ให้เขา น่าเสียดาย เมื่อคนใช้ออกจากพระราชวัง ได้พบคนใช้อีกคนที่เป็นหนี้เขาหนึ่งร้อยเหรียญ เขาจัดการลูกหนี้อย่างรุนแรงและนำลูกหนี้ไปขังคุก   
    ความไม่ได้สัดส่านของหนี้มากมายจนคำนวณไม่ได้   สมัยพระเยซูเจ้า  เงินหนึ่งตาแลนต์มีค่าเท่ากับหนึ่งหมื่นเหรียญแล้ว หนึ่งหมื่นตาแลนต์ก็เป็นจำนวนที่เหลือเชื่อเมื่อเทียบกับหนึ่งร้อยเหรียญของคนใช้คนที่สอง ในทางปฏิบัติ คนใช้คนที่สองสามารถชดใช้หนี้ด้วยค่าแรงไม่น้อยกว่า 4 เดือน ขณะที่คนใช้คนที่แรกไม่สามารถจ่ายหนี้แก่กษัตริย์ได้เลย ถ้าเป็นเช่นนี้ควรกล่าวว่า คนรับใช้ที่สองถูกยกหนี้ได้ เขาต้องทำงาน 6 เดือน  ขณะที่คนรับใช้คนแรกไม่อาจชดใช้หนี้กษัตริย์ได้เลย พระหรรษทานที่คนใช้คนแรกได้รับจากกษัตริย์ก็จะเสียเปล่า เมื่อกษัตริย์ทรงรับทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนใช้อีกคนหนึ่ง จึงทรงตำหนิคนใช้คนแรกว่า “เจ้าคนสารเลว ข้ายกหนี้สินของเจ้าทั้งหมดเพราะเจ้าขอร้อง  เจ้าต้องเมตตาเพื่อนผู้รับใช้ด้วยกัน เหมือนกับที่ข้าได้เมตตาเจ้ามิใช่หรือ” (มธ.18.32-33)  ดังนั้น คนใช้กลับถูกขังไว้ในคุกจนกว่าจะชำระหนี้ให้หมด แต่เป็นไปไม่ได้เลยว่าเขาจะชดใช้หนี้ได้ แม้ว่าเขาจะทำงานตลอดชีวิตก็ตาม บทสรุปของเรื่องอุปมาเป็นเรื่องเศร้า คือ “ดังนั้น พระบิดาเจ้าจะทรงกระทำต่อท่านแต่ละคน  ทำนองเดียวกัน ถ้าท่านไม่ยอมยกโทษให้พี่น้องจากใจจริง” (มธ.18-35)
    พระศาสนจักรประกอบด้วยผู้รับใช้มากมาย ซึ่งได้รับการยกหนี้มหาศาล เพื่อว่า พวกเขาสามารถให้อภัยคนใช้คนอื่นๆด้วย  ถ้าเป็นพระศาสนจักรล่ะจะเป็นเช่นไร  หากได้รับบัญชาให้ยกโทษเจ็ดสิบครั้งคูณเจ็ด หรือตลอดไป ได้รับการวางเงื่อนไขบนพระเมตตาของพระเจ้า” (ดู มธ.18.21-22),พระองค์เพิ่งเริ่มออกเดินทางไปกรุงเยรูซาเล็มกับบรรดาสาวกของพระองค์  เราสามารถยอมรับได้ไหมว่า พระเมตตากรุณาของพระเจ้ายิ่งใหญ่กว่าบาปใดๆของมนุษย์ และเราไม่ควรพิจารณาว่า พระเมตตากรุณานั้น เป็นสิทธิหนึ่งสำหรับบางคน  แต่เป็นเพียงบางสิ่งที่สมควรมอบแก่คนอื่นไหม
พร้อมกับพระเยซูเจ้า    พระเมตตากรุณาของพระเจ้าปล่อยให้พระเมตตากรุณาเองเจือปนด้วยความรันทดแบบมนุษย์ แต่พระเยซูเจ้าทรงช่วยไถ่กู้ความรันทดนั้น ด้วยการแปรสภาพพระเมตตากรุณาผ่านความรักความเมตตาโดยไม่มีเงื่อนไข  ไม่มีฉากใดในพระวรสารที่แสดงความใกล้ชิดสนิทสนมเท่าฉากในบ้านของซีโมนนี้ หญิงคนบาปสัมผัสพระบาทและเช็ดพระบาทของพระเยซูเจ้า ด้วยน้ำตาของนาง เช็ดพระบาทด้วยมวยผมของนาง และจุมพิตด้วยริมปากของนาง  ตามพระวรสาร พระเยซูเจ้าไม่เคยยอมให้คนใดคนหนึ่งแสดงความใกล้ชิดสนิทสนมกับพระองค์ แม้แต่พระมารดาของพระองค์ก็ตาม พระเมตตาสงสารของพระเยซูเจ้าช่วยไถ่กู้ความรัดทดของมนุษย์ ไม่ใช่เพียงขจัดปัดเป่าหรือสัมผัสเฉยๆเท่านั้น แต่ปล่อยให้พระองค์เองถูกทำให้เสื่อมเสียจากความรัดทนของมนุษย์ทีเดียว