วิธีสอนความเชื่อ
100. ช่วงเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร พระศาสนจักรได้ซื่อสัตย์ต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า รับเอาความจริงในพระคัมภีร์และมีประสบการณ์นั้นในจารีตพิธี, ด้วยการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยการสังเคราะห์ขณะที่กฎของความเชื่อ. ซึ่งเป็นบทสัญลักษณ์ของความเชื่อ (Symbol of Faith), ซึ่งถูกตีความให้เป็นคู่มือสำหรับการดำเนินชีวิตและทำให้มีชีวิตชีวาในความสัมพันธ์เยี่ยงบุตรกับพระเจ้า., สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ประทานข้อสังเกตว่า เพื่อเป็นการถ่ายทอดความเชื่อนั้นทรงสรุปบทภาวนานี้ในพระราชหัตถเลขาของพระองค์ในการประกาศปีแห่งความเชื่อ. ขณะที่คัดมาจากสังฆธรรมนูญเรื่องการสอนคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก ต้อง "ยอมรับที่เรานำเอามาเฉลิมฉลอง ที่เรานำเอามาดำเนินชีวิตและใช้สวดภาวนา” [50]
ดังนั้น ธรรมประเพณีของพระศาสนจักรได้จัดทำวิชาสอนสำหรับการถ่ายทอดความเชื่อการเริ่มจากองค์ประกอบพื้นฐานที่นำมาจากพระคัมภีร์นั้น,ซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นหัวข้อที่สำคัญของการสอนคำสอนในจารีตโรมัน (Roman Catechism):บทข้าพเจ้าเชื่อ (สัญลักษณ์ของอัครสาวก – Creed), ศีลศักดิ์สิทธิ์,พระบัญญัติสิบประการ และบทข้าแต่พระบิดา. แง่หนึ่งเป็นธรรมล้ำลึกแห่งความเชื่อในพระเจ้า, ‘ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล’ (One-in-Three) ขณะที่มีการยืนยันความเชื่อ (บทสัญลักษณ์แห่งความเชื่อ) และการรับศีลศักดิ์สิทธิ์ อีกแง่หนึ่ง ชีวิตมนุษย์ที่อยู่ในรูปแบบที่สอดคล้องกับความเชื่อ (ความเชื่อที่กลายเป็นการทำการต่างๆอาศัยความรัก) ซึ่งได้รับการตระหนักในวิถีชีวิตของคริสตชน (พระบัญญัติสิบประการ) และสวดภาวนาเยี่ยงบุตร (บทข้าแต่พระบิดา). ปัจจุบันนี้มีการหัวข้อใหญ่ทั้งสี่เหล่านี้ใช้ในรูปแบบทางการทั่วไปสำหรับหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก [51]
101. สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ประทานหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกแก่พระศาสนจักร โดยมีวัตถุประสงค์สองประการนั้น คือ การกำหนดคำสอนพื้นฐานเกี่ยวกับความเชื่อและในเวลาเดียวกันบอกสอนวิธีสอนการถ่ายทอดความเชื่อ. เป้าหมาย คือการกระตุ้นความเชื่อสู่ชีวิตอย่างครบถ้วนในหัวใจของผู้เชื่อทุกคนซึ่งเสนอความจริงและการยึดมั่นกับความจริง. ความเชื่อเป็นของประทานจากพระเจ้าที่จำเป็นต้องกระตุ้นให้ยอมสละตนต่อพระเยซูเจ้า ด้วยวิธีนี้ การยึดเนื้อหาของความเชื่ออยู่ที่สภาพจิตใจตัดสินใจที่จะติดตามพระเยซูเจ้าและเพื่อปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับชีวิตของพระองค์, ความสอดคล้องซึ่งทำให้เราเข้าสู่โครงสร้างการสอนที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความเชื่อ นักบุญเปาโลอธิบายถึงประสบการณ์นี้ได้เป็นอย่างดีดังต่อไปนี้: "การเชื่อด้วยใจจะบันดาลความชอบธรรม การประกาศพระวรสารด้วยปากจะบันดาลความรอดพ้น สำหรับคนเชื่อด้วยหัวใจของเขาและเพื่อให้เป็นธรรมและเขาสารภาพกับริมฝีปากของเขาและเพื่อให้มีการบันทึก" (รม.10:10) "ความจริง มีความเป็นเอกภาพอย่างล้ำลึกระหว่างพฤติกรรมที่เราเชื่อกับเนื้อหาที่เราตัดสินใจยอมรับ. [... ] การรู้ถึงที่ต้องเชื่อไม่เพียงพอ นอกเสียจากจะเชื่อด้วยหัวใจ, [... ] คือ เพื่อเปิดรับพระหรรษททาน ที่ทำให้ดวงตาเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องล่างและเข้าใจว่า สิ่งที่ถูกประกาศพระวรสารออกมานั้นคือ พระวาจาของพระเจ้า” [52]
สมัชชาพระสังฆราชสามารถค้นพบความพยายามอย่างมากที่พระศาสนจักรได้ทำในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาในการฟื้นฟูการสอนคำสอน ขณะที่พิจารณารูปแบบที่เป็นทางการและความหมายเชิงลึกของหนังสือคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก. ในวันครบรอบ 20 ปีของการพิมพ์หนังสือเล่มนี้. ผู้ตอบLineameta หลายท่านบรรยายถึงความก้าวหน้าอย่างมากในกระบวนการของการประเมินค่าและการวางแผนที่ดำเนินการเพื่อปรับปรุงการสอนคำสอนและโครงการอบรมความเชื่อ. โครงการเหล่านี้รวมถึงการแก้ไขตำรับตำราและงานริเริ่มสำหรับการอบรมครูคำสอนที่ไม่เป็นเพียงให้พวกเขาใช้เป็นเครื่องมือใหม่ที่มีในปัจจุบันนี้เท่านั้น ยังนำมาซึ่งความเข้าใจที่เต็มที่ถึงภารกิจหลายด้านของพวกเขา
102. โดยทั่วไป รายงานในพื้นที่นี้จะเป็นเชิงบวกและอ้างถึงความพยายามอย่างจริงจังที่หน่วยงานต่างๆในพระศาสนจักรได้รับดำเนินการโดย (สมัชชาพระสังฆราชของพระศาสนจักรคาทอลิกจารีตตะวันออก (เขตปกครองตนเองSui iuris), สภาพระสังฆราชต่างๆ, ศูนย์สังฆมณฑลหรือศูนย์ของสภาพระสังฆราช (ที่เคยถือจารีตตะวันออก Eparchial Centres), ชุมชนวัด ครูคำสอน สถาบันด้านงานอภิบาล และสถาบันทางเทววิทยา) ที่จะตระหนักและพัฒนาสมาชิกทุกคนให้มีความเชื่อซึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีขึ้นและแบ่งปันร่วมกัน ยิ่งกว่านั้น ผู้ตอบ Lineamenta แสดงให้เห็นว่าพระศาสนจักรมีอำนาจจัดการหาวิธีที่จำเป็นในการถ่ายทอดความเชื่อ. การประเมินที่สำคัญของวิธีการและวิธีใช้เหล่านี้จะต้องอำนวยความสะดวกโดยจัดพิมพ์หนังสือคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิ,ซึ่งจัดหาสำหรับพระศาสนจักรคาทอลิกจารีตตะวันออกและสภาพระสังฆราชต่างๆด้วยเพื่อใช้เป็นประเด็นอ้างถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันและความชัดเจนในงานสอนคำสอนของพระศาสนจักร
103. ผู้ตอบ Lineameta ยังรวมถึงการประเมินค่าของทุกงานริเริ่มทั้งหมดที่ได้รับการดำเนินการสำหรับการถ่ายทอดความเชื่อของเราในปัจจุบัน. อย่างไรก็ตาม แม้จะใช้ความพยายามแล้วก็ตาม ยังมีอุปสรรคต่างๆ ยังคงมีอยู่ในการถ่ายทอดความเชื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากในเรื่องวัฒนธรรม,ซึ่งได้กลายเป็นเพิ่มความเด็ดขาดเกี่ยวกับความเชื่อคริสตศาสนาและหลายแนวหน้าเปิดไปสู่การพัฒนาความรู้และเทคโนโลยี. ผู้ตอบยืนกรานว่า มีการมองการสอนคำสอนว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมรับศักดิ์สิทธิ์ตามขั้นตอนต่างๆ และไม่ใช่เป็นเพียงการสอนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความเชื่อคริสตชนเท่านั้น
104. แนวคิดโลกานุวัตรนิยมทางวัฒนธรรมได้แสดงให้เห็นว่าวิธีการต่างๆของการสอนคำสอนที่แสดงเครื่องหมายแห่งพลัง ที่ไม่ใช่เป็นเพียงพัฒนาอย่างเต็มที่ในการถ่ายทอดความเชื่อเท่านั้น ดังนั้น การพิจารณาหารือของสมัชชาพระสังฆราชสืบทอดงานที่เริ่มในสมัชชาพระสังฆราชเกี่ยวกับการสอนคำสอน คือ การหาวิธีการถ่ายทอดความเชื่อในปัจจุบันนี้ซึ่งมีพื้นฐานที่กฎพื้นฐานของการสอนคำสอน นั่นคือ กฎแห่งความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าและกฎแห่งความซื่อสัตย์ต่อมนุษย์ โดยอาศัยทัศนคติแห่งความรักเพียงประการเดียว” [53] สมัชชาพระสังฆราชอาจหารือถึงวิธีจัดโครงการสอนคำสอนซึ่งเป็นทั้งพื้นฐานสมบูรณ์และสามารถถ่ายทอดองค์ประกอบหลักของความเชื่ออย่างเต็มที่ และในเวลาเดียวกัน, ทราบวิธีการสนทนากับผู้คนในปัจจุบันตามวัฒนธรรมของพวกเขา ขณะที่ฟังคำถามของพวกเขา และสร้างแรงบันดาลใจการค้นหาความจริง ความดีและความงาม