แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทบาทของครูคำสอน (GCD (1971)71 , เทียบ ภาคที่ 5 บทที่ 1และ 2)

p05_resizeไม่มีระเบียบวิธีสอนใดๆ -แม้ว่าจะได้รับการทดสอบแล้วว่าดีก็ตาม- จะสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวครูคำสอนในทุกๆ ขั้นของกระบวนการสอนคำสอน  พรสวรรค์ที่พระจิตเจ้าทรงมอบให้กับครูคำสอน อันคือ สภาพชีวิตจิตที่แข็งแกร่งและการเป็นประจักษ์พยานชีวิตที่เห็นได้ชัด ประกอบขึ้นเป็นคุณลักษณะพิเศษของทุกๆวิธีการ  และมีเพียงคุณภาพของความเป็นมนุษย์และคริสตชนของตัวครูคำสอนเองเท่านั้นที่จะประกันถึงความสามารถในการใช้เอกสารต่างๆ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้สอนคำสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ครูคำสอนเป็นสื่อกลางอันสำคัญยิ่งนัก  เขาเป็นผู้ก่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคลมนุษย์ทั้งหลายกับพระธรรมล้ำลึกของพระเป็นเจ้า  ระหว่างบรรดาบุคคลที่เป็นผู้เรียนเอง และพร้อมทั้งชุมชน  ด้วยเหตุนี้วิสัยทัศน์ทางด้านวัฒนธรรม  ฐานะทางสังคมและรูปแบบการดำเนินชีวิตของครูคำสอนจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของชีวิตด้วยความเชื่อ  แต่ควรจะช่วยให้สามารถสร้างสรรค์สภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการค้นหา และการต้อนรับสารแห่งคริสตชน รวมทั้งการทำให้ลึกซึ้งในสารแห่งคริสตชนยิ่งขึ้น   เขาจะต้องไม่ลืมว่าความเชื่อคือผลของพระหรรษทานและอิสรภาพ  ดังนั้น เขาจึงต้องมั่นใจว่ากิจกรรมต่างๆ ของเขาดึงเอาสิ่งค้ำจุนออกมาจากความเชื่อในพระจิตเจ้าและจากการภาวนาเสมอ  ในท้ายสุด ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างครูคำสอนกับผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด