ความคิดสร้างสรรค์ของพระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆ ในการวางแผนการสอนคำสอนอย่างละเอียดลออ
134 พระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่สมบูรณ์ ในการสนองตอบภาระหน้าที่ประยุกต์สารแห่งพระวรสาร (adapting) นำข้อมูลอื่นมาพิจารณาร่วมกับสารแห่งพระวรสาร (contextualizing) และนำเอาสารแห่งพระวรสารเข้าสู่วัฒนธรรม (inculturating) โดยอาศัยหนังสือคำสอนต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย สถานการณ์และวัฒนธรรมต่างๆ นั้น พระศาสนจักรท้องถิ่นทั้งหลายจึงได้เลือก จัดโครงสร้าง และแสดงความคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบทั้งหมดที่ถ่ายทอดพระวรสารในลักษณะที่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์ในสถานการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การชี้นำของพระจิตเจ้าพระอาจารย์ผู้อยู่ภายในพระศาสนจักรท้องถิ่นทั้งหลาย โดยอาศัยสังฆธรรมนูญเรื่อง พระคลังแห่งความเชื่อ (Fidei depositum) ที่พระศาสนจักรรับไว้
สำหรับภาระหน้าที่อันยากลำบากนี้ หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก เป็น “จุดอ้างอิง” ที่ประกันถึงความเป็นเอกภาพแห่งความเชื่อ และในส่วนของหนังสือคู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน เล่มปัจจุบันนี้ก็ได้มอบหลักเกณฑ์พื้นฐานต่างๆ ที่ควบคุมการนำเสนอสารของคริสตชน
135 การคำนึงถึงข้อเสนอแนะทั้งหลายต่อไปนี้จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการร่างหนังสือคำสอนต่างๆ ในระดับท้องถิ่นอย่าง ละเอียด
- ปัญหาประการหนึ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดของการร่างหนังสือคำสอนต่างๆ ที่แท้จริงนั้นก็คือ การได้รับการประยุกต์และการนำเข้าสู่วัฒนธรรม นั่นหมายถึง จะต้องแยกแยะระหว่างหนังสือ คำสอนที่เกิดจากการประยุกต์สารของคริสตชนให้เหมาะสมกับวัย สถานการณ์ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน กับหนังสือคำสอนที่เป็นเพียงบทสรุปของหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกและใช้เป็นบทนำไปสู่การศึกษาหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก นี่คือรูปแบบหนังสือคำสอน 2 อย่าง
- หนังสือคำสอนต่างๆ ในระดับท้องถิ่น อาจจะเป็นลักษณะในระดับสังฆมณฑล ระดับภาคหรือระดับชาติ (อ้างถึง CIC 775 วรรค 1-2)
- โดยการคำนึงถึงโครงสร้างของเนื้อหาที่มีมากมาย พระสังฆราชในท้องถิ่นที่ต่างกันจึงจัดพิมพ์หนังสือคำสอนต่างๆ ที่มีโครงสร้างและรูปแบบหลากหลาย ดังที่กล่าวมาแล้ว หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกได้รับการเสนอให้เป็นจุดอ้างอิงเกี่ยวกับคำสอน แต่มิได้กำหนดโครงสร้างที่แน่นอนให้แก่หนังสือคำสอนอื่นๆ เพื่อให้พระศาสนจักรทั้งหมดใช้เหมือนกัน ดังนั้นจึงมีหนังสือคำสอนหลายเล่มที่มีโครงสร้างแบบการประกาศถึงพระตรีเอกภาพ หลายเล่มที่มีการวางรูปแบบตามขั้นตอนต่างๆ ของการช่วยให้รอด ทั้งยังมีเล่มอื่นๆ อีกที่ถูกเรียบเรียงตามหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวกับพระคัมภีร์หรือเทววิทยา (เช่น พันธสัญญา พระอาณาจักรของพระเป็นเจ้า ฯลฯ) บางเล่มถูกวางโครงสร้างตามหลักเกณฑ์แห่งความเชื่อ และอีกหลายเล่มที่จัดโครงสร้างตามพิธีกรรม
- โดยการคำนึงถึงแนวทางที่จะสื่อสาระของสารแห่งพระวรสาร ความคิดสร้างสรรค์ในการทำหนังสือคำสอนเล่มหนึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบและเนื้อหาของหนังสือนั้น (ปัญหาเกี่ยวกับภาษาทั้งในหนังสือคำสอนต่างๆ ในระดับท้องถิ่นและในกิจกรรมการสอนคำสอนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด อ้างถึง CT 59) หนังสือคำสอนเล่มหนึ่งจะต้องมีความซื่อสัตย์อย่างเด่นชัดต่อคลังแห่งความเชื่อ ในวิธีที่จะใช้สื่อสาระเนื้อหาคำสอนแห่งสารของคริสตชน นั่นคือ “พระศาสนจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งซึ่งต้องเกี่ยวพันกับมนุษย์ไม่เพียงทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่รวมถึงความปรารถนาทั้งหลายของพวกเขา ความร่ำรวยและความยากจน พร้อมทั้งวิถีทางการภาวนาและการดำเนินชีวิต ตลอดจนทัศนคติเกี่ยวกับโลกของพวกเขาทั้งหลาย จะต้องจัดเตรียมเนื้อหาของสารแห่งการประกาศ พระวรสารของตนเอง พระศาสนจักรทั้งหลายต้องถ่ายทอดสารแห่งพระวรสารนี้ในสำนวนหนึ่งอันเป็นที่เข้าใจของกลุ่มชนที่พระศาสนจักรดูแล และพระศาสนจักรผู้ประกาศเองก็ต้องเข้าใจและไม่มีการทำให้ผิดไปจากความจริงที่เป็นแก่น” (EN 63)
หลักการที่จะต้องยึดถือในการกระทำภาระหน้าที่อันละเอียด อ่อนนี้ ถูกระบุไว้โดยสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ว่า “ให้พยายามค้นหาวิธีการต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการนำเสนอคำสอนของนักเทววิทยาแก่มนุษย์ในสมัยของเขา เพื่อจะได้ไม่เกิดข้อบกพร่องที่ว่า บรรดาความเชื่อและความจริงทั้งหลายแห่งความเชื่อนั้นเป็นอย่างหนึ่ง แต่ลักษณะที่แสดงออกนั้นเป็นอีกอย่างหนึ่ง” (GS 62b)4 โดยที่วิธีการนั้นจะต้องมีคุณลักษณะที่ทำให้ชีวิตมีคุณค่าและความรู้แห่งวิธีการนั้นเป็นเครื่องป้องกันความผิดพลาด