“ประตูสู่ความเชื่อ” (Doorway to Faith)
วันที่ 305
คำสอนของพระศาสนจักรเรื่องสังคม (CCC ข้อ 2419-2425)
‘ในแผ่นดินยังจะมีคนยากจนอยู่เสมอ ข้าพเจ้าจึงสั่งให้ท่านมีใจเอื้อเฟื้อต่อพี่น้องที่ยากจนและขัดสนในแผ่นดินของท่าน’ (ฉธบ 15:11)
พระศาสนจักรแม้มิใช่เป็นองค์กรด้านการเมือง ถึงกระนั้น ก็ยังเอาใจใส่ในประเด็นด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย “ในเมื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลหรือความรอดพ้นของวิญญาณเรียกร้องให้ทำเช่นนี้” (GS 76)
พระศาสนจักรเป็นกระบอกเสียงให้แก่ผู้ยากไร้และผู้ถูกกดขี่ข่มเหงในโลกนี้ ผลที่ตามมาของการปฏิรูปด้านอุตสาหกรรมและด้านเศรษฐกิจระดับโลกในศตวรรษที่ 19 ได้เปลี่ยนจากภาคเกษตรกรรมเป็นภาคอุตสาหกรรม
พระศาสนจักรยังเรียกร้องถึงผลประโยชน์ของแรงงานและสิทธิของพวกเขาในเรื่องเงื่อนไขที่เหมาะสมของการทำงาน ค่าจ้างที่ยุติธรรมและสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัว เมื่อรัฐและบริษัทแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานของพวกเขา ก็เท่ากับเป็นการโจรกรรมรูปแบบหนึ่ง ทำให้พวกเขาไร้ซึ่งศักดิ์ศรี คุณค่าและสิทธิมนุษยธรรม (Youcat 438)
ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดให้ข้าพเจ้าทำให้คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรเป็นที่รู้จักและได้รับการยกย่อง เพราะคำสอนนี้เป็นดังของล้ำค่าและขุมทรัพย์แห่งปรีชาญาณ แสงสว่างและพระหรรษทาน
.
(Archbishop Bernard Longley, Doorway to Faith: Unlocking the Mystery of Faith. A Journey of Prayer Through the Catechism of the Catholic Church, London , Alive Publishing Ltd., 2014.)
.
โดยแผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ