แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

“ประตูสู่ความเชื่อ” (Doorway to Faith)

วันที่ 144

พระหรรษทานของศีลล้างบาป เพื่อการอภัยบาป (CCC ข้อ 1262-1264)       

                                                               

‘การจุ่มตัวลงไปในน้ำเป็นสัญลักษณ์หมายถึงความตายและการชำระ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์หมายถึงการเกิดใหม่และการฟื้นฟูอีกด้วย’ (CCC 1262; กจ 2:38)

  น้ำเป็นสัญลักษณ์ของความตายและการชำระ แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง น้ำเป็นเครื่องหมายของชีวิตใหม่และการฟื้นฟูด้วย ดังนั้น ผลสำคัญสองประการของศีลล้างบาป คือ การอภัยบาป การชำระบาป และการเกิดใหม่ในพระจิตเจ้า 

    อาศัยศีลล้างบาป บาปทุกประการได้รับการอภัย และไม่เหลือสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคที่จะไม่ให้เขาเข้าในพระอาณาจักรพระเจ้าได้ ถึงแม้พระหรรษทานนี้จะน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก แต่ “ผลตามมาในโลกนี้ของบาป” ยังคงเหลืออยู่ในผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้ว คือ ความทุกข์ โรคภัยไข้เจ็บ ความตาย ความเปราะบางในชีวิตมนุษย์ และความโน้มเอียงไปหาบาปที่เรียกว่า “กิเลสตัณหา” ซึ่งถูกทิ้งไว้เพื่อให้เราต่อสู้และเอาชนะโดยอาศัยพระหรรษทานของพระคริสตเจ้า   (Youcat 200)        

  ข้าแต่พระเยซูเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าชื่นชมยินดีในศีลล้างบาปที่ได้รับ แต่ก็รู้สึกว่าในทุกวันข้าพเจ้ายังต้องต่อสู้กับบาปและความอ่อนแอ อาศัยพระหรรษทานของพระองค์ ขอทรงโปรดช่วยข้าพเจ้าในการต่อสู้และให้ได้รับชัยชนะในพระองค์                                          

.

(Archbishop Bernard Longley, Doorway to Faith: Unlocking the Mystery of Faith. A Journey of Prayer Through the Catechism of the Catholic Church, London , Alive Publishing Ltd., 2014.)

.

โดยแผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Day 144