แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

“ประตูสู่ความเชื่อ” (Doorway to Faith)

วันที่ 116

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ (CCC ข้อ 1145-1150)                    

                                                               

‘มนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตในเวลาเดียวกันแสดงออกและรับรู้ความเป็นจริงที่เป็นจิตโดยทางเครื่องหมายและสัญลักษณ์ ในฐานะที่เป็น “สัต” สังคม มนุษย์ต้องการเครื่องหมายและสัญลักษณ์เพื่อสื่อกับผู้อื่น... เรื่องนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อเขาต้องมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าด้วย’ (CCC 1146)

    การประกอบพิธีกรรมศีลศักดิ์สิทธิ์เต็มไปด้วยเครื่องหมายและสัญลักษณ์ ทั้งสองสิ่งนี้พบได้ในชีวิตของศีลศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนจักร ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ มีรากฐานมาจากการเนรมิตสร้างและวัฒนธรรมของมนุษย์ 

  ส่วนเครื่องหมายและสัญลักษณ์อื่นๆ นั้นได้นำมาจากชาวอิสราเอลและพันธสัญญาเดิมเป็นส่วนใหญ่ (เช่น การปกมือ) เครื่องหมายและสัญลักษณ์เหล่านี้มีไว้เพื่อใช้สำหรับโลกที่ถูกสร้างขึ้นมานี้ 

    อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการติดต่อกันของมนุษย์ เพราะช่วยให้แสดงออกถึงความเป็นจริงฝ่ายจิตได้ โดยตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว ที่พระเจ้าทรงใช้สองสิ่งนี้เป็นเครื่องมือเพื่อแสดงออกและสื่อสารถึงการทำงานของพระองค์ อีกทั้งยังเป็นสื่อที่มนุษย์ใช้สำหรับตอบสนองพระองค์โดยทางการสรรเสริญต่อพระเจ้าด้วย (YOUCAT 181)

  ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอทรงโปรดอย่าให้ข้าพเจ้าเมินเฉยต่อเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่คุ้นเคยเลย ตั้งแต่น้ำเสกที่เราจุ่มเพื่อทำเครื่องหมายกางเขนไปจนถึงตะเกียงที่จุดอยู่ ซึ่งแสดงถึงการประทับอยู่ของพระคริสตเจ้าในตู้ศีล                                                                                                                                                                                                                                                           

.

(Archbishop Bernard Longley, Doorway to Faith: Unlocking the Mystery of Faith. A Journey of Prayer Through the Catechism of the Catholic Church, London , Alive Publishing Ltd., 2014.)

.

โดยแผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Day 116