ร่างกายของมนุษย์เป็นเครื่องหมายภาพลักษณ์ของพระเจ้า

ผลที่ตามมาก็ คือ มนุษย์มีความสำนึกรู้ ในลักษณะ “ความรู้เกี่ยวกับตนเอง” (Self-knowledge) กล่าวคือ รู้จักรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองกระทำ ดังนั้น ความรู้และการกระทำของมนุษย์จึงไม่ได้เป็นแค่ระดับสัญชาตญาณแบบสัตว์ทั้งหลาย แต่มนุษย์มีความสำนึกรู้ในแบบที่ “รู้ตัว” ว่าตนเองนั้นทำอะไรโดยผ่านทางร่างกายของตนเอง
- พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรงมองเห็นว่า แม้ร่างกายของมนุษย์ถูกสร้างมาเป็นวัตถุสาร แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผ่านทางร่างกายมนุษย์ได้ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันในฐานะที่เป็นบุคคล (communion personarum) ของหญิงและชาย อาจถูกมองในแค่ระดับกายภาพของสรีระเท่านั้น แต่อีกมุมหนึ่งนั้น ทำให้ความหมายของร่างกายมีคุณค่าอย่างเต็มเปี่ยม และมีค่าสูงมากกว่านั้น เมื่อหญิงและชายได้ร่วมสัมพันธภาพ เป็นหนึ่งเดียวกัน ในฐานะเป็นคู่ สามี-ภรรยา เพราะเขาทั้งสองได้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน (ปฐก. 2: 24) ด้วยเหตุนี้เอง ร่างกายของมนุษย์ชายและหญิงจึงได้ผูกพันธุ์เข้าด้วยกัน ด้วยคุณค่า ศักดิ์ศรี ของภาพลักษณ์ของพระเจ้าในการร่วมสัมพันธภาพ เป็นหนึ่งเดียวกันในฐานะที่เป็นบุคคล
- ในยุคสมัยของบรรดาปิตาจารย์ ได้มีการถกเถียงถึงประเด็นนี้อยู่เหมือนกัน เกี่ยวกับ ภาพลักษณ์ของพระเจ้า ที่ประทับอยู่ในตัวของมนุษย์ ซึ่งมี 2 สำนัก ดังต่อไปนี้
- 1) สำนัก ไซรีน ซึ่งประกอบไปด้วย Ireneus, Theodore of Mopsuestion, Pseude- Clements ได้อธิบายไว้ว่า “ภาพลักษณ์ของพระเจ้านั้นประทับอยู่ในทั้งสองสถานะ คือ จิต / วิญญาณ และในร่างกายของมนุษย์” เพราะมองไปยังชีวิตขององค์พระเยซูคริสตเจ้า ที่รับเอากายและบังเกิดเป็นมนุษย์โดยอำนาจของพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงเป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้า ในฐานะที่เป็นมนุษย์ซึ่งถือกำเนิดมาจากพระบิดา และพระจิต (ad imaginem)
- 2) สำนักอเล็กซานเดรีย ซึ่งประกอบไปด้วย Clement of Alexandia, Origen ได้เน้นไปที่ “จิต”
- ดังนั้น ภาพลักษณ์ของพระเจ้าในมนุษย์นั้น พระองค์ทรงประทับอยู่จิต / วิญญาณ เพราะมนุษย์ ดำเนินชีวิตภายใต้เงื่อนไขภาพลักษณ์ของพระเจ้า และพระเจ้าทรงทำให้มนุษย์มีส่วนร่วม ในจิตของพระเจ้า ดังนั้น ชีวิตฝ่ายจิต ทำให้วิญญาณของมนุษย์เหมือนกับพระเจ้า คือ ไร้ตัวตน (Immateriality) เป็นอมตะ (Indestructibility) มีอิสระ (freedom) และ สันติ สงบเงียบ (apatheia) เป็นต้น
- ภาพลักษณ์ของพระเจ้าประทับอยู่ในจิต / วิญญาณของมนุษย์ สำนักอเล็กซานเดรีย ไม่เพียงแต่มีอิทธิพลต่อความคิดของสำนักปิตาจารย์ คาปาโดเซี่ยน (Cappadocian fathers) เท่านั้น แต่ยังตกผลึก แผ่ความคิดนี้มายังสมัยต่อๆ มา เช่น ในยุคของ นักบุญ เอากุสติน แห่งเมืองฮิปโป (St. Augustine of Hippo) มองว่า “จิต” นั้นเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ และเป็นที่ประทับอยู่ของภาพลักษณ์ของพระเจ้า ความคิดนี้ยังได้รับการถ่ายทอดมาจนถึงทุกวันนี้
- นักบุญ โทมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้า ไม่ใช่ ประกอบไปด้วย ร่างกาย หรือการมีอำนาจเหนือสิ่งสร้างทั้งหลายเท่านั้น แต่มนุษย์เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้า เพราะมนุษย์มีศักยภาพของการใช้เหตุผล และมีสติปัญญาเพื่อมุ่งไปสู่ความดีของพระเจ้าได้