แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ความรับผิดชอบของพระสันตะปาปาคืออะไร
pope francis    ในฐานะผู้สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร และเป็นหัวหน้าคณะพระสังฆราช สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเป็นบ่อเกิดและผู้รับรองเอกภาพของพระศาสนจักร ท่านมีอำนาจสุงสุดในการอภิบาล และมีอำนาจตัดสินสุดท้ายในเรื่องข้อคำสอนและกฎระเบียบวินัย (880-882, 936-937)
    พระเยซูเจ้าทรงประทานตำแหน่งเฉพาะเหนืออัครสาวกองค์อื่นๆ แก่นักบุญเปโตร ทำให้ท่านมีอำนาจสูงสุดในพระศาสนจักรยุคแรก->กรุงโรม ซึ่งเป็นพระศาสนจักรท้องถิ่นที่ท่านดำเนินชีวิต และเป็นสถานที่ที่ท่านได้สิ้นใจเป็นมรณสักขีนั้นได้กลายเป็นสถานที่อ้างอิงภายในของพระศาสนจักรโรมที่ยังเยาว์อยู่

กล่าวคือ ชุมชนคริสตชนทุกแห่งต้องเห็นด้วยกับโรม ในฐานะเป็นมาตรฐานความเชื่อที่เป็นจริง สมบูรณ์และบริสุทธิ์ จากบรรดาอัครสาวก    จนถึงทุกวันนี้ ผู้ที่เป็นพระสังฆราชแห่งกรุงโรม ยังคงเป็นเช่นเดียวกับนักบุญเปโตร คือ เป็นชุมพาบาลสูงสุดของพระศาสนจักร ซึ่งมีพระคริสตเจ้าทรงเป็นประมุขแท้จริง    พระสันตะปาปาเป็น “ผู้แทนของพระคริสตเจ้าในโลกนี้” ในฐานะผู้อภิบาลสูงสุดและผู้มีอำนาจในข้อคำสอน พระสันตะปาปาดูแลการถ่ายทอดความเชื่อที่แท้จริง หากจำเป็นพระองค์สามารถสั่งเพิกถอนหน้าที่การสอนข้อความเชื่อ หรือ ปลดศาสนบริกรที่ได้รับการบวชออกจากตำแหน่งหน้าที่ ในกรณีที่เป็นความผิดร้ายแรงเรื่องความเชื่อและศีลธรรม เอกภาพเรื่องของความเชื่อและศีลธรรม ซึ่งได้รับการรับรองจากอาจารยานุภาพ (Magisterium) หรือ อำนาจการสอนของพระศาสนจักร ร่วมกับสมเด็จพระสันตะปาปาผู้เป็นประมุข เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้พระศาสนจักรคาทอลิกแผ่ขยายและมีอิทธิพลอย่างกว้างขวาง

กรุงโรม (Rome)  ตั้งแต่แรกเริ่ม กลุ่มคริสตชนในกรุงโรมถูกมองว่าเป็น “พระศาสนจักรที่ยิ่งใหญ่” และเก่าแก่ที่สุด เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ได้รับการก่อตั้งและบริหารจัดการที่กรุงโรมโดยอัครสาวกผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดสองท่าน คือ เปโตรและเปาโล...ด้วยเหตุที่พระศาสนจักรแห่งกรุงโรมมีต้นกำเนิดอันสูงส่ง พระศาสนจักรทุกแห่ง คือ สัตบุรุษทุกคนทั่วโลกจึงต้องเห็นพ้องกับพระศาสนจักรแห่งกรุงโรม และในพระศาสนจักรนี้เองที่สัตบุรุษทุกหนแห่งได้บำรุงรักษาธรรมประเพณีของบรรดาอัครสาวกไว้” (นักบุญอิเรเนอุส แห่งลีออง 135-202) ด้วยเหตุที่อัครสาวกทั้งสองท่านต้องทุกข์ทรมานและเป็นมรณสักขีที่กรุงโรม จึงทำให้ชุมชนคริสตชนกรุงโรมมีความสำคัญมากขึ้น
สมเด็จพระสันตะปาปา (Pope) (ภาษากรีก Pappas บิดา) ผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญเปโตรอัครสาวก พระสังฆราชแห่งกรุงโรม เนื่องจากนักบุญเปโตรเป็นผู้นำในบรรดาอัครสาวก สมเด็จพระสันตะปาปาในฐานะผู้สืบตำแหน่งต่อจากท่าน จึงทำหน้าที่เป็นประธานเหนือคณะพระสังฆราช ในฐานะผู้ช่วยหรือผู้แทนของพระคริสตเจ้า พระสันตะปาปาทรงเป็นผู้อภิบาล สงฆ์ และผู้สอนในลำดับสูงสุดในพระศาสนจักร
พระสังฆราช (Bishop) (ภาษากรีก eposkopein การกำกับดูแล) ผู้สืบตำแหน่งของบรรดาอัครสาวก ผู้นำของสังฆมณฑล (พระศาสนจักรท้องถิ่น) ในฐานะสมาชิกของคณะพระสังฆราช ภายใต้การนำของสมเด็จพระสันตะปาปา พระสังฆราชมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อพระศาสนจักรสากล
พระสงฆ์ (Priest) (ภาษากรีก presbyteros ผู้อาวุโส) ผู้ร่วมงานกับพระสังฆราชในการประกาศพระวรสาร และเป็นผู้โปรดศีลศสักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ท่านปฏิบัติหน้าที่ในความเป็นหนึ่งเดียวกับคณะสงฆ์ ภายใต้การนำของพระสังฆราช
สังฆานุกร (Deacon) (ภาษากรีก diakonos ผู้รับใช้ ผู้ช่วย) สังฆานุกรได้รับการบวชเพื่อเป็นศาสนบริกรของพระวาจา พิธีกรรม และงานเมตตาจิตต่างๆ รวมทั้งมีอำนาจในการโปรดศีลล้างบาป การเทศน์ในพิธีบูชามิสซาและเป็นประธานในพิธีศีลสมรส

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ ประกอบด้วย คำอธิบายพระบัญญัติ 10 ประการ (แบบรูปภาพ) วีดีทัศน์ พระบัญญัติ 10 ประการ หนังสือ ชวนกันอ่าน พระบัญญัติ...
สื่อคำสอน เรื่องศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อคำสอน เรื่องศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมกิจกรรมที่ 1 ใบความรู้ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม (แตะที่รูปหนังสือ ท่านก็จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ)กิจกรรมที่ 2 เกมจับคู่ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมกิจกรรมที่ 3 เกมค้นหาคำ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ E-book ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 2 แบบทดสอบออนไลน์ ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 3...

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:22-30) เวลานั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินอยู่ในพระวิหารที่เฉลียงซาโลมอน ชาวยิวมาล้อมพระองค์ไว้ ทูลว่า “ท่านจะปล่อยให้ใจของพวกเราสงสัยอยู่นานเท่าใด ถ้าท่านเป็นพระคริสตเจ้า ก็จงบอกพวกเราให้ชัดเจนเถิด” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกท่านทั้งหลายแล้วแต่ท่านไม่เชื่อ กิจการที่เราทำในนามของพระบิดาของเราก็เป็นพยานให้เรา แต่ท่านไม่เชื่อ...
วันจันทร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:1-10) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้ที่ไม่เข้าคอกแกะทางประตู แต่ปีนเข้าทางอื่น ก็เป็นขโมยและโจร ผู้ที่เข้าทางประตูก็เป็นผู้เลี้ยงแกะ คนเฝ้าประตูย่อมเปิดประตูให้เขาเข้าไป บรรดาแกะก็ฟังเสียงเขา เขาเรียกชื่อแกะของตนทีละตัว และพาออกไปข้างนอก เมื่อเขาพาแกะออกไปหมดแล้ว...

ประชาสัมพันธ์

ประมวลภาพกิจกรรม

เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1/2025
เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1/2025
🎉 เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1 🎉 วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2025 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมกับโรงเรียนแม่พระฟาติมา ดินแดง จัดโครงการ เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1 หัวข้อ “สอนคำสอนอย่างไรให้สนุก จะไม่ทุกข์ถ้ามีสื่อ” ณ...
พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 2025
พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 2025
🎊✨️ พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 🎊✨️ ค่ำคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ 19 เมษายน 2025 เป็นวันที่สำคัญและเป็นช่วงเวลาพิเศษ ของบรรดาผู้เตรียมเป็นคริสตชน ตลอดระยะเวลา 8-10 เดือน ที่ได้มาเรียนคำสอน ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ และผ่านพิธีต่างๆ ของกระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน ไม่ว่าจะเป็นพิธีต้อนรับ พิธีเลือกสรร พิธีพิจารณาความตั้งใจ พิธีเอฟฟาธา...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

321. คริสตชนสามารถเป็นปัจเจกชนอย่างถอนรากถอนโคน หรือไม่ ไม่ คริสตชนไม่เคยเป็นปัจเจกชนอย่างถอนรากถอนโคน เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นถูกเตรียมไว้เพื่อมิตรภาพ (1877-1880, 1890-1891) ทุกบุคคลมีแม่และพ่อ เขารับความช่วยเหลือจากผู้อื่น...
320. มีสิ่งที่เป็นโครงสร้างของบาปหรือ โครงสร้างของบาปมีเฉพาะในวิธีพูดเท่านั้น บาปเกี่ยวข้องเสมอกับส่วนบุคคล ผู้มีความตั้งใจ และยินยอมด้วยความเต็มใจที่จะกระทำบางสิ่งที่เป็นความชั่ว (1869)

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ ประทับเบื้องขวาพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 79 # ตอนที่ 6 “พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ ประทับเบื้องขวาพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ” (659-664) หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ...
ความหมายและความสำคัญด้านการไถ่กู้ของการกลับคืนพระชนมชีพ
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 78 # III. ความหมายและความสำคัญด้านการไถ่กู้ของการกลับคืนพระชนมชีพ (651-655) เรื่องนี้สำคัญมากๆ เพราะการที่พระเยซูเจ้ากลับคืนพระชนมชีพนั้น เป็นการพิสูจน์และรับรองว่าทุกสิ่งที่พระองค์เคยสอนและทำไว้เป็นความจริงอย่างแน่นอน และยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระองค์มีอำนาจของพระเจ้าจริงๆ...

ประวัตินักบุญ

13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา
13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา (Our Lady of Fatima) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1917 ซึ่งอยู่ในช่วงปีที่ 3 ของสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งสงครามโลกครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปถึงแปดล้านคน)...
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร (St Joseph the Worker, memorial) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สมาคมของบรรดากรรมกรคาทอลิกอิตาเลียน...

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Don't be afraid

Facebook CCBKK

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

คู่มือแนะแนวในการสอนคำสอน

ปก คู่มือแนะแนว

คู่มือเตรียมรับศีลมหาสนิท แบบที่ 1-2

ปก แบบที่ 2 01

ครอบครัว บ่อเกิดแห่งความเชื่อ

F cover fmaily

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
1796
31995
53258
295315
944464
42747629
Your IP: 3.15.223.232
2025-05-13 01:08

สถานะการเยี่ยมชม

มี 612 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์