แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

อาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Vestments)

เมื่อจัดพิธีกรรมเป็นทางการในพระนามของพระเจ้า ผู้ประกอบพิธีจะสวมอาภรณ์เฉพาะ


images123ในช่วงแรกๆของหนังสือเล่มนี้ พิธีกรรมของคาทอลิกมีส่วนคล้ายคลึงกับละครโอเปร่า เช่นการใช้เสื้อผ้า เพราะผู้ประกอบพิธีต้องแต่งตัวด้วยอาภรณ์เฉพาะเมื่อประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์
หนังสือวิวรณ์ได้กล่าวถึงพิธีกรรมในสวรรค์ประกอบด้วยเครื่องดนตรี บทเพลง ขบวนแห่และการเคลื่อนไหวหลากหลาย นักบุญยอห์นได้เห็น “ประชาชนมากมายเหลือคณา...กำลังยืนอยู่เฉพาะพระบัลลังก์และเฉพาะพระพักตร์ลูกแกะของพระเจ้า ทุกคนสวมเสื้อขาว ถือใบปาล์ม ร้องสรรเสริญเสียงดังว่า ความรอดพ้นเป็นของพระเจ้าของเรา ผู้ประทับอยู่บนพระบัลลังก์และเป็นของลูกแกะของพระเจ้า” (วว.7.9:10)

เสื้อขาวของผู้ได้รับเลือกสรรเป็นสัญลักษณ์ถึงการชำระให้บริสุทธิ์เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้า ยังเป็นเสื้อของทูตสวรรค์ที่มาประกาศการกลับคืนชีพของพระคริสต์แก่หญิงใจศรัทธา นอกจากนี้ ผู้รับศีลล้างบาปใหม่จะได้รับเสื้อขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการบังเกิดใหม่ภายใน ระหว่างการรับศีลมหาสนิทอย่างสง่า ผู้รับศีลมหาสนิทจะสวมเสื้อขาว ซึ่งเป็นอาภรณ์แรกของบรรดาศาสนบริกรที่ร่วมพิธี ไม่ว่าจะทำหน้าที่ใดก็ตามคนที่รับศีลบวชก็ได้สวมเสื้อขาวเช่นกัน
“Alb” (มาจากภาษาละติน “Alba” แปลว่า ขาว) เสื้ออัลบาเป็นเสื้อขาวยาวพร้อมแขนเสื้อกว้างยาวถึงข้อเท้า มีเชือกผูกที่เอว เสื้อขาวยาวไม่มีผ้าคลุมไหล่หรือปลอกคอ แต่จะมีผ้าพันรอบคอแทน พระสังฆราชพระสงฆ์ สังฆานุกร ผู้ช่วยพิธี และผู้อ่านพระคัมภีร์จะใส่เสื้อขาวยาวเป็นอาภรณ์สำหรับร่วมพิธีกรรม ผู้ช่วยมิสซาสวมเสื้อขาวสั้น (surplices) ทับเสื้อสีดำและสีแดง
ผ้าคล้องคอ (ผ้า สโตลา-Stole) มาจากภาษาละตินว่า Stola “เสื้อยาว” (บอกยศหรือตำแหน่ง) กลายเป็นอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์สำหรับใช้ในพิธีกรรมระหว่างศตวรรษที่ 8) สวมทับเสื้อขาวยาว มีขนาดเล็กซึ่งผู้ได้รับศีลบวชจะสวมเป็นอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วยผ้าแถบยาวทำด้วยแถบผ้า 2 ชิ้นขนาดเท่ากัน พระสังฆราชและพระสงฆ์สวมรอบคอและแถบผ้า 2 ข้าง ห้อยลงมาด้านหน้าแบบขนานกัน สังฆานุกรเป็นแบบผ้าสะพายไหล่ สวมแบบไขว้กันที่หน้าอก มาจากไหล่ด้านซ้าย มีตะเข็บหรือปุ่ม เล็กๆห้อยมาตอนท้ายแล้วผูกติดกัน ดังนั้น มีการตัดผ้าคล้องคอให้ไขว้กันรอบตัวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
เสื้อมิสซา (กาซูลา มาจากภาษาละติน ว่า casual แปลว่า “บ้านเล็กๆ”) เป็นเสื้อชั้นนอกที่พระสงฆ์สวมทับเสื้ออัลบา สำหรับถวายบูชามิสซา กาซูลาเป็นอาภรณ์ที่สวมเต็มตัวด้านบน สวมทางศีรษะเหมือนเสื้อที่ทำจากผ้าขนาดใหญ่และเจาะรูไว้สวมศีรษะ เนื่องจากเสื้อหุ้มห่อผู้สวมใส่และป้องกันเขาไว้เหมือนบ้านเล็กๆหรือเต๊นท์ เป็นอาภรณ์ที่พระสังฆราชและพระสงฆ์สวมเวลาประกอบพิธีมิสซาเป็นเครื่องหมายแสดงว่าผู้ประกอบพิธีที่สวมกาซูลาได้ “สวม” พระคริสต์เพื่อกระทำการแทนพระองค์ระหว่างถวายบูชา ได้มีการปรับปรุงความกว้างของกาซูลาในระยะแรก แต่เราก็ยังพบว่ากาซูลาเหมือน “กล่องเก็บไวไอลิน” ในยุคบาร็อค
เพราะด้านหลังมีลักษณะเหมือนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขณะที่ด้านหน้าเหมือนกล่องเก็บไวโอลิน ทำให้แขนของพระสงฆ์มีอิสระที่จะทำสิ่งต่างๆ กาซูลาได้รับการประดับประดารวมทั้งการปักที่งดงามด้วย
เสื้อชั้นนอกสำหรับสังฆานุกร Dalmatic มาจากคำว่า Dalmatia ปัจจุบันนี้เรียกว่า Croatia ใช้ในพิธีกรรม เป็นอาภรณ์สำหรับสังฆานุกร นั่นคือ “ผู้บริการผู้รับใช้” ซึ่งเป็นเครื่องหมายของพระคริสต์ ผู้รับใช้จะสวมทับเสื้อคลุมแขนยาวสีขาวและผ้าคล้องคอ คริสตชนเกี่ยวข้องเพราะ “การรับใช้คือการครองราชย์” เป็นเสื้อคลุมมีแขนเสื้อกว้างซึ่งแยกส่วนกับใต้แขน ประดับลวดลายคล้าย กาซูลา และมีแขนเสื้อสั้นต้นกำเนิดมาจากส่วนหนึ่งของเสื้อผ้าของจักรพรรดิโรมันและของพระสันตะปาปาในยุคกลางตอนปลาย
Cape กัปปา (มาจากคำละตินว่า Cappa เสื้อคลุมไม่มีแขน) เสื้อคลุมยาวไว้คลุมร่างกายทั่วร่าง กัปปาประกอบด้วยผ้าครึ่งวงกลมหนึ่งชิ้น พร้อมด้วยผ้าพับกัน 2 ชั้น ติดด้วยตะขอและห่วงที่ด้านหน้ามีการสวมกัปปา ระหว่างงานที่เป็นทางการนอกเวลามิสซา ประธานในพิธีสวมเสื้อขาวยาวและผ้าคล้องคอ ผู้ช่วยพิธและนักขับจะสวมอาภรณ์นี้ก็ได้
การใช้สีในเทศกาลตามปีพิธีกรรม (หรือสิ่งประดับ) มีสีต่างๆ ตามระเบียบที่ตั้งไว้ สีขาว หรือ สีทอง หมายถึงความยินดี ใช้สำหรับเทศกาลพระคริสตสมภพและเทศกาลปัสกา รวมทั้งวันฉลองนักบุญที่ไม่ได้เป็นมรณสักขี สีม่วง หมายถึงความเป็นทุกข์ถึงบาป สำหรับเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า เทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการถือศีลอดอาหารเพื่อใช้โทษบาป สี่ชมพูสำหรับวันอาทิตย์ที่ 3 ของเทศกาลรับเสด็จพระคริสตเจ้าและวันอาทิตย์ที่ 4 ของเทศกาลมหาพรต สีแดง หมายถึง ความรัก ความเสียสละชีพเพื่อศาสนาสำหรับวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ วันสมโภชพระจิตเจ้าและวันฉลองของนักบุญมรณสักขี สีเขียว หมายถึง ความสดชื่น การเจริญเติบโต สำหรับเทศกาลธรรมดา ในบางท้องที่ใช้สีทอง สำหรับพิธีที่สง่า สีฟ้า สำหรับวันฉลองพระนางพรหมจารีมารีย์ และสำหรับ สีดำ หมายถึง ความทุกข์โศกสำหรับมิสซาผู้ตาย
อาภรณ์ที่มีสัญลักษณ์เหล่านี้ใช้สำหรับประธานในพิธีและผู้ช่วยพิธี เพราะพวกเขาเป็นผู้แทนหรือผู้รับใช้ของพระคริสตเจ้าสิ่งนี้ไม่ได้สร้างความประทับใจ ในแง่ที่ว่า การประกอบพิธีกรรมเป็นเพียงการแสดงบางสิ่งต่อหน้าผู้ชมที่เป็นประชาสัตบุรุษ แต่เป็นที่ประชุมที่แต่ละคนกระทำตามบทบาทของตน รวมทั้งผู้มีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึกแห่งบูชามิสซาด้วย แต่ละคนกระทำหน้าที่อย่างประสานกลมกลืนอย่างสมบูรณ์จากความร่วมมือกัน ประชาสัตบุรุษอาจสวมอาภรณ์ของพระคริสตเจ้าได้ด้วย เช่น สวมเสื้อขาวในโอกาสรับศีลล้างบาปและการปฏิญาณถวายตัวของนักบวช

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ ประกอบด้วย คำอธิบายพระบัญญัติ 10 ประการ (แบบรูปภาพ) วีดีทัศน์ พระบัญญัติ 10 ประการ หนังสือ ชวนกันอ่าน พระบัญญัติ...
สื่อคำสอน เรื่องศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อคำสอน เรื่องศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมกิจกรรมที่ 1 ใบความรู้ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม (แตะที่รูปหนังสือ ท่านก็จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ)กิจกรรมที่ 2 เกมจับคู่ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมกิจกรรมที่ 3 เกมค้นหาคำ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ E-book ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 2 แบบทดสอบออนไลน์ ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 3...

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี เราคงบอกท่านแล้ว เรากำลังไปเตรียมที่ให้ท่าน และเมื่อเราไป และเตรียมที่ให้ท่านแล้ว...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:16-20) เวลานั้น เมื่อพระเยซูเจ้าทรงล้างเท้าบรรดาอัครสาวกแล้ว พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้รับใช้ย่อมไม่เป็นใหญ่กว่านายของตน ผู้ถูกส่งไปย่อมไม่เป็นใหญ่กว่าผู้ที่ส่งเขาไป บัดนี้ ท่านรู้เรื่องนี้แล้ว ถ้าท่านปฏิบัติตาม ท่านย่อมเป็นสุข เราไม่พูดเช่นนี้เพื่อท่านทุกคน เรารู้จักผู้ที่เราเลือกไว้แล้ว...

ประชาสัมพันธ์

ประมวลภาพกิจกรรม

เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1/2025
เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1/2025
🎉 เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1 🎉 วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2025 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมกับโรงเรียนแม่พระฟาติมา ดินแดง จัดโครงการ เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1 หัวข้อ “สอนคำสอนอย่างไรให้สนุก จะไม่ทุกข์ถ้ามีสื่อ” ณ...
พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 2025
พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 2025
🎊✨️ พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 🎊✨️ ค่ำคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ 19 เมษายน 2025 เป็นวันที่สำคัญและเป็นช่วงเวลาพิเศษ ของบรรดาผู้เตรียมเป็นคริสตชน ตลอดระยะเวลา 8-10 เดือน ที่ได้มาเรียนคำสอน ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ และผ่านพิธีต่างๆ ของกระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน ไม่ว่าจะเป็นพิธีต้อนรับ พิธีเลือกสรร พิธีพิจารณาความตั้งใจ พิธีเอฟฟาธา...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

223. ปัจเจกชนรวมเข้ากับสังคมในวิธีการซึ่งสามารถพัฒนาได้อย่างอิสระอย่างไร ปัจเจกชนสามารถพัฒนาได้อย่างอิสระในสังคม ถ้า“หลักแห่งการช่วยเหลือกัน” ได้รับการนำไปปฏิบัติ(1883-1885, 1894) หลักแห่งการช่วยเหลือกัน ซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของคำสอนทางด้านสังคมของคาทอลิก กล่าวคือ สิ่งที่บุคคลประสบความสำเร็จจากความคิดริเริ่มและความพยายามของตนเองผู้มีอำนาจที่สูงกว่าไม่ควรยึดเอาไปจากเขา...
322. สังคมหรือปัจเจกชนสำคัญกว่ากัน ในสายพระเนตรของพระเจ้าทุกบุคคลมีความสำคัญในอันดับแรกในฐานะบุคคล ดังนั้นแล้วจึงเป็นสังคม (1881-1892) สังคมไม่สามารถสำคัญมากกว่าปัจเจกบุคคล มนุษย์อาจจะไม่มีความหมายต่อสังคมที่สิ้นสุดลง ถึงแม้สถาบันทางสังคม เช่น รัฐบาลและครอบครัวมีความจำเป็นสำหรับปัจเจกชน...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

ข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 82 # บทที่สาม ข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า (683-686) พระจิตเจ้าเป็นหนึ่งในสามพระบุคคลของพระเจ้า พระตรีเอกภาพ พระจิตเจ้าเป็นผู้ที่ช่วยให้เราเชื่อและรู้จักพระบิดาและพระเยซูคริสต์ เหมือนกับเวลาที่เราอยากรู้จักเพื่อนใหม่...
เพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 81 # II. “เพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย” (678-679) ในเรื่องการพิพากษาครั้งสุดท้าย พระเยซูเจ้าได้สอนประชาชนว่า จะมีวันหนึ่งที่พระองค์จะมาพิพากษาทุกคน ทั้งคนที่มีชีวิตอยู่และคนที่เสียชีวิตไปแล้ว...

ประวัตินักบุญ

13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา
13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา (Our Lady of Fatima) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1917 ซึ่งอยู่ในช่วงปีที่ 3 ของสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งสงครามโลกครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปถึงแปดล้านคน)...
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร (St Joseph the Worker, memorial) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สมาคมของบรรดากรรมกรคาทอลิกอิตาเลียน...

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Don't be afraid

Facebook CCBKK

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

คู่มือแนะแนวในการสอนคำสอน

ปก คู่มือแนะแนว

คู่มือเตรียมรับศีลมหาสนิท แบบที่ 1-2

ปก แบบที่ 2 01

ครอบครัว บ่อเกิดแห่งความเชื่อ

F cover fmaily

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
15284
21672
113428
355485
944464
42807799
Your IP: 18.222.60.247
2025-05-15 17:00

สถานะการเยี่ยมชม

มี 288 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์