แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การแต่งงานของคริสตชน
    ศีลศักดิ์สิทธิ์ทุกชนิดล้วนเป็นสัญลักษณ์ของความรักและมิตรภาพจากพระเจ้า โดยศีลศํกดิ์สิทธิ์เหล่านี้ยังเป็นการฉลองการประทับอยู่ของพระเจ้าอย่างต่อเนื่องกับพวกเราในการดำเนินชีวิตตามปกติของเรา   การแต่งงานของคริสตชนที่ถูกจัดขึ้นในรูปศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสมรส (ศีลสมรส) เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งมิตรภาพ  คริสตชนที่แต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎของพระเจ้าก็เป็นเครื่องหมายแสดงความรักของพระเจ้าที่มีอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์, ในมิตรภาพ, ในการให้กำเนิดชีวิต, และในชีวิตครอบครัว

ศีลสมรสคืออะไร
(CCC 1601; 1660)
    ในพิธีศีลสมรส ชายและหญิงที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วให้คำปฏิญาณว่าพวกเขาจะรักเดียวใจเดียวและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคง  การอยู่ร่วมกันนี้ต้องมีความรัก, การให้ความเคารพกัน,  การดูแลเอาใจใส่, และข้อผูกมัดที่จะต้องร่วมกันดูแลครอบครัวหนึ่งในกรณีที่พระเจ้าประทานบุตรแก่พวกเขา
    การแต่งงานของคริสตชน เป็นเครื่องหมายพิเศษที่แสดงถึงการทำงานของพระเจ้าที่มีอยู่ตลอดเป็นปกติ  การแต่งงานอย่างถูกต้องถือเป็นพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวข้องกับ 3 บุคคล  คู่สมรสได้มาใช้ชีวิตร่วมกันโดยพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงสัญญาว่าจะอวยพร, สนับสนุน, และยินดีในชีวิตคู่ของพวกเขา
    ในข้อสัญญาการแต่งงานของคริสตชน  สามีและภรรยาเต็มใจที่จะอยู่ร่วมกันตลอดชีวิต  ข้อสัญญาของพวกเขาเป็นข้อผูกมัดให้มีรักเดียว

พันธสัญญาเดิมเปิดเผยเกี่ยวกับการแต่งงานว่าอย่างไร?
(CCC 1602-1608)
    ในหนังสือปฐมกาล พระเจ้าทรงเปิดเผยความจริงที่ลึกซึ้งสองประการเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการแต่งงานกับประชากรชาวยิว   ประการแรก การแต่งงานคือการมีส่วนร่วมในงานสร้างสรรค์ของพระเจ้า ในการนำชีวิตใหม่มาสู่โลกมนุษย์   ประการที่สอง การแต่งงานมุ่งที่จะปรับปรุง, ยกย่อง, และเพิ่มพูนความรักระหว่างภรรยาและสามีให้มากขึ้น  หนังสือปฐมกาลบอกเราว่า พระเจ้าทรงทำให้เกิดการแต่งงานและเพศหญิงชาย ทั้งยังทรงประกาศว่าสิ่งเหล่านี้ดี

พันธสัญญาใหม่เปิดเผยเกี่ยวกับการแต่งงานว่าอย่างไร?
(CCC 1613-1616; 1659)
    พันธสัญญาใหม่เปิดเผยให้เข้าใจธรรมชาติของการแต่งงานอย่างลึกซึ้งมากขึ้น   การเสด็จไปร่วมงานแต่งงานที่เมืองคานาของพระเยซูเจ้า เน้นให้เห็นข้อดีของการแต่งงาน   เมื่อพระเยซูเจ้าทรงสอนอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการแต่งงาน  พระองค์ทรงยืนยันอีกครั้งถึงพระประสงค์เริ่มแรกของพระบิดาว่า การแต่งงานต้องเป็นความสัมพันธ์แบบรักเดียวใจเดียวอย่างมั่นคง  “ทุกคนที่หย่าร้างภรรยาและแต่งงานใหม่ก็ทำผิดประเวณี และผู้ที่แต่งงานกับหญิงที่หย่าร้างแล้ว ก็ทำผิดประเวณีด้วย”  (ลก 16:18)
    การอยู่รวมกันของสามีภรรยาก็เหมือนกับการรวมเป็นหนึ่งเดียวของพระคริสตเจ้ากับพระศาสนจักรของพระองค์  การแต่งงานเป็นสัญญาหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อผูกพันอย่างสมบูรณ์ตลอดชีวิตอันสะท้อนให้เห็นความรักของพระคริสตเจ้าที่มีต่อพระศาสนจักรของพระองค์

การเตรียมตัวอย่างดีสำหรับการแต่งงานของคริสตชนเป็นอย่างไร?
(CCC1632-1637)
    การเตรียมตัวสำหรับการแต่งงานของคริสตชน ในแทบทุกสังฆมณฑลมีนโยบายให้คู่แต่งงานที่หมั้นหมายกันแล้วเข้ารับการอบรมก่อนแต่งงาน  ผู้ให้การอบรมของพระศาสนจักรเหล่านี้ จะให้โอกาสคู่แต่งงานได้ศึกษาเกี่ยวกับข้อผูกมัดที่ศักดิ์สิทธิ์ของการแต่งงาน และเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงในชีวิตสมรสจากผู้ที่แต่งงานแล้วหลายๆ คู่  บางครั้งอาจมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว หรือความสัมพันธ์อันใกล้ชิดในครอบครัว มาพูดคุยกับคู่แต่งงาน  ในการพูดคุยกันมีหลายหัวข้อได้แก่ เรื่องความรักและความสัมพันธ์อันใกล้ชิด, การสร้างครอบครัว, บทบาทของชีวิตศรัทธาในการแต่งงาน, และการวางแผนสำหรับพิธีสมรสที่จะจัดขึ้น

สิ่งจำเป็นสำหรับการแต่งงานคืออะไร?
(CCC 1625-1631; 1662)
    ในการประกอบพิธีศีลสมรสอย่างถูกต้อง คู่สมรสต้องมีความเป็นผู้ใหญ่, เป็นโสด, ไม่มีความเกี่ยวดองกันทางสายเลือดหรือทางการแต่งงาน และตัดสินใจแต่งงานอย่างอิสระ  พวกเขาต้องตั้งใจมอบตนทำตามพันธสัญญาแห่งรักตลอดชีวิต  นอกจากนี้พวกเขาต้องสามารถมีส่วนร่วมทางเพศได้ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นสัญลักษณ์ของความรักกันและชีวิตสมรส, อีกทั้งเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความรักกันและกันระหว่างสามีภรรยา  สุดท้ายคือคู่สมรสต้องเปิดรับการสร้างครอบครัวที่มีบุตรซึ่งพระเจ้าประทานแก่เขา

การประกอบพิธีศีลสมรสทำอย่างไร?
(CCC 1621-1624; 1663)
    การแต่งงานของคริสตชนโดยทั่วไป ถ้าคู่สมรสเป็นคาทอลิกทั้งคู่ จะประกอบพิธีสมรสระหว่างพิธีมิสซา  คู่บ่าวสาวในฐานะศาสนบริกรผู้ได้รับพระหรรษทานของพระคริสตเจ้าให้ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสมรสแก่กัน  พวกเขาต้องแสดงความยินยอมของพวกเขาซึ่งเป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการทำให้การแต่งงานเกิดขึ้นจริง โดยการแลกเปลี่ยนคำสัญญาต่อหน้าพระสงฆ์, พยานสองคน, และสัตบุรุษที่มาชุมนุมกัน   พระสงฆ์ในฐานะพยานที่เป็นทางการของพระศาสนจักรเสกแหวนและบอกคู่สมรสสวมแหวนให้กัน เพื่อให้เป็นเครื่องหมายแสดงความซื่อสัตย์และความรักที่ไม่มีวันสิ้นสุด
    การประกอบพิธีสมรสเป็นปัจจัยสำคัญเพียงอย่างเดียวในศีลศักดิ์สิทธิ์  ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสมรสยังคงมีผลต่อไปเนิ่นนานตลอดเวลาที่ผู้เป็นสามีและภรรยาได้สานความสัมพันธ์ระหว่างกันและกับพระเจ้า   องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพทรงสัญญาว่าจะอยู่กับคู่สมรส เพื่อดูแลพวกเขาไปตลอดชีวิตของพวกเขา
ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสมรสให้พระหรรษทานแก่คู่บ่าวสาวเพื่อให้รักกันและกัน ด้วยความรักอย่างที่พระคริสตเจ้าทรงรักพระศาสนจักรของพระองค์   ดังนั้นพระหรรษทานจากศีลศักดิ์สิทธิ์จึงทำให้ความรักตามแบบมนุษย์ของสามีภรรยาสมบูรณ์ ทำให้ความเป็นหนึ่งเดียวที่ไม่อาจแยกกันได้ของพวกเขามั่นคง และชำระพวกเขาให้บริสุทธิ์ในการเดินทางสู่ชีวิตนิรันดร์
                            -หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก, ข้อ 1661

ทำไมการแต่งงานของคริสตชนจึงคงอยู่ตลอดไป?
(CCC 1646-1651; 1665)
    การแต่งงานของคริสตชนเป็นความรับผิดชอบถาวรประการหนึ่ง  เพราะว่ามันเป็นวิธีที่ดีเลิศสำหรับการนำพระคริสตเจ้ามาสู่โลกและการส่งต่อความเชื่อของคริสตชน นี่เป็นเรื่องจริงอย่างแน่นอนสำหรับเด็กๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการแต่งงาน  พวกเขาต้องการความรักที่มั่นคงและลดทอนความกังวลจากชีวิตสมรสที่เข้มแข็งเพื่อการพัฒนาทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิตและความเชื่อในพระเจ้า
    แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาที่มีความซื่อสัตย์เป็นเครื่องหมายชัดเจนที่บอกความจริงอื่นๆด้วย  สามีภรรยาที่เป็นคริสตชนบอกเป็นนัยถึงความล้ำลึกแห่งความรักของพระเจ้าที่ทำงานในชีวิตปกติ  ความซื่อสัตย์และความรักที่มอบให้แต่เพียงผู้เดียวของพวกเขาเป็นเครื่องหมายที่พิเศษซึ่งแสดงให้เห็นสังคมซึ่งมีความซื่อสัตย์และความรักที่ไม่สิ้นสุดของพระเจ้าสำหรับประชากรของพระองค์
    พระเยซูเจ้าทรงเน้นย้ำถึงความเกี่ยวพันของคู่สมรสที่มีอยู่ถาวรว่า
“ท่านไม่ได้อ่านพระคัมภีร์หรือว่าเมื่อแรกนั้นพระผู้สร้างทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นชายและหญิง และตรัสว่า ดังนี้ ‘ชายจะละบิดามารดาไปสนิทอยู่กับภรรยาของตน และชายหญิงจะเป็นเนื้อเดียวกัน’ ดังนี้เขาจะไม่เป็นสองอีกต่อไป แต่เป็นเนื้อเดียวกัน ฉะนั้น สิ่งที่พระเจ้าทรงรวมกันไว้ มนุษย์อย่าได้แยกเลย”
                                        มธ 19: 4-6
    ข้อตกลงที่ทำร่วมกันระหว่างคาทอลิกที่แต่งงานกันอย่างถูกต้องจะสิ้นสุดลงได้เฉพาะเมื่อคนใดคนหนึ่งเสียชีวิตเท่านั้น  ในสถานการณ์พิเศษ คู่สมรสบางคู่อาจต้องแยกกันอยู่เพราะคำนึงถึงผลดีของบุตร และของสามีหรือภรรยา   แม้ว่าผู้มีอำนาจหน้าที่ทางบ้านเมืองจะสามารถยกเลิกการแต่งงานที่ถูกต้องได้ตามกฎหมาย (ที่เรียกตามภาษากฎหมายว่าการหย่าร้าง) รัฐก็ไม่มีอำนาจยกเลิกการแต่งงานที่ถูกต้องของคริสตชน
    พระคริสตเจ้าทรงเรียกร้องให้บรรดาสาวกของพระองค์มีบรรทัดฐานสูง  พระศาสนจักรสนับสนุนให้บุคคลที่ต้องทนทุกข์เพราะการสมรสที่แตกสลายกลับมารับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่อเนื่องและคงอยู่ใกล้ชิดกับกลุ่มคริสตชน  พระเจ้าทรงสัญญาในลักษณะที่พิเศษว่าจะทรงอวยพรแก่ผู้ที่ทนทุกข์ทรมานถึงที่สุด  บรรดาคริสตชนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันก็ควรช่วยเหลือพี่น้องชายหญิงที่ตกอยู่ในสภาพนั้นและสวดภาวนาให้พวกเขา

การประกาศเป็นโมฆะคืออะไร?
(CCC 1629)
    การประกาศเป็นโมฆะ คือ การประกาศอย่างเป็นทางการของพระศาสนจักรว่า การแต่งงานของคริสตชนคู่หนึ่งซึ่งชอบด้วยกฎหมายนั้นแท้จริงแล้วไม่ถูกต้อง  คู่สมรสยังไม่มีความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจเมื่อพวกเขาเข้าสู่การสมรส, หรือยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องถึงจุดประสงค์ของข้อตกลงร่วมกันในการแต่งงาน  หนึ่งในสองคนหรือทั้งคู่อาจไม่มีเสรีภาพในการยินยอมแท้จริงให้มีการแต่งงาน  บางทีฝ่ายหนึ่งหรือทั้งคู่อาจไม่เคยมุ่งหวังการมีบุตร หรือไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้
    การแต่งงานที่ล้มเหลวอาจจะไม่ได้เริ่มต้นด้วยการแต่งงานของคริสตชนที่ถูกต้อง  ในกรณีเหล่านี้ คู่สมรสควรยอมรับสถานภาพของพวกเขาต่อศาลการสมรสของสังฆมณฑล (The diocesan marriage tribunal) เพื่อจะได้มีการสอบสวนและการตัดสิน  ถ้าผลปรากฏว่าการแต่งงานนั้นไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก ทั้งสองฝ่ายก็จะเป็นอิสระ และสามารถเข้าสู่การแต่งงานของคริสตชนที่ถูกต้องได้ในอนาคต

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการรับผิดชอบเรื่องเพศร่วมกันอย่างไร?
(CCC 2360-2365; 2397)
    สังคมคาทอลิกยกย่องความรักระหว่างคู่สมรสว่าเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่จากพระเจ้า  เพศสัมพันธ์เป็นวิธีการแสดงความรักอย่างลึกซึ้งและเป็นพันธะระหว่างชายและหญิง  จุดประสงค์ของมันในแผนการของพระเจ้ามีสองขั้นคือ ขั้นการรวมกัน (unitive) ซึ่งเป็นการผูกมัดชายและหญิงเข้าด้วยกันในฐานะคู่ชีวิต และขั้นการให้กำเนิด (procreative) ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมในงานสร้างสรรค์ของพระเจ้าที่นำชีวิตใหม่มาสู่โลก
    การมีเพศสัมพันธ์ (รวมถึงกิจกรรมทุกอย่างที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์) ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของความรักระหว่างชายหนึ่งและหญิงหนึ่ง แสดงถึงพันธะอย่างสมบูรณ์โดยปราศจากข้อสงสัยใดของความรัก   พระศาสนจักรเชื่อมั่นว่าพันธะที่สมบูรณ์นี้จะเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อชายหญิงคู่หนึ่งได้ปฏิญาณว่าจะอุทิศตัวเองเพื่อกันและกันตลอดชีวิต นั่นคือในการแต่งงาน

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการเป็นชู้อย่างไร?
(CCC 2380-2381; 2400)
    ความสัมพันธ์ทางเพศเป็นเครื่องแสดงการให้อย่างสมบูรณ์และการรับอย่างสมบูรณ์  การยุ่งกับความสัมพันธ์ทางเพศนอกการสมรสเป็นการใช้เครื่องหมายที่แสดงความรักของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ไปในทางที่ผิด  ดังนั้น การเป็นชู้ ซึ่งหมายถึงการมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างบุคคลที่แต่งงานแล้วกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่สมรสของเขาหรือเธอ จึงเป็นการแตกแยกที่รุนแรงในความรักอย่างสมบูรณ์แบบของคู่สมรสคริสตชน  การเป็นชู้ถือเป็นความล้มเหลวในการทำตามข้อตกลงพื้นฐานร่วมกันของคู่สมรส  มันเป็นการคุกคามความมั่นคงแท้จริงของครอบครัว

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการผิดประเวณีอย่างไร?
(CCC 2353)
    การผิดประเวณี คือ การมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างผู้ที่ยังไม่ได้แต่งงาน มันเป็นสิ่งที่ผิดเพราะบ่อยครั้งมันเป็นการหาประโยชน์จากคนอื่น หรือเป็นการปล่อยตัวปล่อยใจไปกับแรงกระตุ้นจากความเห็นแก่ตัวโดยเอาความรักมาเป็นเครื่องบังหน้า  พระเจ้าทรงประสงค์ให้การร่วมเพศเป็นการแสดงออกถึงความรักและความรับผิดชอบที่สมบูรณ์ โดยที่ความรักและความรับผิดชอบแบบที่ว่านี้มีอยู่เฉพาะในสถานภาพการสมรสเท่านั้น

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการสำเร็จความใคร่อย่างไร?
(CCC 2352)
    พระศาสนจักรสอนว่าการสำเร็จความใคร่ หรือการแสวงหาความสนุกทางเพศด้วยตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะมันเป็นการใช้พลังทางเพศในทางที่ผิดไปจากจุดประสงค์ตามแผนการของพระเจ้า คือให้ใช้ความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้อื่นและใช้นำชีวิตใหม่มาสู่โลก

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันอย่างไร?
(CCC 2357-2359)
    พระศาสนจักรแบ่งแยกระหว่างภาวะรักร่วมเพศกับการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน  การมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันเป็นสภาพที่เกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางเพศของบุคคลหนึ่งมุ่งไปยังคนที่มีเพศเดียวกันมากกว่าเพศตรงข้าม  ถ้าบุคคลที่มีความโน้มเอียงไปทางรักร่วมเพศไม่เลือกภาวะรักร่วมเพศของพวกเขา พวกเขาก็สมควรได้รับความเคารพ, ความเห็นใจ, และความไวต่อความรู้สึกของพวกเขา  แต่กลับมีการแบ่งแยกอย่างไม่เป็นธรรมสำหรับพวกเขาโดยถือว่าพวกเขาไม่ใช่คริสตชน   อย่างไรก็ตามพระศาสนจักรสอนว่า การมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันเป็นความผิดปกติแท้จริงและขัดกับกฎธรรมชาติ  การกระทำเช่นนั้นทำลายแผนการของพระเจ้าในเรื่องการผูกพันระหว่างชายกับหญิงอย่างรุนแรง และไม่เปิดให้กับการให้กำเนิดชีวิต  ดังนั้นจึงเป็นการกระทำที่ไม่ได้รับการเห็นชอบ

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวอย่างไร?
(CCC 2366-2369; 2398)
    การคุมกำเนิดพูดถึงการจำกัดจำนวนเด็กๆที่คู่สมรสจะให้เกิดมาบนโลกโดยการคิดอย่างรอบคอบ  บรรดาพ่อแม่ที่เป็นคริสตชนถูกขอให้วางแผนขนาดของครอบครัวด้วยความรับผิดชอบ สุขภาพกายและจิตใจ,  ฐานะการเงินของครอบครัว, และการดำรงชีวิตอย่างดีโดยรวมที่ต้องเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นและโลก เป็นบางส่วนของตัวประกอบในการตัดสินใจเกี่ยวกับขนาดครอบครัวของสามีภรรยา  พระศาสนจักรสอนว่าหลักการที่ถูกต้องก็คือ คู่สมรสที่เป็นคาทอลิกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบธรรมชาติ

การคุมกำเนิดแบบธรรมชาติคืออะไร?
(CCC 2369-2370)
    การบังคับใจตนเองไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ในบางครั้งบางคราวและวิธีการวางแผนครอบครัวแบบธรรมชาติ ล้วนเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ถูกต้องตามศีลธรรม  เพราะเป็นการปฏิบัติอย่างกลมกลืนกับกระบวนการต่างๆของร่างกายที่เป็นปกติตามธรรมชาติ  หน่วยงานที่เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวหรือศาสนบริการในเกือบทุกสังฆมณฑลสนับสนุนการจัดห้องเรียนเพื่อช่วยอบรมคู่สมรสให้เข้าใจวิธีเหล่านี้

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการคุมกำเนิดแบบไม่เป็นไปตามธรรมชาติอย่างไร?
(CCC 2370; 2399)
    คำสอนพระศาสนจักรระบุว่า วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ขัดแย้งกับพระประสงค์ของพระเจ้า  คำสอนนี้ตั้งอยู่บนเจตคติของคาทอลิกที่ว่าการแต่งงานมีจุดประสงค์ 2 ประการที่เกิดขึ้นพร้อมกัน นั่นคือ การให้กำเนิด (และอบรมเลี้ยงดู) บุตร กับความรักและความพอใจซึ่งกันและกันของคู่สมรส   คำสอนพระศาสนจักรอย่างเป็นทางการยังคงสอนว่า วิธีการใดที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติซึ่งถูกใช้ขัดขวางกระบวนการก่อกำเนิดอันเป็นธรรมชาติก็ต่อต้านธรรมชาติแท้ของการแต่งงาน
    บางครั้งคนเราก็ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังแม้ว่าจะมีความพยายามอย่างหนักที่จะให้ทุกอย่างเป็นไปตามอุดมคติ  บรรดาพระสังฆราชจึงแนะนำว่าเราต้องไม่ไปตัดสินความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคู่สมรสที่ไม่สามารถทำตามคำสอนของพระศาสนจักร  การตัดสินทางด้านศีลธรรมเป็นหน้าที่ของพระเจ้า  คู่สมรสต้องทำตามความรู้สึกผิดชอบของพวกเขาในเรื่องที่เกี่ยวกับคำสอนพระศาสนจักรและปัญหาด้านศีลธรรมทุกเรื่อง  แต่พวกเขาก็ยังมีความรู้สึกได้ว่าต้องพัฒนามโนธรรมให้ดีด้วย

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ ประกอบด้วย คำอธิบายพระบัญญัติ 10 ประการ (แบบรูปภาพ) วีดีทัศน์ พระบัญญัติ 10 ประการ หนังสือ ชวนกันอ่าน พระบัญญัติ...
สื่อคำสอน เรื่องศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อคำสอน เรื่องศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมกิจกรรมที่ 1 ใบความรู้ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม (แตะที่รูปหนังสือ ท่านก็จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ)กิจกรรมที่ 2 เกมจับคู่ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมกิจกรรมที่ 3 เกมค้นหาคำ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ E-book ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 2 แบบทดสอบออนไลน์ ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 3...

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี เราคงบอกท่านแล้ว เรากำลังไปเตรียมที่ให้ท่าน และเมื่อเราไป และเตรียมที่ให้ท่านแล้ว...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:16-20) เวลานั้น เมื่อพระเยซูเจ้าทรงล้างเท้าบรรดาอัครสาวกแล้ว พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้รับใช้ย่อมไม่เป็นใหญ่กว่านายของตน ผู้ถูกส่งไปย่อมไม่เป็นใหญ่กว่าผู้ที่ส่งเขาไป บัดนี้ ท่านรู้เรื่องนี้แล้ว ถ้าท่านปฏิบัติตาม ท่านย่อมเป็นสุข เราไม่พูดเช่นนี้เพื่อท่านทุกคน เรารู้จักผู้ที่เราเลือกไว้แล้ว...

ประชาสัมพันธ์

ประมวลภาพกิจกรรม

เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1/2025
เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1/2025
🎉 เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1 🎉 วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2025 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมกับโรงเรียนแม่พระฟาติมา ดินแดง จัดโครงการ เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1 หัวข้อ “สอนคำสอนอย่างไรให้สนุก จะไม่ทุกข์ถ้ามีสื่อ” ณ...
พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 2025
พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 2025
🎊✨️ พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 🎊✨️ ค่ำคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ 19 เมษายน 2025 เป็นวันที่สำคัญและเป็นช่วงเวลาพิเศษ ของบรรดาผู้เตรียมเป็นคริสตชน ตลอดระยะเวลา 8-10 เดือน ที่ได้มาเรียนคำสอน ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ และผ่านพิธีต่างๆ ของกระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน ไม่ว่าจะเป็นพิธีต้อนรับ พิธีเลือกสรร พิธีพิจารณาความตั้งใจ พิธีเอฟฟาธา...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

223. ปัจเจกชนรวมเข้ากับสังคมในวิธีการซึ่งสามารถพัฒนาได้อย่างอิสระอย่างไร ปัจเจกชนสามารถพัฒนาได้อย่างอิสระในสังคม ถ้า“หลักแห่งการช่วยเหลือกัน” ได้รับการนำไปปฏิบัติ(1883-1885, 1894) หลักแห่งการช่วยเหลือกัน ซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของคำสอนทางด้านสังคมของคาทอลิก กล่าวคือ สิ่งที่บุคคลประสบความสำเร็จจากความคิดริเริ่มและความพยายามของตนเองผู้มีอำนาจที่สูงกว่าไม่ควรยึดเอาไปจากเขา...
322. สังคมหรือปัจเจกชนสำคัญกว่ากัน ในสายพระเนตรของพระเจ้าทุกบุคคลมีความสำคัญในอันดับแรกในฐานะบุคคล ดังนั้นแล้วจึงเป็นสังคม (1881-1892) สังคมไม่สามารถสำคัญมากกว่าปัจเจกบุคคล มนุษย์อาจจะไม่มีความหมายต่อสังคมที่สิ้นสุดลง ถึงแม้สถาบันทางสังคม เช่น รัฐบาลและครอบครัวมีความจำเป็นสำหรับปัจเจกชน...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

ข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 82 # บทที่สาม ข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า (683-686) พระจิตเจ้าเป็นหนึ่งในสามพระบุคคลของพระเจ้า พระตรีเอกภาพ พระจิตเจ้าเป็นผู้ที่ช่วยให้เราเชื่อและรู้จักพระบิดาและพระเยซูคริสต์ เหมือนกับเวลาที่เราอยากรู้จักเพื่อนใหม่...
เพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 81 # II. “เพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย” (678-679) ในเรื่องการพิพากษาครั้งสุดท้าย พระเยซูเจ้าได้สอนประชาชนว่า จะมีวันหนึ่งที่พระองค์จะมาพิพากษาทุกคน ทั้งคนที่มีชีวิตอยู่และคนที่เสียชีวิตไปแล้ว...

ประวัตินักบุญ

13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา
13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา (Our Lady of Fatima) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1917 ซึ่งอยู่ในช่วงปีที่ 3 ของสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งสงครามโลกครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปถึงแปดล้านคน)...
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร (St Joseph the Worker, memorial) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สมาคมของบรรดากรรมกรคาทอลิกอิตาเลียน...

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Don't be afraid

Facebook CCBKK

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

คู่มือแนะแนวในการสอนคำสอน

ปก คู่มือแนะแนว

คู่มือเตรียมรับศีลมหาสนิท แบบที่ 1-2

ปก แบบที่ 2 01

ครอบครัว บ่อเกิดแห่งความเชื่อ

F cover fmaily

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
13312
21672
111456
353513
944464
42805827
Your IP: 18.191.218.238
2025-05-15 14:31

สถานะการเยี่ยมชม

มี 209 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์