แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

เบื้องหลังสมัชชาพิเศษ
2. ในสมณสาสน์ “ก้าวสู่สหัสวรรษที่สาม” ข้าพเจ้าได้เสนอแผนงานให้พระศาสนจักรได้เตรียมต้อนรับคริสตสหัสวรรษที่สาม เป็นแผนงานที่มีจุดสำคัญอยู่ที่การท้าทายแห่งการประกาศพระวรสารใหม่ แผนการที่สำคัญแผนหนึ่งก็คือ การประชุมสมัชชาระดับทวีป เพื่อเปิดโอกาสให้บรรดาพระสังฆราชได้พิจารณาถึงปัญหาการแพร่ธรรม ตามสถานภาพของแต่ละท้องถิ่น และตามความต้องการของแต่ละทวีป การประชุมสมัชชาต่างๆ เป็นลำดับต่อกันมานี้ เชื่อมโยงกันด้วยหัวข้อที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ การแพร่ธรรมใหม่ ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นการเตรียมตัวที่มีความสำคัญอีกส่วนหนึ่งของพระศาสนจักร เพื่อก้าวไปสู่ปีปีติมหาการุญ ค.ศ. 2000
    ในสมณสาสน์ฉบับเดียวกันนี้   เมื่อกล่าวถึงการประชุมสมัชชาพระสังฆราชเพื่อเอเซีย ข้าพเจ้าได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ในส่วนนั้นของโลก “ปัญหาของคริสตศาสนาในการเผชิญกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีมาแต่โบราณนั้น นับเป็นเรื่องเร่งด่วน นี่เป็นการท้าทายการประกาศพระวรสารเป็นอย่างมาก เหตุว่าระบบของศาสนาต่างๆ เช่น พุทธศาสนา หรือศาสนาฮินดู  มีลักษณะความรอดที่ชัดเจน นับเป็นเรื่องที่ลึกลับจริงๆ ที่องค์พระผู้ไถ่กู้โลกเสด็จมาประสูติในเอเซีย แต่จนกระทั่งบัดนี้ คนส่วนมากในทวีปนี้ก็ยังไม่รู้จักพระองค์ สมัชชาฯนี้จึงนับว่าเป็นโอกาสที่พระญาณ-สอดส่องทรงกำหนดไว้ เพื่อให้พระศาสนจักรในเอเซีย ได้พิจารณาถึงข้อลึกลับนี้ต่อๆ ไป และรื้อฟื้นความตั้งมั่นในพันธกิจที่จะทำให้พระเยซูคริสตเจ้า ทรงเป็นที่รู้จักของมนุษย์ทุกคน
สองเดือนหลังการออกสมณสาสน์ “ก้าวสู่สหัสวรรษที่สาม” ข้าพเจ้าได้กล่าวในการประชุมใหญ่ครั้งที่หกของสหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเซีย ที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในช่วงการเฉลิมฉลองวันเยาวชนที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ในโอกาสนั้น ข้าพเจ้าได้เตือนบรรดาพระ-สังฆราชว่า “หากพระศาสนจักรในเอเซียจะทำให้จุดหมายปลายทาง ซึ่งพระญาณสอดส่องได้กำหนดไว้ให้สำเร็จไปได้ กล่าวคือ การแพร่พระ- วรสาร ซึ่งเป็นการป่าวประกาศการสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพของพระเยซูคริสตเจ้าด้วยความชื่นชมยินดี ด้วยความพากเพียรอย่างต่อเนื่องนั้น ก็จำต้องถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เร่งด่วนอย่างแท้จริง”
การตอบรับในด้านบวกของบรรดาพระสังฆราชและพระศาสนจักรท้องถิ่น ต่อการประชุมสมัชชาพิเศษของพระสังฆราชเพื่อเอเซียนี้ เห็นได้อย่างชัดเจนตลอดช่วงระยะเวลาแห่งการเตรียมประชุม บรรดาพระ-สังฆราชได้เสนอความปรารถนาและความคิดเห็นของตนในช่วงเวลานี้อย่างตรงไปตรงมา และด้วยความรอบรู้อย่างแท้จริงเกี่ยวกับสถานภาพของทวีปนี้อย่างลึกซึ้ง พวกท่านได้ให้ความคิดเห็น โดยสำนึกถึงพันธะแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรสากล ตามแนวความคิดเดิมของเอกสาร “ก้าวสู่สหัสวรรษที่สาม” และตามข้อเสนอของคณะกรรมการเตรียมการประชุมสมัชชา ซึ่งได้ทบทวนความคิดเห็นของบรรดาพระสังฆราช และพระศาสนจักรท้องถิ่นในทวีปเอเซีย ข้าพเจ้าจึงได้เลือกหัวข้อการประชุมสมัชชาว่า  “พระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่กู้ และพระ-พันธกิจแห่งความรักและการรับใช้ในเอเซีย “เพื่อให้พวกเขาได้มีชีวิต และมีชีวิตอย่างสมบูรณ์” (ยน.10.10) จากการกำหนดหัวข้อนี้ ข้าพเจ้าหวังว่าสมัชชาฯ “จะได้ให้เห็นและอธิบายให้ละเอียดมากขึ้น ถึงความจริงที่ว่า พระคริสตเจ้าทรงเป็นบุคคลกลางระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์ และทรงเป็นพระผู้ไถ่แต่พระองค์เดียวของโลก ซึ่งจะต้องแยกแยะให้ชัดเจน จากบรรดาผู้ตั้งศาสนาที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย” ในขณะที่เราก้าวไปสู่ปีปีติมหาการุญ พระศาสนจักรในเอเซีย ต้องสามารถประกาศด้วยความกระตือรือร้นหลังจากที่ได้รับการฟื้นฟูว่า “ดูเถิด พระผู้ไถ่ของโลกได้ทรงบังเกิดมาเพื่อเรา” พระองค์ทรงบังเกิดในเอเซีย